วิธีการสอนคัดลายมือ


 

วิธีการสอนการคัดลายมือ

หลักการ

      ลายมือแสดงถึงบุคลิกลักษณะนิสัย จิตใจ   ครูจึงควรฝึกให้นักเรียนสามารถเขียนตัวอักษรให้สวยงาม  สะอาด เรียบร้อย  และถูกต้อง   เพื่อเป็นการฝึกจิตใจนักเรียนให้ละเอียดประณีต  มีสมาธิ  และอดทน   (สิ่งที่ครูควรเน้นและใส่ใจในการฝึก คือ ช่องไฟ วรรคตอน ตัวอักษรที่เสมอกัน)

 

รูปแบบการคัดลายมือ

  ๑. แบบกระทรวงศึกษาธิการ

  ๒. แบบขุนสัมฤทธิ์วรรณการ

  ๓. แบบอาลักษณ์

  ๔. แบบพระยาผดุงวิทยา

  ๕. แบบคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  ๖. แบบราชบัณฑิตยสถาน (ตัวสารบรรณ)

 

ลายมือ มี ๓ แบบ

  ๑. ตัวบรรจงเต็มบรรทัด  

  ๒. ตัวบรรจงครึ่งบรรทัด  

   ๓. หวัดแกมบรรจง

 

ขั้นตอนการฝึก

  ๑. สอนและฝึกการจับปากกา ดินสอ ให้เอียงปลายปากกา ดินสอไปข้างหน้าวางอยู่ที่ปลายนิ้วกลาง  โดยมีนิ้วหัวแม่มือ กับนิ้วชี้จับหนีบขนานไป ส่วนนิ้วอื่นๆงอเข้าหาฝ่ามือ  โดยไม่ต้องเกร็ง  (เด็กรุ่นใหม่ ส่วนมากชอบจับปากกา ดินสอแบบตั้งตรง  ทำให้นิ้วเกร็ง  โก่ง  เมื่อยนิ้วเร็ว  โดยเฉพาะเห็นได้ชัดที่นิ้วชี้)

  ๒. ฝึกให้วางสมุดตรงๆ  แต่แขนเอียง

  ๓. ฝึกให้นั่งตัวตรงเขียน หรือหมอบเขียนก็ได้  แต่สายตาควรห่างจากสมุด ๑ ฟุต เพื่อฝึกให้แขนนิ่งก่อน

  ๔. ฝึกเขียนหัวพยัญชนะก่อน

  ๕. ฝึกการเขียนวางสระ วรรณยุกต์ให้สัมพันธ์กับพยัญชนะ

   ๖. ฝึกการเขียนพยัญชนะและสระ ให้ตัวอักษรมีเส้นหนักเส้นเบา  หรือหนาบางตามแบบ   (ควรให้นักเรียนใช้ปากกาหรือดินสอ เบอร์ ๗ ขึ้นไป  เพื่อสามารถเขียนตัวอักษรหนักเบาได้  ถ้าใช้ปากกาเบอร์ ๕  ตัวอักษรจะคมและเส้นเล็ก)

  ๗. ฝึกการเล่นตวัดเส้นตัวอักษร  แบบอาลักษณ์  จะทำให้เด็กเห็นความสวยงามของตัวอักษร  ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย  (เหมือนการใช้พู่กันเขียนตัวอักษรของชาติจีน จนดูมีชีวิตชีวา  อ่อนไหวก็ได้ เข้มแข็งก็ได้)

 

เทคนิคการสอนคัดลายมือ

   ๑. ใช้รูปแบบตัวอักษรของคอมพิวเตอร์มาเป็นตัวอย่างช่วยฝึกเขียน เช่น Angsana, Cordia, TH saraban ฯลฯ เป็นต้น

   ๒. ทำตารางให้เขียน/คัดลายมือในช่อง  ทำทั้งเส้นแนวตั้งและแนวนอน  ไม่ใช่ทำแต่เส้นแนวนอนเท่านั้น  เพื่อให้นักเรียนเคยชินในการเขียนตัวหนังสือตรง  ไม่เอียงซ้ายเอียงขวา  จนกระทั่งสามารถเขียนตัวอักษรได้ตรงและสวยงามอย่างสม่ำเสมอก่อน  แล้วค่อยให้ฝึกเขียนตามบรรทัดที่มีแต่แนวนอนต่อไป

ตัวอย่างสมุดคัดลายมือ  

 

 



 

วิธีตรวจ

1. ให้ดูว่าตัวอักษรที่นักเรียนเขียนตัวใด  คัดได้สวยงาม ตัวตรง ลายเส้นมีหนักเบา  อยู่ในกรอบช่องสี่เหลี่ยม ไม่ทับเส้น  ครูผู้ตรวจก็ทำเครื่องหมายถูก  หรือเครื่องหมายอะไรก็ได้ใต้ตัวอักษรนั้น  เพื่อให้เห็นว่าตัวอักษรนั้นครูชื่นชม

2. เสร็จแล้วให้ครูนับจำนวนเครื่องหมายที่ทำใต้ตัวอักษรที่สวยงาม ว่ามีเท่าไหร่  ก็ให้ลงคะแนนตามนั้น โดยจะลงจำนวนที่ได้ และจากจำนวนทั้งหมด   หรือ จะคิดเป็นร้อยละที่เขียนสวยจากจำนวนตัวอักษรทั้งหมดก้ได้



ชื่นชมกับผลงาน : ครูผู้ตรวจจะเห็นพัฒนาการการเขียน หรือการคัดลายมือที่ดีขึ้นของนักเรียนในครั้งต่อไปอย่างเห็นได้ชัด  เพราะนักเรียนจะเกิดกำลังใจ หรือแรงจูงใจที่อยากเขียนได้จำนวนสวยขึ้น  ตัวอักษรตรงขึ้น  เมื่อเทียบกับตัวเองในครั้งที่ผ่านมา  และกับเพื่อนๆ 

 

ลองทำดูนะครับคุณครู  แล้วจะเห็นความแตกต่างอย่างง่ายๆ ที่นึกไม่ถึง ที่ครูจะภูมิใจ  เห็นความสำเร็จได้ทันทีในไม่กี่ครั้ง  เมื่อเทียบกับวิธีการเดิมๆ ที่ต้องเหนื่อยมากทั้งคำพูด และพลังในการใช้เวลาในการเอาใจใส่กับเด็กแต่ละคน

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 508632เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2012 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2019 08:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
กมลวรรณ บุญชูวงศ์


อยากคัดลายมือสวยๆๆๆๆๆๆจังเลย

ลายมือพวกเขาสวยกันหมดเลยอ่ะค่ะเราต้องฝึกบ้างแล้ว

สวยมากเลยคะ พอดีจะไปคัดไทย

ตั้งใจทำกว่านี้อีกนิดหนึ่ง

ื้ทะภ่ัาดเดก

อยากตัดลายมือให้สวยยมากกกเลยย

คัดลายมือภาษาไทย

คัดลายมือสุดฝีมือ

ด.ญธันชนก. อมรวุฒิพงค์.

อะไรก้ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท