8 ไอเดียลงทุนใหญ่ในเอเชีย_trends(แนวโน้ม)


 

.

สำนักข่าว CNBC ตีพิมพ์สไลด์โชว์เรื่อง '8 ways to invest in aging Asia'
= "8 วิธีลงทุนในเอเชียที่(ประชากร)กำลังสูงอายุ", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

UN (องค์การสหประชาชาติ) คาดการณ์ว่า ประชากรในเขตเอเชีย-แปซิฟิค 62% จะมีอายุ 60 ปีขึ้นไปปี 2050/2593 ทำให้ "ตลาดสีเทา (gray market; สีเทา = สีผมคนสูงอายุ)" เป็นตลาดที่มาแรง

.

สัดส่วนคน สูงอายุและผู้หญิงจะมากขึ้น (ผู้หญิงอายุยืนกว่าผู้ชาย 4-5 ปี) ยกเว้นกลุ่มประเทศลูกดก โดยเฉพาะ อินเดีย-ฟิลิปปินส์ จะมีความได้เปรียบในเรื่องสัดส่วนคนอายุน้อย ทำให้เศรษฐกิจในประเทศลูกดกโตเร็ว (ยกเว้นคอรัปชั่น หรือแบ่งสีแบ่งขั้วการเมืองกันหนัก) [ PRB ]
[ longevity ]

แนวโน้มการลงทุนใหญ่ในเอเชียได้แก่

.

(1). ฮับ (hub = ศูนย์กลาง จุดเชื่อมต่อ) การผลิตใหม่

.

ค่าแรงในจีนสูงขึ้น (รัฐบาลจีนตั้งเป้าเพิ่มค่าแรงเฉลี่ย 13%/ปี เพื่อลดช่องว่างคนรวย-คนจน) ทำให้อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูงส่วนหนึ่งย้ายไปเวียดนาม-อินโดนีเซียที่ค่า แรงถูกกว่า และโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา ฯลฯ ดีกว่าอินเดีย

.

ฟอกซ์คอนน์ที่รับจ้างผลิตสินค้า ให้แอปเปิลย้ายโรงงานส่วนหนึ่งไปเม็กซิโก และวางแผนจะย้ายอีกส่วนหึ่งไปอินโดนีเซีย เนื่องจากการประท้วงที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในจีน (ญี่ปุ่นเองก็จะย้ายการผลิตส่วนหนึ่งออกจากจีนเช่นกัน)

.

ผลการสำรวจของสภาการค้าอเมริกันใน สิงคโปร์เร็วๆ นี้พบว่า ผู้บริหาร 20% กำลังจะย้ายการลงทุน เพื่อลดการพึ่งพิงการผลิตในจีน โดยจะย้ายไปอาเซียน คือ ฟิลิปปินส์-มาเลเซีย-เวียดนาม-ไทย-อินโดฯ ตามลำดับ (จากมากไปน้อย)

.

(2). ใช้หุ่นยนต์ (robot) แทนคน

.

การผลิตในจีนจะใช้หุ่นยนต์แทนคน ครั้งใหญ่ในไม่กี่ปี เช่น ฟอกซ์คอนน์ที่รับผลิตสินค้าให้แอปเปิลจะใช้หุ่นยนต์หลายล้านตัว เพื่อลดปัญหาคนงานที่ประท้วงบ่อย ภายในปี 2014/2557

.

เครื่องจักรอัตโนมัติและหุ่นยนต์จะทำให้ความต้องการแรงงานไร้ฝีมือลดลงมากกว่าแรงงานฝีมือ ทำให้การพึ่งพิงแรงงานราคาถูกลดลง

.

ปรากฏการณ์แรงงานที่พบทั่วโลกมาก ขึ้นเรื่อยๆ คือ แรงงานไร้ฝึมือตกงานไปพร้อมๆ กับการขาดแรงงานฝีมือ เช่น ช่าง อาชีวะ ผู้ช่วยพยาบาล ฯลฯ + ขาดบุคลากรวิชาชีพ เช่น นักบัญชี พยาบาล หมอฟัน ฯลฯ

.

2 มหาอำนาจด้านหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม คือ ญี่ปุ่น (เช่น มิตซูบิชิ ฟานัค ฯลฯ) และสวิตเซอร์แลนด์ มีแนวโน้มจะขายหุ่นยนต์ล็อตใหญ่ให้จีน

.

ทั้งนี้และทั้งนั้น... ทั้งรัฐบาลจีนและญี่ปุ่นจะต้องรักษาสมดุลระหว่างการหาเสียงชาตินิยมในประเทศกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้ได้

.

คือ ต้องทะเลาะในระดับที่รัฐบาลได้คะแนนเสียง "มากพอ" จากการทะเลาะกับต่างชาติ และ "น้อยพอ" ที่จะหลีกเลี่ยงความเสียหายทางเศรษฐกิจ (จีนพึ่งการลงทุน-เทคโนฯ จากญี่ปุ่น, ญี่ปุ่นพึ่งการส่งออก-ท่องเที่ยวจากจีน)

.

(3). บริการสุขภาพมาแรง

.

กลุ่มบริการสุขภาพ ตั้งแต่ "บริษัทประกัน-ยา-โรงพยาบาล-ทำฟัน-ร้านขายยา" จะมาแรง เช่น กลุ่มโรงพยาบาล IHH ของมาเลเซียที่มีสาขาทั้งในมาเลฯ สิงคโปร์ อินเดีย และตุรกี เปิดขายหุ้นครั้งแรก (IPO) ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กำลังเตรียมขยายกิจการในฮ่องกง-จีน

.

ผู้บริหารกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ ท่านหนึ่งให้สัมภาษณ์ในสัปดาห์นี้ว่า ลูกค้าใหญ่อันดับ 1 ตอนนี้เป็นตะวันออกกลาง ทว่า... อันดับ 2 คือ พม่า และที่ต้องรีบขยายให้ได้ คือ รุกขึ้นทางเหนือ ไปพม่า-ลาว เพื่อรองรับลูกค้าจากจีนตอนล่างให้ได้

.

ปีนี้รัฐบาลไทยรับรักษาแรงงานต่างชาติ ทำให้สัดส่วนคนไข้คลอดใน รพ.รัฐหลายแห่งเพิ่มขึ้นเพียบ

.

(4). อสังหาฯ หน้าใหม่

.

คนเอเชียอพยพจากชนบทเข้าสู่เมือง (urbanization), มีครอบครัวเล็กลง (nuclear families), และมีอายุเฉลี่ยมากขึ้น

.

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ (บ้าน คอนโดฯ...) ที่จะมาแรง คือ กลุ่มที่ตอบโจทย์คนวัยทำงานที่ย้ายเข้าเมือง และคนวัยเกษียณที่เพิ่มขึ้นได้ เช่น ห้องน้ำชั้นล่างใช้อาบน้ำได้ (คนสูงอายุส่วนหนึ่งขึ้นบันไดไม่ไหว) ฯลฯ

.

ปัญหาคนสูงอายุที่ถูกทอดทิ้งจะมาแรง โดยเฉพาะคนที่ "จน + ขี้บ่น" ไป รพ.รัฐบ่อยมาก เพื่อหาเรื่อง "นอนโรงพยาบาล" เป็นพักๆ

.

(5). ท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

.

ขณะที่คนสูงอายุประเภท "คน + ขี้บ่น" ถูกทอดทิ้ง... คนสูงอายุประเภท "มีเงินเก็บ" กลับเป็นตลาดใหญ่ของการท่องเที่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในจีนและญี่ปุ่น

.

คนสูงอายุที่มีเงินเก็บเป็นกลุ่ม ที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง ไปไหนก็ทำให้เศรษฐกิจสะพัด... ประเทศที่อาศัยการท่องเที่ยวจึงต้องรีบทำการศึกษาวิจัย เพื่อหาว่า นักท่องเที่ยวสูงอายุชอบอะไร-ไม่ชอบอะไร จะได้เอาใจถูกทาง

.

หน่วยงานที่ชอบประกาศเรียกชื่อผู้รับบริการว่า "นาง-นางสาว" น่าจะเปลี่ยนเป็นเรียก "คุณ" เพราะเรื่องนี้ทำให้คนสูงอายุรู้สึกไม่ดี

.

(6). วัยแห่งความมั่งคั่ง

.

คนสูงอายุส่วนใหญ่จะมีฐานะต่ำกว่า วัยทำงาน ทว่า... คนสูงอายุส่วนน้อยที่เตรียมตัวมาดี เริ่มจากการไม่เป็นหนี้เกินตัว ออมทรัพย์ ลงทุนอย่างรอบคอบ และเรียนรู้ตลอดชีวิต จะกลายเป็นชนกลุ่มน้อยที่มั่งคั่ง

.

ความมั่งคั่งส่วนหนึ่งในเอเชียจะ ย้ายจากคนวัยทำงานไปสู่คนส่วนน้อยสูงวัย โดยเฉพาะผู้หญิงสูงอายุ เนื่องจากผู้หญิงมีอายุขัยเฉลี่ยสูงกว่าผู้ชาย ทำให้ส่วนหนึ่งมีสินทรัพย์ทั้งส่วนตัว และกองมรดกจากสามี

.

(7). ประกันชีวิต-สุขภาพ

.

เอเชียเป็นภูมิภาคที่มีรัฐ สวัสดิการหลังเกษียณ และสวัสดิการรักษาพยาบาลต่ำกว่ายุโรป-อเมริกา ทำให้ธุรกิจประกันชีวิตเพื่อการเกษียณ และประกันสุขภาพมาแรง

.

ประเทศที่โลกตะวันตกมองเป็นแบบอย่างในการพัฒนา คือ สิงคโปร์ เนื่องจากมีระบบการศึกษาที่ดีเยี่ยม และมีระบบประกันสุขภาพที่ประหยัด

.

การมีระบบขนส่งมวลชนดีเยี่ยมทำให้ คนสิงคโปร์ได้ออกกำลังผ่านการเดินทั้งแนวราบ และแนวดิ่ง (ขึ้นลงบันได) ในการเดินทางมากขึ้น, ยืนโหนรถเมล์ หรือนั่งเฉยๆ ในรถติดน้อยลง

.

สิงคโปร์มีรางวัลให้คนที่สุขภาพ ดี-ไม่ป่วย เช่น ใช้ตัวชี้วัดสุขภาพในการประเมินผลงานประจำปี ฯลฯ และถ้าใช้บริการรักษาพยาบาลน้อย จะมีเงินสะสมรายปีให้ตอนเกษียณ ซึ่งจะเบิกไปใช้ หรือให้รัฐบาลลงทุนในกองทุนต่อก็ได้ (ไม่เสียภาษี) ทำให้สิงคโปร์เป็น 1 ในประเทศที่มีคนหุ่นดีที่สุดในภูมิภาค และโลก

.

(8). เทคโนฯ-บริการสำหรับคนสูงวัย

.

เทคโนฯ-บริการเพื่อคนสูงวัยจะมาแรง เช่น บริษัทโทรศัพท์ NTT DoCoMo ขายมือถือรุ่นที่ตัวอักษรใหญ่-ภาพใหญ่สำหรับคนสูงวัยได้ดี

.

TV, รีโมตคอนโทรล, คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือบริการที่ตอบสนองคนสูงวัยได้ดีจะมาแรง เช่น เว็บไซต์บริการส่งสินค้าถึงบ้านสำหรับคนสูงอายุในญี่ปุ่น ช่วยให้คนสูงวัยไม่ต้องเดินทางไปช็อปปิ้งไกลนอกบ้าน ฯลฯ

.

.

ไทยมีสัด ส่วนคนทำงานน้อยลง คนหลังเกษียณมากขึ้น ทำให้ผู้เชี่ยวชาญพยากรณ์ว่า กองทุนและสวัสดิการสังคมหลายอย่างในไทยจะไปไม่รอด... ถ้าไม่ปรับตัว เช่น กองทุนประกันสังคม (ถ้าไม่ปรับโครงสร้าง), รพ.รัฐจะรับบริการไม่ไหว ฯลฯ

.

ไทยก้าวไปถูกทางที่เน้นการเป็นเม ดิคัล ฮับ (medical hub = ศูนย์กลางการรักษาพยาบาล), ทว่า... จะก้าวไปไกลขึ้น ถ้าเราตั้งเป้าเป็นเมดิคัล เอดยูเคชัน ฮับ (medical education hub = ศูนย์กลางการศึกษาสุขภาพ) ด้วย เพื่อผลิตบุคลากรให้มากพอ

.

เรียนเสนอ รัฐบาลสนับสนุน ม.รามฯ-ม.ราชภัฎ-ม.ราชมงคล ร่วมผลิตพยาบาล-หมอฟัน-หมอฝังเข็ม-ผู้ช่วยพยาบาลเพิ่ม เพราะถ้าไม่ผลิตตอนนี้... ต่อไปจะขาดแคลนหนัก (เราเพิ่มการผลิตหมอมากว่า 10 ปีแล้ว แต่ไม่เพิ่มการผลิตหมอฟัน-พยาบาลมากเท่าที่ควร)

.

ถ้าโครงการทวายในพม่า-โครงการโรง ไฟฟ้าในลาวก้าวต่อไป... น่าจะพัฒนาความร่วมมือกับพม่า-ลาว ตั้งสถาบันอาชีวะ-สุขภาพนานาชาติ รับนักศึกษาทั้งจากพม่า-ลาว-ไทย, เรียนร่วมกัน เพื่อให้เก่งทั้งภาษาอังกฤษ-พม่า-ลาว-ไทย

.

.

เรียนเสนอ รัฐบาลลดการผลิตสาขาที่จบมาแล้วไม่มีงานทำ เพิ่มการผลิตสาขาที่จบมาแล้วมีงานทำ เช่น หมอฟัน นักบิน นักบัญชี พยาบาล วิศวกร-สถาปนิกบางสาขา เภสัชกร ผู้ช่วยพยาบาล ฯลฯ, ...

.

พัฒนาการศึกษาพื้นฐาน ให้เด็กไทยเก่งภาษาไทย-อังกฤษ (+/- ภาษาที่สาม) ให้ได้, ส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่อง ติวทุกวิชาตั้งแต่อนุบาล-ประถมฯ-มัธยมฯ-อาชีวะ-วิชาช่าง ฯลฯ ผ่าน TV-อินเตอร์เน็ต-ยูทูบ-ดาวเทียม

.

เรียนเสนอ รัฐบาลประกวดวิดีโอสอนทุกภาษาหลัก ทุกวิชาหลัก กำหนดให้เป็นสมบัติสาธารณะของไทย, นำขึ้นยูทูบ และให้ดาวน์โหลดได้ทางอินเตอร์เน็ต-ยูทูบ-ห้องสมุด-โรงเรียนทุกจังหวัด เพื่อให้เด็กไทยแข่งขันกับนานาชาติได้

.

อ้อ... ลืมไป, ตั้งเป้าหมายแค่เด็กไทยไม่ได้

.

.

ต้องตั้งเป้า ใหม่ให้ผู้ใหญ่ไทย-ผู้สูงวัยไทยแข่งขันกับนานาชาติได้ต่างหาก เพราะต่อไปเด็กไทยจะเป็นแค่ "ชนกลุ่มน้อย", ต้องเน้น "ชนกลุ่มใหญ่" คือ ผู้ใหญ่กับผู้สูงวัยเป็นหลัก

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

> [ Twitter ]

  • Thank CNBC > http://www.cnbc.com/id/49472169?slide=1
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 2 พฤศจิกายน 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.


หมายเลขบันทึก: 507561เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2012 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท