Good day Toronto 14


ฉันเชื่อว่าหากเราเอาใจใส่ และรับฟังเสียงเล็กๆ ที่บอกถึงความห่วงกังวลคนไข้ จะมีสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นในชีวิตคนไข้และพยาบาลเสมอ เหมือนที่ Sharon ทำอยู่

You are different. You make a difference

22 May

วันนี้ติดตาม Sharon อีกวัน ตอนเช้าซึ่งเป็น Palliative Care consult Team meeting  Sharon จะไปเยี่ยมคนไข้รายเดิมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จากการทบทวนประวัติ คนไข้คนนี้มาจากจาไมก้า มีปัญหาเรื่องการกลืน และปวด คนไข้ไม่สามารถกลืนอาหารได้มากนัก จากการทบทวนการใช้ยาและบันทึกทางการพยาบาลที่ผ่านมา Sharon พบว่าผู้ป่วยเริ่มกินได้บ้างแล้ว เธอคิดว่าจะเตรียมคุยกับผู้ป่วยเรื่องปรับยาแก้ปวดจากการฉีดเข้าเส้นแบบต่อเนื่องเป็นแบบกิน  ขณะที่แพทย์ประจำทีม Palliative Care consult Team บอก Sharon เรื่องหลานของคนไข้อายุ ๙ ปีที่รู้สึกผูกพันกับคนไข้  ทีมเลยปรึกษากันเรื่องการช่วยเหลือในการปรับตัวของหลานคนนี้หลังคนไข้เสียชีวิต Sharon จึงเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งสนับสนุนทางสังคมและจิตใจของเด็กที่สูญเสียพ่อแม่หรือผู้ใหญ่

หลังการประชุมทีม พวกเราก็แยกย้ายกันไปเยี่ยมคนไข้ที่ได้รับมอบหมาย  Sharon ทบทวนประวัติผู้ป่วยจากแฟ้มประวัติคนไข้อีกครั้ง และพูดคุยกับพยาบาลเจ้าของไข้ก่อนเข้าเยี่ยมคนไข้ เมื่อเข้าไปถึง พบว่ามีญาติมาเยี่ยมคนไข้เต็มไปหมด Sharon ยืนคุยทักทายคนไข้และญาติ สักพักญาติก็ถาม Sharon ว่าต้องการให้เขาอยู่ด้วยไหม ซึ่ง Sharon ก็บอกว่าแล้วแต่คนไข้ หากคนไข้ต้องการให้เรื่องที่จะคุยกันเป็นส่วนตัวหรือไม่ ซึ่งแล้วแต่คนไข้ คนไข้เลยให้ญาติออกไปเหลือเพียงน้องสาว เมื่อญาติออกไปแล้ว เธอก็เลือกนั่งเก้าอี้ใกล้เตียงผู้ป่วย แต่เริ่มคุยได้ครู่เดียว Sharonก็ขอเปลี่ยนที่เพราะว่าตำแหน่งที่นั่ง ทำให้ผู้ป่วยต้องเอี้ยวคอ จึงย้ายมานั่งในตำแหน่งที่ผู้ป่วยสามารถสบตาได้โดยตรง การสนทนาเป็นเรื่องประสบการณ์ความเจ็บป่วยที่ผ่านมา อาการที่เกิดขึ้น สอบถามว่าการจัดการอาการทางยาที่ผู้ป่วยได้รับเป็นอย่างไรบ้าง ผู้ป่วยบอกว่าดี สามารถควบคุมอาการปวดได้ดี แต่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของการรับประทานอาหารเพราะว่าผู้ป่วยบอกว่ารู้สึกไม่อยากกลืน แต่ไม่มีอาการคลื่นไส้ Sharon เลยสอบถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนยาเป็นยากิน แต่ว่า คนไข้บอกว่าขอเป็นยาฉีดดีกว่าเพราะว่าการกลืนคือความทุกข์มากๆ ตอนนี้กินได้ไม่มากนัก Sharon ก็เสนอทางเลือกเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเสริมเช่น ensure และบอกว่าหากผู้ป่วยย้ายไปอยู่ที่ palliative care unit แล้ว อาจจะใช้การฉีดยาแก้ปวดทางผิวหนัง?

เมื่อคุยเรื่องอาการเสร็จ เธอก็สอบถามเกี่ยวกับหลานที่ผูกพันกับผู้ป่วยและความเป็นห่วงเกี่ยวกับความรู้สึกสูญเสียและโศกเศร้าที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยจากไป ผู้ป่วยและพี่สาวก็บอกว่ากำลังคิดถึงเรื่องนี้ด้วย Sharon บอกว่าเธอเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ให้แล้ว และบอกว่าหน่วยงานนี้ให้ความช่วยเหลือดีมาก จากนั้นก็สอบถามเกี่ยวกับเรื่องทั่วไปเช่นออกไปข้างนอกบ้างหรือไม่ คนไข้ก็เล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ฟังด้วยใบหน้าสดชื่น ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ ๓๐ นาทีจากนั้น เธอก็กลับมาบันทึกข้อมูลและเขียนคำสั่งการรักษาต่อที่ nurse station เสร็จแล้ว ก็ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและลงท้ายโดยแวะไปบอกคนไข้อีกรอบว่าได้ทำอะไรหรือประสานงานเรื่องอะไรไปแล้วบ้าง รวมๆ แล้วเธอใช้เวลาทั้งกระบวนการดูแลประมาณ 1 ชั่วโมงต่อคน

ระหว่างเดินทางกลับมาที่สำนักงาน ช่วงพักเที่ยง (เกือบบ่าย) Sharon ถามฉันว่าเธอใช้เวลากับคนไข้มากไปหรือเปล่า ฉันตอบว่าไม่เพราะว่านั้นคือสิ่งที่คนไข้ต้องการ และเธอช่วยเติมเต็ม ตอบสนองความต้องการการดูแลของคนไข้ และนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เธอแตกต่าง เธอได้ทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น และทำให้เกิดความแตกต่างขึ้นในชีวิตของผู้ป่วย

 

ฉันเชื่อว่าหากเราเอาใจใส่ และรับฟังเสียงเล็กๆ ที่บอกถึงความห่วงกังวลคนไข้ จะมีสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นในชีวิตคนไข้และพยาบาลเสมอ เหมือนที่ Sharon ทำอยู่

      

น้ำตกไนเองการามองฝั่งแคนาดา

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 507015เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2012 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท