ดร.กฤษฎา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา สังขมณี

การเงินและการธนาคาร เทอม 2/ 2555 หมู่ 02


Good morning my lovely students Today , Monday November , the twelve , 2012. New semester and&nb...
มีต่อ

เงินนอกทะลักทำบาทแข็งค่า ฉุดส่งออกหวั่นเศรษฐกิจร่วง

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม 2556 เวลา 00:00 น.

  ต้องยอมรับว่า ระยะนี้ “เงินบาทแข็งค่า” กลายเป็นกระแสข่าวที่สร้างความหงุดหงิดใจให้หลายฝ่ายในประเทศ ด้วยหวั่นเกรงว่า ประเทศมหาอำนาจตะวันตก กำลังเริ่มตั้งทัพใหญ่ เปิดศึกทำ “สงครามค่าเงิน” เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจของตนเอง ซึ่งจะมีผลทำให้เหล่านักธุรกิจตาน้ำข้าว ระดมอาวุธครบมือ ขนเงินมหาศาลเข้ามาลงทุนในประเทศแถบเอเชียมากขึ้นทุกประเทศ แน่นอนว่าเงินบาทจึงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และหากไทยไม่ตั้งสติรับมือแล้วละก็ อาจเพลี่ยงพล้ำทางเศรษฐกิจได้ง่าย ๆ

“ธนาคารแห่งประเทศไทย” ในฐานะ “ทัพหน้า” เฝ้าประตูเมือง เมื่อเงินทุนไหลผ่านเข้ามาผิดปกติ มือหนึ่งต้องรีบหยิบอาวุธป้องกัน เพื่อประคองสถานการณ์ให้เงินบาทอยู่ในระดับที่เรียกว่า “สมดุล” อีกมือหนึ่งต้องรีบแจ้งข่าวเตือนคนในประเทศ

อาวุธหนึ่งที่ ธปท. มักนิยมนำมาใช้เป็นด่านแรก คือ การเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีมาตรการผ่อนคลายเกณฑ์ทางการเงิน ให้นักลงทุนออกไปลงทุนยังต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดความสมดุลของค่าเงินทั้งขาเข้าและออก แต่อย่างไรก็ดี มองว่า บรรดาผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ไม่ได้ต้องการออกไปลงทุนต่างชาติเท่าใดนัก เพียงแต่ต้องการให้เงินบาทอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อที่จะวางแผนขับเคลื่อนธุรกิจให้อยู่รอดปลอดภัยได้กับสภาพการเงินที่ผันผวนเช่นนี้

ย้อนไปดูสถานการณ์เงินบาทปี 55 ที่ผ่านมา เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 30.50-31.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยแข็งค่าขึ้นไปสูงสุดที่ 30.60 บาทต่อดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ 31.78 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งถือว่ามีความสมดุล และตลอดทั้งปี เงินบาทเคลื่อนไหว 2 ทิศทาง คือแข็งค่าสลับอ่อนค่าทั้งปี

แต่ทันทีที่ก้าวเข้าสู่ปี 56 เงินบาท และเงินสกุลหลัก ต่างพุ่งแข็งค่าขึ้นรวดเร็ว เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ จนหลุดกรอบ 30 บาทไปที่ 29.75 บาท แข็งค่าที่สุดในรอบ 17 เดือน จากความเชื่อมั่นในตลาดการเงินโลกปรับดีขึ้น หลังสหรัฐหาข้อยุติเพื่อเลี่ยงปัญหาฐานะทางการคลังได้ในระดับหนึ่ง ขณะที่เงินทุนไหลเข้า เริ่มทะลักสู่ภูมิภาคเอเชียมากขึ้นเช่นกัน ทั้งในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร ประกอบกับนักลงทุนเริ่มหวังเข้าเก็งกำไร กินส่วนต่างดอกเบี้ยและค่าเงินไปพร้อม ๆ กันด้วย

ส่งผลให้ช่วงเพียง 22 วันที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าไปแล้ว 3.13% โดยแข็งค่ากว่าสกุลเงินอื่น ๆ ในเอเชีย มาเลเซียแข็งค่า 2.2% อินโดนีเซียแข็งค่า 0.05%  นี่จึงกลายเป็นประเด็นหลัก ที่ทำให้ผู้ประกอบการต่างกังวล !!

ด้วยเกรงว่า หากทิศทางเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก โดยเฉพาะสินค้าส่งออกต่าง ๆ มียอดการส่งออกลดลงเรื่อย ๆ สวนทางกับต้นทุนการผลิตที่ทะยานเพิ่มขึ้น โดยคาดการณ์ว่า ถ้าเงินบาทแข็งค่ามาถึง 29-29.50 บาทในไตรมาสแรกนี้ ผลกระทบก็จะทวีความรุนแรงขึ้นเป็นเงาตามตัว ส่วนเงินบาทที่ผู้ประกอบการรับมือได้ คือที่ 31 บาท และขอให้ ธปท.ดูแลไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป รวมถึงแข็งค่ามากกว่าประเทศคู่แข่งเท่านั้น จึงจะประคองการส่งออกไม่ให้สะดุดลงได้

หลายฝ่ายจึงเริ่มจับตาดูว่าทัพหน้าอย่าง ธปท. จะแทรกแซงค่าเงินบาทหรือไม่ อย่างไร หรือปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด โดยไม่ฟังเสียงเรียกร้องจากผู้ประกอบการ กรณีเลวร้ายที่สุด อาจเดินซ้ำรอย “โจมตีค่าเงินเมื่อปี 40”

จนแม่ทัพใหญ่ “ประสาร ไตรรัตน์วรกุล” ผู้ว่าการ ธปท. รับว่า เงินบาทแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา แต่ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาค ทั้งนี้ จะดูแลให้เคลื่อนไหวไปตามกลไกตลาดเหมือนเดิม แต่ไม่ได้หมายความว่า จะไม่ทำอะไร ในภาวะที่เกิดความผิดปกติ หรือจำเป็นต้องเข้าไปดูแล

“ยืนยันว่า ธปท.ติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ พร้อมทั้งเตรียมเครื่องมือต่าง ๆ ไว้แล้ว หากจำเป็นต้องใช้ จะไม่ลังเล แม้ว่าผลการดำเนินงานของ ธปท.จะขาดทุน แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรค หรือมีผลให้ ธปท.ไม่เข้าไปดูแลอัตราแลกเปลี่ยนตามความเหมาะสมแต่อย่างใด”

กระทรวงพาณิชย์เตรียมช่วยประคอง

แม้จะยืนยันหนักแน่น แต่ภาคเอกชนก็ไม่ค่อยไว้วางใจมากนัก โดยเฉพาะกับผู้ประกอบการส่งออก ที่เกลียดความผันผวนของค่าเงิน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ประเมินเบื้องต้น แล้วก็หนักอกหนักใจ หวั่นว่า การส่งออกปีนี้ อาจไม่ถึงฝั่งฝันอีกครั้ง แม้จะตั้งเป้าหมายเติบโตไว้เพียง 8.9% ด้วยมูลค่า 250,175 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 7.7 ล้านล้านบาทก็ตาม

โดยมองว่า “เอสเอ็มอี” เป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงสุด เพราะบริหารจัดการค่าเงินไม่ได้ดีเท่าผู้ส่งออกรายใหญ่ ขณะที่การแข่งขันด้านราคาก็สู้คู่แข่งขันไม่ได้ โดยเฉพาะจีน เวียดนาม ที่ค่าเงินอ่อนกว่าไทย ดังนั้น คงต้องเป็นภาระของภาครัฐที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือ พร้อมส่งสัญญาณไปยังแม่ทัพใหญ่ ให้แทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเกิน 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ขณะเดียวกันจะเร่งจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์แนวทางการสู้วิกฤติค่าเงินบาทผันผวน พร้อมแนะกลยุทธ์การทำตลาดช่วงเงินบาทแข็งให้เอสเอ็มอีรับรู้ หลังพบว่าผู้ประกอบการไทยยังทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนกันน้อยอยู่

นอกจากนี้ จะตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และการส่งออกไทย เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ แล้วนำผลข้อมูลมาเตือนภัย วางแผนทำการค้าได้ล่วงหน้า รวมถึงข้อมูลสำคัญจากทั้งทูตพาณิชย์ทั่วโลก รายงานสถานการณ์ โอกาส ความได้เปรียบเสียเปรียบของสินค้าไทยกับคู่แข่ง ให้ติดตามเป็นระยะ ๆ ด้วย
 
และเดือนพ.ค.นี้ จะเรียกประชุมทูตพาณิชย์ทั่วโลก เพื่อทบทวนเป้าหมายการส่งออกใหม่ โดยจะนำปัจจัยเสี่ยง ทั้งค่าแรงที่ปรับขึ้นวันละ 300 บาท อัตราดอกเบี้ย และค่าเงินบาท เข้ามารวมไว้ด้วย

อุตสาหกรรมส่งออกรับเละ

ด้านภาคอุตสาหกรรมนั้น มีทั้งกลุ่มที่ได้ประโยชน์ และกลุ่มที่สูญเสียอย่างหนัก  ตามเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทุก ๆ 1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จะทำให้เงินในกระเป๋าของผู้ส่งออกหายไป 20,000 ล้านบาท ตามค่าเฉลี่ยการส่งออกแต่ละเดือน แน่นอนว่า เอสเอ็มอีอุตสาหกรรมอาหาร, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, รองเท้า, เกษตรแปรรูป, ผลไม้กระป๋อง ล้วนเป็นกลุ่มที่รับเละ! เพราะใช้วัตถุดิบในประเทศจำนวนมาก ต่างจากพวกอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, ผู้ค้าน้ำมัน ที่ได้รับอานิสงส์จากการนำเข้า ชดเชยรายได้ที่หายไประดับหนึ่ง

ทั้งนี้ ยอมรับว่าการทำประกันความเสี่ยง ยังเป็นเครื่องมือเดียวของผู้ประกอบการที่ใช้ปกป้องค่าเงินผันผวนขณะนี้ แต่ปัจจุบันพบว่า ผู้ส่งออกทำประกันความเสี่ยงไว้เพียง 40% เท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ จึงน่าเป็นห่วงเอสเอ็มอี ที่ไม่ได้ทำประกันความเสี่ยง จึงรับผลกระทบเต็ม ๆ เพราะส่วนหนึ่ง นอกจากไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มแล้ว ยังไม่ต้องการทำเรื่องยุ่งยาก เพราะมูลค่าส่งออกไม่สูงนัก โดยเฉพาะเอสเอ็มอีต่างจังหวัด ขณะที่บางส่วนรักสนุกด้วยการลุ้นวัดดวง หรือเสี่ยงโชคอีกต่อ เช่น หากรับคำสั่งผลิตสินค้ามูลค่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ อัตราแลกเปลี่ยน 29.50 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อช่วงส่งมอบสินค้าอีก 5-6 เดือนข้างหน้า อาจอยู่ที่ 30.50 บาท ก็จะทำให้มีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม ถือว่ามีความเสี่ยงสูงอยู่ดี เพราะหากช่วงใด โชคไม่เข้าข้าง จาก 29.50 อาจมาอยู่ที่ 28 บาทต่อดอลลาร์  เมื่อนั้น อาจจะขาดทุนมหาศาล และกรณีเลวร้ายที่สุด ถึงขั้นปิดกิจการไปเลย

โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จึงได้เร่งระดมผู้ประกอบการ 25 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ ส่ง 7 มาตรการไม่ให้เงินบาทแข็งค่ากว่าภูมิภาคอื่น ๆ เสนอให้ ธปท.สัปดาห์นี้ โดยประเด็นสำคัญ ๆ เช่น ให้ ธปท. ยกเลิกการเปรียบเทียบค่าเงินบาทกับประเทศที่ไม่ใช่คู่แข่งขันทางการค้า เพื่อจะได้แก้ปัญหาให้ตรงจุด ปลดล็อกการถือครองเงินตราต่างประเทศ  ให้เอสเอ็มอีเข้าถึงกลไกและมาตรการต่าง ๆ มากขึ้น แยกเงินที่ไหลเข้ามาเป็นเงินต่างประเทศแปลงเป็นเงินบาท สนับสนุนการลงทุนภาครัฐและเอกชนโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น เป็นต้น

ชี้หมดยุคแทรกแซงค่าเงินบาท

ด้าน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ระบุว่า ปัจจุบันหมดยุคที่จะมาแทรกแซงค่าเงินบาทกันแล้ว ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดดีที่สุด โดยแทรกแซงแต่น้อย เพื่อประคองไม่ให้ผันผวนมากก็พอ ขณะเดียวกัน ควรมุ่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภายในให้ดีขึ้น ไม่ให้ภาวะค่าเงินบาทแข็งค่า มาทำให้เดือดร้อนทั่วหน้า เช่น ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โครงการลงทุน ที่สำคัญ ผู้ประกอบการอย่าเอาค่าเงินบาทไปเป็นตัวกำหนดแผนการทำธุรกิจ 

เช่นเดียวกับ “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” รองนายกฯ และ รมว.คลัง ที่ยืนยันหนักแน่นว่า การบริหารงานด้านนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้น ต้องเดินหน้าตามแนวทางที่ตั้งไว้แต่ต้น คือ ปรับสมดุลและกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ เพื่อลดพึ่งพาการส่งออก โดยหวังให้กำลังซื้อของประชาชนเป็นอาวุธใหม่ ในการดันเศรษฐกิจให้เติบโต โดยเฉพาะนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ พร้อมสนับสนุนภาคธุรกิจให้มาลงทุนในประเทศมากขึ้น

นอกจากนี้ยังเร่งดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ที่ประเทศว่างเว้นมานานหลายปี ด้วยเชื่อว่า เมื่อโครงการเหล่านี้ชัดเจน จะมีเงินอัดฉีดเข้าระบบได้ 500,000 ล้านบาท ดันจีดีพีโตถึง 5% โดยไม่จำเป็นต้องอัดนโยบายประชานิยมใด ๆ อีก

ขณะที่ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย ยืนยันว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเร็วช่วงนี้ ไม่น่าจะเกิดจากการโจมตีค่าเงิน แต่มาจากเงินทุนต่างชาติ ที่ไหลเข้ามามาก โดยเฉพาะ ซึ่งเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องมาหลายปีแล้วเพราะสภาพคล่องในระบบการเงินโลกมีสูงมาก จากมาตรการอัดฉีดเงินแก้วิกฤติการเงินของประเทศขนาดใหญ่

อย่างไรก็ตาม ต้องการให้รัฐบาลจัดทำ “กันชนทางการคลัง” ไว้รองรับ หากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นอีกครั้ง ด้วยการลดนโยบายประชานิยม หรือการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น เพื่อเก็บเงินสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เพราะกังวลว่าหนี้สาธารณะของไทยในปีก่อนที่ 45% อาจเพิ่มเป็น 50% ของจีดีพีในปีนี้ และมีบางส่วนที่ถูกย้ายเข้าไปให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐรับภาระแทน ซึ่งมีผลทำให้แบงก์รัฐมีสถานะทางการเงินอ่อนแอลง และเป็นภาระหนี้ผูกพันของรัฐบาล

จะใช่สงครามค่าเงินหรือไม่ก็ตาม แต่มองโดยภาพรวมในขณะนี้แล้ว เห็นได้ชัดเจนว่า ทุกครั้งที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น ผู้ส่งออกก็เดี้ยงทุกครั้งไป เรียกร้องขอยาแก้ไข้ตลอดเวลา ขณะที่รัฐบาล ไม่ได้จริงจังที่จะแก้ปัญหาระยะยาวอย่างครบวงจร ถ้าวันนี้ยังขนาดนี้ หากเกิดสงครามค่าเงินขึ้นจริง ๆ ทั้งรัฐทั้งเอกชน เคยลองถามตัวเองดูหรือยังว่า พร้อมรับมือแค่ไหน.

สอท.เข้าพบแบงก์ชาติแก้บาทแข็งอุ้มส่งออก

  นายพยุงศุักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เตรียมเข้าพบนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในช่วงเวลา 15.30 น.ของวันนี้ (29 ม.ค.) เสนอมาตรการแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งอออก 

ก่อนหน้านี้ ส.อ.ท.หารือถึงมาตรการในการดูแลค่าเงินบาทที่แข็งค่า โดยเตรียมเสนอต่อ ธปท.ใน 7 มาตรการ ประกอบด้วย 1.ดูแลค่าเงินบาทไม่ให้มีความผันผวน โดยแนะให้แบงค์ชาติเข้ามาดูแลให้เป็นพิเศษในช่วงนี้ 2.ดูแลเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง เช่น อินโดนีเซีย 3.เร่งแก้เงื่อนไขการถือครองเงินตราต่างประเทศ 4.ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEsให้เข้าถึงมาตราการการดูแลค่าเงิน โดยให้ธนาคารพาณิชย์ หรือ Exim Bank ลดวงเงินในการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงของค่าเงิน 

5.แยกบัญชีวงเงินสินเชื่อไม่ให้เงินส่วนนี้มีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ผันผวนในช่วงนี้ 6.ส่งเสริมการลงทุนของผู้ประกอบการใน-ต่างประเทศ โดยเร่งแก้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน และให้ BOI กำหนดมาตรการส่งเสริมดังกล่าวมีแรงจูงใจมากขึ้น 7.เร่งการลงทุนของภาครัฐ และเอกชน เนื่องจากช่วงที่เงินบาทแข็ง เป็นช่วงที่เหมาะสมมากที่สุด

ครม.ผ่าน 3 มาตรการ แก้ไขค่าเงินบาทแข็ง (ไอเอ็นเอ็น)

  ครม. อนุมัติ 3 มาตรการ แก้ไขค่าเงินบาทแข็งค่า เก็บภาษีต่างชาติถือบอนด์ ร้อยละ 15 ยันไม่ได้แทรกแซงการทำงานของ ธปท.
 นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลัง การประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันนี้ (12 ตุลาคม) ว่า ที่ประชุมได้อนุมัติ 3 มาตรการ ในการดูแลผู้ประกอบการส่งรายย่อย หรือ SME หลังได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว 
 - มาตรการแรกจะเป็นการยกเลิกมาตรการ การยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับผู้ถือพันธบัตรของรัฐที่เป็นชาวต่างชาติ
 - มาตรการที่สองจะเป็นมาตรการส่งเสริมในการลงทุนในต่างประเทศ
  ซึ่งทั้งมาตรการที่ 1 และ มาตรการที่ 2 นี้ จะช่วยลดแรงกดดันที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 
   - มาตรการที่สามจะเป็นการให้ความช่วยเหลือสภาพคล่อง กับ SME วงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท ผ่านทางธนาคารของรัฐ โดยจะให้กู้รายละไม่เกิน 5,000,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 
  นายกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า มาตรการข้างต้น เป็นการวางแนวทางในการช่วยเหลือและลดแรงกดดันของค่าเงินบาท ซึ่งไม่ถือเป็นการแทรกแซงการทำงานของทางธนาคารแห่งประเทศไทย ในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยน พร้อมกับมองว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องอีก 


 รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ)

ครั้งที่ 1/2556 วันที่ 9 มกราคม 2556 ธนาคารแห่งประเทศไทย

เผยแพร่ ณ วันที่ 23 มกราคม 2556

คณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุม

นายประสาร  ไตรรัตน์วรกุล (ประธาน) นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ (รองประธาน) นางทองอุไร ลิ้มปิติ 

นายอำพน กิตติอำพน นายศิริ การเจริญดี นายณรงค์ชัย อัครเศรณี และนายอัศวิน คงสิริ

  • ภาวะตลาดการเงิน

ความเชื่อมั่นในตลาดการเงินโลกปรับดีขึ้นหลังสหรัฐฯสามารถหาข้อยุติเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาฐานะการคลัง (Fiscal Cliff) ได้ในระดับหนึ่ง ส่งผลให้เงินสกุลหลักส่วนใหญ่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ยกเว้น

เงินเยนที่อ่อนค่าลงจากการคาดการณ์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของรัฐบาลใหม่ ขณะที่เงินทุนไหลเข้าในภูมิภาคกลับมาเร่งขึ้นจากเงินลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร ตามสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น สำหรับเงินบาทแข็งค่าขึ้นค่อนข้างเร็วหลังจากได้รับปัจจัยบวกตามการเจรจา Fiscal Cliff แต่โดยรวมยังสอดคล้องกับทิศทางค่าเงินของภูมิภาค 

อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินทรงตัวใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้นทุกระยะหลังการประชุมครั้งก่อน สะท้อนมุมมองต่อเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและ การคาดการณ์ของตลาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ 

  • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ

เศรษฐกิจโลกในภาพรวมฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีสัญญาณที่ดีขึ้นจากการประชุมครั้งก่อนโดยเศรษฐกิจสหรัฐฯได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการจ้างงานและภาคที่อยู่อาศัยที่ค่อยๆปรับดีขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงภาคธุรกิจมีความพร้อมที่จะกลับมาลงทุนหลังนโยบายการคลังมีความชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ดีความไม่แน่นอนในการปรับเพิ่มเพดานหนี้และการปรับลดรายจ่าย  (Sequestration) ซึ่งต้องเจรจาให้แล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญที่อาจกระทบความเชื่อมั่นในระยะสั้น สำหรับเศรษฐกิจจีนปรับดีขึ้นต่อเนื่อง โดยมีอุปสงค์ภายในประเทศเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ เช่นเดียวกับ เศรษฐกิจเอเชียส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม กรรมการบางท่านเห็นว่าปัญหาข้อพิพาทเขตแดนระหว่างจีนและญี่ปุ่นยังเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจภูมิภาคที่ต้องติดตามต่อไป ในอีกด้านหนึ่ง เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโร มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง แต่คาดว่าจะค่อยๆฟื้นตัวในปีนี้ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกหลักโดยเฉพาะเยอรมนี ส่วนหนึ่งจากความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะในกรีซซึ่งช่วยลดความเสี่ยงได้มาก สำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงอ่อนแอทั้งจากการส่งออกและอุปสงค์ภายในประเทศ ขณะที่นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่คาดว่าจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้จำกัด

เสถียรภาพด้านราคายังอยู่ในเกณฑ์ดี แรงกดดันเงินเฟ้อทรงตัวอยู่ในระดับต่ า ธนาคารกลางส่วนใหญ่จึงยังคง

อัตราดอกเบี้ยนโยบายหลังผ่อนคลายลงในช่วงก่อนหน้า เพื่อรอประเมินความชัดเจนของพัฒนาการของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภายในประเทศในระยะต่อไป

  • ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ

ประมาณการเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวดีกว่าที่ประเมินในการประชุมครั้งก่อน จากปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวสูงกว่าคาด ทั้งการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชน มองไปข้างหน้าการใช้สิทธิในโครงการรถคันแรกและความสามารถในการเร่งผลิตของบริษัทผลิตรถยนต์ที่มากเกินคาดและการปรับโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี  2556 เป็นปัจจัยสนับสนุนอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นมาจากการประชุมครั้งก่อน ขณะที่การส่งออกคาดว่าได้ผ่านจุดต่่าสุดมาแล้ว และเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในสินค้าและตลาดส่วนใหญ่ สอดคล้องกับแนวโน้มการส่งออกของประเทศอื่นในภูมิภาค สำหรับภาคบริการและการท่องเที่ยวขยายตัวดีตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่สูงมากในช่วงก่อนหน้า 

ในภาพรวมผลกระทบจากการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่่ารอบแรกต่อ profit margin ของธุรกิจ การจ้างงานและระดับราคามีไม่มาก เหตุผลหลักเนื่องจาก 1)  ธุรกิจมีการปรับตัว เช่น ใช้เครื่องจักรมากขึ้น  2) ตลาดแรงงานตึงตัวสูงและมีความยืดหยุ่นในการเคลื่อนย้ายแรงงาน และ 3) การแข่งขันในประเทศที่สูงทำให้การปรับขึ้นราคาสินค้าทำได้ยาก ซึ่งท่าให้คาดว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่่ารอบสองจะส่งผลกระทบไม่มาก เช่นกัน อย่างไรก็ดี คณะกรรมการฯ จะติดตามผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะข้างหน้า 

คณะกรรมการฯ ประเมินว่าแรงส่งของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ที่ดีกว่าคาด และปัจจัยสนับสนุนอุปสงค์ในประเทศที่มีมากขึ้นในระยะข้างหน้า ส่งผลให้การคาดการณ์เศรษฐกิจส่าหรับทั้งปี 2555 ละ ปี 2556 ปรับสูงขึ้นเล็กน้อยจากการประชุมครั้งก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 5.9 และร้อยละ 4.9 ต่อปี ตามลำดับโดยการส่งออกจะทยอยกลับมามีบทบาทต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 ควบคู่ไปกับอุปสงค์ในประเทศ ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ค่อยๆปรับดีขึ้น สำหรับความเสี่ยงด้านต่ำต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจปรับลดลงชัดเจนจากความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่ลดลง แต่ยังคงมากกว่าความเสี่ยงด้านสูง ในส่วนของแนวโน้มเงินเฟ้อในระยะต่อไป ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่่าใกล้เคียงกับการประชุม ครั้งก่อน 

  • การพิจารณานโยบายการเงินที่เหมาะสม

คณะกรรมการฯ ประเมินว่า ตลอดปีที่ผ่านมานโยบายการเงินที่ผ่อนปรนมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจากอุทกภัยและรองรับผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอได้อย่างน่าพอใจภายใต้ภาวะที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปและยังคงมีความไม่แน่นอน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังทรงตัวอยู่ในกรอบเป้าหมาย นโยบายการเงินที่ผ่อนปรนยังเป็นนโยบายที่เหมาะสมในการสนับสนุนให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

  คณะกรรมการฯ ได้หารือเกี่ยวกับทางเลือกที่เหมาะสมในการด าเนินนโยบายการเงิน และมีข้อสรุปดังนี้

(1)  เศรษฐกิจโลกในภาพรวมมีเสถียรภาพมากขึ้น จากเศรษฐกิจสหรัฐฯและจีนที่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวชัดเจน และเศรษฐกิจเอเชียที่ขยายตัวดีจากแรงส่งของอุปสงค์ในประเทศ แม้คาดว่าปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยูโรและปัญหาฐานะการคลังของสหรัฐฯจะยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไป แต่แนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มคืบหน้าเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความเสี่ยง Tail risk ของเศรษฐกิจโลกลดลงชัดเจน

(2)  เศรษฐกิจไทยขยายตัวในเกณฑ์ดี จากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ประกอบกับมีแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ ซึ่งจะทำให้แรงส่งของเศรษฐกิจในประเทศเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องอย่างน้อยถึงกลางปี 2556 ขณะที่การส่งออกเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวในเกือบทุกหมวดสินค้าและตลาด 

(3)  ภาวะการเงินในปัจจุบันอยู่ในระดับผ่อนปรนเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศที่ยังเหลืออยู่ สะท้อนจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ยังติดลบเล็กน้อย และสินเชื่อภาคเอกชนที่ยังขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่อง ขณะที่การเร่งตัวของสินเชื่อภาคเอกชนโดยเฉพาะสินเชื่อภาคครัวเรือน บางประเภทอาจก่อให้เกิดการเร่งตัวของหนี้ครัวเรือน และนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุลในระบบการเงินได้ 

คณะกรรมการฯ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี 

ทั้งนี้ คณะกรรมการบางท่านให้ข้อสังเกตว่า แม้ระดับอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันมีความเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจการเงินของประเทศ แต่จำเป็นต้องระมัดระวังและติดตามประเด็นความเสี่ยงที่อาจกระทบเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินของประเทศในระยะข้างหน้าด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเร่งตัวของสินเชื่อและหนี้ภาคครัวเรือน  ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายในภาวะที่ประเทศหลักยังดำเนินนโยบายการเงินผ่อนปรนต่อเนื่อง และระดับหนี้สาธารณะของภาครัฐที่แม้ปัจจุบันยังอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลังแต่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

   สายนโยบายการเงิน

  23  มกราคม 2556

" />

" />

"โกร่ง"จวกธปท.ไร้กึ๋น-ค่าเงินบาทแข็ง ดีแต่คิดขึ้นดอกเบี้ย-ชี้ต้นตอดูดเงินไหลเข้าไทย

  นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งผลกระทบจากนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และการแข็งค่าของเงินบาท โดยมีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 30 ม.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาลว่า นายกฯ ได้มอบหมายให้ตนในฐานะรมว.คลัง ไปประชุมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์ที่ไม่ได้อยู่ในธปท.และกนง. เพื่อหาทางแก้ปัญหาค่าเงินผันผวน

  "มีการตั้งข้อสังเกตในที่ประชุมว่า มาตรการที่มีอยู่เป็นการทวนกระแสการแข็งค่าของเงิน เป็นการทวนการไหลเข้าของเงินในระยะสั้น อาจไม่ได้เป็นมาตรการที่พอดิบพอดีกัน ซึ่งในการหารือก็มีนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการ ธปท. นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี และผู้ว่าการ ธปท. ด้วย แต่ยืนยันว่าจะไม่มีมาตรการควบคุมการไหลเข้าออกของเงินเด็ดขาด และจะไม่ใช้มาตรการเก็บภาษีจากผลตอบแทนต่างๆ" นายกิตติรัตน์กล่าว

  นายกิตติรัตน์กล่าวว่า ในระหว่างการประชุม นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้รายงานว่า ภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งเอสเอ็มอีที่ส่งออกก็ได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าด้วย จึงต้องหามาตรการช่วยเหลือ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะทำงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าไทย และสถาบันการเงิน อีกทั้งจะตั้งรมว.อุตสาหกรรม และรมว.พาณิชย์ เพิ่มเติมในคณะกรรมการชุดนี้ด้วย

  วันเดียวกัน นายวีรพงษ์กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "Thailand"s Economic Outlook 2013" จัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ที่โรงแรมเชอราตัน สุขุมวิท ว่า ขณะนี้มาตรการกระตุ้นและอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจากสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น สร้างความกังวลต่อปัญหาเงินร้อนที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ของไทยอย่างร้อนแรง ทั้งที่ปัจจัยพื้นฐานในประเทศ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไม่เปลี่ยนแปลง แต่หุ้นปรับตัวขึ้นสูง สะท้อนเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามาการเก็งกำไร ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นและอาจเกิดปัญหาฟองสบู่ในตลาดเงิน จนอาจลุกลามเข้าไปในภาคอสังหาริมทรัพย์

  ทั้งนี้ เงินทุนที่ไหลเข้าเกิดจากดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ 2.75% ที่สูงกว่าของสหรัฐอยู่ที่ 0.25% ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าธปท.ควรปรับลดดอกเบี้ยลงเพื่อลดมูลเหตุจูงใจการไหลเข้าของเงิน พร้อมกับมีมาตรการสกัดกั้นการไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้น และต้องไม่ใช่การใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ โดยมองว่าหากเงินบาทแข็งค่าในกรอบ 28 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ภาคธุรกิจจะอยู่ไม่ได้

  "สิ่งสำคัญคือ ผู้บริหารนโยบายการเงินไม่เข้าใจเรื่องการเชื่อมโยงกันระหว่างส่วนต่างดอกเบี้ยกับเงินทุนเคลื่อนย้ายที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะธปท.มีความคิดแต่จะขึ้นดอกเบี้ย ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้าย แม้ผมเป็นประธานธปท.ก็ยังพูดกันไม่ได้ ซึ่งการปล่อยให้ดอกเบี้ยของไทยสูงกว่าของสหรัฐนานเกินไป ทำให้การปรับลดส่วนต่างดอกเบี้ยลงมาอยู่ในระดับเดียวกันหรือต่ำกว่าต้นทุนของเงินไหลเข้าที่ระดับ 0.75-1% เพื่อช่วยให้เงินบาทอ่อนค่าลงถือว่าเหมาะสม แต่คงเป็นเรื่องที่ทำได้ยากแล้ว เพราะขณะนี้สินเชื่อและราคาอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้นกลับจะยิ่งซ้ำเติมให้สินเชื่อขยายตัวสูงขึ้น อาจซ้ำรอยวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540" นายวีรพงษ์กล่าว

  นอกจากนี้ จากการหารือถึงผลกระทบการแข็งค่าของเงินบาทที่มีต่อผู้ส่งออกนั้น ในที่ประชุมก็ไม่เห็นมีใครเสนอวิธีที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง มีแต่แนวทางสนับสนุนให้เงินออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งวิธีเหล่านั้นเป็นเพียงแค่ยาแดง ยาดม ยาลม ยาหม่อง เท่านั้น

  นายบัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการ IOD กล่าวว่า ในภาวะนี้ไม่ควรกดดันให้ลดดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดเงินทุนไหลเข้า เพราะสาเหตุที่ทำให้เงินทุนไหลเข้ามีหลายปัจจัยมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะปัจจัยจากต่างประเทศ

  ด้านนายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวิจัย บริษัท หลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เบื้องต้นประเมินว่าเงินทุนเคลื่อนย้ายจะยังคงไหลเข้ามาลงทุนในไทยต่อเนื่องไปอีก 2 ปีแน่นอน

  นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กล่าวว่า สศค.ติดตามภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในขณะนี้ พบว่ายังอยู่ในระดับที่สศค.คาดการณ์ไว้ว่าปีนี้ค่าเงินบาทอยู่ที่ 30.7 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สศค.ยังคาดการณ์ว่าไตรมาส 4/2555 เศรษฐกิจจะขยายตัว 15.9% ผลักดันให้ทั้งปี 2555 ขยายตัวได้ 5.7% การส่งออกอยู่ในระดับ 3.1% ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 3.9% ส่วนในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวได้ 5% มูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ 10% อย่างไรก็ตาม สศค.จะปรับประมาณการเศรษฐกิจปีนี้ใหม่ในช่วงเดือนมี.ค.2556


                                    

นายกฯสั่ง "โต้ง" จับเข่าคุยแบงก์ชาติแก้ปัญหาค่าเงินบาท

วันพุธที่ 30 มกราคม 2556 เวลา 21:47 น.

วันนี้ ( 30 ม.ค.) นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง  เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า นายกฯได้มอบหมายให้ตนเองในฐานะรมว.คลัง ไปหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์ที่ไม่ได้อยู่ในธปท.และกนง. เพื่อหาทางแก้ปัญหาค่าเงินผันผวนต่อไป  โดยยืนยันว่าสิทธิและหน้าที่ในการกำกับดูแลนโยบายการเงินยังเป็นของ ธปท.และ กนง.เช่นเดิม

ทั้งนี้มีการตั้งข้อสังเกตในที่ประชุมว่า มาตรการที่มีอยู่เป็นการทวนกระแสการแข็งค่าของเงินบาทซึ่งเป็นการทวนการไหลเข้าของเงินในระยะสั้น อาจไม่ได้เป็นมาตรการที่พอดิบพอดีกัน ซึ่งในการหารือมีทั้งนายวีรพงษ์ รามางกูร  ประธานคณะกรรมการธปท. นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์  ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี ผู้ว่าการธปท. ซึ่งเฉพาะในส่วนของนักเศรษฐศาสตร์  นักการเงิน เห็นว่ามีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงิน ที่ดูแลการไหลเข้าของเงินทุนที่มีความเสี่ยงว่าเป็นเงินทุนระยะสั้น

นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเป็นห่วงสถานการณ์ค่าเงินบาทที่ผันผวนและแข็งค่าขึ้น ซึ่งทางธปท.ได้รายงานว่า ในช่วงสั้น ๆ มีเงินทุนไหลเข้ามา  บางส่วนเข้ามาลงทุนในตราสาร บางส่วนเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยอาจถือการลงทุนยาวก็ได้ แต่เกิดขึ้นในช่วงสั้นและมีความเสี่ยง เพราะฉะนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่เงินทุนไหลเข้าได้ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น  ขณะที่แนวทางหรือมาตรการในการดูแลค่าเงินบาท จะเป็นมาตรการระยะกลางและระยะยาว เช่น การส่งเสริมนักธุรกิจไทยไปลงทุนต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าจะไม่มีมาตรการที่ควบคุมการไหลเข้าออกของเงินเด็ดขาด เพราะต้องยอมรับว่าไทยเป็นประเทศเปิด แต่ใช้กลไกทำงานที่เป็นทิศทางของการบริหารนโยบายการเงิน และจะไม่ใช้นโยบายควบคุมและไม่ใช้มาตรการเก็บภาษีจากผลตอบแทน ไม่ว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มจากกำไรของการลงทุน ภาษีผลตอบแทนดอกเบี้ยและเงินปันผล เพราะไม่ใช่นโยบายการเงิน

นายกิตติรัตน์  กล่าวด้วยว่า ในระหว่างการประชุม นายนิวัฒน์ธำรง  บุญทรงไพศาล  รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รายงานว่าหลังจากที่ครม.เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอีแล้ว จะเร่งทำงานร่วมกับภาคเอกชนโดยจะนำรูปแบบของสถาบันการเงินและวิธีการขององค์กรขนาดใหญ่มาช่วยเหลือ โดยเตรียมแต่งตั้งรมว.อุตสาหกรรมและรมว.พาณิชย์เข้ามาเพิ่มเติมด้วย

 

แบงก์ชาติลั่นพร้อมออกมาตรการสกัดบาทแข็ง

 

       นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ช่วง 1-2 วันนี้ ธปท.ยอมรับว่า ค่าเงินบาทไทยแข็งค่าขึ้นค่อนข้างเร็วเมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นผลจากเงินทุนต่างประเทศที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ไทยจำนวนมาก อีกทั้งเงินที่เข้ามาส่วนใหญ่เป็นการลงทุนระยะสั้น ซึ่งเป็นสัญญาณของการเก็งกำไรในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยน โดยเรื่องนี้ทางธปท.เองก็กำลังติดตามดูอยู่อย่างใกล้ชิด

"อัตราแลกเปลี่ยนโดยรวมๆ ก็เคลื่อนไหวไปทิศทางเดียวกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาค เพียงแต่สลับกันบ้าง อย่างปีที่แล้วเราแข็งค่าน้อยกว่าสกุลอื่น มาปีนี้เราก็แข็งค่ากว่าเขาบ้าง ก็เป็นธรรมชาติ แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเวลานี้คงต้องระมัดระวังให้มาก เพราะเริ่มเห็นสัญญาณการเก็งกำไรระยะสั้น และการที่เงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางแบบนี้ก็เหมือนว่ามีการมองข้ามปัจจัยเสี่ยงในตลาดการเงินระหว่างประเทศไป"นายประสารกล่าว

สำหรับมาตรการดูแลการเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนนั้น เขากล่าวว่า เรื่องนี้ธปท.ได้เตรียมเครื่องไม้เครื่องมือในการดูแลไว้พร้อมอยู่แล้ว และธปท.จะไม่ผูกมัดตัวเองว่าจะไม่มีการใช้มาตรการเหล่านี้ เพราะหากเห็นว่าถ้าใช้แล้วส่งผลดีต่อประเทศชาติ ทางธปท.ก็พร้อมนำมาตรการที่มีอยู่เหล่านี้มาใช้

อย่างไรก็ตาม นายประสาร ปฎิเสธที่จะให้ความเห็นว่า ธปท.จะเข้าแทรกแซงในตลาดการเงินหรือไม่ โดยระบุว่า การแทรกแซงในตลาดการเงินนั้นมีต้นทุนในการดำเนินการ และอย่างที่ธปท.มีการชี้แจงมาตลอดว่า ธปท.ต้องการให้การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปตามกลไกตลาดและตามพื้นฐานของเศรษฐกิจ ยกเว้นแต่ว่าการเคลื่อนไหวจะไม่เป็นไปตามนั้น

 

"ไม่คิดว่าการแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นในลักษณะของ one way bet เพราะเงินที่เข้ามา เป็นลักษณะของการลงทุนระยะสั้น ซึ่งพวกนี้เขาพร้อมจะปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากข่าวต่างๆ ที่มีผลต่อการลงทุนมีการเปลี่ยนแปลง ก็อาจทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนได้ ดังนั้นใครที่อยู่ในตลาดเงินเวลานี้ก็ต้องระมัดระวังไว้บ้าง"นายประสารกล่าว

สำหรับผลกระทบของผู้ประกอบการภาคส่งออกนั้น เขายอมรับว่า ช่วงนี้ถือเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าว โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็กที่มีกำไรขั้นต้นน้อยและไม่สามารถต่อรองกับลูกค้าได้ แต่สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีกำไรขั้นต้นสูง มีอำนาจในการต่อรองมากก็ไม่น่าจะมีปัญหาเท่าไร

นายประสาร กล่าวด้วยว่า ปกติ ธปท.จะมีการพบปะหารือกับตัวแทนผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อยู่แล้ว และในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้ เข้าใจว่า ธปท. จะมีการพบปะกับทางสภาหอการค้าไทย ซึ่งเป็นการหารือตามวาระปกติที่มีเป็นประจำทุกปี

ส่วนคำถามที่ว่าการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศจำนวนมากนี้ เป็นเพราะเขาผิดหวังจากการโจมตีค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกงที่ไม่สำเร็จ จึงหันมาเก็งกำไรในอัตราแลกเปลี่ยนสกุลต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งค่าเงินบาทไทยแทนใช่หรือไม่ ซึ่งนายประสาร กล่าวว่า เงินที่ไหลเข้าฮ่องกงกับไทยนั้น มีความแตกต่างกันในการดูแล โดยฮ่องกงธนาคารกลางเป็นผู้เข้าดูแลตลาดการเงิน ในขณะที่ของไทยนั้น กลไกตลาดเป็นตัวดูแล เพราะถ้าเงินไหลเข้ามาทำให้ค่าเงินแข็งขึ้น นักลงทุนแลกเงินได้น้อยลง อย่างนี้โอกาสที่จะไหลเข้ามาเพิ่มก็อาจจะน้อยลงได้

"มันต่างกัน อย่างของฮ่องกงเป็นอีกระบบ ของเขาใช้วิธีตรึงค่าเงินไว้กับที่ เมื่อเงินไหลเข้ามา ของเขาก็จะเหมือนกับการ bet กับเจ้ามือว่า เจ้ามือจะยืนได้แค่ไหน แต่ของเรามันผ่อนเอา แทนที่จะเข้ามาปะทะ ของเราก็ปล่อยให้กลไกตลาดเป็นตัวช่วยปรับเปลี่ยน เรายังคอยหลบหลีกไม่เข้าปะทะได้"นายประสารกล่าว

สำหรับทิศทางเงินทุนเคลื่อนย้ายนั้น เขากล่าวว่า ปีนี้ก็มีโอกาสที่เงินทุนต่างชาติยังเป็นทิศทางไหลเข้าได้อยู่ เพราะถ้าดูภาพรวมเศรษฐกิจไทยรวมถึงเศรษฐกิจในกลุ่มภูมิภาคเอเชียยังถือว่าเติบโตได้ดี เพียงแต่เราก็มีมาตรการสนับสนุนให้นักลงทุนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศ อย่างปีที่ผ่านมานักลงทุนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศรวมกันกว่า 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่เงินทุนไหลเข้ามามีประมาณ 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ สัดส่วนจึงถือว่าใกล้เคียงกัน

 

สอท.เสนอ 7มาตรการแก้ปัญหาบาทแข็ง

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงการณ์การประชุมหารือระหว่าง ส.อ.ท. และสมาคมภาคการค้าเรื่อง “ท่าทีภาคเอกชนต่อนโยบายด้านอัตราดอกเบี้ยกับสภาวะการแข็งค่าของเงินบาท” ว่า ที่ประชุมเสนอแนวทางการแก้ปัญหาค่าเงินบาท 7 ข้อ ได้แก่

1. ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งจะประชุมในวันที่ 20 ตุลาคม 2553 ลดดอกเบี้ยนโยบายให้เหลือร้อยละ 1.25 เป็นอย่างน้อย จนถึงไตรมาส 1 ปี 2554 เป็นอย่างน้อย เนื่องจากดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในอัตราร้อยละ 1.25 - 1.75 ไม่เป็นปัจจัยที่จะทำให้เงินเฟ้อขยายตัวอย่างเป็นนัยสำคัญ เห็นได้จากดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ก็ไม่ได้มีการปรับตัวตามอัตราดอกเบี้ย ของ ธปท. อยู่แล้ว ประกอบกับ อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank) ก็มีอัตราต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบาย จึงไม่มีเหตุผลให้สถาบันการเงินเร่งการปล่อยกู้ หรือ ทำให้เกิดการใช้จ่ายจนเป็นปัญหาของฟองสบู่เหมือนในอดีต

นายพยุงศักดิ์ กล่าวต่อว่า ธปท.อย่าปรับดอกเบี้ยโดยใช้เหตุผลของเรื่องเงินเฟ้อ เนื่องจากปัจจุบันประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ซึ่งต่ำมาก นอกจากนี้ยังคาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปปี 2554 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.2 แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยอาจจะมีการติดลบบ้างก็ไม่ได้เป็นปัจจัยที่เป็นนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศไทย

"ภายใต้ความแปรปรวนของระบบการเงินโลก ธปท. ไม่ควรใช้นโยบายการเงินในการควบคุมเงินเฟ้อ ขณะเดียวกันภายใต้วิกฤติ Currencies War Crisis ธปท. ไม่ควรใช้ดอกเบี้ยนโยบายสูง และไม่สามารถปล่อยระบบการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนไปตามกลไกตลาด เพราะมีปัจจัยตัวแปร จากการเข้ามาเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน และการปั่นเงินผ่านตลาดทุนและตราสารหนี้"

 

2. มาตรการต่างๆ ทั้งของกระทรวงการคลัง และ ธปท. ที่ออกมาแล้ว ขอให้ผลักดันให้มีผลในทางปฏิบัติ การตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมกับภาคเอกชนในการขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริง ซึ่งต่างชาติจะเห็นช่องโหว่และเร่งเข้ามาเก็งกำไร เช่น การชำระค่าระวางเรือและค่าสินค้า ซึ่งยังติดปัญหาด้านเทคนิคกับกรมสรรพากร รวมถึงการปล่อยสินเชื่อภายใต้โครงการ Packing Loan และ Soft Loan ขอให้มีการกำหนดการพิจารณาหลักประกันในลักษณะผ่อนปรนหลักประกันหรือ PSA ฯลฯ

3. ธปท. ต้องส่งสัญญาณอย่างจริงจังในการดูแลไม่ให้เงินผันผวนไปตามการเก็งกำไร

4. ขอให้ ธปท. เข้มงวดเงินที่เข้ามาในลักษณะเก็งกำไรทั้งในตลาดทุน และตลาดตราสารหนี้ โดยอาจจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจขึ้นมาตรวจสอบติดตามและควบคุมเงินเข้าและออกซึ่ง มีลักษณะเก็งกำไร โดยเฉพาะควรต้องเพิ่มแบบฟอร์มให้นักลงทุนต่างชาติต้องระบุว่าจะนำมาเงินมา ใช้ในกิจกรรมใด ในธุรกิจประเภทใด และเมื่อมีการนำเงินออก แหล่งที่มาของรายได้นั้นมาจากใด เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การทำธุรกรรมมีความเข้มงวด รัดกุม

5.ขอให้ ธปท. ออกกฎเกณฑ์ควบคุมและจำกัดจำนวนเงินกู้ยืม และ แลกเปลี่ยนเงินบาท ของสถาบันการเงิน และ/หรือ ผู้ประกอบการธุรกิจด้านการเงิน รวมถึง บริษัทในเครือ ในการจำกัดการกู้เงินบาทไปแลกดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นการจำกัดการเก็งกำไรเงินในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่ซื้อขายในต่าง ประเทศ

6. ขอให้ ธปท. และกระทรวงการคลัง ร่วมมือในการหามาตรการที่เข้มข้นเพิ่มขึ้นกว่าที่ออกมาแล้ว โดยใช้นโยบายทั้งการเงิน และการคลัง สอดประสานในการสกัดกดดัน เพื่อลดการนำเงินเข้ามาเก็งกำไรในระยะสั้น

และ 7. ขอให้พิจารณาดำเนินการออกมาตรการชั่วคราวในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมของเงิน ทุนระยะสั้น ที่ไหลเข้ามาในประเทศ ในอัตราร้อยละ 2.0-4.0 ซึ่งปัจจุบันมีหลายประเทศที่ทำอยู่ เพื่อลดการไหลเข้าของเงินจนกว่าจะอยู่ในสภาวะปกติ

SCBEIC ประเมินเศรษฐกิจ Q1/2556 ดีปานกลาง คาด ธปท. ลดดอกเบี้ยเหลือ 2.25% ในกลางปีนี้

1 กุมภาพันธ์ 2013

info1

ศูนย์วิจัยฯ ไทยพาณิชย์ ประเมินเศรษฐกิจไตรมาส 1/2013 ยังเติบโตได้จากแรงหนุนการใช้จ่ายในประเทศ จับตาเงินทุนยังไหลเข้าต่อเนื่อง กดดันเงินบาทแข็งยืนระดับ 29.5 บาทต่อดอลลาร์ และลุ้น ธปท.ลดดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 2.25% ในกลางปีนี้

วันที่ 31 มกราคม 2556 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCBEIC) ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไตรมาส 1 ปี 2013 ในภาพว่า เศรษฐกิจไทยจะมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ 4.9% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับดีปานกลาง โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากเศรษฐกิจภายในประเทศที่เติบโตค่อนข้างดี ทั้งจากการใช้จ่ายภายในประเทศ และการลงทุนในภาครัฐ

ในส่วนของภาคครัวเรือนยังได้แรงสนับสนุนจากนโยบายการคืนภาษีรถคันแรกของรัฐบาล ทำให้การบริโภคขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีการส่งมอบจำนวนรถยนต์ประมาณ 600,000 คัน ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2013 อีกทั้งมีการทยอยคืนเงินภาษีรถยนต์ในปี 2013 ให้กับผู้ขอใช้สิทธิประมาณ 40,000-50,000 ล้านบาท ที่บางส่วนจะนำไปสู่การบริโภค

ขณะที่ภาครัฐนั้น การลงทุนทั้งในและนอกงบประมาณรวมถึงรัฐวิสาหกิจ คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 800,000 ล้านบาท หรือมากกว่าปีก่อนราว 18% โดยปัจจัยหลักจะมาจากการลงทุนเพื่อการบริหารจัดการน้ำ

สำหรับการลงทุนของภาคเอกชนนั้น น่าจะได้รับอานิสงส์จากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือ FDI ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะจากญี่ปุ่น ซึ่ง SCBEIC ประเมินว่า ในปี 2013 FDI ในไทยจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 4 แสนล้านบาท โดยปัจจัยสำคัญที่จะทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นลงทุนนอกประเทศมากขึ้นคือการขาดแคลนประชากรวัยทำงานในญี่ปุ่น และค่าเงินเยนที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก อีกทั้งการที่นักลงทุนญี่ปุ่นชะลอการลงทุนในจีนและขยายโอกาสโดยเพิ่มการลงทุนในอาเซียนมากขึ้น โดยไทยยังคงเป็นจุดหมายการลงทุนหลักในอาเซียนของนักลงทุนญี่ปุ่นในปัจจุบัน

ส่วนการส่งออกปีนี้จะขยายตัวได้ในระดับต่ำราว 7.5% เนื่องจากกำลังซื้อจากประเทศคู่ค้าหลักยังมีแนวโน้มชะลอตัวในช่วงครึ่งปีแรก โดยสินค้าที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นชัดเจนจากปีก่อนหน้า ได้แก่ สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรมในกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน

ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์น่าจะมีการปรับตัวดีขึ้นบ้าง แต่อาจใช้เวลาพอสมควรในการปรับตัว ดังนั้น ธุรกิจจึงควรหันมาให้ความสนใจกับตลาดเพื่อนบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) เนื่องจากเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง โดยในช่วงปี 2006-2011 การส่งออกของไทยไปกลุ่ม CLMV ขยายตัวเฉลี่ย 20% ต่อปี

ในส่วนของภาคการเงินนั้น ในปี 2013 จะมีสภาพคล่องจำนวนมากเข้าสู่ตลาดการเงินของโลกจากมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก ซึ่งมีแนวโน้มว่าสภาพคล่องจำนวนหนึ่งจะไหลเข้ามาในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่รวมถึงประเทศไทย และอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินหากอัตราแลกเปลี่ยนมีการปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว

info_002

ทาง SCBEIC คาดว่า ธปท. จะมีมาตรการผ่อนคลายเงินทุนเคลื่อนย้ายเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนเงินทุนออกไปนอกประเทศมากขึ้น และแทรกแซงค่าเงินบาทเพื่อลดความผันผวนและรักษาระดับค่าเงินบาท ไม่ให้เคลื่อนไหวต่างจากค่าเงินต่างๆ ในภูมิภาคมากนัก รวมไปถึงอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้ง ให้เหลือ 2.25% ภายในกลางปีนี้ เพื่อลดส่วนต่างอัตราผลตอบแทนในและนอกประเทศ ซึ่ง ธปท. สามารถทำได้เนื่องจากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวล โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2013 น่าจะอยู่ที่ราว 3% ทั้งนี้ SCBEIC ประเมินว่า ค่าเงินบาทมีแนวโน้มจะแข็งค่าไปอยู่ที่ระดับ 29.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นปี 2013

ด้านเศรษฐกิจโลก ยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัวในครึ่งแรกของปี 2013 ก่อนจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2013 ยังคงถูกชี้นำโดยความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายการคลัง ซึ่งสหรัฐฯ จะต้องพบกับแรงฉุดจากมาตรการขึ้นภาษี และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดลดค่าใช้จ่ายภาครัฐในช่วงต้นปี 2013

ขณะเดียวกัน นโยบายผ่อนคลายทางการเงินที่มีทั้งการคงดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำที่ 0-0.25% และมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing: QE) จะช่วยชดเชยแรงฉุดดังกล่าว โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2013 จะเติบโตประมาณ 1.5-2% และอัตราการว่างงานจะอยู่ที่ระดับ 7.5-8% นอกจากนี้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2013 ยังต้องจับตาดูการเจรจาเรื่องนโยบายการคลังในส่วนของการตัดลดค่าใช้จ่ายและการขยายเพดานหนี้ แต่คาดว่าผลกระทบต่อรายจ่ายของรัฐในปี 2013 จะมีไม่มากนัก

ในส่วนของเศรษฐกิจยุโรปนั้น SCBEIC ประเมินว่ายังอ่อนแอและจะยังอยู่ในภาวะถดถอยในช่วงครึ่งแรกของปี 2013 เนื่องมาจากการหดตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจยุโรปเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้นบ้างทั้งจากดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ และเสถียรภาพทางการเงินที่ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการ Outright Monetary Transactions (OMTs) จึงมีความเป็นไปได้ที่ยุโรปจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงปลายปี 2013 โดยรวม SCBEIC คาดว่า เศรษฐกิจยุโรปจะหดตัวประมาณ 0.3% ในปี 2013

สำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่นนั้น SCBEIC ประเมินว่า ปีนี้น่าจะขยายตัวราว 1.5% จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐโดยเฉพาะในส่วนของการใช้จ่ายผ่านโครงการลงทุนต่างๆ และการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ อย่างไรก็ตาม มีความเสี่ยงในเรื่องของความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณ ที่อาจจะทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ได้

ด้านเศรษฐกิจจีน จะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี 2012 หลังจากชะลอตัว 7 ไตรมาสติดต่อกัน การผลัดเปลี่ยนผู้นำจีนชุดใหม่ซึ่งจะเข้าดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคมนี้ น่าจะทำให้มีมาตรการสนับสนุนภาคเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีแนวโน้มจะขยายตัวขึ้นมากในปีนี้ตามวัฏจักรการเปลี่ยนผ่านในพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยเศรษฐกิจจีนน่าจะเติบโตได้ที่ 8.1% ในปี 2013

จับตาธปท.รับมือ 'บาทแข็ง'จี้'คุมทุนไหลเข้า-ลดอาร์/พี'

ค่อยหายใจเต็มปอดขึ้นบ้าง เมื่อสถานการณ์บาทแข็งค่าผ่อนแรงกดดันลงจากก่อนหน้า โดยกลับอ่อนค่าคงปิดที่อัตรา 29.98 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสุดสัปดาห์ก่อน ต่อเนื่องถึงต้นสัปดาห์นี้ ที่บางช่วงค่าบาทอ่อนกลับไปที่ 30 บาทเล็กน้อยต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

alt   

กระนั้นความวิตกถึงสถานการณ์บาทแข็งยังมีอยู่ และรวมศูนย์การเรียกร้องไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผู้กำกับดูแลนโยบายการเงิน ของสองสถาบันเอกชนจากภาคผลิตจริง ทั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) หรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
   ซึ่งยังคงมีข้อเสนอให้ธปท.ใช้ 2 มาตรการหลัก ที่เป็นยาแรงและส่งผลกระทบในวงกว้าง คือ ออกมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า (Capital Control) และลดอัตราดอกเบี้ยทางการ (อาร์/พี) ซึ่งก่อกระแสการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ทั้งในทางสนับสนุนและคัดค้านอยู่ในเวลานี้ 
-ภาคผลิตจี้คุมเงินร้อน
   ทั้งนี้ ในสถานการณ์บาทแข็งนั้น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือส.อ.ท. เป็นสถาบันภาคเอกชนแรก ในกลุ่มภาคผลิตจริง ที่ได้เรียกประชุมกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อประเมินผลกระทบ และรวบรวม 7 ข้อเสนอยื่นธปท. และรัฐบาล เพื่อพิจารณาช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2556 ประกอบด้วย
   1.ธปท.ควรดูแลค่าเงินบาทไม่ให้เกิดความผันผวน 2.อย่าให้เงินบาทไทยแข็งค่ากว่าคู่แข่ง เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย  3.อยากให้ปลดล็อกเรื่องการถือเงินตราต่างประเทศให้นานขึ้น โดยไม่บังคับผู้ส่งออกให้รีบขายเงินที่ถือ 4.ลดวงเงินค่าธรรมเนียมการทำประกันความเสี่ยงการส่งออกให้กับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) 5.ขอให้ธปท.นำมาตรการออกมาควบคุมเงินต่างประเทศเข้ามาเก็งกำไร เช่น มาตรการสำรอง 30% ในช่วง 6 เดือนถึง 1  ปีเช่นในอดีต หรือการเก็บภาษีจากกำไรจากการขายหุ้น เป็นต้น 6.ขอให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เร่งออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนไทยไปต่างประเทศ  ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมายมานานพอสมควร และ 7.ให้ภาครัฐเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ในช่วงที่เงินบาทแข็งค่า เพื่อให้ค่าเงินอ่อนตัวลง
   ข้อเรียกร้องของภาคผลิตนั้นสะท้อนถึงความเข้าใจการบริหารค่าเงินของธปท.มากขึ้น คือ ไม่เรียกร้องให้สู้ค่าเงิน ไม่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเป้าหมาย ว่าต้องเป็นเท่าไหร่ เช่นการเรียกร้องในอดีต ซึ่งหากมีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเป้าหมายอย่างชัดเจน จะยิ่งเปิดช่องให้มีการโจมตีค่าเงินทันที
   กระนั้น ส.อ.ท.ก็มีข้อเรียกร้องที่เป็น"ยาแรง"  คือ ข้อเสนอที่ 5 .การใช้มาตรการคุมเงินลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งแม้จะมีหลายมาตรการให้เลือกใช้ในกลุ่มนี้ แต่ก็จะส่งผลทางลบต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นหรือตลาดตราสารหนี้ทันที
   ทั้งนี้ นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานส.อ.ท. นำทีมกรรมการ เข้าหารือนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. ในบ่ายวันอังคารที่ 29 มกราคมนี้ โดยก่อนหน้านี้ผู้ว่าการประสาร ย้ำว่า ธปท.มีมาตรการเตรียมไว้พร้อมแล้ว ไม่กลัวที่จะใช้ แต่จะเลือกใช้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ 
   ขณะที่เย็นวันเดียวกัน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ก็เปิดแถลงผลกระทบและเสนอมาตรการให้รัฐบาลดูแลผลกระทบ โดยเรื่องหลักยังคงอยู่ที่"ยาแรง"เพื่อลดผลกระทบจากค่าบาทแข็งที่เกิดกับผู้ส่งออกเช่นกัน
-ใช้ยาแรงหวั่นตลาดช็อก
   ต่อกรณีที่ผู้ประกอบการส่งออกเสนอให้ธปท.ออกมาตรการควบคุมเงินไหลเข้า หรือCapital Control เพื่อสกัดการแข็งค่าของเงินบาทนั้น นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนา ทีดีอาร์ไอ มองว่า ภาวะเงินบาทแข็งจะมีโอกาสขยายวงกว้างนานตลอดทั้งปี และมีความผันผวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละจังหวะที่มีปริมาณเงินไหลเข้ามา  โดยระยะปานกลางธปท.จำเป็นต้องมีมาตรการดูแล เพื่อลดความผันผวนหรือกำหนดทิศทางค่าเงิน แต่ไม่ควรใช้มาตรการแทรกแซงให้เงินอ่อนค่า หรือมาตรการเพื่อกำหนดทิศทางชัดเจนเช่นอดีต ไม่เช่นนั้นตลาดจะช็อกหรือหุ้นตกแรง และกรณีค่าเงินผันผวนรุนแรงเกิน 5% จึงใช้มาตรการดังกล่าว
   สอดคล้อง  " นิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์" กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย กล่าวว่า  หาก ธปท.จะออกมาตรการอะไร ต้องมีประกาศที่ชัดเจนไม่ใช่เป็นมาตรการชั่วครว เพื่อไม่ให้นักลงทุนไม่กล้าเข้ามาในระยะยาว  พร้อมเสนอแนะธปท. ใช้แนวทางเดียวกับประเทศมาเลเซียที่ดำเนินการอยู่ คือ ให้นักลงทุนต่างชาติลงทะเบียนก่อนเข้ามาลงทุน และหากพบว่านักลงทุนรายใดมีแนวโน้มที่จะลงทุนเพื่อโจมตีค่าเงิน หรือลงทุนผิดปกติ  ก็ให้ระงับการลงทุนในประเทศไป
   ขณะที่ นางสาวอริยา ติรณะประกิจ  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ระบุว่า  ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา มีเงินไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ถึง 1 แสนล้านบาท โดย 90% เป็นตราสารหนี้ระยะสั้น และมีแนวโน้มที่จะไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง  การป้องกันการลงทุนระยะสั้น อาจใช้มาตรการแบบอินโดนีเซีย คือ การลงทุนซื้อพันธบัตรต้องถือจนครบอายุ ห้ามซื้อขายก่อนครบกำหนด จะช่วยลดการเก็งกำไรระยะสั้น
   การใช้มาตรการคุมเงินไหลเข้านี้ นายประสารกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่อยากให้ความเห็นเกี่ยวกับมาตรการนี้มากนัก แต่ธปท.ติดตามดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะมีหน้าที่ดูแลเสถียรภาพการเงินของประเทศ ยอมรับเวลานี้มีความไม่แน่นอนอยู่มาก การใช้เครื่องมือต้องยืดหยุ่นพอสมควร สอดคล้องกับความเป็นจริงและเป็นประโยชน์กับประเทศ
alt

เปิดวิวาทะ"ลดอาร์/พี"
   นอกจากมาตรการคุมทุนไหลเข้าแล้ว ประเด็นลดดอกเบี้ยทางการ หรืออาร์/พีก็เป็นอีกหนึ่งหัวข้อร้อนของข้อถกเถียงที่มองคนละมุม
   วัลลภ จิตนากร รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า เข้าพบผู้ว่าการ ธปท. เพื่อยื่นข้อเสนอ 7 มาตรการแล้ว จะหารือถึงนโยบายอัตราดอกเบี้ยด้วย เพราะของไทยที่ระดับ 2.75% สูงมากเพื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยในภูมิภาค เช่น ญี่ปุ่น มีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.1%  จึงเป็นตัวดึงดูดทุนไหลเข้าที่กดดันบาทให้แข็งค่าเวลานี้
   มุมมองนี้ฝ่ายการเมืองโดย"ขุนคลังโต้ง"กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรัฐมนตรีคลัง แม้จะพยายาม"ไม่คอมเมนต์"ตลอดช่วงภาวะบาทแข็งที่ผ่านมา เพื่อไม่ให้เกิดภาพว่า ฝ่ายการเมืองเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงงานของแบงก์ชาติ  แต่ท้ายสุดก็อดแสดงจุดยืนไม่ได้ว่า
   "ค่าเงินบาทที่แข็งในขณะนี้เพราะเกินดุล ทั้งดุลการค้า ดุลบริการ ดุลการชำระเงิน ส่วนตัวพยายามมองและเตือนมาตั้งแต่แรก ๆ แล้ว ว่าการเกินดุลมากจะส่งผลไม่ดีต่อเศรษฐกิจ แต่บางฝ่ายไม่เชื่อและปรับดอกเบี้ยให้สูงขึ้น จึงเป็นแรงดึงดูดเงินมากขึ้น หากให้ความเห็นมากก็อาจจะเป็นการก้าวก่ายการทำงานของแบงก์ชาติ"
   อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท.ก็ชี้แจงทันทีเช่นกันว่า การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ธปท.ไม่สามารถพิจารณาปัจจัยหนึ่งปัจจัยเดียว อย่างที่เอกชนพูดมาเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งแต่ไม่ใช่ปัจจัยหลักหรือปัจจัยเดียว ทางคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) จะต้องพิจารณาทั้งการขยายตัวเศรษฐกิจ เสถียรภาพเศรษฐกิจ และเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน ควบคู่กันไป 
   และที่สำคัญอัตราดอกเบี้ยไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะกำหนดการไหลเข้าของเงินทุน เพราะขณะนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของฮ่องกงที่ต่ำมากอยู่ใกล้ศูนย์ แต่ก็มีเงินไหลเข้าฮ่องกงพอสมควร
-ขีดทนทาน"ค่าบาท"
   บาทแข็งครั้งนี้ ฝ่ายต่าง ๆ ประเมินความร้อนแรงและขีดความอึดในการรับแรงกดดันแตกต่างกันไป โดยกลุ่มผู้ส่งออกจากการสำรวจของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทยนั้น ผู้ประกอบการเห็นว่า ค่าเงินบาทแข็งค่าที่สุดที่สามารถยอมรับได้ อยู่ที่ 29.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และจะรับแรงกดดันนี้ไปได้ 45 วัน
   ด้าน ส.อ.ท.ชี้ว่า ผู้ประกอบการหวั่นวิตกว่า สถานการณ์บาทแข็งค่าครั้งนี้ อาจทำให้อัตราแลกเปลี่ยนหลุดกรอบ 29 บาทได้  ขณะที่ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ บมจ.ไทยพาณิชย์ รายงานว่า ปลายไตรมาสแรกปีนี้มีโอกาสจะเกิดความผันผวนในตลาดเงิน ซึ่งมีโอกาสที่ธปท.จะใช้มาตรการลดดอกเบี้ยอาร์/พีได้อีก 0.50% ในครึ่งแรกปีนี้ ขณะที่สิ้นปีศูนย์ฯยังคาดการณ์เงินบาทจะแข็งค่าที่ระดับ 29.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
   ขณะที่ขีดความทนทานการรับแรงกดดันค่าบาทของ"สมชัย จิตสุชน" ที่ชี้ว่า ถ้าบาทแข็งเกิน 5% ถึงค่อยเข้าแทรกแซง ก็คือบาทที่แข็งค่าขึ้นในอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนไป 1.50 บาท  หรือจากอัตราแลกเปลี่ยนระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งเป็น 28.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
   เป็นหลักหมาย"ค่าบาท"ที่แต่ละคนเฝ้าจับตา
   ปัญหาค่าเงินผันผวนเป็นที่คาดหมายว่าจะปะทุเป็นระลอกตลอดปีนี้ ในคลื่นความผันผวนของค่าเงิน แรงกดดันทั้งหลายไม่พ้นจะรวมศูนย์สู่วังบางขุนพรหม เพื่อทดสอบการนำของ"ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" แม่ทัพหลักของสงครามค่าเงินอย่างแท้จริง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,814
วันที่  31 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ธปท.รับฟังความเห็น ส.อ.ท.ยืนยันมีมาตรการดูแลค่าเงินบาท

                           

     

 กรุงเทพฯ 29 ม.ค. - นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย  (ธปท.) กล่าวถึงผลการหารือระหว่างนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. กับนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. และสมาชิก ส.อ.ท.เป็นเวลากว่า 1.30 ชั่วโมงถึงข้อเสนอ 7 ข้อของ ส.อ.ท.ในการดูแลค่าเงินบาท ว่า ได้มีการทำความเข้าใจกับ ส.อ.ท.ถึงการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าบ้างแล้ว ตามเงินสกุลในภูมิภาค ซึ่งทิศทางบาทสามารถอ่อนและแข็งได้ในหลายช่วง โดย ส.อ.ท.ขอให้ ธปท.ติดตามธุรกรรมต่างๆ อย่างใกล้ชิด และมีความเข้าใจว่า หาก ธปท.ต้องใช้มาตรการในภาวะจำเป็นก็ไว้ใจ ธปท.ว่าจะใช้มาตรการในระดับ และจังหวะเวลาที่เหมาะสม ซึ่ง ธปท.ได้ยืนยันว่ามีมาตรการดูแลเงินบาทหลายมาตรการ โดยจะพิจารณาใช้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์
อย่างไรก็ตาม ส.อ.ท.ขอให้ ธปท.เทียบค่าเงินบาทกับสกุลเงินต่างๆ ในอาเซียน 9 ประเทศ รวมทั้ง ไทย และ เงินสกุลของประเทศคู่แข่ง คือ จีน อินเดีย บังกลาเทศ และ ศรีลังกา รวมเป็น 14 ประเทศ นอกเหนือจากเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้สามารถเทียบเคียงกับราคาสินค้าของประเทศคู่แข่งได้ โดย ธปท.พร้อมพิจารณา
นอกจากนี้ ธปท.จะช่วยประสานกับธนาคารพาณิชย์ให้เอสเอ็มอีสามารถซื้อประกันความเสี่ยงในขนาดธุรกรรมที่เล็กลง และเร่งประชาสัมพันธ์ให้เอสเอ็มอี ซื้อสัญญาซื้อขายเงินดอลลาร์สหรัฐล่วงหน้าในตลาดTfex ซึ่ง 1 สัญญามีมูลค่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 30,000 บาท ซึ่งเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่เอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงได้ และขอให้ ส.อ.ท.ย้ำให้สมาชิกซื้อประกันความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดทอนกระทบในช่วงที่อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน รวมทั้งการสนับสนุนการใช้เงินสกุลท้องถิ่น เพื่อการผ่อนชำระ และซื้อสินค้ามากขึ้น

พร้อมกันนี้ขอให้ ส.อ.ท.ทำความเข้าใจกับสมาชิกว่า ผู้ส่งออกสามารถที่จะถือครองดอลลาร์สหรัฐที่ได้จากการค้าขายเป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่งถือเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม

"เราก็มีความเข้าใจที่ตรงกันที่จะบรรเทาผลกระทบต่อผู้ส่งออก และเข้าใจตรงกันว่าในช่วงงินบาทแข็งถือเป็นโอกาสที่จะเพิ่มการลงทุนทั้งในโครงการภาครัฐและเอกชน หากช่วยสนับสนุนก็จะมีความต้องการใช้เงินตราต่างประเทศ ช่วยรักษาสมดุลของปริมาณเงินไหลเข้า - ออก จะมีการประสานงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง พร้อมขอให้ใช้ประโยชน์ช่วงเงินบาทแข็งค่าเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน"นางผ่องเพ็ญ กล่าว
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท. กล่าว ว่า ได้ฟังข้อมูลจาก ธปท.ก็สบายใจขึ้น เพราะค่าเงินบาทเริ่มทรงตัว และมั่นใจว่าจะค่าเงินบาทจะไม่แข็งค่าถึง 28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐอย่างที่กังวลใจ แต่ต้องติดตามสถานการณ์อีกระยะ พร้อมกันนี้จะเร่งให้ข้อมูลกับสมาชิกโดยเฉพาะเอสเอ็มอีให้ซื้อสัญญาซื้อขายเงินดอลลาร์สหรัฐล่วง เพื่อประกันความเสี่ยงจากค่าเงินบาท
ส่วนการแยกบัญชีเงินที่จะเข้ามาเก็งกำไรกับบัญชีเงินต่างประเทศที่เข้ามาลงทุน ส.อ.ท.เข้าใจว่ามีทั้งผลดีและผลเสีย เนื่องจากอาจเป็นการส่งสัญญาณการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุน ดังนั้น ส.อ.ท.และที่ผ่านมา ธปท.ดำเนินการได้ดี โดยดูจากข้อมูลสิ้นปี 2555 มีเงินทุนไหลเข้า 21,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีเงินไหลออก 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งถือว่ามีความสมดุล
นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 29.83 -29.85 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าต่อเนื่องจากเปิดตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 29.85 -29.87 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค และแรงเทขายของผู้ส่งออก.- สำนักข่าวไทย



   แนะ ธปท.ใช้นโยบายดอกเบี้ยเป็นมาตรการ 

                      สุดท้ายสกัดเงินบาท


                              ม.หอการค้าไทย แนะ ธปท.ดูแลค่าเงินไม่ให้แข็งค่าเกินกว่า 29.5 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงระยะเวลา 2-3 เดือนนี้

           กรุงเทพฯ 31 ม.ค. - นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินว่าผลพวงจากเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน ประกอบกับการที่ญี่ปุ่นออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งความขัดแย้งกับจีนที่เริ่มรุนแรงขึ้น จะส่งผลให้เงินทุนไหลทะลักเข้ามาในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งขณะนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นแล้วประมาณร้อยละ 3 ซึ่งเป็นอัตราที่แข็งค่ากว่าประเทศคู่แข็งสำคัญทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงค์โปร์ และเวียดนาม ที่เงินแข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 1 ปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวหันไปท่องเที่ยวในประเทศที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงจำเป็นต้องเข้ามาดูแลค่าเงินไม่ให้แข็งค่าเกินกว่า 29.5 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงระยะเวลา 2-3 เดือนนี้ ส่วนผู้ประกอบการไทยควรทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อป้องกันความผันผวนของค่าเงิน

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า รัฐบาลควรใช้โอกาสนี้นำเข้าสินค้าที่จำเป็น ขณะที่หน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจควรจะเร่งชำระหนี้ต่างประเทศ พร้อมกับส่งเสริมให้นักลงทุนไทยลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นซึ่งจะเป็นหนทางช่วยบรรเทาภาวะเงินบาทแข็งค่าได้ ส่วนมาตรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายควรใช้เป็นมาตรการสุดท้าย แม้จะเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด เพื่อสกัดการเก็งกำไรส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยได้ก็จริง แต่การไหลทะลักเข้ามาของสกุลเงินต่างชาติจะส่งผลกระทบ เนื่องจากเป็นตัวเร่งอัตราเงินเฟ้อจากอำนาจซื้อที่มีมากขึ้น ทั้งนี้ ธปท.จะใช้แนวทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจริงก็จะสามารถลดได้สูงสุดจนถึงสิ้นปีนี้ ไม่เกินร้อยละ 0.75 อย่างไรก็ตาม คาดว่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อไปอีกระยะ เนื่องจากการเข้ามาเก็งกำไรในประเทศไทยเป็นช่องทางในการแสวงหาการเก็งกำไรได้ในอัตราที่สูง

นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ประธานสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.9 ระยะ 3 เดือนแรกของปี 2556 ส่งผลให้กลุ่มผู้ประกอบการส่งสินค้าออกต้องขอเวลา 3 เดือนว่าจะสามารถส่งออกสินค้าได้ 9,000 ล้านบาทตามเป้าที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดหรือไม่ เนื่องจากค่าเงินบาทไทยแข็งกว่าค่าเงินประเทศคู่แข่ง โดยเงินบาทไทยแข็งค่าขึ้นถึงร้องละ 2.9 ขณะที่ค่าเงินประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ค่าเงินแข็งค่าขึ้นเฉลี่ยเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น พร้อมกันนี้เรียกร้องให้รัฐบาลนำข้อเสนอ 7 ข้อของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ส่งสินค้าออกแห่งประเทศไทยไปพิจารณาเนื่องจากสมาชิกในทั้ง 2 องค์กรก็เป็นกลุ่มผู้ประกอบการกลุ่มเดียวกัน

นายไพบูลย์ กล่าวแสดงทรรศนะเกี่ยวกับทิศทางการไหลเข้าของเงินสกุลต่างๆ ที่เข้ามาในประเทศไทย เป็นกระแสเงินที่ไหลเข้าไปโจมตีประเทศเกาหลีใต้ มาก่อนแต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงไหลเข้ามาในประเทศไทย จึงต้องการเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการติดตามกระแสเงินเหล่านี้.- สำนักข่าวไทย

นายกฯสั่ง 'กิตติรัตน์' ถกร่วมแบงก์ชาติ-กนง. แก้บาทแข็ง

 

นายกฯ สั่ง “กิตติรัตน์” ประชุมร่วมกับ ธปท.และ กนง. หารือมาตรการแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า หลัง “ดร.โกร่ง-พันศักดิ์” ทักมาตรการที่ใช้อยู่ยังไม่ดีพอ 

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. นายกิตติรัตน์  ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง  เปิดเผยภายหลังการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ตนเองในฐานะ รมว.คลัง ไปประชุมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์ที่ไม่ได้อยู่ใน ธปท.และ กนง.เพื่อหาทางแก้ปัญหาค่าเงินผันผวนอย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า สิทธิ์และหน้าที่ในการกำกับดูแลนโยบายการเงินยังเป็นของ ธปท.และ กนง.เช่นเดิม

“มีการตั้งข้อสังเกตในที่ประชุมว่ามาตรการที่มีอยู่เป็นการทวนกระแสการแข็งค่าของเงิน เป็นการทวนการไหลเข้าของเงินในระยะสั้นอาจไม่ได้เป็นมาตรการที่พอดิบพอดีกัน ซึ่งในการหารือก็มีนายวีรพงษ์ รามางกูรประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี ต้องตลอดจนผู้ว่าการ ธปท. ซึ่งเฉพาะในส่วนของนักเศรษฐศาสตร์นักการเงิน เห็นว่ามีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินที่ดูแลการไหลเข้าของเงินทุนที่มีความเสี่ยงว่าเป็นเงินทุนระยะสั้น”

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเป็นห่วงสถานการณ์ค่าเงินบาทที่ผันผวนและแข็งค่าขึ้น ซึ่งทาง ธปท. ได้รายงานว่า ในช่วงสั้นๆ มีเงินทุนไหลเข้ามา ซึ่งบางส่วนมาลงทุนในตราสาร บางส่วนมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งอาจจะถือการลงทุนยาวก็ได้ แต่เกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ 1 เดือนที่ผ่านมา และมีความเสี่ยงเพราะฉะนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่เงินทุนไหลเข้าได้ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นขณะที่แนวทางหรือมาตรการในการดูแลค่าเงินบาทของไทย จะเป็นมาตรการระยะกลางและระยะยาว เช่นการส่งเสริมนักธุรกิจไทยไปลงทุนต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าจะไม่มีมาตรการที่ควบคุมการไหลเข้าออกของเงินเด็ดขาด เพราะต้องยอมรับว่าเราเป็นประเทศเปิดแต่จะใช้กลไกทำงานที่เป็นทิศทางของการ บริหารนโยบายการเงินและจะไม่ใช้นโยบายควบคุมและไม่ใช้มาตรการเก็บภาษีจากผลตอบแทน ไม่ว่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากกำไรของการลงทุน ภาษีผลตอบแทนดอกเบี้ยและเงินปันผลเพราะไม่ใช่นโยบายการเงิน

นายกิตติรัตน์ กล่าวด้วยว่า ในระหว่างกาประชุม นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รายงานว่าภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งเอสเอ็มอีที่ส่งออกก็ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่าด้วย จึงต้องหามาตรการมาช่วยเหลือ ซึ่งจากตั้งคณะกรรมการชุดนี้จะทำงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  สภาหอการค้าไทย และสถาบันการเงิน ซึ่งจะได้นำรูปแบบของสถาบันการเงิน และวิธีการขององค์กรขนาดใหญ่มาช่วยเหลืออีกทั้งจะมีการตั้ง รมว.อุตสาหกรรม และ รมว.พาณิชย์ เพิ่มเติมในคณะกรรมการชุดนี้ด้วย.


ธปท.รับฟังความเห็น ส.อ.ท.ปัญหาบาทแข็ง ยันมีมาตรการพร้อมดูแลตามสถานการณ์


ข่าวเศรษฐกิจสำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 29 มกราคม 2556 18:33:32 น.

นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวภายหลังการมาก็ยังมีการเคลื่อนไหวในลักษณะทั้งแข็งค่าและอ่อนค่า เหมือนกับค่าเงินหลายสกุลในภูมิภาค ที่บางช่วงก็มีทั้งแข็งค่าหารือกับตัวแทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)ว่า ได้ชี้แจงว่าค่าเงินบาทในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแข็งค่าค่อนข้างเร็ว แต่ช่วงที่ผ่านและอ่อนค่า


" />


ทั้งนี้ ส.อ.ท.เสนอแนะให้ ธปท.ดูแลค่าเงินบาทด้วยการเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง คือ 9 ประเทศในอาเซียน รวมถึงจีน อินเดีย บังคลาเทศ และศรีลังกา ซึ่ง ธปท.ก็พร้อมจะดูแลค่าเงินตามข้อเสนอแนะ โดยปัจจุบันมีการดูแลในลักษณะตระกร้าเงินอยู่แล้ว ไม่ได้เปรียบเทียบเฉพาะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และเป็นการดูในหลายมิติทั้งดัชนีค่าเงินบาท(NEER)และดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง(REER) รวมถึงดูแลให้สะท้อนพื้นฐานของประเทศ แต่การที่จะให้ค่าเงินบาทอยู่ในระดับเดียวกับค่าเงินของภูมิภาคคงเป็นไปไม่ได้ เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจแต่ละประเทศแตกต่างกัน

"การที่สกุลเงินบาทอาจจะมี overshoot ในช่วงสั้น ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ต้องดูระยะยาว ขณะเดียวกันหากผู้ส่งออกดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ มีการบริหารจัดการ ไม่ใช่คาดการณ์ค่าเงินเองล่วงหน้าว่าจะอยู่ในระดับไหน ก็จะไม่เกิดปัญหา เรามีมาตรการอยู่ในมือ จะนำมาใช้ในสถานการณ์ที่เหมาะสม เพราะการใช้มาตรการที่มี effect มีข้อดีข้อเสีย ต้องใช้ให้ถูกโรค"นางผ่องเพ็ญ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ธปท.เห็นว่ายังมีประเด็นที่ต้องประชาสัมพันธ์และให้ความรู้กับผู้ส่งออกมาขึ้น เช่น หลักเกณฑ์การถือครองเงินตราต่างประเทศของผู้ส่งออก ซึ่งไม่จำเป็นต้องขยายระยะเวลาเพิ่มเติม โดยปัจจุบันผู้ส่งออกสามารถให้เครดิตเทอมกับคู่ค้าต่างประเทศได้ไม่เกิน 360 วัน และเมื่อได้รับเงินตราต่างประเทศต้องนำเข้าประเทศทันทีและสามารถขายเป็นเงินบาทหรือฝากกับธนาคารพาณิชย์ภายใน 360 วัน ดังนั้น รวมกันแล้วมีระยะเวลาถึง 2 ปี หรือผู้ส่งออกสามารถนำเงินรายได้จากต่างประเทศสามารถฝากไว้เป็นบัญชี FCD ในประเทศได้ เท่ากับยอดส่งออก โดยไม่จำกัดระยะเวลา

นอกจากนั้น ยังมีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงให้กับผู้ส่งออก โดยเฉพาะ currency futures ที่กำหนดมูลค่า 1 พันดอลลาร์ต่อสัญญา สามารถให้ SME ใช้ป้องกันความเสี่ยงของธุรกรรมขนาดเล็กได้ เพียงแต่ต้องให้ความรู้กับ SME มากขึ้น รวมทั้ง เห็นว่าควรสนับสนุนให้ผู้ส่งออกใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการชำระค่าสินค้าและบริการมากขึ้น เรื่องดังกล่าวอาจเห็นผลในระยะยาว ซึ่ง ส.อ.ท.อาจจะต้องทำความเข้าใจกับสมาชิกด้วย เครื่องมือทั้งหมดอาจะช่วยผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าเร็วได้

ธปท.ยังเห็นว่าควรส่งเสริมให้มีการลงทุนต่างประเทศในช่วงที่เงินบาทแข็งค่า เร่งโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้มีการนำเข้าสินค้าและเครื่องจักรอุปกรณ์ในระยะนี้ เนื่องจากประเทศไทยมีโครงการลงทุนจำนวนมากทั้งภาครัฐและเอกชน หากสามารถสนับสนุนได้ดีจะทำให้เกิดความสมดุลระหว่างเงินไหลเข้า-ออก

ด้านนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท. กล่าวภายหลังการหารือว่า มีความเข้าใจมากขึ้นหลังได้รับทราบข้อมูลจาก ธปท.โดยเห็นว่าในช่วง 6 เดือนถึง 1 ปีที่ผ่านมา ธปท.สามารถดูแลค่าเงินบาทได้ดี ไม่ให้มีความผันผวน สามารถสร้างความสมดุลระหว่างเงินทุนไหลออก-เข้า เพียงแต่ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมามีความกังวลเนื่องจากเงินบาทแข็งค่าเร็วมาก และขณะนี้เงินบาทเริ่มนิ่งแล้ว ซึ่งภาคเอกชนไม่ต้องการให้เงินบาทผันผวนยาวนานเกินไป

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าต้องการเห็นเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่บริเวณ 30 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่ภาคเอกชนจะคลายความกังวลได้ เพราะตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันเงินบาทแข็งค่า 3% จากสิ้นปี 55 เงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 30.93 บาท/ดอลลาร์ แต่อย่างไรก็ตาม หลังการแลกเปลี่ยนข้อมูลทำให้สบายใจขึ้นมาว่าเงินบาทเริ่มทรงตัวและคงไม่แข็งค่าไปถึง 28 บาท/ดอลลาร์

ทั้งนี้ ภาคเอกชนจะติดตามค่าเงินบาทในช่วง 2-3 สัปดาห์ต่อจากนี้ จากนั้นอาจจะมีการหารือกันอีกครั้ง


นางสาวกาญจนา  วิชานงค์   รหัส 55127326078


รัฐบาลไทยใช้มาตรการอะไรในการรับมือกับปัญหาค่าเงินบาทแข็งตัวในช่วงตัวปีนี้

จากการที่รัฐบาลได้ประชุมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ไปประชุมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์ที่ไม่ได้อยู่ในธปท.และกนง. เพื่อหาทางแก้ปัญหาค่าเงินผันผวน

จากการหารือถึงผลกระทบการแข็งค่าของเงินบาทที่มีต่อผู้ส่งออกนั้น ในที่ประชุมก็ไม่เห็นมีใครเสนอวิธีที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง มีแต่แนวทางสนับสนุนให้เงินออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น

            ด้านนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการ ธปท. กล่าวว่า การไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศอาจสร้างปัญหาฟองสบู่ในหลายๆ ตลาด โดยเงินทุนที่เข้ามานั้นเป็นผลจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทยที่สูงกว่าดอกเบี้ยต่างประเทศ ดังนั้นวิธีที่จะลดการไหลเข้าของเงินทุนได้ดีที่สุดคือ การลดดอกเบี้ยนโยบายลงแต่ที่กังวลคือเกรงว่า ธปท.จะเห็นสัญญาณเศรษฐกิจเติบโตร้อนแรงแล้วยิ่งไปปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หากทำแบบนั้นจะยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายมากขึ้น

            ขณะที่นายบัณฑิต นิจถาวร ประธานคณะกรรมการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย กล่าวว่า การลดดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินทุนไหลเข้านั้น อาจไปสร้างปัจจัยเสี่ยงในอีกด้าน โดยเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายให้มากขึ้น ดังนั้นเครื่องมือในการดูแลจึงควรต้องใช้เครื่องมือต่างๆ ที่ผสมผสานกัน ซึ่งแบงก์ชาติเคยผ่านเรื่องนี้มาแล้วหลายครั้ง จึงเชื่อว่าครั้งนี้ก็น่าจะผ่านไปได้เช่นกัน

            นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า เงินบาทที่แข็งค่าส่งผลกระทบต่อการส่งออกอย่างมาก เป้าหมายของกระทรวงพาณิชย์ 8.9 นั้น สรท.มองไว้ที่ระดับ 6.9% หากค่าเงินยังแข็งต่อเนื่องก็ยิ่งทำให้การส่งออกไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

             นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในขณะนี้ยังอยู่ในช่วงของการคาดการณ์ที่ระดับ 29.731.7 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือเฉลี่ยทั้งปีที่ 30.7 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับปีก่อนที่อยู่ในระดับ 31.1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยสศค.ประเมินว่าหากเงินบาทแข็งค่าขึ้น 1% จะกระทบกับการส่งออก 0.4% กระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 2.3% แต่ส่งผลดีให้เงินเฟ้อลดลง 0.2% ซึ่งขณะนี้มองว่ายังไม่กระทบกับจีดีพีปีนี้ที่คาดไว้ขยายตัวในระดับ 5% ส่วนไตรมาส 4 ปีก่อนเชื่อว่าขยายตัวไม่น้อยกว่า 15.9% ส่งผลให้ทั้งปี 2555 น่าจะขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 5.7%

             สิ่งที่จะช่วยได้ คือ รัฐบาลควรต้องตัดงบรายจ่ายประจำออก โดยเฉพาะรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับประชานิยม เพราะทำให้งบที่เหลือไปใช้เพื่อการลงทุนมีน้อยลง การลดดอกเบี้ยน่าจะสามารถทำควบคู่ไปกับมาตรการลดแรงกดดันเงินบาทแข็งค่าของ ธปท. เพราะแรงกดดันเงินเฟ้อในปีนี้น่าจะไม่รุนแรง หากเป็นไปตามกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ ธปท.คาดว่าเงินเฟ้อในปีนี้จะอยู่ที่ 2.8% การลดดอกเบี้ยไม่น่าจะมีให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นมากนัก”

            นอกจากนี้ ธปท. ควรเข้าไปดูแลความผันผวนของค่าเงินบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งออก เพราะต้องยอมรับว่าตั้งแต่ต้นปีค่าเงินบาทแข็งค่ามากเมื่อเทียบกับคู่แข่ง โดยตั้งแต่ต้นปีค่าเงินบาทแข็งค่าประมาณ 2-3% ขณะที่คู่แข่งแข็งค่าไม่ถึง 1% ซึ่งทำให้ความสารถการแข่งขันส่งออกของไทยเสียเปรียบ

           ทั้งนี้ เงินทุนที่ไหลเข้าเกิดจากดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ 2.75% ที่สูงกว่าของสหรัฐอยู่ที่ 0.25% ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าธปท.ควรปรับลดดอกเบี้ยลงเพื่อลดมูลเหตุจูงใจการไหลเข้าของเงิน พร้อมกับมีมาตรการสกัดกั้นการไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้น และต้องไม่ใช่การใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ โดยมองว่าหากเงินบาทแข็งค่าในกรอบ 28 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ภาคธุรกิจจะอยู่ไม่ได้

นางสาวทีปกา ชวาลวิทย์ 55127326075

                                                    พาณิชย์นัดถก สอท.-หอการค้า

หามาตรการรับมือบาทแข็ง

ไม่มั่นใจส่งออกโตตามเป้า9%

บุญทรงยอมรับกังวล บาทแข็ง” กระทบการค้ากับต่างประเทศ นัดสภาหอการค้า-สภาอุตฯหารือสัมปดาห์หน้า ด้าน สถาบันอาหาร จับตาเงินบาทแข็ง ค่าแรง 300 บาท  มากระทบต้นทุน

นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ หารือกับ สภาหอการค้าแห่งประเทศ และ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เพื่อรับฟังปัญหา และแนวทางการบรรเทาผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่าในขณะนี้ โดยจากการหารือเบื้องต้นร่วมกับผู้ส่งออกในแต่ละอุตสาหกรรม พบว่าผู้ส่งออกรายใหญ่ยังทำธุรกิจได้ตามปกติ และยังไม่ได้รับกระทบ เพราะได้ซื้อความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่รายเล็กอาจได้รับผลกระทบ ซึ่งหลังจากหารือจะเสนอรัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือให้ตรงตามความต้องการของภาคเอกชนต่อไป เพราะมาตรการช่วยเหลือจะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน เป็นต้น

"เป้าหมายการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในปีนี้ ยังคงไว้ที่ 8-9% ซึ่งเป็นเป้าหมายการทำงาน ซึ่งตอนที่เราจัดทำเป้าหมาย ยังไม่ได้ประเมินค่าเงินบาทแข็งอย่างปัจจุบันเข้าไปด้วย แต่ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ รวบรวมปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อการส่งออก เพื่อดูว่าต้องมีการทบทวนตัวเลขการส่งออกหรือไม่ คาดว่าน่าจะประเมินสถานการณ์ส่งออกก่อนเดือนพ.ค.นี้"นายบุญทรง กล่าว

ขณะที่ นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า จะหารือกับทัง 2 สภาฯได้ราวสัปดาห์หน้า ซึ่งคงต้องฟังภาคเอกชนก่อนว่าได้รับผลกระทบอย่างไร และต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลืออย่างไร จากนั้นจึงจะรายงานให้นายกรัฐมนตรีได้รับทราบก่อนออกมาตรการช่วยเหลือต่อไป

ด้าน นายวิฑูรย์  สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการสถาบันอาหาร ได้ประชุมกับ คณะกรรมการสถาบันอาหาร โดบยอมรับว่า  แนวโน้มอุตสาหกรรมไทยปีนี้มีปัญหาที่กระทบขีดความสามารถในการแข่งขันมาก  โดยเฉพาะต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและเงินบาทแข็งค่าแต่ก็เชื่อว่าผู้ประกอบการไทยจะปรับตัวได้  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันระยะยาว  ซึ่งต้องส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการผลิต พัฒนาบุคคลากรและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าจากความต้องการของตลาดโลก

ทั้งนี้  สถาบันอาหาร คาดว่าการส่งออกสินค้าอาหารปี 2556 จะมีมูลค่า 1.05 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 7.2 % โดยมีปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มขยายตัว และส่งผลดีกับการส่งออกสินค้าอาหารทุกกลุ่ม  ซึ่งเศรษฐกิจโลกปีนี้คาดว่าจะขยายตัว 3.5 % เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ขยายตัว 3.3% และเศรษฐกิจเอเชียจะเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก  รวมทั้งได้รับปัจจัยบวกจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ที่ช่วยให้การค้าภายในภูมิภาคขยายตัว เช่น อาเซียน บวก 6

อย่างไรก็ตามต้องดูปัจจัยเสี่ยง 2 เรื่อง คือ 1.แนวโน้มการแข็งค่าเงินบาท  โดยเมื่อวันที่ 24 มกราคม2556 ค่าเงินบาทอยู่ที่ 29.58 บาท แข็งค่าขึ้น 2.67 % เมื่อเทียบกับสัปดาห์สุดท้ายของปี 2555  รวมทั้งเงินบาทยังแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน ยูโร ปอนด์ และดอลลาร์ออสเตรเลีย

ทั้งนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นส่งผลให้ราคาสินค้าไทยสูงกว่าคู่แข่งและทำให้แข่งขันลำบาก เช่น ข้าว กุ้ง มันสำปะหลัง น้ำตาล ผักผลไม้สดและแปรรูป  โดยเมื่อเทียบกับจีนแล้วไทยจะแข่งขันลำบากในสินค้าไก่ และอาหารทะเลหอการค้าไทย เผยภาคเอกชนต้องการให้ ธปท.ดูแลค่าเงินบาทเป็นพิเศษ เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาทในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เชื่อว่าการแข็งค่าของเงินบาทเป็นสถานการณ์ระยะสั้น พร้อมแนะให้ผู้ส่งออกรับมือกับสถานการณ์ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลกประจำประเทศไทย เชื่อว่า ค่าเงินบาทในขณะนี้ ไม่มีผลต่อการส่งออกของไทยเทียบเท่ากับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

ดูวีดีโอข่าว คลิก "ที่นี้"







นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงสถานการณ์เงินบาทแข็งค่าในขณะนี้ว่า ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของการส่งออกหรือไม่ เพราะจะต้องพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ  และสถานการณ์ตลอดทั้งปีด้วย

เพราะการแข็งค่าของเงินบาทในขณะนี้  เป็นผลมาจากการออกมาตรการ QE4 ของสหรัฐอเมริกา เพื่อนำมาบริหารจัดการการเงินของประเทศ ทำให้เงินดอลลาร์ทะลักเข้าไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นสถานการณ์ชั่วคราว และจากการติดตามสถานการณ์ ทางกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ก็อยู่ระหว่างการปรับแผนการบริหารจัดการ เพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งผู้ส่งออกจะต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับความเสี่ยงจากสถานการณ์ดังกล่าวด้วย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่เหมาะสมไม่ควรต่ำกว่าระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะจะทำให้การส่งออกได้รับผลกระทบ ซึ่งขณะนี้เงินบาทแข็งค่ามาอยู่ที่ระดับ 29 บาท 30 สตางค์ ถึง 29 บาท 50 สตางค์ต่อดอลลาร์สหรัฐฯแล้ว

ด้านนางสาวกิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก สำนักงานประเทศไทย กล่าวว่า เงินบาทที่แข็งค่าในขณะนี้  ยังอยู่ในทิศทางเดียวกับภูมิภาค  และไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะกระทบการส่งออกของไทย  แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเงินบาทจะแข็งค่าอีกนานเพียงใด

เพราะต้องขึ้นอยู่กับปริมาณเงินที่ไหลเข้ามาในประเทศ หากเงินไหลเข้าในปริมาณมาก อาจทำให้ค่าเงินบาทมีความผันผวน  แต่เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะนำเครื่องมือที่เตรียมไว้มาบริหารจัดการได้ทันท่วงที แต่ต้องป้องกันปัญหาการเก็งกำไรค่าเงินด้วย

ทั้งนี้ เงินบาทที่แข็งค่ามีทั้งผลดีและผลเสีย โดยในส่วนของผลดี คือ เป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการไทยจะนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบในการผลิตสินค้า ได้ในราคาที่ถูกลง ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสให้ผู้ส่งออกปรับตัวและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากขึ้น  

ทั้งนี้ที่ผ่านมาเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่ามาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งผู้ประกอบการทราบดีและเตรียมมาตรการรองรับความเสี่ยง หรือ เฮดจิ้ง ไว้แล้วเช่นกัน  

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก กล่าวว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกมากกว่าเงินบาทแข็งค่า คือ ความต้องการสินค้าจากต่างประเทศที่ลดลง เพราะภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะประเทศส่งออกหลักของไทย ทั้งสหรัฐและสหภาพยุโรปที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร

ธนาคารโลกยังได้คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย หรือ จีดีพี ในปี 2555 จะอยู่ที่ร้อยละ 4.7 โดยการส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 การนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 8 ส่วนในปี 2556 จีดีพีจะขยายตัวที่ ร้อยละ 5 การส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 การนำเข้าขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 6  ภายใต้ปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ได้แก่ 

- ความเสี่ยงจากการขยายตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปและเปราะบางของเศรษฐกิจโลก 

- ราคาสินค้าเกษตร เช่น ยางพารา ข้าว ที่มีอัตราลดลง 

- การเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลที่ล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ 

- การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ 

- ความไม่แน่นอนทางการเมือง

ส่วนปัจจัยบวกที่มีผลต่อจีดีพีในปี 2556 ได้แก่ ราคาพลังงานในตลาดโลกที่ปรับขึ้นในอัตราที่ช้าลง , การเคลื่อนย้ายการลงทุนมาในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น , การนำเข้ากลับเข้าสู่ภาวะปกติ และ อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ



                                    

"ประสาร" ย้ำหน้าที่แบงก์ชาติส่งรัฐนาวาเศรษฐกิจไทยให้ขึ้นฝั่งอย่างปลอดภัยโดยเร็วที่สุด ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอและไม่แน่นอน พร้อมชี้เป็นความท้าทาย 2 ด้านสำหรับผู้บริหารนโยบายการเงินในปี 2556 คือ ความท้าทายแรกที่จะรักษาสมดุลระหว่างการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเงิน กับความท้าทายที่สองในการดูแลเงินทุนเคลื่อนย้ายที่มีความผันผวนขึ้น ทำให้ต้องติดตามและประเมินผลกระทบของค่าเงินบาทต่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง รวมถึงสัญญาณฟองสบู่ในสินทรัพย์ทางการเงิน 
ดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวสุนทรพจน์ประจำปีต่อผู้สื่อข่าวในวันนี้ (22 ม.ค.) เรื่อง “ทิศทางการดำเนินนโยบายของ ธปท.ในปี 2556” ว่า เป็นความท้าทายในการดำเนินงานของผู้ดูแลนโยบายเศรษฐกิจทั้งหลาย รวมถึงแบงก์ชาติในปีนี้ จึงอยู่ที่การรักษาสมดุลของนโยบายในด้านต่าง ๆ ซึ่งต้องอาศัยการประสานงานจากทั้งภายในองค์กรและระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจการเงินไทยสามารถเติบโต 
ได้อย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ และดูแลคนไทยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน 
ดร.ประสาร กล่าวว่า หากเปรียบเศรษฐกิจไทยในปีที่ผ่านมา เป็นเรือที่กำลังลอยลำอยู่ท่ามกลางมรสุม ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอและมีความเสี่ยงสูง เศรษฐกิจในประเทศที่อยู่ในช่วงฟื้นตัวหลังเหตุการณ์มหาอุทกภัย และภาวะเงินทุนเคลื่อนย้ายที่มีความผันผวน ความท้าทายของผู้ดูแลนโยบายเศรษฐกิจ จึงอยู่ที่จะประคับประคองเรือให้แล่นไปยังจุดหมายอย่างปลอดภัยได้อย่างไร ซึ่งตลอดช่วง 1 ปี 
โดยที่ผ่านมาก็เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่า เศรษฐกิจไทยเข้มแข็งและมีความยืดหยุ่นเพียงพอในการรองรับความเสี่ยงและความผันผวนต่าง ๆ โดยอุปสงค์ภายในประเทศเปรียบได้กับเสากระโดงเรือที่แข็งแรง และเป็นแรงขับเคลื่อนหลักให้กับเศรษฐกิจในช่วงที่เศรษฐกิจโลกยังคงซบเซา และเมื่อได้รับแรงสนับสนุนจากภาครัฐ จึงทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศโดยรวมสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่นตลอดช่วงมรสุมดังกล่าว ซึ่งผมขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนที่ร่วมด้วยช่วยกัน 
อย่างดีตลอดทั้งปีที่ผ่านมา 
สำหรับการดำเนินนโยบายการเงินในปีที่ผ่านมา ได้ให้ความสำคัญกับความเสี่ยงด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก จะเห็นได้ว่านโยบายการเงินตลอดทั้งปี 2555 ผ่อนปรนต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 0.5% ต่อปี โดยปรับลดครั้งแรกในช่วงต้นปีเพื่อช่วยสนับสนุนกระบวนการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังเหตุการณ์มหาอุทกภัยให้กลับเข้าสู่ระดับปกติได้เร็วขึ้น และปรับลดลงอีกครั้งในช่วงปลายปี เพื่อช่วยรองรับความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลก และรักษาแรงส่งของอุปสงค์ในประเทศให้สามารถประคับประคองเศรษฐกิจไทยได้อย่างตลอดรอดฝั่ง 
ขณะเดียวกันก็ดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบเป้าหมายที่กำหนด และรักษาเสถียรภาพระบบการเงินโดยรวมให้อยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งในปีที่ผ่านมา ได้ริเริ่มให้มีการจัดประชุมหารือร่วมกันระหว่าง กนง. และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) เป็นครั้งแรก เพื่อเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากมุมมองที่หลากหลาย เพื่อประโยชน์ในการติดตามและประเมินความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นจากความเชื่อมโยงของภาคส่วนต่าง ๆ ของเศรษฐกิจและการเงิน 
นอกจากนี้ เพื่อขยายโอกาสให้นักลงทุนไทยสามารถลงทุนในต่างประเทศได้อย่างสะดวกและกว้างขวางขึ้น 
แบงก์ชาติได้ทยอยผ่อนคลายกฎเกณฑ์ด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย ต่อเนื่องจากที่ได้ดำเนินการมาในช่วงก่อนหน้า และกระทรวงการคลังก็จะร่วมดำเนินการในส่วนที่อยู่ภายใต้การดูแลด้วย 
จากประสบการณ์ของหลายประเทศ โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการเงินโลกครั้งล่าสุด แสดงให้เห็นแล้วว่า นโยบายการเงินเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินได่ แบงก์ชาติทั่วโลกจึงมุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลสถาบันการเงินให้มีความมั่นคงและมีการบริหารความเสี่ยงที่ดี ตลอดจนคำนึงถึงความเสี่ยงเชิงระบบมากขึ้น ซึ่งในปีที่ผ่านมา แบงก์ชาติได้ออกหลักเกณฑ์กำกับดูแลการดำรงเงินกองทุนตามแนวทาง Basel III โดยเน้นเรื่องคุณภาพของเงินกองทุนมากขึ้น และกำหนดให้ดำรงเงินกองทุนเพิ่มเติมเพื่อรองรับความเสี่ยงในยามวิกฤติ รวมทั้งปรับปรุงหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยง โดยเฉพาะความเสี่ยงด้านเครดิตให้รัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อช่วยสร้างเสริมเสถียรภาพในระบบสถาบันการเงินอันจะเป็นผลดีต่อระบบการเงินและภาคเศรษฐกิจในระยะยาว

ทิศทางเศรษฐกิจในปี 2556 
ดร.ประสาร กล่าวถึงความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจในอนาคตข้างหน้า ดูโดยรวมลดลงไปบ้าง จากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชัดเจนขึ้นว่าจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรกที่มีผลต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า รวมทั้งการปรับโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะบังคับใช้ในปีภาษี 2556 นอกจากนี้ การลงทุนภาคเอกชนยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี จากการลงทุนเพื่อรองรับความต้องการในประเทศที่ยังแข็งแกร่ง การซ่อมสร้างในบางอุตสาหกรรม รวมทั้งการลงทุนที่สืบเนื่องจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ 
ขณะที่ภาคการส่งออกจะเริ่มทยอยฟื้นตัวจนกลับมามีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ทั้งหมดนี้จะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่อเนื่องหลังจากที่แรงกระตุ้นจากมาตรการภาครัฐบางส่วนทยอยสิ้นสุดลง ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อมีแนวโน้มทรงตัวต่อเนื่อง 
แม้ว่าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในรอบที่ 2 อาจไม่ได้ส่งผลต่อแรงกดดันเงินเฟ้อมากนัก เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่สามารถบริหารจัดการต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ผนวกกับการปรับราคาสินค้ายังทำได้ยากในภาวะที่การแข่งขันทางธุรกิจสูง แต่ก็ยังต้องติดตามผลกระทบจากประเด็นดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป 
ผู้ว่าแบงก์ชาติ บอกว่า เศรษฐกิจปัจจุบันเปรียบเหมือนเรือที่ได้แล่นผ่านพ้นมรสุมใหญ่ไปแล้ว แต่คลื่นลมก็ยังแรง 
และมีเค้าลางของเมฆที่อาจก่อตัวเป็นพายุในน่านน้ำข้างหน้าได้อีกครั้ง โจทย์สำคัญของผู้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจภายใต้ความเสี่ยงที่อาจแอบแฝงก่อตัวอยู่ในเวลานี้ คือ ทำอย่างไรให้เรือแล่นไปสู่จุดหมายได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยที่สุด การดำเนินนโยบายที่มองไปข้างหน้าและมีลักษณะ proactive เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อไปจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง 
"ความท้าทายในเวลานี้อยู่ที่การรักษาสมดุลของการดำเนินนโยบายด้านต่างๆ เพื่อให้การสร้างประสิทธิผลสูงสุดของนโยบายนั้นๆ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของประโยชน์ที่ยั่งยืนของประชาชน คือความมั่นคงปลอดภัย และความมีเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงิน" 
ดังนั้น ในปีนี้ความท้าทายแรกจะอยู่ที่การรักษาสมดุลระหว่างการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน เพราะหากต้องการให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างราบรื่นและต่อเนื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเป็นต้นทุนในการกู้ยืมไว้ในระดับต่ำนานเกินไปอาจจูงใจให้ภาคเอกชนก่อหนี้สินมากเกินควร หรือกระตุ้นให้ผู้ฝากเงินหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่ามากขึ้น และอาจนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุลในระบบการเงินหรือภาวะฟองสบู่ได้ในอนาคต การดำเนินนโยบายการเงินในปัจจุบันจึงต้องทำควบคู่กับการดูแลเสถียรภาพของระบบการเงิน 
ความท้าทายที่สองอยู่ที่การดูแลเงินทุนเคลื่อนย้ายที่มีความผันผวนขึ้น รวมทั้งติดตามและประเมินผลกระทบของค่าเงินบาทต่อภาคเศรษฐกิจจริง ซึ่งแบงก์ชาติได้เตรียมแผนรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ (policy options) โดยจะพิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสม ที่สำคัญคือการวางโครงสร้างและเตรียมความพร้อมแก่ภาคเอกชน เช่น มาตรการรองรับความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย โดยจะผ่อนคลายหลักเกณฑ์ด้านเงินทุนขาออกตามแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้าย 
ระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ทยอยปรับปรุงตั้งแต่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา 
ในขณะเดียวกัน ในแง่ของความเข้มแข็งมั่นคงของสถาบันการเงิน ก็จำเป็นต้องเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินให้สามารถรองรับความเสี่ยงในทุกสถานการณ์ โดยดูแลให้สถาบันการเงินมีเงินกองทุนที่แข็งแกร่งและมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุม นอกจากนี้ ในปีนี้ จะมีการกำหนดกรอบการให้ใบอนุญาตแก่แบงก์พาณิชย์ต่างประเทศที่จะเข้ามาดำเนินการในประเทศไทย ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่ 2 อีกทั้งจะมีการกำหนดกรอบเจรจาเพื่อเอื้อให้แบงก์พาณิชย์ไทยสามารถขยายธุรกิจตามการเปิดเสรี ภายใต้ AEC ซึ่งเป็นโอกาสดีที่แบงก์พาณิชย์ไทยจะเร่งปรับตัวและเสริมสร้างจุดแข็งให้ชัดเจนขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในอนาคต ตลอดจนเพิ่มโอกาสให้รายที่มีศักยภาพสูงออกไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มเติมเพื่อขยายฐานธุรกิจและกระจายความเสี่ยงอีกด้วย 
ทั้งหมดนี้ จึงนำมาสู่ความท้าทายของการรักษาสมดุลระหว่างการเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการทางการเงิน ได้แก่ การขยายขอบข่ายการให้บริการทางการเงินเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน ได้แก่ การรักษาไว้ซึ่งความเข้มแข็งมั่นคง และการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ได้แก่ การรักษาสิทธิและดูแลความปลอดภัย 
"ผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือและการประสานเชิงนโยบายของทุกฝ่าย อย่างใกล้ชิดมากขึ้น จะช่วยส่งเสริมการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์"


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คาดการณ์ เงินบาทแข็งค่าเป็นเพียงช่วงระยะสั้นพร้อมระบุ รัฐควรวางมาตรการรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยวอย่างจริงจัง



นายกิตตัรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังการปาฐกถาพิเศษหัวข้อ ภาพรวมและนโยบายด้านเศรษฐกิจต่อการท่องเที่ยวไทย สู่เป้าหมาย 2 ล้านล้านบาท ในงานประชุมร่วมระหว่างสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า)และสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) ว่า งบประมาณการลงทุนของรัฐบาลจำนวน 2,200,000 ล้านบาท จะนำมาช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบโลจิสติกส์ ประมาณร้อยละ 3 - 4 เพื่อช่วยพัฒนาระบบการขนส่งให้คล่องตัว พัฒนาระบบรถไฟรางคู่ สร้างรางรถไฟใหม่ให้มีความทันสมัย และเพิ่มความเร็ว เชื่อมต่อการเดินทางทั้งอากาศ บก และน้ำ ให้เชื่อมโยงมากขึ้น ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับนักท่องเที่ยวในการเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย

นายกิตติรัตน์ กล่าวอีกว่า สำหรับรายได้จากการท่องเที่ยว 3 ใน 4 มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญ เพื่อดึงนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ควรมีการพัฒนาอาคารสถานที่สวยงามของไทย คาดว่าจะสามารถขอความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยพัฒนาบูรณาการได้ ส่วนเป้าหมายนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย จำนวน 22 ล้านคน ของสมาคมทั้งสอง ในปี 2558 มองว่าเป็นไปได้ เนื่องจากไทยเป็นเป้าหมายของนักท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวอันดับหนึ่งที่เดินทางเข้ามา ได้แก่ นักท่องเที่ยวจีน นอกจากนี้ได้แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัย ซึ่งไทยได้รับความไว้วางใจจากต่างชาติในระดับต่ำ ดังนั้นภาครัฐจะต้องจัดการดูแลอย่างจริงจัง
สำหรับค่าเงินบาทแข็ง มองว่า อาจส่งผลต่อนักท่องเที่ยวที่มีค่าใช้จ่ายมากกว่าปกติ ซึ่งจำเป็นต้องรีบแก้ไขให้ค่าเงินกลับสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด อย่างไรก็ตามเชื่อว่า เป็นการแข็งค่าในระยะสั้นเท่านั้น

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)แถลงการณ์การประชุมหารือระหว่าง ส.อ.ท. และสมาคมภาคการค้าเรื่อง “ท่าทีภาคเอกชนต่อนโยบายด้านอัตราดอกเบี้ยกับสภาวะการแข็งค่าของเงินบาท” ว่า ที่ประชุมเสนอแนวทางการแก้ปัญหาค่าเงินบาท 7 ข้อ ได้แก่

1. ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งจะประชุมในวันที่ 20 ตุลาคม 2553 ลดดอกเบี้ยนโยบายให้เหลือร้อยละ 1.25 เป็นอย่างน้อย จนถึงไตรมาส 1 ปี 2554 เป็นอย่างน้อย เนื่องจากดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในอัตราร้อยละ 1.25 - 1.75 ไม่เป็นปัจจัยที่จะทำให้เงินเฟ้อขยายตัวอย่างเป็นนัยสำคัญ เห็นได้จากดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ก็ไม่ได้มีการปรับตัวตามอัตราดอกเบี้ย ของ ธปท. อยู่แล้ว ประกอบกับ อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank) ก็มีอัตราต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบาย จึงไม่มีเหตุผลให้สถาบันการเงินเร่งการปล่อยกู้ หรือ ทำให้เกิดการใช้จ่ายจนเป็นปัญหาของฟองสบู่เหมือนในอดีต

นายพยุงศักดิ์ กล่าวต่อว่า ธปท.อย่าปรับดอกเบี้ยโดยใช้เหตุผลของเรื่องเงินเฟ้อ เนื่องจากปัจจุบันประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ซึ่งต่ำมาก นอกจากนี้ยังคาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปปี 2554 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.2 แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยอาจจะมีการติดลบบ้างก็ไม่ได้เป็นปัจจัยที่เป็นนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศไทย

"ภายใต้ความแปรปรวนของระบบการเงินโลก ธปท. ไม่ควรใช้นโยบายการเงินในการควบคุมเงินเฟ้อ ขณะเดียวกันภายใต้วิกฤติ Currencies War Crisis ธปท. ไม่ควรใช้ดอกเบี้ยนโยบายสูง และไม่สามารถปล่อยระบบการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนไปตามกลไกตลาด เพราะมีปัจจัยตัวแปร จากการเข้ามาเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน และการปั่นเงินผ่านตลาดทุนและตราสารหนี้"

2. มาตรการต่างๆ ทั้งของกระทรวงการคลัง และ ธปท. ที่ออกมาแล้ว ขอให้ผลักดันให้มีผลในทางปฏิบัติ การตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมกับภาคเอกชนในการขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริง ซึ่งต่างชาติจะเห็นช่องโหว่และเร่งเข้ามาเก็งกำไร เช่น การชำระค่าระวางเรือและค่าสินค้า ซึ่งยังติดปัญหาด้านเทคนิคกับกรมสรรพากร รวมถึงการปล่อยสินเชื่อภายใต้โครงการ Packing Loan และ Soft Loan ขอให้มีการกำหนดการพิจารณาหลักประกันในลักษณะผ่อนปรนหลักประกันหรือ PSA ฯลฯ

3. ธปท. ต้องส่งสัญญาณอย่างจริงจังในการดูแลไม่ให้เงินผันผวนไปตามการเก็งกำไร

4. ขอให้ ธปท. เข้มงวดเงินที่เข้ามาในลักษณะเก็งกำไรทั้งในตลาดทุน และตลาดตราสารหนี้ โดยอาจจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจขึ้นมาตรวจสอบติดตามและควบคุมเงินเข้าและออกซึ่ง มีลักษณะเก็งกำไร โดยเฉพาะควรต้องเพิ่มแบบฟอร์มให้นักลงทุนต่างชาติต้องระบุว่าจะนำมาเงินมา ใช้ในกิจกรรมใด ในธุรกิจประเภทใด และเมื่อมีการนำเงินออก แหล่งที่มาของรายได้นั้นมาจากใด เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การทำธุรกรรมมีความเข้มงวด รัดกุม

5.ขอให้ ธปท. ออกกฎเกณฑ์ควบคุมและจำกัดจำนวนเงินกู้ยืม และ แลกเปลี่ยนเงินบาท ของสถาบันการเงิน และ/หรือ ผู้ประกอบการธุรกิจด้านการเงิน รวมถึง บริษัทในเครือ ในการจำกัดการกู้เงินบาทไปแลกดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นการจำกัดการเก็งกำไรเงินในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่ซื้อขายในต่าง ประเทศ

6. ขอให้ ธปท. และกระทรวงการคลัง ร่วมมือในการหามาตรการที่เข้มข้นเพิ่มขึ้นกว่าที่ออกมาแล้ว โดยใช้นโยบายทั้งการเงิน และการคลัง สอดประสานในการสกัดกดดัน เพื่อลดการนำเงินเข้ามาเก็งกำไรในระยะสั้น

และ 7. ขอให้พิจารณาดำเนินการออกมาตรการชั่วคราวในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมของเงิน ทุนระยะสั้น ที่ไหลเข้ามาในประเทศ ในอัตราร้อยละ 2.0-4.0 ซึ่งปัจจุบันมีหลายประเทศที่ทำอยู่ เพื่อลดการไหลเข้าของเงินจนกว่าจะอยู่ในสภาวะปกติ

หารือส่งออกแก้ “บาทแข็ง”

 ธปท.ชี้เงินทุนนอกเริ่มไหลเข้าออก 2 ทาง

นายบุญทรง  เตริยาภิรมย์  รมว.พาณิชย์  เปิดเผยว่า  ได้สั่งให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์  หารือกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  (ส.อ.ท.)  เพื่อรับฟังผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่า  ซึ่งเบื้องต้นพบว่า  ผู้ส่งออกรายใหญ่ยังทำธุรกิจได้ตามปกติ  เพราะได้ซื้อความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไว้ล่วงหน้าไว้  แต่รายเล็กอาจได้รับผลกระทบ  ซึ่งหลังจากหารือจะเสนอรัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือให้ตรงตามความต้องการของภาคเอกชนต่อไป

“เป้าหมายของการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในปีนี้ยังคงไว้ที่ 8-9%  ซึ่งยังไม่ได้ประเมินค่าเงินบาทแข็งอย่างปัจจุบันเข้าไปด้วย  แต่ได้สั่งการในกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ  รวบรวมปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออก  เพื่อดูว่า  ต้องมีการทบทวนตัวเลขการส่งออกหรือไม่  คาดว่าน่าจะประเทินได้ก่อนเดือน  พ.ค.นี้”

 ด้านนางวัชรี  วิมุกตายน  ปลัดกระทรวงพาณิชย์  กล่าวว่า  คาดว่าจะหารือกับทั้ง  2  สภาได้ราวสัปดาห์หน้า  จากนั้นจึงรายงานให้นายกรัฐมนตรีได้ทราบก่อนออกมาตรการช่วยเหลือต่อไป

  ขณะที่นายประสาร  ไตรรัตน์วรกุล  ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย  (ธปท.)  กล่าวว่าการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา  เริ่มมี 2 ทิศทาง  คือ  เงินออกและเงินเข้า  เห็นได้จากตลาดหุ้นที่มีทั้งการขายสุทธิและซื้อสุทธิของต่างชาติสลับกันไป  และเริ่มเห็นทิศทางการไหลเข้าออกเงินที่สมดุลมากขึ้น  แต่  ธปท.  จะยังคงระมัดระวังและติดตามสถานการณ์ต่อเนื่อง  โดยในเดือน  ม.ค.  ที่ผ่านมา  พบว่ามีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาสุทธิ  2,000  กว่าล้านเหรียญสหรัฐ ฯ  โดยเป็นการไหลเข้าสุทธิในช่วง  2  สัปดาห์แรกมากถึง  2,000  ล้านเหรียญ ฯ

น.ส.หนึ่งฤทัย   เวฬุวนารักษ์    รหัส  55127326071

มาตรการการดูและค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วง 2 เดือนนี้ ของธนาคารแห่งประเทศไทย

หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คือ การรักษาเสถียรภาพ
ของระดับอัตราแลกเปลี่ยน และดูแลให้ความผันผวน (volatility) อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ซึ่งโดยปกติแล้ว วิธีการแทรกแซงของธนาคารแห่งประเทศไทยก็คือ การเข้าไปซื้อเงินดอลลาร์สรอ. ในตลาด ซึ่งทำให้เกิดการปล่อยสภาพคล่องเงินบาทเข้าไปสู่ระบบ หรืออธิบายง่ายๆ คือ "ดูดดอลลาร์ ปล่อยบาท" ซึ่งหลักฐานของการแทรกแซงดังกล่าว จะสะท้อนออกมาในรูปของทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

  นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) พร้อมด้วยสมาชิก ส.อ.ท. เดินทางเข้าพบนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เพื่อนำข้อเสนอของส.อ.ท.ทั้ง 7 ข้อเกี่ยวกับการดูแลค่าเงินบาท เนื่องจากมองว่าแนวโน้มค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นโดยอาจจะถึงระดับ 28 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) ที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก

ซึ่งนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวว่า 7 มาตรการที่เสนอมานั้นทาง ธปท. ได้ดำเนินการเรื่องนั้นอยู่แล้ว มีเพียงข้อที่ สรอ. ต้องการให้แยกระหว่างบัญชีต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนกับบัญชีเก็งกำไร ที่ ธปท. ไม่สามารถได้ชัดเจนว่า เป็นการเข้ามาเพื่อเก็งกำไร หรือเข้ามาลงทุนระยะสั้น ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ยังไม่เห็นการนำเงินเข้ามาซื้อขายในรูปการเก็งกำไร ทั้งในตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ ในขณะที่รัฐบาลช่วยในเรื่องการสร้างสมดุลเงินเข้าออก โดยขอให้รัฐวิสาหกิจมีหนี้สินต่างประเทศบริหารเวลาให้เหมาะสม และช่วยสร้างเสถียรภาพของค่าเงิน ในขณะเดียวกันภาคเอกชนก็ต้องปรับตัวรองรับการผันผวนที่จะเกิดด้วย

  ภาคเอกชนเสนอ 7 มาตรการดูแลค่าเงินบาท แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้

1.  ดูแลค่าเงินบาทไม่ให้มีความผันผวนเร็วเกินไป

2.  ดูแลเงินบาทไม่ให้แข็งค่ากว่าภูมิภาค โดยเฉพาะอินโดนีเซีย และมาเลเซีย

3.  ควรมีการผ่อนคลายกฎเกณฑ์การถือครองเงินตราต่างประเทศ

4.  การลดวงเงินการทำธุรกรรมในการป้องกันความเสี่ยง และลดค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก(SME)สามารถเข้าถึงมาตรการป้องกันความเสี่ยงมากขึ้น

5.  ควรมีการแยกระหว่างบัญชีต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนกับบัญชีเก็งกำไร

6.  ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการออกไปลงทุนต่างประเทศ โดยเร่งแก้  พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน และ

7.  ให้ภาครัฐและเอกชนโครงการ โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

เอกชนต้องให้  ธปท.  ดูแลดูแลค่าเงินบาทเป็นพิเศษ เพราะการแข็งค่าของเงินบาทเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก ปัจจุบันเกิดการไหลเวียนข้าวของเงินเยนและยูโร ที่ออกมาแสวงหาผลตอบแทน โดยเฉพาะไทย ที่ให้ผลตอบแทนดอกเบี้ยพันธบัตรระยะสั้นสูงถึง 2.75 % ในระยะสั้น 2-3 เดือนนี้ เงินบาทยังมีความผันผวน  การแข็งค่าของเงินบาท 1 บาท ต่อเหรียญสหรัฐ จะทำให้เงินในกระเป๋าผู้ส่งออกหายไปประมาร 18,000 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 216,000 ล้านบาทต่อปี

อ้างอิงจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ.2556 


น.ส.นิสาชล  สิงหะ   รหัส  55127326079

         ณ วันที่ 30 ม.ค.การเคลื่อนไหวเงินบาทประมาณ 29.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 2.89%นับตั้งแต่ปลายปี 55 จนถึงปัจจุบัน ถือเป็นอันดับสองรองจากสกุลเงินรูปีแข็งค่า 2.95% ขณะที่การเคลื่อนไหวระหว่างวัน (วันที่ 30 ม.ค.เทียบกับวันที่ 29 ม.ค.) เงินบาทแข็งค่า 0.30% เป็นรองรูปีเช่นกันที่แข็งค่าสูงสุดถึง 0.65%
        ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเคลื่อนย้ายเงินทุนจะเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจและยังไม่เห็นสัญญาณการโจมตีค่าเงินหรือเข้ามาในลักษณะทุบราคาชี้นำไปทิศทางใดทิศทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตลาดการเงินต่างคาดการณ์ว่าปี 56 เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียเติบโตค่อนข้างดี ทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามา แต่เงินบาทยังเคลื่อนไหวตามพื้นฐานเศรษฐกิจ จึงไม่มีเจตนาเข้าไปแทรกแซง แต่จะทำต่อเมื่อเงินบาทไม่สอดคล้องพื้นฐานเศรษฐกิจ
 อีกทั้งปัจจุบันไทยก็มีมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทอยู่บ้าง อาทิ ต่างชาติลงทุนเป็นเงินบาท ถ้าไม่มี Underlying รองรับ เราจะมีข้อห้าม ทำให้นักลงทุนต่างชาติทำได้เล็กน้อยเท่านั้น และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อดูแลเฉพาะด้านเดียวของเงินทุนไหลเข้าคงไม่ได้เห็นได้จากฮ่องกงมีดอกเบี้ยต่ำเท่ากับสหรัฐ แต่เงินไหลเข้าอยู่ จึงควรใช้อัตราดอกเบี้ย เพื่อดูแลเสถียรภาพระบบการเงินและควรผสมผสานเครื่องมือให้เหมาะสถานการณ์ดีกว่า

        ผลพวงจากธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาดำเนินนโยบายผ่อนคลายการเงินเชิงปริมาณ หรือ คิวอี และล่าสุด ธนาคารกลางญี่ปุ่น ประกาศมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ เงินทุนต่างชาติอาจไหลเข้าตลาดเงินของไทยมากขึ้น         

นักการเงินธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเห็นตรงกันว่า ปัญหาดังกล่าว ทำให้ค่าเงินบาทผันผวนในทิศทางแข็งค่า ในกรอบดอลลาร์สหรัฐละ 29.50 บาท - 29.80 บาท

โดย นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ยอมรับว่า เงินบาทแข็งค่าเร็วกว่าประเทศคู่แข่ง แต่สอดคล้องกับภูมิภาค และหากมีความจำเป็น ก็พร้อมออกมาตรการพิเศษ เพื่อแทรกแซงค่าเงิน

ขณะที่นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เรียกร้องให้แบงก์ชาติ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จากปัจจุบันร้อยละ 2.75 เพื่อลดเงินทุนไหลเข้า พร้อมประเมิน หากแบงก์ชาติ ไม่ออกมาตรการใดๆ เงินบาทอาจแข็งค่าดอลลาร์สหรัฐละ 28 บาท ซึ่งซ้ำเติมผู้ประกอบการจากนโยบายขึ้นค่าจ้างอยู่แล้ว

และขณะที่นายพยุง ศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ในการหารือนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อนำเสนอแนวทาง 7 ข้อ เพื่อลดผลกระทบต่อการแข็งค่าของเงินบาท โดยต้องการให้ ธปท.เข้ามาดูแลค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นขณะนี้ เพราะได้สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ส่งออก โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพราะเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในปัจจุบันแข็งค่าขึ้นมากกว่าคู่แข่ง

ผู้ว่า ธปท. แนะเอกชนควรใช้โอกาสช่วงเงินบาทแข็งค่า นำเข้าสินค้าทุน เพื่อลดต้นทุนการผลิตของภาคเอกชน และการปรับปรุงพัฒนาแรงงาน

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าว เอกชนควรใช้โอกาสช่วงเงินบาทแข็งค่า นำเข้าสินค้าทุน เพื่อลดต้นทุนการผลิตของภาคเอกชน และการปรับปรุงพัฒนาแรงงาน เพื่อให้การผลิตสินค้ามีประสิทธิภาพ แม้จะต้องทยอยปรับเพิ่มค่าแรงงานก็ตาม ทั้งนี้ งบการวิจัยมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.2 ของจีดีพีเท่านั้น

 

          นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย  (ธปท.) กล่าวถึงผลการหารือระหว่างนายประสาร ไตรรัตน์วรกุลผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. กับนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผลประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. และสมาชิก ส.อ.ท.เป็นเวลากว่า 1.30 ชั่วโมงถึงข้อเสนอ 7 ข้อของ ส.อ.ท.ในการดูแลค่าเงินบาท ว่า ได้มีการทำความเข้าใจกับส.อ.ท.ถึงการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าบ้างแล้วตามเงินสกุลในภูมิภาค ซึ่งทิศทางบาทสามารถอ่อนและแข็งได้ในหลายช่วง โดย ส.อ.ท.ขอให้ธปท.ติดตามธุรกรรมต่างๆ อย่างใกล้ชิด และมีความเข้าใจว่า หากธปท.ต้องใช้มาตรการในภาวะจำเป็นก็ไว้ใจ ธปท.ว่าจะใช้มาตรการในระดับและจังหวะเวลาที่เหมาะสม ซึ่ง ธปท.ได้ยืนยันว่ามีมาตรการดูแลเงินบาทหลายมาตรการโดยจะพิจารณาใช้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์
อย่างไรก็ตาม ส.อ.ท.ขอให้ธปท.เทียบค่าเงินบาทกับสกุลเงินต่างๆ ในอาเซียน 9 ประเทศ รวมทั้ง ไทย และเงินสกุลของประเทศคู่แข่ง คือ จีน อินเดีย บังกลาเทศ และ ศรีลังกา รวมเป็น 14 ประเทศ นอกเหนือจากเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐเพื่อให้สามารถเทียบเคียงกับราคาสินค้าของประเทศคู่แข่งได้ โดยธปท.พร้อมพิจารณา
นอกจากนี้ธปท.จะช่วยประสานกับธนาคารพาณิชย์ให้เอสเอ็มอีสามารถซื้อประกันความเสี่ยงในขนาดธุรกรรมที่เล็กลงและเร่งประชาสัมพันธ์ให้เอสเอ็มอีซื้อสัญญาซื้อขายเงินดอลลาร์สหรัฐล่วงหน้าในตลาดTfex ซึ่ง 1 สัญญามีมูลค่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 30,000 บาทซึ่งเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่เอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงได้ และขอให้ส.อ.ท.ย้ำให้สมาชิกซื้อประกันความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดทอนกระทบในช่วงที่อัตราแลกเปลี่ยนผันผวนรวมทั้งการสนับสนุนการใช้เงินสกุลท้องถิ่น เพื่อการผ่อนชำระและซื้อสินค้ามากขึ้น

พร้อมกันนี้ขอให้ ส.อ.ท.ทำความเข้าใจกับสมาชิกว่าผู้ส่งออกสามารถที่จะถือครองดอลลาร์สหรัฐที่ได้จากการค้าขายเป็นระยะเวลา 1 ปีซึ่งถือเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม

"เราก็มีความเข้าใจที่ตรงกันที่จะบรรเทาผลกระทบต่อผู้ส่งออกและเข้าใจตรงกันว่าในช่วงงินบาทแข็งถือเป็นโอกาสที่จะเพิ่มการลงทุนทั้งในโครงการภาครัฐและเอกชนหากช่วยสนับสนุนก็จะมีความต้องการใช้เงินตราต่างประเทศช่วยรักษาสมดุลของปริมาณเงินไหลเข้า - ออก จะมีการประสานงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องพร้อมขอให้ใช้ประโยชน์ช่วงเงินบาทแข็งค่าเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน"นางผ่องเพ็ญกล่าว
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท. กล่าว ว่า ได้ฟังข้อมูลจากธปท.ก็สบายใจขึ้น เพราะค่าเงินบาทเริ่มทรงตัวและมั่นใจว่าจะค่าเงินบาทจะไม่แข็งค่าถึง 28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐอย่างที่กังวลใจแต่ต้องติดตามสถานการณ์อีกระยะพร้อมกันนี้จะเร่งให้ข้อมูลกับสมาชิกโดยเฉพาะเอสเอ็มอีให้ซื้อสัญญาซื้อขายเงินดอลลาร์สหรัฐล่วงเพื่อประกันความเสี่ยงจากค่าเงินบาท
ส่วนการแยกบัญชีเงินที่จะเข้ามาเก็งกำไรกับบัญชีเงินต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนส.อ.ท.เข้าใจว่ามีทั้งผลดีและผลเสียเนื่องจากอาจเป็นการส่งสัญญาณการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุน ดังนั้นส.อ.ท.และที่ผ่านมา ธปท.ดำเนินการได้ดี โดยดูจากข้อมูลสิ้นปี 2555 มีเงินทุนไหลเข้า 21,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีเงินไหลออก 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งถือว่ามีความสมดุล


 

"ดร.โกร่ง" จวกธปท.ไร้กึ๋น-ค่าเงินบาทแข็ง ดีแต่คิดขึ้นดอกเบี้ย

เศรษฐกิจ ข่าวสด

นาย กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามภาวะเศรษฐกิจของ ประเทศ ทั้งผลกระทบจากนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และการแข็งค่าของเงินบาท โดยมีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 30 ม.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาลว่า นายกฯ ได้มอบหมายให้ตนในฐานะรมว.คลัง ไปประชุมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์ที่ไม่ได้อยู่ในธปท.และกนง. เพื่อหาทางแก้ปัญหาค่าเงินผันผวน 

"มีการตั้งข้อสังเกตในที่ประชุม ว่า มาตรการที่มีอยู่เป็นการทวนกระแสการแข็งค่าของเงิน เป็นการทวนการไหลเข้าของเงินในระยะสั้น อาจไม่ได้เป็นมาตรการที่พอดิบพอดีกัน ซึ่งในการหารือก็มีนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการ ธปท. นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี และผู้ว่าการ ธปท. ด้วย แต่ยืนยันว่าจะไม่มีมาตรการควบคุมการไหลเข้าออกของเงินเด็ดขาด และจะไม่ใช้มาตรการเก็บภาษีจากผลตอบแทนต่างๆ" นายกิตติรัตน์กล่าว 

นาย กิตติรัตน์กล่าวว่า ในระหว่างการประชุม นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้รายงานว่า ภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งเอสเอ็มอีที่ส่งออกก็ได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าด้วย จึงต้องหามาตรการช่วยเหลือ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะทำงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าไทย และสถาบันการเงิน อีกทั้งจะตั้งรมว.อุตสาหกรรม และรมว.พาณิชย์ เพิ่มเติมในคณะกรรมการชุดนี้ด้วย

วันเดียวกัน นายวีรพงษ์ กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "Thailand"s Economic Outlook 2013" จัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ที่โรงแรมเชอราตัน สุขุมวิท ว่า ขณะนี้มาตรการกระตุ้นและอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจากสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น สร้างความกังวลต่อปัญหาเงินร้อนที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ ของไทยอย่างร้อนแรง ทั้งที่ปัจจัยพื้นฐานในประเทศ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไม่เปลี่ยนแปลง แต่หุ้นปรับตัวขึ้นสูง สะท้อนเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามาการเก็งกำไร ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นและอาจเกิดปัญหาฟองสบู่ในตลาดเงิน จนอาจลุกลามเข้าไปในภาคอสังหาริมทรัพย์

ทั้งนี้ เงินทุนที่ไหลเข้าเกิดจากดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ 2.75% ที่สูงกว่าของสหรัฐอยู่ที่ 0.25% ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าธปท.ควรปรับลดดอกเบี้ยลงเพื่อลดมูลเหตุจูงใจการไหลเข้า ของเงิน พร้อมกับมีมาตรการสกัดกั้นการไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้น และต้องไม่ใช่การใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ โดยมองว่าหากเงินบาทแข็งค่าในกรอบ 28 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ภาคธุรกิจจะอยู่ไม่ได้

"สิ่งสำคัญคือ ผู้บริหารนโยบายการเงินไม่เข้าใจเรื่องการเชื่อมโยงกันระหว่างส่วนต่าง ดอกเบี้ยกับเงินทุนเคลื่อนย้ายที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะธปท.มีความคิดแต่จะขึ้นดอกเบี้ย ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้าย แม้ผมเป็นประธานธปท.ก็ยังพูดกันไม่ได้ ซึ่งการปล่อยให้ดอกเบี้ยของไทยสูงกว่าของสหรัฐนานเกินไป ทำให้การปรับลดส่วนต่างดอกเบี้ยลงมาอยู่ในระดับเดียวกันหรือต่ำกว่าต้นทุน ของเงินไหลเข้าที่ระดับ 0.75-1% เพื่อช่วยให้เงินบาทอ่อนค่าลงถือว่าเหมาะสม แต่คงเป็นเรื่องที่ทำได้ยากแล้ว เพราะขณะนี้สินเชื่อและราคาอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้นกลับจะยิ่งซ้ำเติมให้สิน เชื่อขยายตัวสูงขึ้น อาจซ้ำรอยวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540" นายวีรพงษ์กล่าว

นอก จากนี้ จากการหารือถึงผลกระทบการแข็งค่าของเงินบาทที่มีต่อผู้ส่งออกนั้น ในที่ประชุมก็ไม่เห็นมีใครเสนอวิธีที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง มีแต่แนวทางสนับสนุนให้เงินออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งวิธีเหล่านั้นเป็นเพียงแค่ยาแดง ยาดม ยาลม ยาหม่อง เท่านั้น

นาย บัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการ IOD กล่าวว่า ในภาวะนี้ไม่ควรกดดันให้ลดดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดเงินทุนไหลเข้า เพราะสาเหตุที่ทำให้เงินทุนไหลเข้ามีหลายปัจจัยมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะปัจจัยจากต่างประเทศ

ด้านนายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวิจัย บริษัท หลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เบื้องต้นประเมินว่าเงินทุนเคลื่อนย้ายจะยังคงไหลเข้ามาลงทุนในไทยต่อเนื่อง ไปอีก 2 ปีแน่นอน

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กล่าวว่า สศค.ติดตามภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในขณะนี้ พบว่ายังอยู่ในระดับที่สศค.คาดการณ์ไว้ว่าปีนี้ค่าเงินบาทอยู่ที่ 30.7 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สศค.ยังคาดการณ์ว่าไตรมาส 4/2555 เศรษฐกิจจะขยายตัว 15.9% ผลักดันให้ทั้งปี 2555 ขยายตัวได้ 5.7% การส่งออกอยู่ในระดับ 3.1% ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 3.9% ส่วนในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวได้ 5% มูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ 10% อย่างไรก็ตาม สศค.จะปรับประมาณการเศรษฐกิจปีนี้ใหม่ในช่วงเดือนมี.ค.2556

พณ.เร่งแก้ปัญหาค่าครองชีพสูง คุมเงินเฟ้อ

รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน ประจำวันเสาร์ที่ 18 ก.พ. 2555

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี งดจัดรายการและมอบหมายและให้ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มาจัดรายการแทน เพื่อนำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะเรื่องของราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีนายธีรัตถ์ รัตนเสวี รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ

โดยนายบุญทรง กล่าวถึง นโยบายในการดูแลปัญหาค่าครองชีพให้แก่ประชาชนว่า เป้าหมายของกระทรวงพาณิชย์ในปีนี้ ตั้งเป้าคุมเงินเฟ้อไม่ให้เกิน 3.5-3.8 % ดังนั้นค่าครองชีพก็ควรจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบนี้

ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะดูราคาปลายทาง สิ่งที่พี่น้องประชาชนต้องจับจ่ายใช้สอย ดูให้อยู่ในราคาที่เหมาะสม คือผู้มีรายได้ขั้นต่ำต้องสามารถซื้อหามาอุปโภคบริโภคได้ เช่น เรื่องอาหารการกิน ถ้าไม่เหมาะสมสูงเกินไป ก็จะเช็คต้นทุนราคาสินค้า ดูละเอียดมากขึ้นจากปลายน้ำถึงต้นน้ำ เช็คไปถึงราคาวัตถุดิบ เมื่อเราต้องไปดูละเอียดขนาดนั้น ก็เพื่อดูแลความเป็นอยู่ของประชาชน 60 กว่าล้านคน เพราะนโยบายของรัฐบาลคือ ยกระดับรายได้ของคนไทย เช่น ปรับเงินเดือนขั้นต่ำปริญญาตรี 15,000บาท และค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เพื่อให้เขาอยู่ได้ในอัตราค่าแรงที่เขาได้รับ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์กำลังดูละเอียด เพราะถ้าเราดูขึ้นค่าแรง แต่ไม่ไปดูค่าใช้จ่าย ขึ้นค่าแรงเท่าไรก็ไม่พอใช้ เพราะค่าครองชีพขึ้นในอัตราสูงกว่าค่าแรง

สำหรับคำถามที่ว่าจะคุมได้ไหมในราคาทุน ก็เป็นปัญหาโลกแตก เช่น หมูราคาแพงก็ต้องดูว่ามาจากอะไร ต้นทุนมาจากอาหารหรือไม่ เพราะสุดท้ายกระทรวงพาณิชย์ต้องมาแก้ปัญหาราคาหมูแพง ไข่แพง ก็มาเดินขบวนกัน ซึ่งตนก็ได้ให้นโยบายหน่วยงานว่าต่อไปทำงานเชิงรุก บูรณาการหน่วยงาน ทำงานข้ามกระทรวงให้ได้ โดยเฉพาะกระทรวงที่อยู่ในซีกรัฐบาล พรรคเดียวกันก็น่าจะทำงานได้ง่ายขึ้น สำคัญที่สุดคือ คุมราคาให้ผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรม ไม่ให้มีการค้ากำไรเกินควร แต่การค้าในไทยเป็นการค้าเสรี จะบอกว่าไม่ให้มีกำไรก็คงไม่ได้ แต่ก็ต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม

ส่วนนโยบายการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ก็เป็นสิ่งที่เรากำลังพยายามทำ มีวิธีการที่ทำได้แต่ก็ต้องเจ็บปวดบ้างในระหว่างทำ ความเจ็บปวดคือผู้ผลิตที่เป็นนายจ้างต้องแบกรับภาระ ส่วนหนึ่งกระทรวงคลังก็ต้องช่วยดูในเรื่องต้นทุน ถึงมีนโยบายลดภาษีเงินได้จาก 30 % เหลือ 23 % และยกระดับชีวิตคน เช่นเดียวกันคือพยายามยกระดับสินค้าเกษตร และยกระดับเกษตรกรให้ดีขึ้น ปลูกข้าวมามีเงินคืนเงินกู้ และมีเงินเหลือพอที้จะอยู่ได้

. นโยบายลดรายจ่ายเพื่อบรรเทาภาระของประชาชนจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ด้วยโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อย การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล การต่ออายุมาตรการค่าครองชีพ และบัตรเครดิตพลังงาน

ศรษฐกิจไทยกลับมาขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้น และอัตราเงินเฟ้อปรับลดลงตามลำดับทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลสามารถรักษาวินัยทางการคลังภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง (สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีต่ำกว่าร้อยละ 60) และสามารถสร้างกลไกการบริหารจัดการหนี้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้อย่างชัดเจน

นายกิตติรัตน์ ได้กล่าวถึงผลงานของกรมจัดเก็บและรัฐวิสาหกิจที่ตนกำกับว่า ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา สามารถดำเนินนโยบายของรัฐบาลได้ดีโดยในส่วนของการกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน จากข้อมูลล่าสุด โครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกรที่ได้อนุมัติแล้วทั้งสิ้น 844,347 ราย มียอดเงินใช้จ่ายผ่านบัตรทั้งสิ้น 621 ล้านบาท การคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ร้อยละ 7 เป็นส่วนสำคัญที่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภคภาคเอกชน โครงการพักหนี้ลูกหนี้ที่มีหนี้ค้างชำระ มีผู้ได้รับอนุมัติ 428,415 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 52,304 ล้านบาท โครงการพักหนี้ลูกหนี้ที่มีภาระปกติ มีผู้สนใจมาลงทะเบียน 2,468,367 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 281,089 ล้านบาท และโครงการรถคันแรกมีผู้ขอใช้สิทธิ์ 169,861คัน คิดเป็นยอดขอคืนเงินภาษีจำนวน12,191ล้านบาท

ในส่วนของการกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน กระทรวงการคลังได้ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 23 ในปี 2555 และร้อยละ 20 ในปี 2556 อันเป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 และโครงการบ้านหลังแรกมีผู้ใช้สิทธิ์ 9,600 ราย คิดเป็นมูลค่าภาษี 224 ล้านบาท

ในส่วนของการดูแลอัตราเงินเฟ้อ กระทรวงการคลังได้ขยายเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่ 0.005 บาท/ลิตร ซึ่งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชนและภาคธุรกิจในช่วงปีที่ผ่านมากว่า 108,000 ล้านบาทและในส่วนของการส่งเสริมการแข่งขันเสรี กระทรวงการคลังได้ดำเนินโครงการจัดตั้งการให้บริการระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (National Single Window) เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้าระหว่างประเทศ โดยคาดว่าจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเสร็จสมบูรณ์ปลายปี 2556 และจะสามารถเชื่อมโยงระบบกับประเทศอาเซียนอื่นๆ ได้ในปี 2557

'นายกฯ' เรียกประชุมครม.วาระพิเศษ แก้ปัญหาเงินเฟ้อและสินค้าราคาสูง ด้าน 'กิตติรัตน์' ยันรัฐบาลไม่มีแผนขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม-เพิ่มภาษีร้อยละ1

  1 พ.ค.55 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจวาระพิเศษที่ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า โดยมีวาระการประชุมคือเรื่องของสินค้าราคาสินค้าที่พุ่งขึ้นสูง โดยมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายโอฬาร ไชยประวัติ ประธานผู้แทนการค้าไทย นายวีระพงษ์ รามางกูล ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจเข้าร่วม

  นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวขณะเริ่มประชุมว่า การประชุมครั้งนี้จะวิเคราะห์ถึงภาคอุตสาหกรรมและเอสเอ็มอี เพื่อหามาตรการเสริมโดยปัญหาเร่งด่วนวันนี้คือเรื่องเงินเฟ้อที่เกิดจากราคาพลังงานที่มี่แนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงการแก้ไขปัญหาราคาแพง ที่ขณะนี้มีปัญหาสองส่วนคือปัญหาวัตถุดิบที่มี่ต้นทุนราคาถูก แต่หลังจากทำเป็นสินค้าสำเร็จรูปหรืออาหารจะเป็นราคาแพง ดังนั้นขอให้กระทรวงพาณิชย์วิเคราะห์ต้นทุน ในส่วนประกอบทุกส่วน พร้อมกันนี้ให้ดูว่าสินค้าชนิดใดมีราคาสูงและสินค้าใดที่มีราคาปรับลดลง

'กิตรัตน์' ยันรัฐไม่มีแผนขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม-เพิ่มภาษี

  วันเดียวกัน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวแถลงหลังการประชุมครม.เศรษฐกิจวาระพิเศษ  พร้อมด้วย นายบุญทรง นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ว่า ที่ประชุมมีความเห็นตรงกันในเรื่องของราคาสินค้าที่ขึ้นสูง เพราะแสดงได้จากอัตราเงินเฟ้อที่เป็นบวก ซึ่งก็หมายถึงราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะถ้าหากตัวเลขแสดงเป็นลบแล้วก็จะส่งถึงสัญญาณที่ไม่ดีเหมือนกัน โดยรัฐบาลได้จับตาดูกรอบอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในภาวะปกติที่ร้อยละ 2 ร้อยละ 3.5 โดยหลังจากภาวะวิกฤตน้ำท่วมทำให้มีปัญหาในเรื่องของอุปทาน ทำให้ราคาสินค้ามีปัญหา และในช่วงไตรมาสที่หนึ่งของปีราคาพลังงานในตลาดโลกสูงขึ้น ราคาน้ำมันต่อบาร์เรลจากที่เคยอยู่ที่ 80 เหรียญฯ ก็ขยับขึ้นไปเป็น 120 เหรียญฯ ในช่วงหนึ่ง ทางรัฐบาลเองก็ได้ดำเนินมาตารการประครองไม่ให้สินค้าเพิ่มขึ้นจากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งก็ถือว่าได้ผลในระดับหนึ่ง จากการติดตามราคาสินค้าสำคัญหลายรายการรวมทั้งส่วนที่เป็นสาเหตุทำให้สินค้าและเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นก็เริ่มแสดงความผ่อนคลาย จากการเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

  นายกิตติรัตน์ ยังได้ชี้แจงถึงการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 1 ว่ารัฐบาลไม่เคยมีแผนการในการปรับอัตราภาษีใดๆทั้งสิ้น นอกจากนี้กระทรวงพลังงานจะไม่มีการปรับราคาก๊าซหุงต้มครัวเรือนเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด แม้ว่าประเทศไทยจะจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านก็ตาม ส่วนการลอยตัวก๊าซ LPG ในภาคอุตสาหกรรมนั้นก็ยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งมั่นใจว่าภาคอุตสาหกรรมนั้นจะสามารถรับได้

  ด้านนายบุญทรง กล่าวว่า ตัวเลขค่าเงินเฟ้อในปัจจุบันถือว่าแรงจูงใจในการผลิตสินค้าของผู้ประกอบการในการที่พอปรับราคาได้บ้าง แต่ต้องไม่สูงจนเกินไปจนเป็นปัญหา ส่วนหลังจากภาวะน้ำท่วมนั้นตัวเลขเศรษฐกิจก็ยังอยู่ในภาวะฟื้นตัวอย่างเป็นลำดับ โดยตั้งแต่เดือนเม.ย.กำลังอุตสาหกรรมนั้นก็กำลังกลับมาอยู่ในขั้น 80 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์

  นายยรรยง กล่าวว่า ถ้าดูจากดัชนีแนวโน้มผู้บริโภค (CPI) นั้นมีแนวโน้มลดลง ที่น่าดีใจคือในหมวดของอาหารโดยรวมทั้งอาหารสด และสำเร็จรูป นั้นมีแนวโน้มลดลง แต่ผลไม้นั้นมีแนวโน้มสูงขึ้น ตอนนี้ทางนายกรัฐมนตรีเองได้กำชับให้ดูแลประชาชนในเรื่องของอาหาร โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการในการดูแลในหมวดของอาหารที่สำคัญให้มีการปรับราคาที่เป็นธรรม


              คุณพงษ์ศักดิ์  อัสสกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ในปัจจุบัน ค่าเงินบาทของไทย ถือว่าเป็นปัจจัยลบต่อการส่งออกของประเทศไทย เนื่องจากในปัจจุบันอัตราแลกเปลี่ยนของไทยแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องและแข็งกว่าคู่แข่งในภูมิภาค โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบันต่ำกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ทำให้สถานการณ์การส่งออกของประเทศไทยเริ่มที่จะมีปัญหา เนื่องจากความสามารถในการแข่งขันของไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคนั้นเริ่มแย่ลง เพราะหากเปรียบเทียบการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทกับเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคนับตั้งแต่ปลายปี 2008- ปัจจุบัน พบว่า ค่าเงินบาทมีค่าแข็งขึ้น 13.6% เทียบกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาคอาเซียนแล้วไทยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ มาเลเซียแข็งค่า 10.5% สิงคโปร์ 9.1% และฟิลิปินส์ 8.4% และประเทศไทยยังมีการแข็งค่าที่สุดในเอเซียด้วยเช่นกัน ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวนั้นจะเห็นได้ว่าประเทศไทยนั้น ประสบปัญหาในด้านของการแข่งขันในเชิงเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งในหลายประเทศในภูมิภาคเอเซีย และอาเซียน
            ซี่งสาเหตุของการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในปัจจุบันนั้น จะมีด้วยกัน 2 สาเหตุ ได้แก่ การไหลเข้ามาจากดุลบัญชีเดินสะพัด(Current Account) ซึ่งเป็นบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการบริการระหว่างประเทศ  และอีกสาเหตุก็คือ การไหลเข้าสุทธิของเงินทุนต่างประเทศในดุลบัญชีทุน (Capital Account) ซึ่งเป็นการโอนย้ายทางด้านของเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย ทั้งมาในเรื่องของการลงทุนทั้งทางตรงและทางอ้อม  การที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้น อันเนื่องมาจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งเป็นการได้มาจากความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก ดังนั้น การแข็งค่าของเงินบาทในลักษณะนี้ธุรกิจจะปรับตัวเพื่อการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าการแข็งค่าของเงินมาจากการไหลเข้าสุทธิของเงินลงทุนจากต่างประเทศที่ได้มามากเกินไป จะเป็นการแข็งค่าของเงินที่ไม่ได้มาจากศักยภาพพื้นฐาน ของ ธุรกิจ หรือภาคเศรษฐกิจจริง ของไทย ดังนั้น การแข็งค่าของเงินบาทอย่างรวดเร็ว จะเป็นการทำลายขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย ในตลาดโลก ซึ่งในปัจจุบันนี้ประเทศไทยได้เผชิญอยู่ 
ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทในปัจจุบันของประเทศไทยนั้น หอการค้าไทยจึงเห็นว่ารัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยควรดำเนินการเป็น 2 ระยะ ได้แก่

 1.  การแก้ไขปัญหาระยะสั้น       

1.1  ธนาคารแห่งประเทศไทยควรปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงินโดยให้ความสำคัญเป็นอันดับ 1 กับการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนในระยะสั้น (3-6 เดือน) โดยให้ความสำคัญกับเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) เป็นอันดับรองลงไป
1.2  ธนาคารแห่งประเทศไทยควรเข้ามาแทรกแซงตลาดอย่างเต็มที่ ด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพและได้ผลมากกว่าในปัจจุบัน
1.3  ควรดำเนินการขะลอการไหลเข้าของเงินลงทุน ที่จะเข้ามาหาผลกำไรจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย โดยที่รัฐบาลควรออกมาตรการเก็บภาษีจากส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยไทยกับอัตราดอกเบี้ยของต่างประเทศ (ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการ)
1.4  ควรลดหรือชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงนโยบาย (R/P 1 วัน) เพื่อชะลอการแข็งค่าของเงิน


2.  การแก้ไขปัญหาในระยะยาว               
2.1  สนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนไทยไปลงทุนในต่างประเทศ
2.2  ส่งเสริมให้มีการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ ผ่านการลดภาษีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อการปรับปรุงคุณภาพสินค้า และศักยภาพของการผลิตของประเทศ 

            และสุดท้ายเพื่อให้การดูแล และแก้ไขปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน และการแข็งค่าของค่าเงิน เป็นไปในทิศทางเดียวกันและทันต่อเหตุการณ์ หอการค้าไทย เห็นว่า รัฐบาลควรกำหนดให้เรื่องนี้เป็นวาระสำคัญเร่งด่วนของไทยในขณะนี้ เพราะการแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วของค่าเงินบาทในลักษณะนี้จะเป็นปัจจัยลบ ที่จะทำร้ายขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยทุกระดับในตลาดโลก และอาจส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรงซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวอย่างรวดเร็วในปีหน้า โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี หรือ ผู้ที่ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี มอบหมาย มาเป็นประธานและเป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทั้งหมด


อย่ากลัวบาทแข็ง ธปท.ชี้ระยะสั้น! กล่อมผู้ส่งออกปรับตัว

ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -เปิดรับศักราชใหม่ ปรากฏการณ์สกุลเงินภูมิภาคเอเชียปรับตัวแข็งค่าขึ้น รวมถึงเงินบาทไทยเกิดขึ้นจากภาวะนักลงทุนกล้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น (Risk on) ในประเทศเกิดใหม่ที่มีการเติบโตที่ดีกว่า ถือเป็นเรื่องธรรมชาติที่ต่างชาติจะโยกเงินมาลงทุนในแหล่งที่ให้ผลตอบแทนที่ดีและมีศักยภาพ

 เงินบาทแข็งค่าขึ้นตามกระแสกลุ่มประเทศในภูมิภาคตั้งแต่ปีใหม่ พอเข้าช่วงกลางเดือน ม.ค.เงินบาทแข็งค่าเร็วขึ้น หลังจากนั้นเงินบาทคงสถานะไว้ที่อันดับ 2 ของเอเชีย ซึ่งอันดับแรกสลับกันไปมาระหว่างรูปีของอินเดียกับริงกิตของมาเลเซีย

 ณ วันที่ 30 ม.ค.การเคลื่อนไหวเงินบาทประมาณ 29.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 2.89%นับตั้งแต่ปลายปี 55 จนถึงปัจจุบัน ถือเป็นอันดับสองรองจากสกุลเงินรูปีแข็งค่า 2.95% ขณะที่การเคลื่อนไหวระหว่างวัน (วันที่ 30 ม.ค.เทียบกับวันที่ 29 ม.ค.) เงินบาทแข็งค่า 0.30% เป็นรองรูปีเช่นกันที่แข็งค่าสูงสุดถึง 0.65%

ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเคลื่อนย้ายเงินทุนจะเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจและยังไม่เห็นสัญญาณการโจมตีค่าเงินหรือเข้ามาในลักษณะทุบราคาชี้นำไปทิศทางใดทิศทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตลาดการเงินต่างคาดการณ์ว่าปี 56 เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียเติบโตค่อนข้างดี ทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามา แต่เงินบาทยังเคลื่อนไหวตามพื้นฐานเศรษฐกิจ จึงไม่มีเจตนาเข้าไปแทรกแซง แต่จะทำต่อเมื่อเงินบาทไม่สอดคล้องพื้นฐานเศรษฐกิจ

 อีกทั้งปัจจุบันไทยก็มีมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทอยู่บ้าง อาทิ ต่างชาติลงทุนเป็นเงินบาท ถ้าไม่มี Underlying รองรับ เราจะมีข้อห้าม ทำให้นักลงทุนต่างชาติทำได้เล็กน้อยเท่านั้น และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อดูแลเฉพาะด้านเดียวของเงินทุนไหลเข้าคงไม่ได้เห็นได้จากฮ่องกงมีดอกเบี้ยต่ำเท่ากับสหรัฐ แต่เงินไหลเข้าอยู่ จึงควรใช้อัตราดอกเบี้ย เพื่อดูแลเสถียรภาพระบบการเงินและควรผสมผสานเครื่องมือให้เหมาะสถานการณ์ดีกว่า

ผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน แบงก์ชาติ ยืนยัน ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เงินบาทจะดีดตัวในระยะสั้นๆ แต่สิ่งเหล่านี้ต้องดูระยะยาว ขณะเดียวกันการทำงานของแบงก์ชาติก็มีการเปรียบเทียบเงินบาทกับสกุลเงินอื่นหลากหลายมิติ ไม่เฉพาะสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอย่างเดียว อีกทั้งต้องดูปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจประเทศนั้นๆ ประกอบด้วย เพราะเศรษฐกิจดีสกุลเงินแข็งค่าเป็นเรื่องปกติ

 “ขณะนี้แบงก์ชาติยังไม่มีการใช้มาตรการอะไรมาดูแลค่าเงินบาท แต่เราก็มีมาตรการในมือ ซึ่งดูความเหมาะสมตามสถานการณ์ เพราะการใช้ยาพวกนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย รวมถึงต้องให้ถูกกับโรค โดยหากใช้ยาแรงเกินไปอาจได้รับผลกระทบได้หรือยาอ่อนเกินไปก็อาจจะไม่ได้ผลเลย ฉะนั้น เราต้องมั่นใจว่าเป็นช่วงเวลาที่จำเป็นและขนาดที่เหมาะสม”

 อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันแบงก์ชาติก็มีผลขาดทุน แต่ในส่วนของผู้ว่าการแบงก์ชาติพยายามพูดเสมอว่าไม่ได้เป็นอุปสรรคในการดูแลค่าเงินบาท เพราะการทำหน้าที่ของธนาคารกลางไม่ใช่บริษัทที่คิดแง่ผลกำไรอย่างเดียว ดังนั้น ปรากฏการณ์อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเป็นเรื่องธรรมชาติไปแล้ว และการทำหน้าที่ของแบงก์ชาติด้วยการต้านกระแสเงินทุนมหาศาลก็เป็นเรื่องที่ยากในยุคนี้ ขณะเดียวกันตอนนี้ภาคธุรกิจไทยก็มีการปรับตัวต่อปรากฏการณ์เช่นนี้ค่อนข้างดีทีเดียว

 จึงเริ่มความพยายามแบงก์ชาติที่ทำหน้าที่หลากหลายบทบาทมากขึ้นแทนที่จะมุ่งเป้าหมายไปดูแลค่าเงินบาทเพียงอย่างเดียว ตอนนี้จะเห็นพยายามเป็นตัวกลางประสานธนาคารพาณิชย์เพิ่มเติม เพื่อช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงเครื่องมือบริหารความเสี่ยงมากขึ้นและทราบถึงกลไกการทำงานและให้รู้ว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไม่แพง อาทิ ขอลดขนาดธุรกรรมให้เล็กลงให้ธุรกิจขนาดเล็กเข้าถึงง่ายขึ้น หรือสนับสนุนให้ทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ซึ่งขนาดของสัญญาเล็กมาก 1,000 เหรียญสหรัฐ เป็นต้น

“ภาคธุรกิจควรทำอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงภาคธุรกิจก็ควรหันมาใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการจ่ายหรือรับชำระสินค้ามากขึ้น เพื่อลดความผันผวนจากค่าเงินได้อีกทางหนึ่ง”

 การสร้างเข้าใจให้แก่ภาคธุรกิจถึงหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งภาคธุรกิจยังไม่เข้าใจอีกมากเป็นอีกแนวทางหนึ่งแบงก์ชาติพยายามจะย้ำเสมอ

 อาทิ เรื่องผู้ส่งออกสามารถถือครองเงินตราต่างประเทศได้ประมาณ 2 ปี กล่าวคือ ผู้ส่งออกมีระยะเวลาในการรับเงินจากคู่ค้าต่างประเทศได้ภายใน 360 วัน และเมื่อได้รับเงินแล้วต้องนำรายได้ดังกล่าวเข้าไทยทันที แต่สามารถขายรับเป็นเงินบาทหรือเลือกฝากเงินตราต่างประเทศนี้ไว้ในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของบุคคลไทย(FCD)ได้อีก 360 วัน ซึ่งบัญชีนี้สามารถฝากเงินได้เท่ากับจำนวนรายได้รับมาจากการส่งออกสินค้า โดยไม่จำกัดระยะเวลา เป็นต้น

 นอกจากนี้ การออกแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ ระยะแรกของปี 55-56 ของแบงก์ชาติก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผ่อนคลายให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนสมดุลและลดแรงกดดันเงินบาทแข็งค่าได้ และอีกมุมหนึ่งก็เป็นเปิดทางและเป็นพี่เลี้ยงให้ภาคธุรกิจไทยออกไปสยายปีกในต่างแดนได้ของที่ดีราคาถูก รวมถึงยังได้กระจายการลงทุนหลากหลาย เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น

 อย่างไรก็ตาม แม้เงินบาทแข็งค่าก็ใช่ว่ามีแต่ผลเสีย แต่ประโยชน์ที่ได้รับจากเงินบาทแข็งค่าก็มีไม่น้อย โดยเฉพาะการซื้อของจากต่างประเทศถูกลงไม่ว่าจะเป็นการซื้อน้ำมัน ซึ่งปีๆ หนึ่งประเทศไทยพึ่งพาส่วนนี้ค่อนข้างมากและระยะหลังราคาค่อนข้างสูง หรือการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานประเทศ ซึ่งตอนนี้มีความจำเป็นและมีนโยบายที่จะดำเนินการ ฉะนั้นการสั่งซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ จากต่างประเทศในราคาถูกเป็นจังหวะที่ดีในช่วงนี้

 ในยุคค่าจ้างแรงงานแพงขึ้นจากการที่รัฐประกาศขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วไปประเทศก็ใช้โอกาสนี้สั่งซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศเข้ามา เพื่อช่วยลดปัญหาการใช้แรงงานจากคนได้อีกวิธีหนึ่ง ด้านภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)เองก็สามารถสั่งซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศในราคาถูกเช่นกัน

สิ่งสำคัญในตอนนี้มองเรื่องเงินบาทแข็งเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องตื่นมาปรับตัวเอง เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ดังนั้น กลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลจากเงินบาทแข็งค่าก็ควรมีมาตรการภาษีหรือแนวทางช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มออกมาดูแลมากกว่าที่จะใช้แนวทางเดิมๆ ให้บาทแข็งกลับมาอ่อนค่า จึงต้องเข้าใจความผันผวนสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ฉะนั้นการดูแลแค่ด้านเดียวจะได้ไม่คุ้มเสียเปล่าๆ

สำหรับ 7 มาตรการ ประกอบด้วย 1.การดูแลค่าเงินบาทไม่ให้มีความผันผวนเร็วเกินไป 2.ดูแลไม่ให้เงินบาทแข็งค่ากว่าคู่แข่งในภูมิภาค โดยเฉพาะอินโดนีเซียและมาเลเซีย 3.ผ่อนคลายกฎเกณฑ์การถือครองเงินตราต่างประเทศ 4.ลดวงเงินการทำธุรกรรมในการป้องกันความเสี่ยงและลดค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อให้เอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงมาตรการป้องกันความเสี่ยงมากขึ้น 5.แยกบัญชีต่างประเทศระหว่างบัญชีที่เข้ามาลงทุนและบัญชีเก็งกำไร 6.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการออกไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเร่งแก้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน และ 7.ให้ภาครัฐและเอกชนเร่งลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 ธ.ค.55-17 ม.ค.56 เงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้น 3.13% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเมื่อเทียบกับคู่แข่ง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ไทยแข่งกับอินโดนีเซีย เงินบาทของไทยแข็งค่ามากกว่า 3% เพราะอินโดนีเซียแข็งค่าขึ้นเพียง 0.05% เท่านั้น และมีกลุ่มอุตสาหกรรมจำนวน 10 กลุ่ม ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คิดเป็น 40% ของอุตสาหกรรมทั้งหมด เนื่องจากใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก เช่น กลุ่มเครื่องสำอาง เซรามิค รองเท้า โรงเลื่อย อาหาร อัญมณีและเครื่องประดับ ยานยนต์ เครื่องนุ่งห่ม และน้ำตาล เป็นต้น

โดยได้เสนอให้แบงก์ชาติยกเลิกการเปรียบเทียบค่าเงินบาทของไทยกับประเทศที่ไม่ใช่คู่แข่งทางการค้า เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น แต่ให้เปรียบเทียบในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อการแก้ปัญหาที่ตรงจุด และเชื่อว่าในช่วง 2-3 เดือน ค่าเงินจะมีความผันผวนแต่แนวโน้มที่จะที่ค่าเงินจะแข็งค่าขึ้นจะมากกว่านี้

ด้าน นายวัลลภ วิตนากร รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า ต้องการให้ ธปท. ดูแลค่าเงินบาทเป็นพิเศษ เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาทในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตที่เกิดจากการไหลเข้าของเงินดอลลาร์สหรัฐเพียงสกุลเดียว แต่ปัจจุบันเกิดจากการไหลเข้าของเงินเยนและยูโร ที่ออกมาแสวงหาผลตอบแทนในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะไทย ที่ให้ผลตอบแทนอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะสั้นสูงถึงประมาณ 2.75%

นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตร MPA สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า ภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นขณะนี้จะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจไทยมากกว่าจะไปกังวลกับตัวเลขการส่งออก เนื่องจากในช่วงนี้ถือเป็นช่วงที่ประเทศไทยอยู่ระหว่างขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ด้วยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐบาลอัดฉีดเม็ดเงินลงทุนกว่า 2.27 ล้านล้านบาท จึงถือเป็นโอกาสดีที่ภาครัฐต้องเร่งลงทุน และเป็นจังหวะเหมาะในการนำเข้าสินค้าทุนจากต่างประเทศมาใช้ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะนำเข้าได้ในราคาที่ต่ำลง ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนที่มีหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศสามารถเร่งรัดนำเงินไปชำระหนี้เพื่อลดเงินต้นและภาระดอกเบี้ยได้อีกด้วย

"ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทั้งแง่บวกและลบ อยู่ที่จะมองมุมไหน และบริหารจัดการอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศจำเป็นต้องลงทุนจำนวนมากเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การที่เงินบาทแข็งค่าถือเป็นช่วงที่เหมาะสม เพราะสามารถนำเข้าสินค้าทุนในราคาที่ถูกลง เช่น นำเข้ารถไฟฟ้าได้ในราคาที่ถูก หรือสินค้าที่จำเป็นต้องนำเข้าจำนวนมาก เช่น น้ำมัน ที่เมื่อเงินบาทแข็งค่า ต้นทุนพลังงานก็ไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยกดตัวเลขเงินเฟ้อไม่ให้สูงอีกด้วย" นายมนตรี กล่าว

สำหรับภาคเอกชนที่มีความจำเป็นต้องลงทุนนั้น ช่วงนี้ถือเป็นโอกาสดีที่จะลงทุนพัฒนาด้านเทคโนโลยีด้านการผลิต โดยสั่งซื้อเครื่องจักรที่ทันสมัยจากต่างประเทศเข้ามาใช้ เพื่อลดใช้แรงงานคน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำที่สุด หรือจะเลือกใช้ลงทุนขยายกิจการด้วยรูปแบบการร่วมทุนหรือซื้อกิจการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 2558 อย่างไรก็ตาม ส่วนกรณีที่มีความกังวลว่าหากเงินบาทแข็งค่า สินค้าไทยจะส่งออกไม่ได้ นายมนตรี กล่าวว่า ไม่เป็นความจริงทั้งหมด เพราะสินค้าส่งออกของไทยมีหลายประเภท จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์เป็นรายอุตสาหกรรม หากเป็นสินค้าที่นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตในประเทศ เช่น กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ หรือกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบกว่า 50-70% เพื่อใช้ผลิตและส่งออก ถือเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทแข็งค่า


เงินบาทแข็งค่า สาเหตุมาจากการที่มีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งคงจะเป็นกลุ่มเฮดฟันจ์(hedge fund)หรือกองทุนป้องกันความเสี่ยง กองทุนนี้จะเน้นระดมเงินทุนจากมหาเศรษฐีทั่วโลก แล้วกองทุนพวกนี้จะเน้นเข้ามาเก็งกำไร ประเทศที่เขาคิดว่าระบบการเงินอ่อนแอ

ปัจจัยที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น

 เงินบาทนั้นแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องนับจากช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีพ.ศ. 2549 จากระดับ 42 บาทต่อ 1 ดอลลาร์มาเป็น 37 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ในขณะนี้คือแข็งค่าขึ้นมากถึง 12% หรือเกือบ 1% ต่อเดือน ซึ่งในระยะหลังนี้จะไปโทษว่าเงินดอลลาร์อ่อนก็จะไม่ถูกนัก เพราะค่าเงินดอลลาร์นั้นมีเสถียรภาพหรือปรับตัวขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ คือเงินเยนและเงินยูโร

 ดังนั้น จึงต้องมองได้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น น่าจะสืบเนื่องมาจาก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยเป็นหลักมากกว่า ทั้งนี้ อาจมีปัจจัยภายนอกปัจจัยหนึ่งคือ การแข็งค่าของเงินหยวนซึ่งเป็นผลมาจากการที่จีนเกินดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาประกอบกับการที่จีนค่อยๆ ปล่อยให้เงินหยวนถูกกำหนดค่าโดยกลไกตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ

 เมื่อเงินหยวนแข็งค่าขึ้นเงินบาทและเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียเป็นคู่แข่งกับจีนจึงแข็งค่าขึ้นตามเงินหยวนไปด้วย ทั้งนี้ เงินหยวนนั้นมีนัยว่าจะแข็งค่าขึ้นไปได้อีก 3-5% ภายใน 6-12 เดือนข้างหน้าตามการคาดการณ์ของเมอร์ริล ลินช์ ดังนั้น เงินบาทจึงมีโอกาสที่จะแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย

ปัจจัยภายในประเทศไทย

1.การส่งออกที่ขยายตัวดีเกินคาดกล่าวคือการส่งออกปีนี้ยังขยายตัวได้ในอัตราสูงเกือบ 17% ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา และตัวเลขล่าสุดคือเดือนกันยายนนั้น การส่งออกขยายตัวสูงถึง 15% ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดแล้ว โดยภัทรได้เคยคาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยในครึ่งหลังของปีนี้น่าจะขยายตัวไม่เกิน 10% เมื่อการส่งออกขยายตัวดีเกินคาดไปประมาณ 5-6% ก็หมายความว่าประเทศไทยมีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ เพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 1,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากพอที่จะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง

2.การนำเข้าที่ขยายตัวต่ำกว่าคาดคือแทนที่การนำเข้าจะขยายตัวประมาณ 15-20% ในปีนี้ การนำเข้าขยายตัวเพียง 5-10% เท่านั้น ส่วนต่างดังกล่าวคิดเป็นมูลค่าการใช้เงินตราต่างประเทศของไทยต่ำกว่า "เป้า" เดือนละ 1,000-1,500 ล้านดอลลาร์ สาเหตุที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าการนำเข้าจะขยายตัวมากก็สืบเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่คาดว่าจะอยู่ระดับสูง แต่ในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมากลับปรับลดลงถึง 25%

3.ดุลบริการที่เกินดุลการท่องเที่ยวของไทยในปีนี้โดยรวมนั้นเป็นไปด้วยดี ทำให้มูลค่าการเกินดุลบริการนั้นมีความต่อเนื่อง และการเกินดุลบริการนั้นมีมูลค่าเฉลี่ยต่อเดือนถึง 300-400 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ประเทศไทย เกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 ไตรมาสติดต่อกันแล้ว

4.เงินทุนไหลเข้าประเทศสุทธิ ติดต่อกันมาเกือบ 10 ไตรมาส(หรือ 2 ปีครึ่ง) แล้ว ซึ่งการไหลเข้าสุทธินั้นอยู่ในระดับเกือบ 2,000 ล้านดอลลาร์ในช่วง 15 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งผมเชื่อว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เม็ดเงินไหลเข้ามาประเทศไทยนั้น ก็คืออัตราดอกเบี้ยของไทยที่อยู่ที่ระดับสูงโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลงอย่างมากในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา คือเมื่อกลางปีเงินเฟ้อสูงกว่า 6% แต่ในเดือนกันยายนนั้นลดลงเหลือต่ำกว่า 3%

5.ธนาคารแห่งประเทศไทยยังเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันมิให้เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป เห็นได้จากการที่ประเทศไทยมีทุนสำรองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ เพราะธนาคารแห่งประเทศไทยจะเข้าไปแทรกแซงโดยการขายเงินบาทเข้าไปในตลาดเพื่อซื้อเงินดอลลาร์มากักตุนเอาไว้ ทั้งนี้ การขายบาทย่อมจะทำให้ปริมาณบาทในระบบเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงนั่นเอง แต่การเข้าไปแทรกแซงดังกล่าวย่อมทำให้เชื่อได้ว่าหากธนาคารแห่งประเทศไทยไม่เข้าไปแทรกแซงเงินบาทจะแข็งค่ามากขึ้นไปอีก จึงทำให้เกิดความต้องการที่จะเก็งกำไรค่าเงินบาท

 กล่าวคือหากนักเก็งกำไรเห็นว่าธนาคารแห่งประเทศไทย ยังพยายามกดค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีขณะที่การนำเข้าขยายตัวต่ำและมีการตรึงดอกเบี้ยเอาไว้ที่ระดับสูง ก็จะทำให้รู้สึกว่ามีการเข้ามาลงทุนในเงินบาทนั้น มีความเสี่ยงต่ำที่เงินจะเสื่อมค่าลง แต่มีเหตุผลที่จะเชื่อได้ว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น

 แต่ในที่สุดแล้ว ก็จะมีความเป็นไปได้สูงว่าการไหลเข้าของเงินทุน จะเสริมให้เงินบาทแข็งค่ามากเกินไป (overshoot) ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกเริ่มฝืดเคือง แต่การนำเข้าขยายตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การส่งออกเริ่มฝืดเคือง แต่การนำเข้าขยายตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยเกินดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยลง และในที่สุด เงินบาทก็จะอ่อนค่าอย่างไรก็ตาม สภาวะนี้น่าจะยังไม่เกิดขึ้นในเร็ววันนี้

ผลสะท้อนของเงินบาทแข็งค่า

 การแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมานี้ ส่วนหนึ่งน่าจะสะท้อนถึงความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค ทั้งนี้ ในวัฏจักรเศรษฐกิจขาขึ้นนั้น การแข็งค่าของเงินบาทน่าจะถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ปรกติ

 โดยค่าเงินที่แข็งขึ้น จะช่วยลดความร้อนแรงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งช่วยให้รักษาเสถียรภาพของอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยในประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทางการจะต้องดูแลคือ การป้องกันมิให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จนทำให้เกิดการเก็งกำไรทั้งในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและในตลาดทุน (เช่น หากนักลงทุนต่างชาติคาดว่า ทั้งเงินบาทและดัชนีหุ้นไทยจะยังปรับตัวขึ้นได้อีก ก็อาจจะนำเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาเพิ่มขึ้น ซึ่งก็จะทำให้ทั้งค่าเงินและดัชนีหุ้นปรับตัวสูงขึ้นไปอีกอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อมีข่าวหรือปัจจัยลบมากระทบ หรือเมื่อเกิดการขายทำกำไร นักลงทุนก็อาจจะตื่นตระหนกและเทขายทั้งหุ้นและเงินบาทออกมาอย่างรวดเร็ว จนนำมาสู่ความผันผวนอย่างรุนแรงได้)

 ดังนั้น แม้ว่าการแข็งค่าของเงินบาท จะถือได้ว่าเป็นสันญาณบวกสำคัญอย่างหนึ่งของเศรษฐกิจ ที่สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่สดใสของนักลงทุน แต่การรักษาเสถียรภาพของค่าเงินมิให้ปรับตัวรวดเร็วเกินไปก็ยังคงเป็นสิ่งที่เหมาะสม เนื่องจากหากปล่อยไว้ก็อาจนำมาสู่การเก็งกำไรและภาวะฟองสบู่ที่ขาดเสถียรภาพได้

เงินบาทแข็งค่า มีผลดีและผลเสียต่อผู้ประกอบการอย่างไร

 กรณีผู้ส่งออก

 ผลเสียคือ ขาดทุน หรือขาดทุนกำไร ยกตัวอย่างเช่น คุณต้องการส่งออกปากกา 1 แท่ง ในราคาแท่งละ 35 บาท ซึ่งเมื่อเทียบเป็นเงินดอลล่าห์ ในขณะคำนวณจะเท่ากับ 1 ดอลล่าห์ ก็คือ คุณจะขายปากกาแท่งนั้นในราคา 1 ดอลล่าห์ (สมมติว่าเป็น CIF คือราคารวมประกันและขนส่งแล้ว) กำหนดการชำระเงิน 90 วัน ดังนั้น หลังจากที่คุณส่งปากกาออกไปในราคา 1 เหรียญดอลล่าห์วันนี้ อีก 90 วันถัดมา หลังจากคุณได้รับชำระเงินมา 1 เหรียญ แต่ดอลร่าห์อ่อน บาทแข็งอยู่ที่ 32 บาทต่อดอลล่าห์ เท่ากับคุณได้รับเงินค่าปากกาในราคา 32 บาทต่อด้ามเท่านั้นเอง ขาดทุนเห็น ๆ 3 บาท ถ้าคุณส่งออกไปมูลค่า 1 แสนเหรียญ คุณจะขาดทุนเห็น ๆ 3 แสนบาท

กรณีผู้นำเข้า

 ก็จะกลับกันกับด้านผู้ส่งออก คือ คุณจะได้กำไรจากการนำเข้าแทน คือคุณจะใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเปลี่ยนเป็นดอลล่าห์เพื่อชำระค่าสินค้า หรือเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่างประเทศ

 ซึ่งทั้งสองกรณีมีผลต่อต้นทุนการประกอบการ และหากคุณเป็นผู้ส่งออกและต้องการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว ก็อาจจะทำได้ หลายวิธีเช่น ซื้อ Option ทำ forward หรือแม้แต่การการซื้อขายเป็นเงินบาท แต่ข้อดีข้อเสียคงต้องปรึกษา exim bank

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า

1.ลดดอกเบี้ยลงสัก 1.0 ถึง 1.5 เปอร์เซ็นต์โดยการลดดอกเบี้ยนโยบายและควรจะลดทีเดียวไม่ควรจะลดทีละ 0.25 เปอร์เซ็นต์ เพราะการค่อยๆ ลดจะทำให้ไม่เกิดผล และเกิดการคาดการณ์ต่อไปและต้องใช้เวลานานกว่าจะถึงอัตราเป้าหมาย เหตุการณ์ก็เปลี่ยนไปอีกแล้ว

2. พร้อมๆ กับการลดดอกเบี้ยทางการก็เข้าแทรกแซงตลาดและต้องทำให้พอจนเงินบาทอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ถ้าทำครึ่งๆ กลางๆ เงินบาทแข็งต่อไป ธปท.ก็จะขาดทุน ถ้าทำจนบาทอ่อนตัวลงได้ ธปท.ก็จะกำไร ถ้าอ่อนตัวลงได้ถึง 38 บาทต่อดอลลาร์ ก็จะล้างขาดทุนเก่าออกได้หมด

3.การออกพันธบัตรเมื่อออกมาแทรกแซงตลาด เงินบาทในตลาดก็จะเพิ่มขึ้นมากเกิน ธปท.ก็ดูดซับเงินบาทกลับไปโดย ถ้าดอกเบี้ยเงินบาทต่ำ กว่าดอกเบี้ยดอลลาร์ ธปท.ก็ไม่ขาดทุน ดอกเบี้ยเท่ากัน ธปท.เปลี่ยนดอลลาร์ในทุนสำรองเป็นพันธบัตรซึ่งตลาดยังรับได้ แล้วถ้าตลาดพันธบัตรเกิดขึ้นได้ ก็จะเป็นผลดีกับการพัฒนาการลงทุนอีกโสตหนึ่งด้วยการลดดอกเบี้ยอย่างแรงคงจะทำให้ราคาพันธบัตรในท้องตลาดที่มีอยู่แล้วขึ้นราคา แต่ก็ไม่น่าเป็นห่วงการดำเนินการดังกล่าวไม่น่าจะพาบ้านเมืองเข้าไปเสี่ยงกับอะไร เพราะเป็นการซื้อดอลลาร์ เอามาเก็บไว้ ทำให้ทุนสำรองเพิ่ม

4.จัดการบริหารหนี้ต่างประเทศของภาครัฐอันได้แก่หนี้ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ โดยออกพันธบัตรเอาเงินบาท ใช้เงินบาทซื้อเงินดอลลาร์แล้วไปใช้หนี้คืนก่อนกำหนดอย่างน้อยสักครึ่งหนึ่ง

5. ในส่วนของเอกชน ถ้าผ่อนคลายกฎของ ธปท.ที่จะทำให้ภาคเอกชนสามารถยืมเงินบาทจากธนาคารพาณิชย์ไปใช้คืนหนี้ดอลลาร์ได้เพราะหนี้เงินต่างประเทศเป็นหนี้ของเอกชนเสียตั้งกว่า 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ถ้า ธปท.ผ่อนคลายได้ เอกชนคงรีบเปลี่ยนหนี้ดอลลลาร์มาเป็นหนี้เงินบาทแทน เพราะจะได้กำไร เพราะตอนได้มาเงินบาทมีราคากว่า 40 บาทต่อเหรียญ ถ้าคืนหนี้ตอนนี้เงินบาทมีราคา 33 บาทต่อเหรียญ เป็นการช่วยธุรกิจเอกชนด้วย ส่วนธนาคารพาณิชย์ให้สามารถปล่อยเงินที่เหลือกองอยู่ในธนาคารด้วย เพราะ สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขณะนี้มีอยู่เพียง 85 เปอร์เซ็นต์ของยอดเงินฝากเท่านั้น ที่เอกชนถูกบังคับให้ไปกู้ต่างประเทศ เพราะกฎ ธปท.ที่ให้นับสินเชื่อของบริษัทในกลุ่มเดียวกันเป็นสินเชื่อที่ต้องจำกัดปริมาณเพื่อความมั่นคงของธนาคาร ให้สินเชื่อไม่กระจุกตัวในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากจนเกินไป

6. สุดท้ายเร่งโครงการพัฒนาต่างๆ ให้เร็วขึ้นโดยใช้เงินกู้เป็นเงินบาทในประเทศให้มากขึ้น แม้จะไม่เกิดผลทันที แต่ก็น่าจะมีผลทางจิตวิทยาว่า ประเทศยังต้องใช้เงินดอลลาร์อย่างมาก ที่สำคัญนโยบายให้คนไทยเก็บเงินดอลลาร์ได้ ให้เอาเงินออกไปซื้อหุ้นเมืองนอกได้ ไม่ควรทำตอนนี้ ไม่มีผล เพราะผู้คนกำลังคาดการณ์ว่า เงินบาทกำลังจะแข็งต่อไป มีแต่คนอยากเก็บเงินบาท จะมีผลก็ตอนที่คนคาดว่าเงินบาทจะอ่อน คนก็จะเปลี่ยนเงินบาทเป็นดอลลาร์ ถึงตอนนั้นก็จะกลายเป็นปัญหาอีก ต้องสั่งยกเลิกอีก กลายเป็นตัวทำให้บาทไม่มีเสถียรภาพมากขึ้นในอนาคต ถึงตอนสถานการณ์พลิกกลับอาจจะมีปัญหาได้


นายนิวัฒน์ธำรง

"เผยจับตาค่าเงินบาทแข็งใกล้ชิด เผยถึงเวลาจำเป็นจะต้องมีการดำเนินการ



ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงหนึ่งของรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน ทางช่อง 11 ได้มีการกล่าวถึงประเด็นสถานการณ์ค่าเงินบาท โดยนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ได้กล่าวว่า สถานการณ์ค่าเงินเป็นเรื่องที่รัฐบาลก็จับตาดูตลอดเวลา

ถ้าเมื่อถึงจังหวะที่จำเป็นจะต้องมีการดำเนินการใด ๆ ก็คงต้องมีการดำเนินการ จริง ๆ มีการประชุมกันกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ได้คุยกันเรื่องนี้ ซึ่งท่านก็ได้ดูอย่างละเอียดตลอดเวลาและพิจารณาถ้ามีความจำเป็นก็ต้องมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ฐานะการเงินของประเทศดีมาก ตรงนั้นไม่มีปัญหาแต่เรามองระยะยาว การแก้ปัญหาช่วงสั้นอย่างเดียวไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องดูตัวประกอบต่าง ๆ ในการตัดสินใจ ตอนนี้ดูอย่างใกล้ชิด

"โต้ง"ยังไม่พอใจภาพรวมแก้ค่าบาทแข็ง ย้ำดอกเบี้ยนโยบาย"ธปท."สูงเกินไป

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ยังไม่พอใจกับภาพรวมการแก้ไขปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในปัจจุบัน และย้ำว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ในขณะนี้ ยังคงอยู่ในระดับสูงเกินไป แม้ระดับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันจะมีข้อดี แต่ทุกมาตรการก็มีข้อเสียเช่นกัน ซึ่งแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายด้านต่าง ๆ จะต้องพิจารณาชั่งน้ำหนักในการดำเนินการย่างละเอียดรอบคอบก่อน ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งจะออกมาชี้ชัดว่า จะต้องดำเนินการเช่นไร การดำเนินการต้องใช้กลไกเศรษฐกิจของประเทศปรับให้ระดับค่าเงินอยู่ในระดับที่เหมาะสมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

“ขอให้ทุกฝ่ายอย่าตื่นตระหนกจนเกินไป เพราะเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงและมอบนโยบายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลปัญหาเงินบาทแข็งค่าที่ส่งผลกระทบในหลายด้านและเร่งแก้ไขผลกระทบอยู่แล้ว จึงขอให้สบายใจได้ว่า ได้รับการดูแล”นายกิตติรัตน์

 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเคลื่อนย้ายเงินทุนจะเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจและยังไม่เห็นสัญญาณการโจมตีค่าเงินหรือเข้ามาในลักษณะทุบราคาชี้นำไปทิศทางใดทิศทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตลาดการเงินต่างคาดการณ์ว่าปี 56 เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียเติบโตค่อนข้างดี ทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามา แต่เงินบาทยังเคลื่อนไหวตามพื้นฐานเศรษฐกิจ จึงไม่มีเจตนาเข้าไปแทรกแซง แต่จะทำต่อเมื่อเงินบาทไม่สอดคล้องพื้นฐานเศรษฐกิจ

'กิตติรัตน์'จ่อปรึกษาธปท.ดูแลค่าเงินบาทแข็ง



"รองนายกฯ กิตติรัตน์" ลั่น เตรียมปรึกษาธนาคารแห่งประเทศไทย หามาตรการดูแลค่าเงินบาทแข็ง ยัน ไม่คุมการไหลเข้าไหลออกเงิน

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเป็นห่วง กรณีค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในขณะนี้ รวมไปถึงคณะกรรมการทุกคน ก็ไม่มีใครอยากให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นและต้องการเห็นค่าเงินบาทที่มีเสถียรภาพ ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้ตนเอง ไปปรึกษาหารือกับทางธนาคารแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการนโยบายการเงิน ในการหามาตรการดูแลค่าเงินบาท

ซึ่ง นายกิตติรัตน์ ยืนยันด้วยว่า จะไม่ใช้มาตรการในการควบคุมการไหลเข้าไหลออกของเงินโดยเด็ดขาด และไม่ใช้มาตรการทางภาษีที่อาจส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของเงินลงทุน แต่จะใช้กลไกการบริหารตามแนวนโยบายทางการเงิน ในส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้น นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รายงานในที่ประชุมว่า เกิดจากมีเงินทุนไหลเข้าในช่วงระยะสั้นๆ เข้ามาลงทุนในตราสารระยะยาว หรือในพันธบัตร ซึ่งยังมีความเสี่ยง เพราะยังไม่มีหลักประกันว่าเงินทุนที่ไหลเข้ามา จะอยู่ในระยะยาวหรือไม่


"ดร.โกร่ง" จวกธปท.ไร้กึ๋น-ค่าเงินบาทแข็ง ดีแต่คิดขึ้นดอกเบี้ย

เศรษฐกิจ ข่าวสด

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งผลกระทบจากนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และการแข็งค่าของเงินบาท โดยมีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 30 ม.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาลว่า นายกฯ ได้มอบหมายให้ตนในฐานะรมว.คลัง ไปประชุมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์ที่ไม่ได้อยู่ในธปท.และกนง. เพื่อหาทางแก้ปัญหาค่าเงินผันผวน 

"มีการตั้งข้อสังเกตในที่ประชุมว่า มาตรการที่มีอยู่เป็นการทวนกระแสการแข็งค่าของเงิน เป็นการทวนการไหลเข้าของเงินในระยะสั้น อาจไม่ได้เป็นมาตรการที่พอดิบพอดีกัน ซึ่งในการหารือก็มีนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการ ธปท. นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี และผู้ว่าการ ธปท. ด้วย แต่ยืนยันว่าจะไม่มีมาตรการควบคุมการไหลเข้าออกของเงินเด็ดขาด และจะไม่ใช้มาตรการเก็บภาษีจากผลตอบแทนต่างๆ" นายกิตติรัตน์กล่าว 

นายกิตติรัตน์กล่าวว่า ในระหว่างการประชุม นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้รายงานว่า ภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งเอสเอ็มอีที่ส่งออกก็ได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าด้วย จึงต้องหามาตรการช่วยเหลือ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะทำงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าไทย และสถาบันการเงิน อีกทั้งจะตั้งรมว.อุตสาหกรรม และรมว.พาณิชย์ เพิ่มเติมในคณะกรรมการชุดนี้ด้วย

วันเดียวกัน นายวีรพงษ์ กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "Thailand"s Economic Outlook 2013" จัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ที่โรงแรมเชอราตัน สุขุมวิท ว่า ขณะนี้มาตรการกระตุ้นและอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจากสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น สร้างความกังวลต่อปัญหาเงินร้อนที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ของไทยอย่างร้อนแรง ทั้งที่ปัจจัยพื้นฐานในประเทศ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไม่เปลี่ยนแปลง แต่หุ้นปรับตัวขึ้นสูง สะท้อนเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามาการเก็งกำไร ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นและอาจเกิดปัญหาฟองสบู่ในตลาดเงิน จนอาจลุกลามเข้าไปในภาคอสังหาริมทรัพย์

ทั้งนี้ เงินทุนที่ไหลเข้าเกิดจากดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ 2.75% ที่สูงกว่าของสหรัฐอยู่ที่ 0.25% ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าธปท.ควรปรับลดดอกเบี้ยลงเพื่อลดมูลเหตุจูงใจการไหลเข้าของเงิน พร้อมกับมีมาตรการสกัดกั้นการไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้น และต้องไม่ใช่การใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ โดยมองว่าหากเงินบาทแข็งค่าในกรอบ 28 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ภาคธุรกิจจะอยู่ไม่ได้

"สิ่งสำคัญคือ ผู้บริหารนโยบายการเงินไม่เข้าใจเรื่องการเชื่อมโยงกันระหว่างส่วนต่างดอกเบี้ยกับเงินทุนเคลื่อนย้ายที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะธปท.มีความคิดแต่จะขึ้นดอกเบี้ย ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้าย แม้ผมเป็นประธานธปท.ก็ยังพูดกันไม่ได้ ซึ่งการปล่อยให้ดอกเบี้ยของไทยสูงกว่าของสหรัฐนานเกินไป ทำให้การปรับลดส่วนต่างดอกเบี้ยลงมาอยู่ในระดับเดียวกันหรือต่ำกว่าต้นทุนของเงินไหลเข้าที่ระดับ 0.75-1% เพื่อช่วยให้เงินบาทอ่อนค่าลงถือว่าเหมาะสม แต่คงเป็นเรื่องที่ทำได้ยากแล้ว เพราะขณะนี้สินเชื่อและราคาอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้นกลับจะยิ่งซ้ำเติมให้สินเชื่อขยายตัวสูงขึ้น อาจซ้ำรอยวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540" นายวีรพงษ์กล่าว

นอกจากนี้ จากการหารือถึงผลกระทบการแข็งค่าของเงินบาทที่มีต่อผู้ส่งออกนั้น ในที่ประชุมก็ไม่เห็นมีใครเสนอวิธีที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง มีแต่แนวทางสนับสนุนให้เงินออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งวิธีเหล่านั้นเป็นเพียงแค่ยาแดง ยาดม ยาลม ยาหม่อง เท่านั้น

นายบัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการ IOD กล่าวว่า ในภาวะนี้ไม่ควรกดดันให้ลดดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดเงินทุนไหลเข้า เพราะสาเหตุที่ทำให้เงินทุนไหลเข้ามีหลายปัจจัยมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะปัจจัยจากต่างประเทศ

ด้านนายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวิจัย บริษัท หลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เบื้องต้นประเมินว่าเงินทุนเคลื่อนย้ายจะยังคงไหลเข้ามาลงทุนในไทยต่อเนื่องไปอีก 2 ปีแน่นอน

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กล่าวว่า สศค.ติดตามภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในขณะนี้ พบว่ายังอยู่ในระดับที่สศค.คาดการณ์ไว้ว่าปีนี้ค่าเงินบาทอยู่ที่ 30.7 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สศค.ยังคาดการณ์ว่าไตรมาส 4/2555 เศรษฐกิจจะขยายตัว 15.9% ผลักดันให้ทั้งปี 2555 ขยายตัวได้ 5.7% การส่งออกอยู่ในระดับ 3.1% ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 3.9% ส่วนในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวได้ 5% มูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ 10% อย่างไรก็ตาม สศค.จะปรับประมาณการเศรษฐกิจปีนี้ใหม่ในช่วงเดือนมี.ค.2556



น.ส. นฤมล แก้วพันตา เลขที่11 รหัส55127326054 การเงินปี1 ห้อง2

นายกฯสั่ง ' กิตติรัตน์ '  ถูกร่วมแบงก์ชาติ-กนง. แก้บาทแข็ง


                             

นายกฯ สั่ง “กิตติรัตน์”  ประชุมร่วมกับ ธปท.และ กนง. หารือมาตรการแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า หลัง “ดร.โกร่ง-พันศักดิ์” ทักมาตรการที่ใช้อยู่ยังไม่ดีพอ 

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. นายกิตติรัตน์  ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง  เปิดเผยภายหลังการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ตนเองในฐานะ รมว.คลัง ไปประชุมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์ที่ไม่ได้อยู่ใน ธปท.และ กนง.เพื่อหาทางแก้ปัญหาค่าเงินผันผวนอย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า สิทธิ์และหน้าที่ในการกำกับดูแลนโยบายการเงินยังเป็นของ ธปท.และ กนง.เช่นเดิม

“มีการตั้งข้อสังเกตในที่ประชุมว่ามาตรการที่มีอยู่เป็นการทวนกระแสการแข็งค่าของเงิน เป็นการทวนการไหลเข้าของเงินในระยะสั้นอาจไม่ได้เป็นมาตรการที่พอดิบพอดีกัน ซึ่งในการหารือก็มีนายวีรพงษ์ รามางกูรประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี ต้องตลอดจนผู้ว่าการ ธปท. ซึ่งเฉพาะในส่วนของนักเศรษฐศาสตร์นักการเงิน เห็นว่ามีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินที่ดูแลการไหลเข้าของเงินทุนที่มีความเสี่ยงว่าเป็นเงินทุนระยะสั้น”

ทั้งนี้  นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเป็นห่วงสถานการณ์ค่าเงินบาทที่ผันผวนและแข็งค่าขึ้น ซึ่งทาง ธปท. ได้รายงานว่า ในช่วงสั้นๆ มีเงินทุนไหลเข้ามา ซึ่งบางส่วนมาลงทุนในตราสาร บางส่วนมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งอาจจะถือการลงทุนยาวก็ได้ แต่เกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ 1 เดือนที่ผ่านมา และมีความเสี่ยงเพราะฉะนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่เงินทุนไหลเข้าได้ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นขณะที่แนวทางหรือมาตรการในการดูแลค่าเงินบาทของไทย จะเป็นมาตรการระยะกลางและระยะยาว เช่นการส่งเสริมนักธุรกิจไทยไปลงทุนต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าจะไม่มีมาตรการที่ควบคุมการไหลเข้าออกของเงินเด็ดขาด เพราะต้องยอมรับว่าเราเป็นประเทศเปิดแต่จะใช้กลไกทำงานที่เป็นทิศทางของการ บริหารนโยบายการเงินและจะไม่ใช้นโยบายควบคุมและไม่ใช้มาตรการเก็บภาษีจากผลตอบแทน ไม่ว่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากกำไรของการลงทุน ภาษีผลตอบแทนดอกเบี้ยและเงินปันผลเพราะไม่ใช่นโยบายการเงิน

นายกิตติรัตน์ กล่าวด้วยว่า ในระหว่างกาประชุม นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รายงานว่าภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งเอสเอ็มอีที่ส่งออกก็ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่าด้วย จึงต้องหามาตรการมาช่วยเหลือ ซึ่งจากตั้งคณะกรรมการชุดนี้จะทำงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  สภาหอการค้าไทย และสถาบันการเงิน ซึ่งจะได้นำรูปแบบของสถาบันการเงิน และวิธีการขององค์กรขนาดใหญ่มาช่วยเหลืออีกทั้งจะมีการตั้ง รมว.อุตสาหกรรม และ รมว.พาณิชย์ เพิ่มเติมในคณะกรรมการชุดนี้ด้วย.


"โต้ง" ยันรัฐบาลไม่มีมาตรการภาษี-มาตรการควบคุมเงินไหลเข้า-ออก สกัดเงินบาทแข็งค่าแน่นอน ระบุปล่อยไปตามกลไกการบริหารการเงิน เผย นายกฯ "ปู" ห่วงสถานการณ์เงินบาทแข็งโป๊ก สั่งคลังหารือด่วน ธปท.-กนง.-นักการเงิน ด้าน สศค. เผย ศก.ไทยไตรมาส 4/55 โตดีต่อเนื่อง คาดปี 55 โต 5.7% ส่วนปี 56 โต 5% จ่อปรับอีกครั้ง มี.ค.นี้

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์เงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน รวมทั้งที่ประชุมทุกคนต่างมีความเป็นห่วงในเรื่องนี้ และต้องการเห็นเงินบาทที่มีเสถียรภาพ ดังนั้น ที่ประชุมจึงมอบหมายให้ตนไปหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์และนักการเงิน

"นายกรัฐมนตรียังได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง ไปหารือร่วมกับ ธปท. รวมถึง กนง.และนักเศรษฐศาสตร์ ว่าจำเป็นจะต้องดำเนินนโยบายทางการเงินอะไรหรือไม่ เพื่อดูแลเงินทุนเคลื่อนย้ายในระยะสั้น โดยยังไม่ได้กำหนดวันเวลาที่แน่นอน แต่จะพยายามหารือให้ได้ในเร็วๆ นี้" นายกิตติรัตน์ กล่าว

นายกิตติรัตน์ กล่าวอีกว่า รัฐบาลยืนยันว่าจะไม่ใช้วิธีควบคุมการไหลเข้า-ออกของเงินตราต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาเงินบาทแข็งโดยเด็ดขาด แต่จะใช้กลไกบริหารนโยบายการเงิน และยืนยัน ว่าไม่มีแนวทางจะใช้มาตรการภาษีที่จะมีผลกระทบกับผลตอบแทนการลงทุนด้วย

"จะไม่มีการใช้มาตรการควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุน เพราะเราเป็นประเทศเปิด จะใช้มาตรการที่เป็นนโยบายการเงินตามปกติ ซึ่งก็มีอยู่ไม่กี่อย่าง และจะไม่ใช้มาตรการทางด้านภาษี ที่ไปกระทบกับกำไรจากการลงทุน" นายกิตติรัตน์ กล่าว

นอกจากนั้น ธปท. ได้รายงานต่อที่ประชุมในเรื่องการแข็งค่าของเงินบาท พบว่าเป็นช่วงสั้นๆ ที่เกิดจากเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้หรือพันธบัตรระยะสั้น แต่มองว่ายังมีความเสี่ยง เพราะเงินทุนที่ไหลเข้ามาดังกล่าวยังไม่มีหลักประกัน ว่าจะเป็นการเข้ามาลงทุนในระยะยาว ซึ่งเกรงว่า อาจจะมีผลกระทบในภาพรวมได้ ส่วนกระทรวงแรงงานได้รายงานว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบการบางรายได้หยุดกิจการไปก่อนที่จะเริ่มปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ หรือขยายกำลังการผลิต ซึ่งถือว่ายังไม่มีอะไรผิดปกติ

"เชื่อว่าผู้ประกอบการบางส่วนจะสามารถแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง และในฐานะที่เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานขององค์กร ก็จะเข้ามาช่วยเหลือดูแลกันเอง หรือไปปรึกษาหารือกับสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อให้ เพื่อขอขยายเวลาชำระหนี้หรือปรับอัตราดอกเบี้ย" นายกิตติรัตน์ กล่าว

ด้านนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สศค. ยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 56 ขยายตัวที่ 5% การส่งออกขยายตัว 10% ภายใต้สมมุติฐานที่เงินบาทเฉลี่ยที่ 30.70 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ โดยเคลื่อนไหวในช่วง 29.70-31.70 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าและมีความผันผวนตั้งแต่ต้นปี แต่ยังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบที่ตั้งสมมุติฐานไว้ อย่างไรก็ตาม สศค.จะยังติดตามการแข็งค่าของเงินบาท ว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก และการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือไม่ โดย สศค.จะมีการทบทวนประมาณการอีกครั้งในเดือน มี.ค.56

"จีดีพีปี 56 ก็ยังมองที่ 5% แม้ว่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้มากกว่าที่ประมาณการไว้ โดยปีนี้เรามองว่า บาทต่อดอลลาร์ จะอยู่ที่ 29.70-31.70 ทำให้ยังไม่ได้ปรับประมาณการจีดีพี" นายเอกนิติ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ภายใต้สมมุติฐานเงินบาทแข็งค่า 1% สศค.เชื่อว่าจะกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 0.3% ส่งผลต่อปริมาณการส่งออกลดลง 0.4% แต่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง 0.2%

"เงินบาทค่อนข้างผันผวน แต่ยังเคลื่อนไหวตามภูมิภาค เพราะเศรษฐกิจโลก ทั้งสหรัฐและยุโรปมีปัญหาพื้นฐานของยุโรปสหรัฐ ยังไม่ดี ก็ยังทำให้มีเงินไหลเข้ามาลงทุนในเอเชีย รวมถึงไทย ดั้งนั้น ก็ต้องมีการเตรียมการรองรับ เพราะเศรษฐกิจเอเชีย รวมถึงไทยเติบโตได้แข็งแกร่ง เงินบาทที่แข็งค่าเป็นไปตามพื้นฐานเศรษฐกิจ ทำให้ต้องมีการเร่งโครงการลงทุน เพื่อผ่อนคลายผลกระทบ" นายเอกนิติ กล่าว

นายเอกนิติ กล่าวต่อว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 55 จะขยายตัวได้ 15.9% จากฐานช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าที่ต่ำขยายตัวติดลบ 8.9% ทั้งนี้ เมื่อนำการขยายตัวเศรษฐกิจไทยไตรมาสสุดท้ายของปี 55 ไปรวมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 3 ไตรมาสแรก ที่ขยายตัวได้ 2.6% จะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งปี 55 ได้ 5.7% ต่อปี

  ขอบคุณที่มาจาก  http://www.ryt9.com/s/bmnd/1579827


"กิตติรัตน์" เผยนายกฯห่วงเงินบาทแข็งค่ากระทบการส่งออก เตรียมหารือผู้ว่าธปท.หามาตรการรับมือเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น ยืนยันไม่ใช้มาตรการควบคุมเงินไหล"เข้า-ออก"

วันนี้ ( 29 ม.ค.) นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับหน่วยงานด้านเศรษฐกิจว่า ในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท และการรับมือเงินบาทแข็งค่านัดแรกวานนี้ ว่า อาจมีผู้ประกอบบการที่มีผลกระทบมากกว่ารายอื่นที่ต้องได้รับการช่วยเหลือเพิ่มเติมหลังจากที่ในช่วงก่อนหน้านี้รัฐบาลได้ออกมาตรการทั่วไปในการบรรเทาผลกระทบไปแล้ว อาทิ มาตรการด้านภาษี การเพิ่มสภาพคล่อง

นายกิตติรัตน์ ยังระบุว่า นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้เตรียมเชิญผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเป็นกรรมการเพิ่มเติม อาทิ นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า และสถาบันการเงินต่าง ๆที่เป็นสมาชิกสภาธนาคารไทย ธนาคารต่างประเทศที่เปิดกิจการในไทย และการให้สำนักงานส่งเสริมวิาสหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว.เป็นหน่วยงานกลางในการรับเรื่องราวจากผู้ประกอบการเพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป

นายกิตติรัตน์ ยังระบุว่า ได้มีการหารือถึงกรณีที่อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้นที่ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ส่งออกได้รับผลกระทบ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้รายงานว่า การแข็งค่าขึ้นจากเงินทุนไหลเข้าในช่วงระยะสั้นและอาจมีความเสี่ยงเนื่องจากทำให้ค่าเงินแข็ง และเงินที่ไหลเข้าเข้าเหล่านี้ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีก็แสดงความเป็นห่วงถึงเรื่องดังกล่าว

นอกจากนี้ ยังได้เตรียมหารือกับ นายประสารไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงแนวทางในการดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างไรที่จะดูแลการไหลเข้า-ออกของเงินทุนที่ไหลเข้าในระยะสั้นในช่วงนี้ และยืนยันว่ายังไม่มีมาตรการควบคุมการไหลเข้า-ออกของทุน เนื่องจากเป็นประเทศที่เปิดและจะใช้นโยบายตามที่ใช้ปกติ รวมถึงการเชิญผู้ที่มีความรู้เข้าหารือด้วย

"สิทธิและหน้าที่ในการจัดทำนโยบายเป็นเรื่องของธนาคารแห่งประเทศไทยและหน้าที่ของกรรมการนโยบายการเงิน และยืนยันว่า ไม่ใช้นโยบายควบคุมเงินไหลเข้า-ออกแน่นอน รวมถึงมาตรการภาษีที่ไปกระทบกับเรื่องของอัตราผลตอบแทน อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากกำไรการลงทุน ภาษีจากอัตราผลดอกเบี้ยหรือเงินปันผล" นายกิติรัตน์ ระบุ

เงินบาทแข็งค่าผ่านระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์ฯ ทุบสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 17 เดือนใกล้ 29.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ

 โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นแล้ว 2.8% นับจากต้นปี 2556 นำมาเป็นอันดับ 1 ของสกุลเงินเอเชีย ทั้งนี้ เงินบาทได้รับแรงหนุนสำคัญจากกระแสเงินทุนไหลเข้าของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งเป็นไปทั้งภูมิภาค ขณะที่ ยังคงมีอีกหลายตัวแปรที่อาจมีผลต่อมุมมองการลงทุน และการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในระยะข้างหน้า

การปรับตัวแข็งค่าของเงินบาท มีผลต่อความสามารถทางการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยในภาพกว้าง อย่างไรก็ดี ขอบเขตของผลกระทบ คงมีความแตกต่างกันในรายประเภทอุตสาหกรรม ขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย อันรวมถึงความสามารถในการปรับตัว/บริหารจัดการของผู้ประกอบการ ทั้งนี้ ธุรกิจที่มีสัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ (Import Content) ค่อนข้างน้อย และประสบกับปัญหาการสูญเสียความสามารถทางการแข่งขันอยู่แล้ว จะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเมื่อคู่แข่งหลักอย่างเวียดนามและอินโดนีเซียได้เปรียบจากการปรับตัวของค่าเงิน 

ดังนั้น ผู้ประกอบการกลุ่มนี้คงจำเป็นต้องปรับตัวด้วยการเน้นพัฒนาคุณภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ธุรกิจที่มีสายการผลิตยาว มีสัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศค่อนข้างสูง อาจได้รับผลกระทบในขอบเขตที่ค่อนข้างจำกัด รวมถึงอาจได้รับอานิสงส์บางส่วนจากต้นทุนนำเข้าที่ต่ำลง 

ด้านธุรกิจบริการในประเทศที่มีจุดแข็งด้านคุณภาพสูงและตลาดมีความหลากหลาย ก็น่าจะสามารถปรับตัวทั้งในด้านคุณภาพและราคาเพื่อรักษาความสามารถทางการแข่งขันไว้ได้ ส่วนธุรกิจที่พึ่งพาตลาดในประเทศเป็นหลัก คงจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากประเด็นนี้มากนัก  

         

มองไปข้างหน้าในภาวะที่เงินบาทยังมีโอกาสปรับตัวผันผวนในทิศทางที่แข็งค่า ประกอบกับการรับมือกับความท้าทายด้านต้นทุนที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นนั้น นอกจากการปรับตัวในระยะสั้น ผ่านการกระจายตลาดส่งออก การนำเข้าวัตถุดิบจากแหล่งที่มีต้นทุนถูกกว่า การใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านต่างๆ และการบริหารจัดการต้นทุนและสายการผลิต ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องแล้ว

 การแสวงหาโอกาสขยายกิจการ/การลงทุนไปยังต่างประเทศท่ามกลางกระแส AEC ที่จะมาถึง คงจะเป็นหนึ่งในแนวทางที่เอื้อให้ผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพและความพร้อม สามารถตอบโจทย์การรักษาความสามารถทางการแข่งขันไว้ได้ในระยะยาว


ขอบคุณแหล่งที่มา http://news.thaipbs.or.th

เงินบาท ... แข็งค่าสุดในรอบกว่า 2 ปี หนึ่งในประเด็นร้อนที่คงจะอยู่ในความสนใจของท่านผู้อ่านจำนวนไม่น้อย คือ "การแข็งค่าของเงินบาทและแนวโน้มในระยะต่อไป" โดยนับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2553 จนถึงปัจจุบัน เงินบาทได้แข็งค่าขึ้นไปแล้วประมาณ 5% ซึ่งนับเป็นการแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 28 เดือนอีกด้วย การแข็งค่าขึ้นดังกล่าว เป็นผลมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ อาทิ แรงเทขายเงินดอลลาร์จากนักลงทุนและผู้ส่งออก กระแสเงินทุนจากต่างประเทศที่ยังคงไหลเข้าไทยและภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง ทั้งในตลาดทุน ตลาดพันธบัตร และเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สรอ.จากความกังวลใจเกี่ยวกับแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมไปถึงการเก็งกำไรค่าเงินบาทจากนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ล้วนมีส่วนช่วยหนุนให้ค่าเงินบาทปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ก็ยังนับว่าโชคดีที่การแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา เป็นการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับค่าเงินสกุลต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งช่วยให้ผู้ส่งออกไทยยังคงความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้ แล้วธนาคารแห่งประเทศไทย มีการบริหารจัดการเพื่อดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาทอย่างไรบ้าง ? เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คือ การรักษาเสถียรภาพ ของระดับอัตราแลกเปลี่ยน และดูแลให้ความผันผวน (volatility) อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ซึ่งโดยปกติแล้ว วิธีการแทรกแซงของธนาคารแห่งประเทศไทยก็คือ การเข้าไปซื้อเงินดอลลาร์สรอ. ในตลาด ซึ่งทำให้เกิดการปล่อยสภาพคล่องเงินบาทเข้าไปสู่ระบบ หรืออธิบายง่ายๆ คือ "ดูดดอลลาร์ ปล่อยบาท" ซึ่งหลักฐานของการแทรกแซงดังกล่าว จะสะท้อนออกมาในรูปของทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง ... มาถึงตอนนี้ ผู้อ่านหลายท่านอาจจะเกิดคำถามขึ้นในใจว่า แล้วแบงก์ชาติจะเอาเงินบาทจากที่ไหนไปซื้อดอลลาร์คืนจากระบบ? คำตอบก็คือ การให้โรงพิมพ์ธนบัตร ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กำกับดูแลของ ธปท. พิมพ์ธนบัตรออกมาซื้อดอลลาร์นั่นเอง ซึ่งกลไกดังกล่าวจะเพิ่มปริมาณเงินบาทในระบบ ซึ่งจะทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาดังกล่าว ธปท. จึงจำเป็นต้องมีกลไกในการดูดซับสภาพคล่องเงินบาทส่วนเกินกลับออกจากระบบ เพื่อปรับสภาพคล่องในระบบการเงินให้มีความสมดุล ซึ่งการเข้าทำธุรกรรมดังกล่าวนี้ถูกเรียกว่า การทำ "currency sterilization"
เครื่องมือในการทำ Sterilization ของแบงก์ชาติมีกี่วิธี? โดยปกติแล้ว แบงก์ชาติจะทำ sterilization ผ่านการดำเนินการในตลาดการเงิน (Open Market Operations: OMOs) ผ่านเครื่องมือหลัก 5 ช่องทาง ได้แก่
(1) การทำธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี (bilateral RP) เป็นการปรับสภาพคล่องในระบบแบบชั่วคราว โดย ธปท. จะขายตราสารหนี้ในประเทศให้กับ primary dealers (กลุ่มสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจาก ธปท. ให้ ทำหน้าที่เป็นคู่ค้าหรือตัวกลางในการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตร) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการทำธุรกรรมระยะ 1 วัน โดยใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (policy rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ซึ่งการที่ ธปท. ขายตราสารหนี้ให้กับกลุ่มสถาบันการเงินดังกล่าว ก็เท่ากับเป็นการดูดสภาพคล่องเงินบาทออกจากระบบเป็นเวลา 1 วันนั่นเอง (2) การทำธุรกรรมซื้อขาดขายขาดหลักทรัพย์รัฐบาล (outright sale of securities) เป็นการปรับสภาพคล่องในระบบแบบถาวร โดย ธปท. จะซื้อขาดขายขาดหลักทรัพย์รัฐบาลกับ primary dealers ซึ่งโดยปกติแล้ว ธปท. จะปล่อยสภาพคล่องผ่านช่องทางนี้ด้วยการซื้อขาดหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในระบบให้เพียงพอกับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ดังนั้น ธปท. ก็สามารถใช้ช่องทางเดียวกันนี้ในการดูดซับสภาพคล่องด้วยการขายขาดหลักทรัพย์ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากเป็นตลาดที่มีสภาพคล่องสูงสุด (3) การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT bond issuance) เป็นเครื่องมือที่สำคัญเครื่องมือหนึ่งในการปรับสภาพคล่องในระบบ ซึ่งการที่สถาบันการเงินหรือประชาชนนำเงินมาซื้อพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ก็เท่ากับเป็นการดูดสภาพคล่องออกจากระบบเช่นเดียวกัน (4) การสวอปเงินตราต่างประเทศ (Sell-Buy FX swaps) เป็นการปรับสภาพคล่องในตลาดการเงินที่ใช้เสริมกันได้ดีกับเครื่องมือ OMOs อื่นๆ ซึ่ง FX swaps จะมีลักษณะคล้ายกับธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร แต่ต่างกันตรงที่เงินบาทจะถูกแลกเปลี่ยนกับดอลลาร์สรอ. แทนที่จะเป็นการแลกกับตราสารหนี้ในประเทศ ซึ่งธุรกรรม swaps มักจะเป็นระยะสั้นอายุ ไม่เกิน 3 เดือน ซึ่งจากการศึกษาพบว่า วิธีนี้เป็นวิธีเดียวที่ช่วยสร้างสภาพคล่องเงินดอลลาร์สรอ. ในระบบเศรษฐกิจ และมีต้นทุนในการทำ sterilization ต่ำที่สุด (5) หน้าต่างซื้อตราสารหนี้ ธปท. เป็นการดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบที่ช่วยรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น โดยจะมีลักษณะเหมือนกับการรับฝากเงิน และแบงก์ชาติจะออกตั๋วเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-PN) ให้เป็นหลักฐาน ซึ่งสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกและต้องการทำธุรกรรมสามารถแจ้งคำเสนอซื้อตราสารหนี้โดยระบุวงเงินและอัตราผลตอบแทนใน แต่ละประเภทอายุ และจะต้องชำระเงินผ่านการหักบัญชีเงินฝากกระแสรายวันภายในวันที่ตกลงทำธุรกรรม แนวโน้มค่าเงินบาทจะแข็งค่าต่ออีกหรือไม่ ? เรามองว่า เงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้และปีหน้า ปัจจัยหลักมาจากแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สรอ. เทียบกับสกุลเงินต่างๆ รวมทั้งบาท จากปัญหาการขาดดุลการคลังที่ยังอยู่ในระดับสูงและแผนการกลับเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (Quantitative Easing: QE) ของ Fed ซึ่งจะเป็นการเพิ่มปริมาณเงินดอลลาร์ในตลาด นอกจากนี้ ยังมีแรงสนับสนุนให้เงินบาทแข็งค่า จากการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศ เช่น การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดตามการส่งออกที่ขยายตัวสูง และการไหลเข้าของเงินทุนมายังภูมิภาค ประกอบกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในภูมิภาคที่น่าจะปรับขึ้นเร็วกว่าอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการคงจะไม่สามารถหวังพึ่งแบงก์ชาติในการแทรกแซงค่าเงินบาทได้มากนัก เพราะแม้ ธปท. จะแทรกแซงค่าเงินบาทมากน้อยเพียงใดก็ตาม แต่เงินบาทก็ยังคงแข็งค่าขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงเดือนมีนาคม 2550-มีนาคม 2551 แบงก์ชาติได้เข้าแทรกแซงค่าเงิน จนทุนสำรองฯ เพิ่มขึ้นมาเกือบ 40,000 ล้านดอลลาร์สรอ. แต่ปรากฏว่าเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นกว่า 10% จาก 35 มาเป็น 31 บาทต่อดอลลาร์สรอ. ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัว และประกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อรองรับความผันผวนของค่าเงินบาทในอนาคต รวมทั้งจะต้องมีการวางกลยุทธ์ด้านการค้าและเพิ่มมูลค่าเพิ่มของสินค้า เพื่อให้การแข่งขันไม่ได้ถูกกำหนดจากอานิสงค์ของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความได้เปรียบแต่เพียงด้านเดียว

นักเศรษฐศาสตร์ชี้หมดยุค "บาทอ่อน" เงินทะลักอย่างน้อย2ปี-แนะรัฐบาลเร่งลงทุนเมกะโปรเจค

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน)(BBL) กล่าวว่า แนวโน้มค่าเงินบาทจะยังแข็งค่าต่อเนื่องในระยะยาว เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศมีทิศทางที่ดี สภาพคล่องล้น โดยนักลงทุนต้องแสวงหาการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่สูง ซึ่งไทยยังน่าสนใจ และการที่เงินบาทแข็งค่าในรอบนี้จะมีความแตกต่างจากอดีต โดยปกติค่าเงินไทยจะแข็งค่าตามประเทศภูมิภาคเอเชีย แต่รอบนี้ ไทยกลับแข็งค่าขึ้นมาก่อนประเทศอื่นๆ ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่งสถานการณ์ก็จะคลี่คลาย จึงไม่ควรกังวล "เงินบาทขณะนี้มีความผันผวนในระยะสั้น อย่าตื่นตกใจการที่แข็งค่าไปจนถึงระดับ 29.67 บาทต่อดอลลาร์ เกิดจากค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า และเมื่อเงินบาทแข็งค่าผู้ส่งออกไทย ก็ต้องปิดความเสี่ยงโดยเฉพาะช่วงที่ทะลุ 30 บาท พอทุกคนแห่ไปปิดความเสี่ยงพร้อมๆ กัน ก็ทำให้ค่าขึ้นแข็งค่าขึ้นไปอีก ดังนั้นแนวโน้มค่าเงินบาท ก็ยังแข็งค่าต่อไป เพราะสภาพคล่องล้น นักลงทุนนำเงินเข้ามาเก็งกำไรกัน จึงเชื่อว่าค่าเงินบาทที่ระดับ 31-32 บาทต่อดอลลาร์ คงไม่ได้เห็นกันแล้ว" นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อเงินบาทแข็งค่า ธปท.คงต้องติดตามดูแลใกล้ชิด และการใช้นโยบายขึ้นดอกเบี้ย คงไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ในเร็ววันนี้ เพราะสาเหตุของเงินบาทแข็งค่า เกิดจากมีเงินไหลเข้ามาลงทุนจำนวนมาก ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจปีนี้ปัจจัยที่สำคัญในการผลักดันให้เติบโตได้ดี เป็นเรื่องของการลงทุนในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจของโลกเริ่มมีทิศทางที่ดีเช่นกันทั้งยุโรปและสหรัฐ มีความเสี่ยงลดลงหากเทียบกับปีก่อน @"ศุภวุฒิ"คาดเงินไหลเข้าอย่างน้อย2ปี ด้าน นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายงานวิจัย บล.ภัทร กล่าวว่า ดอกเบี้ยอาจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่เป็นตัวดึงดูดให้เงินทุนไหลเข้าในประเทศก็จริง แต่ก็มีปัจจัยอื่นๆ ที่ดึงดูดด้วย เช่น เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตดี โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว รวมถึงบรรยากาศการลงทุนในขณะนี้ที่ถูกผลักดันให้นักลงทุนกล้าที่จะลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงขึ้น (Risk on) ตลอดจนการเกิดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ยังมีอยู่พอประมาณ ปัจจัยเหล่านี้น่าจะเป็นตัวกดดันให้มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง หรืออย่างน้อยใน 2 ปีข้างหน้า ซึ่งเรื่องนี้ทาง บล.เมอร์ริล ลินช์ ที่เป็นพันธมิตรของ บล.ภัทร ประเมินว่า ค่าเงินบาทไทยมีโอกาสที่จะแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 28 บาทต่อดอลลาร์ได้ในปลายปีนี้ และอาจเห็นเงินบาทแตะระดับ 27 บาทต่อดอลลาร์ได้ในปีหน้า "เวลานี้ที่ธนาคารกลางทั่วโลกทำ คือ กดดอกเบี้ยต่ำ แล้วพิมพ์เงินออกมาเยอะๆ คำถาม คือ เราจะตั้งดอกเบี้ยให้สูงกว่าเขาได้หรือไม่ และทำไปแล้วจะมีความเสี่ยงว่าจะมีเงินทุนไหลเข้ามาหรือไม่ เพราะเราเป็นประเทศเศรษฐกิจเล็กและเปิด มันมีความเสี่ยงตลอดเวลา ถ้าเขามองเศรษฐกิจเราดี ดอกเบี้ยน่าสนใจ เงินก็จะยิ่งไหลเข้ามามาก"นายศุภวุฒิ กล่าว @สวค.เผยบาทแข็งไม่เกิน3%ไม่น่าห่วง ด้าน นายคณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) กล่าวว่าการที่เงินบาทแข็งค่า น่าจะทำให้บริษัทส่งออกได้รับผลกระทบระยะสั้น แต่ระยะยาวคงต้องพิจารณาอีกครั้ง และเชื่อว่า ธปท.หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดูแลได้ โดยมองหากค่าเงินบาทแข็งค่าไม่เกินระดับ 3% ก็มองว่าไม่น่าเป็นห่วง "ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีนี้คาดว่าจะมีอัตราเติบโต 5-5.5% และอัตราเงินเฟ้อก็น่าจะอยู่ที่ระดับ 3% ขณะที่ตัวเลขการส่งออกจะเติบโต 6-7% และการค้าแถบชายแดนเป็นกำลังซื้อแฝงที่จะช่วยผลักดันให้เติบโตได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามหากรัฐ มีการลงทุนขนาดใหญ่ 2 ล้านล้านบาทเกิดขึ้นอาจทำให้ตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลจำนวนมากแต่ไม่อยากให้ตื่นตระหนกเพราะต่อไปเมื่อทุกอย่างเข้าที่ การลงทุนครั้งนี้จะสามารถผลักดันให้จีดีพีโตได้ถึง 6%" นายคณิศ กล่าว @แนะรัฐเร่งลงทุน-หั่นประชานิยม นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวว่า ประเทศไทยคงหนีปัญหาเรื่องเงินทุนไหลเข้าไม่พ้นอย่างแน่นอน เพราะเวลานี้ธนาคารกลางประเทศหลักทั่วโลกพิมพ์เงินออกมารวมๆ กันแล้วสูงกว่า 10 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งการจัดการปัญหาในขณะนี้ยังเป็นเพียงการตามแก้ปัญหาเท่านั้น ยังขาดการดำเนินการในการแก้ปัญหาแบบบูรณาการ "จะเห็นว่าตอนนี้มีหลายเรื่องเข้ามากระทบผู้ประกอบการของไทยค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องค่าแรง 300 บาท ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น แต่การแก้ปัญหาของเราก็เป็นแบบการตามแก้ ยังไม่เห็นการจัดการแบบบูรณาการ" นายเศรษฐพุฒิ กล่าว สิ่งที่เป็นห่วงมากสุดในเวลานี้ คือ งบในการลงทุนของภาครัฐมีน้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่หมดไปกับโครงการประชานิยม และถ้าดูตัวเลขการลงทุนของประเทศไทย ยังเป็นเพียงประเทศเดียวที่สัดส่วนการลงทุนต่อจีดีพีต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ โดยในปี 2540 ประเทศไทยเคยมีสัดส่วนการลงทุนสูงถึง 70% ของจีดีพี "สิ่งที่จะช่วยได้ คือ รัฐบาลควรต้องตัดงบรายจ่ายประจำออก โดยเฉพาะรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับประชานิยม เพราะทำให้งบที่เหลือไปใช้เพื่อการลงทุนมีน้อยลง"นายเศรษฐพุฒิ กล่าว @คาดบาทปีนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 30.7 นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น จากปัจจัยฐานในปีที่แล้วขยายตัวในอัตราต่ำ ซึ่งเป็นผลจากปัญหาอุทกภัย ประกอบกับการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่ส่งสัญญาณขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งการใช้จ่ายภายในประเทศและการส่งออก รวมทั้งภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวสูงมาก ทั้งนี้ สศค.ประเมินว่า ในไตรมาส 4 ดังกล่าว เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 15.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวติดลบ 8.9% และเมื่อรวมกับ 3 ไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวได้ 2.6% จะทำให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยทั้งปีอยู่ที่เป้าหมายเดิม คือ 5.7% การขยายตัวเศรษฐกิจปี 2556 นั้น สศค.ยังประเมินที่ 5% ภายใต้สมมติฐานที่มูลค่าการส่งออกขยายตัว 10% ขณะที่มองการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงต้นปีนี้ ยังไม่กระทบต่อมุมมองการเติบโตของเศรษฐกิจ เพราะเงินบาทยังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบที่ สศค.ประเมินไว้ สศค.จะประเมินการขยายตัวเศรษฐกิจทั้งปีอีกครั้งในเดือนมี.ค. นี้ "จีดีพีในปีนี้ สศค.ยังมองที่ 5% แม้ว่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้มากกว่าที่ประมาณการไว้ โดยปีนี้เรามองว่าบาทต่อดอลลาร์จะเฉลี่ยอยู่ที่ 30.7 หรือ มีช่วงคาดการณ์ที่ 29.70- 31.70 ทำให้ยังไม่ได้ปรับประมาณการจีดีพี" นายเอกนิติ กล่าว ทั้งนี้ เหตุที่ประเมินว่า การส่งออกยังสามารถขยายตัวได้ดี เพราะการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ประเมินว่า ยังมีการเติบโตที่ 3.7% สำหรับค่าเงินบาทในขณะนี้ค่อนข้างผันผวน แต่ยังเคลื่อนไหวตามภูมิภาค เพราะเศรษฐกิจโลก ทั้งสหรัฐและยุโรปยังมีปัญหา และทำให้มีเงินไหลเข้ามาลงทุนในเอเชีย รวมทั้งไทยด้วย แต่เมื่อใดที่ความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศดังกล่าวมีมากขึ้น เงินทุนก็พร้อมที่จะไหลกลับ ดังนั้น ทิศทางสถานการณ์เงินบาทก็ค่อนข้างจะผันผวน ดังนั้น จึงต้องเตรียมพร้อมที่จะรองรับ โดยแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดแรงกดดัน คือ การเร่งลงทุน ทั้งนี้ โมเดลที่ สศค.นำมาคำนวณผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ คือ กรณีเงินบาทแข็งค่า 1% จะกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 0.3% ส่งผลต่อปริมาณการส่งออกลดลง 0.4% แต่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง 0.2%

ได้รับเงินกู้วันนี้ในอัตราที่ต่ำสมัครวันนี้สินเชื่อจะได้รับในอัตรา 3% สมัครวันนี้นี้สามารถเพิ่มธุรกิจของคุณให้สูงมากขึ้น เราจะนำเสนอเงินให้กู้ยืมแก่ธุรกิจและผู้คนส่วนบุคคลหากคุณต้องการสินเชื่อที่จะเริ่มขึ้นธุรกิจหรือสินเชื่อเพื่อชำระค่าใช้จ่ายจะติดต่อเราผ่านทาง ([email protected]) ในขณะนี้และได้รับเงินกู้จาก บริษัท ของเรา ... ผมจะทำให้ดีที่สุดในการให้บริการสินเชื่อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท