ตัวชี้วัดที่หลงทางในการจัดลำดับมหาวิทยาลัยโลก


ผลงานจะเป็นอย่างไรก็ได้ ขอให้ใช้วิธีการ และการตรวจสอบตามหลักการทางวิชาการ

 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ผมได้ฟังข่าวผลการจัดลำดับมหาวิทยาลัยของโลก ที่มีตัวชี้วัดที่ใช้หลายตัวด้วยกัน



ตัวสำคัญตัวหนึ่งที่กำลังใช้กันมากในเมืองไทยก็คือ



การตีพิมพ์และการอ้างอิง



ที่เป็นตัวชี้วัดที่ดีมากทั้งสองกรณี
เพราะการทำงานแล้วไม่กล้าตีพิมพ์หรือตีพิมพ์ไม่ได้ หรือแม้จะตีพิมพ์แต่ไม่มีคนนำไปใช้ย่อมไม่มีประโยชน์อะไร



ดังนั้น
จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะนำเกณฑ์ข้อนี้มาใช้เป็นตัวชี้วัดของความสำเร็จของนักวิชาการ



แต่น่าเสียดายว่าเรากลับนำหลักการมาใช้อย่าง “บิดเบือน”
เจตนารมณ์ของตัวชี้วัด



กล่าวคือ ผลงานทางวิชาการทั้งหลายนั้น



1.  ควรเป็นจริง มีประโยชน์ ใช้งานได้จริงๆ



2.  สามารถตรวจสอบได้ และนำไปสู่การตีพิมพ์ได้ อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ



3.  หลังจากตีพิมพ์แล้ว ผลงานได้มีการนำไปใช้ได้จริง
เป็นที่ยอมรับของสังคมทั่วไป



แต่ในทางปฏิบัติที่เราใช้กันอยู่นั้น
กลับแตกต่างจากเจตนารมณ์เดิมอย่างมากมาย เช่น



1.  ผลงานจะเป็นอย่างไรก็ได้ ขอให้ใช้วิธีการ และการตรวจสอบตามหลักการทางวิชาการ
ที่กลุ่มนักวิชาการกำหนดขึ้นมา โดยไม่จำเป็นต้องเป็นจริงในโลกแห่งความเป็นจริง



2.  การตรวจสอบผลงานก็ว่าตามตัวหนังสือ ที่จะเขียนอย่างไรก็ได้
ให้ถูกตามหลักที่วางไว้ เป็นอันว่าใช้ได้ ถูกหลักวิชาการแล้ว ไม่สนใจว่าความจริงเป็นอย่างไร



3.  อาจยังไม่มีการนำไปใช้จริง แต่อ้างกันไปมาระหว่างนักวิชาการ
โดยไม่จำเป็นต้องเป็นจริงหรือใช้ได้จริงในโลกแห่งความเป็นจริง
ถือว่าเป็นการนำไปใช้แล้ว ที่ใช้คำบิดเบือนทางวิชาการว่า
Citation ทั้งๆที่ เจตนารมณ์เดิมคือ การนำไปใช้ในชีวิตจริงๆ



ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ระบบการพัฒนาทางวิชาการส่วนหนึ่งที่ด้อยคุณภาพ
จึงมีความพยายามที่จะสร้างผลงาน “ตีพิมพ์” ให้ผ่านเกณฑ์ชี้วัด (KPI)
โดยจะทำอย่างไรก็ได้ เพียงเพื่อให้ผ่านเกณฑ์
แบบ “ผลัดกันเกาหลัง”
เพื่อเลี่ยงบาลีของ
โลกแห่งความเป็นจริง มาสู่โลกมายาของวงการวิชาการ แบบ ชงเอง ชิมเอง ให้รางวัลเอง ไม่มีการตรวจสอบจากภายนอก
โดยเฉพาะผู้ที่กำลังรอใช้ผลงานดังกล่าว



จึงเป็นที่มาของ “วิกฤติคุณภาพ”
ของสถาบันและระบบการศึกษา ที่พยายามจะแข่งขันกันโดยใช้ตัวชี้วัดแบบ “บิดเบือนเจตนารมณ์”
เพียงเพื่อเอาตัวรอด ใครจะเสียหายเท่าไหร่ช่างมัน



ถ้าทุกคนคิดอย่างนี้ แล้วเราจะฝากความหวังทั้งการศึกษา
และอนาคตของชาติไว้ที่ใคร



ผมฟังข่าวนี้ด้วยความรันทด และเศร้าใจ
ว่าระดับมันสมองของประเทศก็ยังมาหลงทางกับตัวชี้วัดที่บิดเบือน แล้วสังคมส่วนอื่นๆ
ก็ไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ ในการใช้ตัวชี้วัดที่บิดเบือน



เช่น คิดว่า
การมีเงินมากจะมีความสุข แล้วก็พากันวิ่งหาเงิน
เพื่อสร้างความสุขในชีวิตกันแบบเอาเป็นเอาตาย



และตัวชี้วัดที่บิดเบือนทางด้าน “ความบันเทิงและความสุข”
อีกหลายตัวในสังคม ก็มาในรูปแบบคล้ายๆกัน



ผมจึงขอคิดดังๆมาเพื่อหาแนวร่วมครับ



หมายเลขบันทึก: 507497เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2012 08:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ อ.แสวง

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ งานวิจัยควรจะถูกนำไปใช้จริง

และก่อให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องเกษตรกรจริงไม่ใช่เป็นงานวิจัยที่อยู่บนฮิงเฉยๆ 

ขอบคุณครับ

ตอนนี้ขึ้นหิ้งอย่างเดียวครับ อิอิอิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท