ห้ามสูบบุหรี่ที่สาธารณะ_ลดเสี่ยงโรคหัวใจทั้งเมือง


 


.
ภาพที่ 1: อาการโรคหัวใจกำเริบ ส่วนใหญ่จะเจ็บแน่นตรงกลางออก และร้าวไปยังพื้นที่แต้มสีแดงส่วนใหญ่เป็นข้างซ้ายมากกว่าข้างขวา แสดงด้วยสีแรเงาทึบกว่า ได้แก่ เจ็บอกร้าวไปคอ - ขากรรไกร (คาง) - ท้องส่วนบน (ลิ้นปี่) - ไหล่ - แขนท่อนบน, อาจมีเหงื่อแตก รู้สึกคล้ายจะเป็นลมร่วมด้วย > [ metrohealth ]
.

.

ภาพที่ 2: อาการโรคหัวใจกำเริบในผู้หญิง มักจะไม่ชัดเจนเท่าผู้ชาย คือ เจ็บแน่นหน้าอก, อาจปวดร้าวไปไหล่-คอ-แขน-ขากรรไกร (คาง), หรือมาด้วยอาการเวียนหัว-เหงื่อแตก-คลื่นไส้ > [ metrohealth ]
.

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) รายงานว่า การสูบบุหรี่เพิ่มเสี่ยงโรคหลายอย่าง คือ [ CDC ]

  • หลอดเลือดหัวใจตีบตัน > 2-4 เท่า
  • สโตรค (stroke) / กลุ่มหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต สมองเสื่อม ฯลฯ > 2 เท่า
  • หลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral vascular disease / PAD) เช่น ปลายนิ้ว เท้า ฯลฯ ตีบตัน ชา ปวดเรื้อรัง
  • หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง (abdominal aortic aneurysm / AAA) ซึ่งอาจแตก ทำให้ตายได้ทันที
ควันบุหรี่มือสอง (secondhand smoke) หรือควันบุหรี่ที่คนสูบพ่นออกมา เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ มะเร็งปอดในคนรอบข้างที่ไม่สูบบุหรี่ คือ

  • โรคหัวใจ > เพิ่ม 25-30%
  • มะเร็งปอด > เพิ่ม 20-30%

.

สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'Do second hand smoke laws prevent heart attacks?'
= "กฎหมายบุหรี่มือสองป้องกันโรคหัวใจกำเริบไหม" = "กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะลดเสี่ยงโรคหัวใจไหม", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

การศึกษาใหม่ ทำในประชากรเขตเมืองหนึ่ง (county) ในรัฐมินนาโซทา สหรัฐฯ พบว่า การห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เช่น ร้านอาหาร ฯลฯ ทำให้คนเป็นโรคหัวใจกำเริบ (heart attacks) ลดลง

.

สหรัฐฯ ห้ามสูบบุหรี่ในภัตตาคาร ร้านอาหารตั้งแต่ปี 2002/2545 และห้ามสูบในที่ทำงาน (workplaces) รวมทั้งบาร์ในปี 2007/2552

หลังประกา ศห้าม 18 เดือน = 1.5 ปี, ชาวเมืองออมสเต็ดเป็นโรคหัวใจกำเริบลดลงจาก 151/แสน/ปี เป็น 101/แสน/ปี (หน่วยต่อประชากร 100,000 คน/ปี) = ลดลงได้มากถึง 1/3

.

กลไกที่เป็นไปได้ คือ ควันบุหรี่มือสอง (secondhand smoke = ควันบุหรี่ที่สูบเข้าไปแล้ว พ่นออกมา ทำให้คนที่ไม่สูบได้รับควัน) เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจดังนี้

.

(1). ทำให้หลอดเลือดแดงหดตัว > ทำให้เส้นผ่าศูนย์กลางหลอดเลือดต่ำลง การไหลเวียนเลือดช้าลง

.

เรื่องนี้ตรงกับกฎทางฟิสิกส์ของปัวแซว (Poiselle) ที่ว่า แรงต้านทานในการไหลเวียนเลือดแปรผกผัน หรือแปรตรงกันข้ามกับรัศมียกกำลัง 4

.

ท่อหรือหลอดเลือดที่มีขนาดใหญ่มีแรงต้านการไหลสูงกว่าท่อหรือหลอดเลือดที่มีขนาดเล็ก

.

เลือดที่ไหลเวียนช้าลงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดน้อยลง และเพิ่มเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือด

.

(2). ทำให้แนวโน้มที่เลือดจะแข็งตัวเป็นลิ่มเลือดเพิ่มขึ้น > เกิดลิ่มเลือดมากขึ้น ลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจมากขึ้น

.

(3). ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่เกิดการอักเสบ-บวม-ผิวไม่เรียบ เกล็ดเลือดไปเกาะที่ผนังง่ายขึ้น > เพิ่มโอกาสเกิดหลอดเลือดอุดตัน

.

.

การลงทุน ไม่สูบบุหรี่ และ/หรือ เลิกบุหรี่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดอย่างหนึ่ง ทั้งในเรื่องสุขภาพ และการเงิน (ลดค่าบุหรี่ + ค่ารักษาโรค  + ค่าคุณภาพชีวิตตกต่ำ)

.

การลงทุนต่อต้านการสูบบุหรี่ในที่ สาธารณะมีส่วนช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว เนื่องจากนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต้องการไปพักผ่อนในที่ที่อากาศดี มีมลพิษต่ำ มีสารก่อมะเร็งต่ำ

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

> [ Twitter ]

  • Thank > http://www.reuters.com/article/2012/10/29/us-secondhand-smoke-idUSBRE89S15020121029 > SOURCE:bit.ly/MbBLbbArchives of Internal Medicine, online October 29, 2012.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 30 ตุลาคม 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.


หมายเลขบันทึก: 509134เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2012 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 10:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท