ความรู้อะไร ?



ความรู้อะไร ?

 

-ความรู้ที่เผยเเพร่ ควรเป็นความรู้ทุกชนิดทุกอย่างใช่หรือไม่ ? หรือบางชนิดบางอย่างเท่านั้น

 

-ความรู้ชนิดที่เป็นประโยชน์เท่านั้นใช่หรือไม่ที่ควรจะเผยเเพร่

 

-ตกลงแล้ว "ความรู้" ก็คือประโยชน์ ความรู้กับประโยชน์เป็นอย่างเดียวกันเท่านั้นหรือ?

 

-แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ความรู้เป็นประโยชน์หรือไม่เป็น เพราะแต่ละคนอาจจกล่าวว่า ความรู้ดั่งกล่าวนั้น มันเป็นประโยขน์สำหรับอีกคนหนึ่ง แต่ไม่ใช่กับคนบางคนก็ได้ ?

 

- ดังนั้นแล้ว "ความรู้" จึงขึ้นอยู่กับบุคคล และประโยชน์ กับคนบางคนมิใช่ทุกคนใช่หรือไม่?

 

-ฉะนั้นแล้ว จะกล่าวได้หรือไม่ว่า "ความรู้" เป็น "อัตวิสัย" ที่ขึ้นอยู่กับปัจเจกบุคคล มิใช่ "สากล" ที่จะสามารถรับประกันได้ว่า ความรู้ดังกล่าวจะเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์ที่ใช้ได้กับทุกคน (ไม่ใช่ 30 บาททุกโรคแต่บางโรค)เท่านั้น

 

-แล้วเมื่อไหร่จะรู้ว่า "ความรู้" ดังกล่าวได้แสดงออกให้เห็นแล้วว่า ผู้ส่งกับผู้รับเข้าใจตรงกันว่าใช่แล้ว

 

-...ผู้ส่งเข้าใจได้แจ้งชัดนั้น แน่ใจหรืออย่างไรว่า ไม่ใช่เพราะหลอกตนเอง หรือเข้าถูกไม่ผิด

 

-หรือเข้าใจเอาจากผิดเป็นถูก จากถูกเป็นผิด...อิอิ

 

-ในส่วนผู้รับก็เช่นเดียวกัน เชื่อได้อย่างไรว่า ตนเองได้เข้าใจถูกแล้ว ไม่ใช่เพราะเสเเสร้ง หรือหลอกตนเเองเข้าใจทั้งๆ ทีี่ก็ไม่แน่ใจว่าจะเข้าใจ สิ่งดังกล่าวว่า เป็นเช่นนั้น จริงๆๆ

 

+การตรวจสอบว่า "ความรู้" ใด เป็นความรู้จริงๆ จะเชื่อได้อย่างไรว่า เป็นความรู้จริงๆ เขาว่า มี 3 ทฤษฏี ที่เรียกว่า "ทฤษฏีความจริง" กันคือ

สมนัย

สหนัย

และปฏิบัติ

 

+-แต่ก็อาจมีคำถาม ของใครบางคนอย่าง John Lock อาจเอามาคิดใหม่ว่า สิ่งที่ว่าจริงนะ เป็นเพราะคุณเชื่อมันใช่มะ?

 

+-ถ้าคุณไม่เชื่อมันว่าไม่จริง ก็เพราะคุณก็เชื่อมันด้วยสิ...?อิอิ

 

เข้าใจมันเองหรือปล่าว หากคุณไม่ได้เชื่อว่ามันเป็น/ไม่เป็น

 

ความรู้ดังกล่าวจะตัดขาดจากความเชื่อได้หรือไม่?

 

-เพราะไม่เมื่อเเม้แต่การเชื่อว่า "ไม่เป็น" ก็เชื่อแล้วนิ

555

-จะไม่ปราศจากความเชื่อไปได้อย่างไร.."ความรู้"เจ้าเอ๋ย..

 

หมายเลขบันทึก: 507609เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2012 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 15:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

 

"ทฤษฏีความจริง" กันคือ

สมนัย

สหนัย

และปฏิบัติ

 

 

ขอบคุณมากค่ะ

 

สิ่งใดเป็นจริง เป็นประโยชน์กับผู้ฟัง ไม่ว่าผู้ฟังนั้นจะชอบหรือไม่ก็ตาม สิ่งนั้นพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าทรงสอน สิ่งใดเป็นจริง แต่ไม่เป็นประโยชน์กับผู้ฟัง ไม่ว่าผู้ฟังนั้นจะชอบหรือไม่ก็ตาม ไม่ทรงสั่งสอน (คิดว่าผมคงจำไม่ผิด)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท