ท้อง แท้ง ทำไง วัยรุ่นไทยกับการมีเพศสัมพันธ์


 การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันของวัยรุ่น และการตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อม หรือแม้แต่การติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ล้วนเป็นประเด็นที่ดูเหมือนว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “ถ้ารักจริงเธอต้องยอมเป็นของฉัน” “ถ้าไม่ยอมแปลว่าไม่รัก” หรือ “ถ้าไม่ยอมจะไปหามีอะไรกันคนใหม่” ฯลฯ มากมายหลายคำที่จะนำมาพูดเพื่อจุดมุ่งหมายสู่การมีเพศสัมพันธ์โดยที่ฝ่ายหญิงบางครั้งไม่ได้ตั้งตัวหรือไม่มีทักษะที่ดีในการปฏิเสธ หรือ “รักหมดใจให้ทำอะไรก็ยอม” ซึ่งนำมาสู่ปัญหา ท้อง แท้ง ในวัยรุ่น ข้อมูลจากรายงานผลโครงการ Child Watch ปี 2552 พบว่า มีหญิงวัยรุ่นมาทำคลอด 67,958 คน ซึ่งใกล้เคียงกับปี 2551 ที่มีจำานวน 69,874 คน และเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ซึ่งมีเพียง 61,510 คน เด็กวัยรุ่นหญิงต้องเผชิญปัญหาทั้งทางด้านสังคมและสุขภาพ การท้องในวัยที่ร่างกายไม่พร้อม การตกเลือด เจ็บป่วยพิการ รวมถึงผลกระทบกับลูกที่เกิดจากแม่อายุน้อย ซึ่งจากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข แสดงให้เห็นว่าเด็กที่เกิดมามีน้ำหนักน้อยสัมพันธ์กับอายุของแม่ที่ตั้งครรภ์ แม่ที่มีอายุน้อยเด็กก็มีอัตราที่จะมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยไปด้วย และจากผลการศึกษาภาระโรคและสุขภาพของประชากรไทยปี 2552 พบว่า กลุ่มวัยรุ่นหญิงอายุ 15 – 29 ปี สูญเสียปีสุขภาวะจากการแท้งถึงประมาณ 4,512 ปี (DALYs) โดยแบ่งออกเป็นการสูญเสียชีวิตก่อนวันอันควร 785 ปี (DALYs) และการต้องอยู่อย่างเจ็บป่วยพิการ  3,727 ปี (DALYs) หรือประชากรหญิงอายุ 15-29 ปี หนึ่งแสนคนจะสูญเสียปีสุขภาวะไป 62 ปี (DALYs) นับเป็นการสูญเสียอันดับที่ 14 ในวัยรุ่นหญิงไทยอายุ 15-29 ปี ข้อคิดที่ดีที่อยากฝากไว้กับการมีรักในวัยรุ่น คงต้องคิดถึงความพร้อมที่จะรับในสิ่งที่เกิดขึ้น การเรียนรู้ทักษะการปฏิเสธเมื่อไม่พร้อม และรักตัวเองให้มาก ก่อนที่จะมอบความรักให้ใคร และการใช้ถุงยางอนามัยป้องกันหากมีเพศสัมพันธ์ คงต้องเป็นสิ่งที่ยอมรับและเรียนรู้กันให้มากขึ้น รวมถึงตระหนักเสมอว่าการตั้งครรภ์ที่เกิดจากการไม่ป้องกัน คงไม่ใช่ความรักที่ดีเพราะชีวิตไม่ได้มีแค่วันนี้แต่ยังต้องมีวันพรุ่งนี้ที่ต้องรับในสิ่งที่เกิดจากการกระทำของเราเองในวันนี้


แหล่งที่มา


รายงานการศึกษาภาระโรคและปัจจัยเสี่ยงระดับประเทศปี 2552

รายงานผลโครงการ Child Watch ปี 2552

รายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข

หมายเลขบันทึก: 507337เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2012 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

Teen moms ..... เป็นปัญหา ..... ระดับโลก แล้วหละค่ะ ..... ส่งใจ มาช่วยนะคะ

น่าจะช่วยกัน เฝ้าระวัง นำเสนอข้อมูล  การแท้งใน วัยรุ่น ก่อน 20 ปี  และ ท้อง ก่อน 20 ปี ที่มาใช้บริการ  รพ ของรัฐ

ในระดับ ชาติ  มีระบบ เฝ้าระวัง ข้อมูล ผป. ไข้เลือดออก   บอกว่า พื้นที่ไหน  จังหวัด อำเภอ ตำบล เสี่ยง  และ เข้าไป

เสริมพลัง การควบคุมโรค

กรณี unsafe sex  เชื่อว่า มี ภาระโรค มากกว่า ไข้เลือดออก  แต่ยังไม่มีระบบเฝ้าระวัง และ นำเสนอ สู่สาธารณะ ว่า

จังหวัดใด เสี่ยงสูงกว่า  อำเภอใด เสี่ยงกว่า

การสื่อสารให้ ชุมชนเสี่ยง ตระหนัก  ก็น่าจะได้รับความสนใจ และ มีส่วนร่วม ในการจัดการปัญหาสุขภาพ

เรามีดัชนี พัฒนาการ ของ จังหวัด หลาๆด้าน  ก็น่าจะทำดัชนีเสี่ยง ของ unsafe  sex   เปรียบเทียบ ปี ต่อ ปี ต่อจังหวัด



เรา รณรงค์ แต่ เราเฝ้าระวัง สถานการณ์จริง ได้อย่างไร และ ติดตามความก้าวหน้า เปรียบเทียบ พื้นที่เสี่ยงได้อย่างไร

การแท้ง ในวัยรุ่น ที่เข้ารับบริการใน รพ.   มีแนวโน้มอย่างไร   ภาคไหน หรือ จังหวัดไหน  มีอัตราการเพิ่มสูงกว่า

การคลอดของ มารดา ต่ำกว่า 20 ปี  สถานการณ์เป็นอย่างไร    จังหวัดไหน มากสุด  และ จังหวัดไหน ต่ำ  

แต่ละไตรมาศ เป็นอย่างไร

ผมคิดว่า ไข้เลือดออก   BOD ต่ำกว่า  unsafe sex    แต่พัฒนาระบบเฝ้าระวัง ไข้เลือดออกได้ และ นำเสนอสังคม เป็นระยะได้ทันกาล


ในระดับข้อมูลรายจังหวัด เราได้จัดทำข้อมูลในส่วนของภาระโรค ซึ่งจะเผยแพร่เร็วๆ นี้ค่ะ แต่ยังไม่มีในส่วนของปัจจัยเสี่ยง ทางคณะทำงานจะพยายามพัฒนาการนำเสนอให้ครอบคลุมและรวดเร็วตรงประเด็นยิ่งขึ้นนะคะ ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะทุกข้อเสนอแนะค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท