สำรวจปัญหา มองหาปัญญา พัฒนาความรู้


สวัสดีดีครับ สำหรับวันนี้มีข่าวที่ทำให้ใครหลายคนตกใจในเรื่องของการเลียนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเยาวชนที่ดูแบบอย่างจากละครที่กำลังเป็นข่าวในปัจจุบัน (อ้างอิง http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdOREF5TVRFMU5RPT0=&sectionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE1pMHhNUzB3TWc9PQ== )  อ่านข่าวนี้แล้วรู้สึกว่า เยาวชนไทยเราขาดการคิดพิจารณาืี่รอบครอบอะไรขนาดนี้ โดยส่วนตัวผมไม่โทษว่าเป็นความผิดเด็ก แต่รู้สึกว่า การศึกษาเราทำให้เด็กคิดเป็นจริงหรือไม่... ผมตั้งข้อสังเกตว่า ทุกวันนี้ เราจัดการเรียนการสอนคล้ายกับการ

ป้อนความรู้ลงคอมพิวเตอร์แล้วบันทึกไว้ ทำคล้ายกับการ ผุ้เรียนคือเครื่องจักรตัวหนึ่งที่ต้องเรียน จำ และนำไปใช้. (แล้วทักษะการคิดล่ะครับ..ไปไหน) ผมจึงอยากเห็นข่าวลักษณะแบบนี้เป็นึรั้งสุดท้าย ถ้าเราปรับรูปแบบการสอนใหม่ ให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเองมากขึ้น คิดมากขึ้น ครูควรพูดให้น้อยลง และที่สำคัญ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความชอบ ความสนใจของเีรียน ดังนโยบายที่ว่า ...การเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง...child center !!!


สำหรับบันทึกนี้ ผมจะพูดถึงโครงการ PBL ::Project based leaning (Physics for science teacher)

จากปัญหาและตัวเลขของการทดสอบทางการศึกษาทุกตัวชี้วัด บอกว่า นักเรียนไทยอ่อนในเรื่องของกาาคิดคำนวณ (แม้กระทั่งตัวผมเองก็อ่อนในรายวิชา Physicsเช่นกันครับ ) จึงอยากใช้ประสบการณ์บวกกับความรู้ที่มีในการศึกษาว่า .....ทำไมวิชานี้จึงยากในมุมมองของผู้เรียน ???  จากการสอบถามนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชื่อดังแห่งหนึ่งในจังหวัดหนองคาย สามารถสรุปสาเหตุได้ดังนี้

1. ไม่ชอบการคิดคำนวณ จึงส่งผลต่อรายวิชาฟิสิกส์

2.โดยรวมมองวิชา วิชายากแก่การเข้าใจ

3.ครูผู้สอนสอนไม่เข้าใจ ขาดทักษะในการอธิบาย (อาจถึงขั้นมีอคติต่อผู้สอนก็ว่่ได้)

4.ขาดการปลูกฝั่งพื้นฐานในการคำนวณที่ดี

และสุดท้าย 5.มองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ไม่รู้จะเรียนไปเพื่ออะไร

จากเหตุที่โดยส่วนใหญ่ที่สามารถสรุปออกมาได้นั้น เป็นเรื่องที่น่าตกใจเมื่อเด็กมองว่า ฟิสิกส์เป็นเรื่องไกลตัว ทั้งๆที่ศาสตร์แห่งวิทยาศาสตร์เกือบทุกแขนงล้วนแล้วมีต้นกำเนิดมาจาก ...ฟิสิกส์...
จากสาเหตุดังกล่าวผมมีความสนใจที่จะศึกษาว่า กระบวนการเรียนการสอนแบบใดที่เหมาะสมกับการเรียนวิชาฟิสิกส์มากที่สุด. โดย ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ บวกกับการทำงานแบบ PBL นี้ด้วย ซึ่งขั้นตอนแรกที่จะต้องทำคือ การกำหนดปัญหา. ซึ่งผมมีหัวข้อที่ต้องการศึกษาดังนี้

- ปัญหาการสอนฟิสิกส์ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม- รูปแบบการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ ของโรงเรียนในจังหวัดมหาสารคาม- ทัศนะคติที่เปลี่ยนไป เมื่อ มีการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ ในกรอบของวิชาฟิสิกส์ โดยใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยา และ แบบทดสอบทางวิชาการ- การเปรียบการสอนวิชา ฟิสิกส์ เรื่องกลศาสตร์เบื้องต้น ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน เช่น แบบบรรยาย แบบทดลอง แบบกลุ่ม แบบbackward design แบบPBL (Project based learning or problem based learning)- สื่อเทคโนโลยี กับ การเรียนรู้สมัยใหม่และอื่นๆอีกมากมายที่ต้องการศึกษา (หากท่านผู้อ่านมีข้อแนะนำประการใด กระผมยินดีน้อมรับครับ ขอเชิญร่วมกันแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ด้วยเพราะ ผมต้องการทำการศึกษาอย่างจริงจัง และนำไปใช้ได้จริง)
สำหรับ PBL วันนี้ก็มีเพียงเท่านี้ ขอขอบคุณครับ


จงเรียนเพื่อความรู้ เพราะเกรดเป็นเรื่องของครู ความรู้เป็นเรื่องของเรา

หมายเลขบันทึก: 507462เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2012 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 

ฟิสิกส์เป็นเรื่องไกลตัว.....แสดง ถึงไม่เข้าใจ....ที่แท้จริงนะคะ..เป็นห่วงวิชานี้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท