อดีต ปัจจุบัน อนาคต ห้องเรียนกลับทาง


       

         สวัสดีครับ พูดถึงห้องเรียนกลับทาง สำหรับท่านที่อยู่ในวงการศึกษาอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่สำหรับคนทั่วไป ได้ยินชื่อแล้วอาจฉงน ห้องเรียนอะไรจะมากลับทาง  เคยได้ยินแต่ "กระทงหลงทาง" เสียมากกว่า  สำหรับผมเองที่มีโอกาสได้เป็นอาจารย์บ้างตามโอกาส จึงขออนุญาตแสดงความคิดเห็นในหัวข้อนี้ด้วย ซึ่งอาจไม่ตรงตามทฤษฎีเท่าไหร่นัก

       เกี่ยวกับการสอนแบบห้องเรียนกลับทางในอดีต สำหรับบ้านเราแล้วในความเห็นของผม ครูไทยเราก็เริ่มสอนแบบให้ผู้เรียนเป็นหลักมานานแล้วครับ เพียงแต่ไม่เต็มรูปแบบ เริ่มตั้งแต่สมัยผมเด็กๆ  ที่คุณครูเน้นให้เด็กๆ เป็นหลักในการอ่านหนังสือเป็นบทๆ หรือท่องอาขยาน แล้วครูก็มาถาม มาทวนท้ายชั่วโมง  หรือบางชั่วโมงก็ให้เด็กเรียนหรือเล่นตามอัธยาศัย เพราะคุณครูติดประชุม ซึ่งผมและเพื่อนๆ เองก็แอบชอบเพราะสร้างความสามัคคีพร้อมเพรียงในการอ่าน  หรือเล่นได้ตามความสบายใจ อีกทั้งเป็นการฝึกการสร้างสัมพันธภาพและอีคิวกับเพื่อนผ่านกิจกรรมการเล่น   นั่นเป็นภาพการสอนในอดีต ที่เทคโนโลยีการสอนไม่มีมากอย่างปัจจุบัน และเวลาไปโรงเรียนหนังสือก็ไม่ได้ใช้หนังสือมากมาย เอาใส่ย่ามสะพายไปสบายๆ แต่สมัยนี้แค่นักเรียนชั้น ป.1 หนังสือมีมากถึงขนาดต้องใช้กระเป๋าชนิดเดินลาก ทำเอาทุลักทุเล สำหรับย่ามคงไม่ต้องพูดถึง

       มาถึงการสอนแบบของห้องเรียนกลับทางในปัจจุบัน ที่ให้ครูมีบทบาทเป็นผู้คอยส่งเสริม กระตุ้น และให้กำลังใจผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ซึ่งถือว่าโชคดีที่มีเทคโนโลยีสื่อสารทันสมัย จนคนแทบจะไม่คุยกัน วันๆ เอาแต่จ้องโทรศัพท์หรือจอคอมพิวเตอร์ สื่อผ่านโลกออนไลน์ มากกว่าใส่ใจคนข้างๆ ตัว แต่อย่างไรก็ตาม ก็ทำให้คุณครูมีสื่อที่น่าสนใจในการสอนมากขึ้นครับ ยิ่งคุณครูท่านไหนที่มีความสามารถสืบค้นข้อมูลเก่งๆ  ก็จะสามารถนำเอาสื่อที่น่าสนใจ ไม่ว่า คลิปข่าว เพลง ละครสั้น หรือแม้แต่ภาพยนตร์ที่น่าสนใจบางเรื่องมาเป็นสื่อในการสอน ให้ผู้เรียนได้  วิเคราะห์ อภิปรายให้เชื่อมโยงกับเนื้อหาในบทเรียน  แต่สำหรับบางวิชาที่มีเนื้อหามากๆ แต่จำเป็นต้องสอน ถ้าเป็นรูปแบบเดิมที่ครูเตรียมตัวมาสอนโดยตรงแล้วให้นักเรียนนั่งฟัง แม้จะตรงเนื้อหา แต่ก็ชวนให้น่าเบื่อครับ โดยเฉพาะวิชาบรรยายในช่วงบ่าย ที่ผู้เรียนทานข้าวอิ่มมาใหม่ๆ  ยิ่งทานข้าวเหนียวยิ่งแล้วใหญ่ ประกอบกับอยู่ในห้องแอร์เย็นๆ  ทำเอาจากครูผู้สอนกลายเป็นผู้เชิญวิญญาณนักเรียนออกจากร่างไปเสียหลายครั้ง มารู้สึกตัวอีกทีก็ตอนหมดชั่วโมง  เท่าที่ทราบคุณครูก็ใช้วิธีแบ่งเป็นหัวข้อหลักย่อยๆ แล้วให้นักเรียนเลือกแล้วไปศึกษาค้นคว้าในหัวข้อที่ตนเองสนใจ  แล้วแต่จะเป็นรายบุคคล รายคู่ หรือรายกลุ่ม แล้วมาเล่าหัวข้อที่ศึกษาให้เพื่อนฟัง  แล้วคุณครูช่วยสรุปประเด็นที่สำคัญเพิ่มเติมหรือบางทีครูก็ให้นักเรียนมาเป็นคุณครูสอนเพื่อนๆ แทน ทำให้ผู้เรียนกล้าถามกล้าแสดงความเห็นกับครูสมมุติมากขึ้น คนสอนก็พอใจ คนเรียนก็สนุก ก็นับว่าเป็นวิธีที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่ง

         ส่วนการสอนแบบห้องเรียนกลับทางในอนาคต ผมว่า ควรให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ตามชอบใจ ตามความถนัด โดยเน้นให้มีวิชาที่เป็นทักษะชีวิต และทักษะทางสังคม เพราะสิ่งแวดล้อมของโลกเปลี่ยนไปมาก ต่อไปคนที่มีเก่งความรู้อย่างเดียว แต่ขาดทักษะพื้นฐานของชีวิต อาจจะอยู่ลำบากครับ ส่วนควรจะเรียนอะไรบ้างนึกง่ายๆ ถ้าให้ใช้ชีวิตอยู่โดยไม่มีเงินซื้อ จะทำอย่างไรให้อยู่รอดด้วยตนเอง ก็ควรให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะในวิชานั้นแหล่ะครับ


หมายเลขบันทึก: 508321เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2012 07:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2012 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะน้องชำนาญ

  • พี่เห็นด้วยนะคะ เดี๋ยวนี้คนเราขาด " ทักษะการดำเนินชีวิต" ค่ะ สะเปะสปะไปหมด ปัญหามากมายตามมาแต่ก็แก้ไม่ตรงจุดสักที
  • ไม่เจอกันนาน คิดถึงนะคะ
  • สวัสดีครับพี่มนัสดา
  • จะว่าไปวงการศึกษาบ้านเรา เน้นความรู้ในการไปสอบแข่งขันกันค่อนข้างมาก เด็กๆ ต้องเรียนพิเศษกันตั้งแต่ป.1 มีสถานที่สอนพิเศษกันมากมาย เสาร์อาทิตย์เด็กไม่ต้องทำอะไร ไปเรียนอย่างเดียว อย่างโรงเรียนที่ลูกผมเข้าเรียนก็มีการกำหนดเกรดขั้นต่ำ ซึ่งค่อนข้างสูงถึงจะเข้าเรียนต่อได้ ถ้าใครต่ำกว่าต้องสอบเข้า ถ้าสอบไม่ได้ก็ต้องหาที่เรียนใหม่ที่อาจไกลบ้านกว่า เหมือนเป็นการคัดเด็กที่เก่งๆ ส่วนเด็กที่เรียนไม่เก่งก็หมดโอกาส ซึ่งบางทีเขาอาจมีความเก่งด้านอื่น สวนทางกับทฤษฎีที่กล่าวว่า ให้ผู้เรียนเป็นหลัก  และมีความแตกต่างกัน ผู้ปกครองก็เลยต้องเสียเงินมากมายเพื่อแลกกับเกรดดีๆ 
  • นานๆ พบกันที คิดถึงพี่ๆ เช่นเดียวกันครับ 
  • ถึงจะเป็นอาจารย์บางโอกาส ก็แสดงความเห็นด้านการจัดการเรียนรู้ได้กว้างขวางลึกซึ้ง ราวกับคนที่เป็นอาจารย์เต็มตัวเลยนะคะ
  • สวัสดีครับอาจารย์
  • ขอบพระคุณสำหรับคำชม(ซึ่งอาจจะมากเกินไปสำหรับผม)ครับ  สำหรับความเห็นของผมคงเป็นส่วนน้อยนิดที่ได้ช่วยสะท้อนภาพจัดการศึกษาบ้านเรา ซึ่งผมว่าการเรียนรู้นั้นสำคัญสำหรับทุกคน เรียนอะไรก็ดีทั้งนั้นครับ เรียนในสิ่งที่ตนเองชอบ และสนใจ แต่ยังไงก็ขอให้เป็นคนดีด้วย เพราะความรู้ คู่ความดี จะทำให้สังคมเราอยู่รอดครับ

 

น้องชำนาญ......

การเฮียนสมัยนี้   จะว่ายากก่ยากจะว่าง่ายก่ง่าย  

อยู่ตี้คนสอนกั๋บคนเฮียนว่าจะไปในแนวเดียวกั๋นก่

ตี้สำคัญต้องเป๋นตี้ถูกใจ๋ของคนเฮียนนักกว่าของคนสอนเนาะ

เมินๆได้อ่านความเห็นเกี่ยวกั๋บการศึกษา  เยี่ยะหื้อกึ๊ดถึงสมัยสอนละอ่อน

น้องคงสบายดีตึงครอบครัวเนาะเจ้า....

  • สวัสดีครับปี้ครูกีร์
  • สำหรับก๋านเฮียน กำหม่าเก่าตี้ว่า "คนเก่งบ่กั๋ว แต่กั๋วคนขยัน" ยังใจ้ได้เสมอครับ แต่กะน่าหันใจ๋หล่ะอ่อน ตี้เนื้อหาการเรียนแน่นขนาด มองแง่ดีคือมีความฮู้นักขึ้นกว่าสมัยเก่าครับ
  • ขอบคุณตี้ปี้ครูห่วงใยถามไถ่ ผมสบายดีครับ จะไดกะฮักษาสุขภาพตวยเน้อครับ 
  • ขอบคุณทุกๆ ท่านครับ  สำหรับดอกไม้ ให้กำลังใจ 
  • Ico48  
  • Ico48   
  • Ico48
  • Ico48
  • Ico48   
  • Ico48   
  • Ico48   
  • Ico48  
  • Ico48  
  • Ico48  
  • Ico48   
  • Ico48  
  • Ico48
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท