ตามหาร่องรอยของ RIT ที่น่าจะนำมาต่อยอดด้วยห้องเรียนกลับทาง


ผมลองคลิ๊กหาร่องรอยนวัตกรรมทางการศึกษาของกรมสามัญศึกษา และ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติในอดีตที่เรียกว่า RIT (Reduce Instructional Time) ก็พบอยู่ในที่นี้ http://www.thaiedresearch.org/thaied/index.php?q=thaied_results&-table=thaied_results&-action=browse&-cursor=213&-skip=210&-limit=30&-mode=list&-sort=researcher+asc&-recordid=thaied_results%3Fid%3D1046

http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99+RIT&source=web&cd=3&ved=0CC4QFjAC&url=http%3A%2F%2Fisc.ru.ac.th%2Fdata%2FED0001766.doc&ei=Bh2fUIzsIobSrQfo7IC4DA&usg=AFQjCNG0PAvPZPq8a3z50tBxwU8NDK3X2g

ในเว็บนี้ก็มีหน้าปก และตัวอย่างของสื่อ RIT อยู่หลายหน้า

http://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99+rit&start=10&hl=th&sa=N&rlz=1T4ADFA_enTH466TH466&prmd=imvns&tbm=isch&tbo=u&source=univ&ei=nf-eUOvtIIL3rQeKhIC4Ag&ved=0CDQQsAQ4Cg&biw=800&bih=258

โครงการ RIT  เริ่มต้นขึ้นในปี 2520  เป็นโครงการของกรมสามัญศึกษา  โครงการนี้มีคณะทำงานอยู่ประมาณ 20-30 คน ทำงานกันอย่างต่อเนื่องอยู่เป็นเวลาหลายปี  จากผลงานวิจัยที่กล่าวถึงนี้ ก็น่าจะสิ้นสุดลง  คือเลิกใช้นวัตกรรมนี้อย่างน้อยก็ในปี 2529  ถึง 2535

แนวคิดสำคัญของโครงการก็คือ  ใช้สื่อสอนโดยครูสอนตามสื่อที่กำหนด  ลดเวลาการสอนที่ครูบอกความรู้นักเรียน ในสื่อที่ว่าจะมีทั้งแผนการสอน เทคนิคการสอน ความรู้ที่ต้องการสอน กิจกรรมที่จะให้เด็กทำ แบบฝึกหัด  เฉลย  ข้อสอบ  กิจกรรมที่ออกแบบไว้ในสื่อ มีทั้งการอ่าน  และการปฏิบัติไปตามสื่อที่กำหนด  ถ้าจะให้ทำอะไรสักอย่าง เช่น การรำไทย  ก็จะมีท่ารำ ที่เขียนวาดไว้อย่างละเอียดว่าจะรำอย่างไร เด็ก ๆ  ครู ดูไป  อ่านไปก็ทำได้  

บังเอิญรื้อตู้เอกสารหลังเกษียณ ก็พบว่ามีอยู่สองสามเล่ม จึงนำมาให้ดู เผื่อนำแนวคิดกลับมาต่อยอดตามแนวคิดโรงเรียนกลับทางได้บ้าง  ดูพอเป็นแนวนะครับ

             

 ตัวอย่างหน้าปก        ดูคำนำก็โบราณ             แต่ละวิชาที่มีหลาย ๆ เล่ม          แต่ละเรื่องก็จะมีเนื้อหา

                                        พอสมควร                    ก็แบ่งออกเป็นหน่วย ๆ            ที่นำมาย่อยอย่างละเอียด

                                                                            เรียงกันไปจนครบทั้งวิชา         มีภาพประกอบ อ่านแล้ว

                                                                                                                              เข้าใจได้ทุกคน

        อ่านที่ละน้อย และก็ทำแบบฝึกหัดไปทีละน้อย ๆ  ดูเฉลยไปด้วย

  

                

เพราะทุกเรื่องจะนำเสนอไปตามจุดประสงค์                              ทุกเรื่องก็จะมีข้อสอบเพื่อครูนำไปใช้

เชิงพฤติกรรมย่อย ๆ                                                                                 ในการสอบ

                                     (สาระไม่ค่อยรับกัน  นำมาปะติดปะต่อให้พอเห็นแนวนะครับ)


สื่อที่เรียกว่าบทเรียนสำเร็จรูปนี้  ที่ทำกันมีตั้งแต่ ป.1 - ม.3  โดยเจ้าภาพผู้สนับสนุนหลายส่วนแต่ที่นำไปใช้อย่างจริงจังก็คือ  สปช. สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ที่นำไปใช้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กทั่วประเทศ ที่มีนักเรียนไม่เกิน 80 คน  ผลออกมาตามผลงานวิจัยดังกล่าวข้างต้น

หมายเลขบันทึก: 508298เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2012 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

"...ใช้พ็อคเก็ตวายควายนี่ช้า..." May I suggest that you are on the fringed area and a DIY wifi antenna may help?

I googled and got some here:

Best homemade WiFi antenna ? - techPowerUp! Forums www.techpowerup.com › ... › Hardware › Networking & Security 13 posts - 9 authors - 21 May 2010 I have been researching homemade wifi antennas for use with my laptop. It has a built in card but I also have a USB wifi adapter I could use for ...

Make a DIY Wi-Fi Antenna From a Coffee Can [VIDEO] mashable.com/2012/06/11/diy-wi-fi-antenna/ 11 Jun 2012 – For just $5, you can make your own Wi-Fi antenna from a coffee can and reach networks that would otherwise be out of range.

Homebrew antenna shootout www.turnpoint.net/wireless/has.html 802.11b Homebrew WiFi Antenna Shootout ... Rob Flickenger, the net admin for O'Reilly, this design for a do-it-yourself, VERY inexpensive antenna made from ...

sr ขอบพระคุณมาก ๆ ครับ ที่กรุณาแนะนำ และเอาใจช่วย ผมตามท่านไม่ทันครับ ยังไม่ลึกในเรื่องที่ท่านแนะนำมาซักเท่าไหร่ครับ ขอบพระคุณจริง ๆ ที่ช่วยแนะนำ แล้วจะเรียนรู้ตามที่ท่านแนะนำครับ ตอนนี้ขอเอาตัวรอดกับเรื่องนี้ไปก่อนนะครับ

มาต่อกันอีกนิดนะครับ

จุดเด่นของสื่อ RIT ก็การความละเอียดในเนื้อ และกิจกรรม ที่นักเรียนอ่านได้เข้าใจ เพราะได้ย่อยให้ง่าย เข้าถึงได้ทุกคน คุณครูทำหน้าที่อำนวยความสะดวก และคอยช่วยเหลือนักเรียนที่อ่อนได้ คนใดเก่งก็อ่านไป ทำไป อะไรที่จะให้เป็นกิจกรรมกลุ่ม งานภาคสนาม ก็บอกว่าเสร็จสรรพ ไม่ใช่อ่านอย่างเดียว

แล้วจะนำมาต่อยอดอย่างไร

ปัจจุบัน ICT เข้ามามีบทบาทในการศึกษา หากทำแล้วบรรจุไว้ในแทปเล็ตที่สามารถนำไปเชื่อมโยงกับภาพ วีดิโอ CAI เว็บไซต์ หรือ อะไรที่อยู่ในอินเตอร์เน็ตก็จะกลายเป็นสื่อที่ดี กลับทางจากห้องเรียนปกติได้ทางหนึ่ง

ขณะนี้อดีตผู้อำนวยการ RIT อาจารย์นวลจันทร์ โพทา ก็ยังแข็งแรง และแข็งขันในการนำแนวคิดการสร้างสื่อไปใช้  ล่าสุดก็คือ การไปมีส่วนร่วมกับมูลนิธิต้านบุหรี่ ในการทำสื่อรณรงค์ และทำงานการกุศลทางการศึกษา ที่ไม่ใช่ให้กับกระทรวงศึกษาธิการ เพราะท่านถูกลืมไปแล้ว

อาจารย์ดี และเก่งอย่างไร  ก็ตามดูที่นี่นะครับ http://www.doctor.or.th/article/detail/11017

ท่านใด สถาบันใดต้องการสมองของท่าน ผมยินดีเป็นนายหน้าให้ ถ้าทำเพื่อชาติและประชาชน

อาจารย์ต้องยินดีแน่ ๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท