KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๕๗๙. ใช้ KM สร้างระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า



          ในการประชุม 2nd Global Symposium on Health System Research (31 Oct – 3 Nov 2012) ที่ปักกิ่ง  มีรายการหนึ่งชื่อ Creating and sharing knowledge in international health policy and systems : The community of practice modelจัดวันที่ ๒ พ.ย. เวลา ๗.๔๕ - ๙.๑๕  น.  ผมรีบกาไว้ว่าต้องเข้าห้องนี้  โดยที่เวลาเดียวกันมีการประชุมพร้อมกัน ๑๔ ห้อง


          การประชุมนี้หัวข้อคือ HSR (Health Systems Research) โดยมีเป้าหมายที่ UHC (Universal Health Coverage) หรือการคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า (ซึ่งประเทศไทยได้รับการยกย่องมาก)


          หัวข้อที่ผมเข้าฟังเมื่อเช้าวันที่ ๒ พ.ย. จึงเป็นเรื่องการใช้ COP เพื่อเป็นเครื่องมือให้ประเทศในอัฟริกา บรรลุระบบสุขภาพถ้วนหน้า  โดยหัวข้อของ COP คือ


  •  COP on Health Service Delivery (220, ตัวเลขในวงเล็บคือจำนวนสมาชิก)
  •   Performance Based Financing(675)
  •   Evidence Based Budgeting and Planning (309)
  •   Financial Access to Health Services (359)
  •   Human Resources for Health (200)


          ที่จริง COP เหล่านี้เพิ่งก่อตัวขึ้น ๑-๒ ปี  และทีมวิทยากร ๔ คนทำงานด้วยกัน แต่มาจากต่างหน่วยงาน ทำหน้าที่ต่างบทบาทกัน มีที่ตั้งอยู่ในประเทศตะวันตก (ฝรั่งเศส, อังกฤษ, เบลเยี่ยม)  เขามาเล่าประสบการณ์การสนับสนุน online COP ในอัฟริกา  ตามหัวข้อข้างบน  โดยได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุน


          เขาบอกว่า เครื่องมือสำหรับการ ลปรร. ใน COP ก็คือ GoogleGroupsง่ายๆ นี่เอง  สำหรับเป็น discussion group คือมีคนที่เป็นสมาชิกเข้ามาตั้งคำถาม  และมีสมาชิกคนอื่นตอบตัวเทคโนโลยีไม่ใช่จุดสำคัญ  ที่สำคัญที่สุดคือ “คุณอำนวย” (facilitator)  และการมีการ ลปรร. แบบ F2F เสริม  กิจกรรมของ COP ที่เขาจัดอยู่ในรูปที่ ๑“คุณอำนวย” ต้องคอยช่วยให้การ ลปรร. อยู่บนฐานของข้อมูลหลักฐาน (evidence-based)  ไม่ใช่บนฐานของศรัทธาหรือความเชื่อ  และคอยกระตุ้นให้สมาชิกที่เข้ามาเรียนรู้อย่างเดียว  เป็นฝ่ายให้ข้อมูลจากประสบการณ์ของตนบ้าง  จนในที่สุดกลายเป็นสมาชิกที่ ลปรร. อย่างเอาจริงเอาจังมาก


          COP เพื่อ Global Health มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  เขาฉายสไลด์ให้ดู  และผมถ่ายรูปมาฝาก (รูปที่ ๒)


          ที่จริงโครงการนี้เป็นงานวิจัยเพื่อพัฒนา Health Policy โดยใช้ COP เป็นเครื่องมือ  เขาจึงมีกิจกรรมของการวิจัยลงรายละเอียดมาก  ที่จะต้องประเมินในทุกขั้นตอนของงาน   โดยเขาสร้างกรอบความคิด ๖ ขั้นตอน ขึ้นมาเป็นแนวทางประเมิน  โดยขั้นตอนสุดท้ายเป็น impact assessment วัดผลต่อสุขภาวะของคน  โปรดดูรูปที่ ๓


          ฟังเรื่องนี้แล้ว ผมได้แนวความคิดเรื่องโจทย์วิจัยเกี่ยวกับ KM ด้วย


วิจารณ์ พานิช

๓ พ.ย. ๕๕



                                                    กิจกรรมของ COP ที่เขาจัด




                                         ตัวอย่าง COP ด้าน Global Health



                                          กรอบความคิดเพื่อประเมิน COP




หมายเลขบันทึก: 508037เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2012 08:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท