คาราวะด้วยความจริงใจ ดร.วีรพงษ์ , ดร.อัมมาร์ , ดร.อดิศร์


 

บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม 2555

ติดตามย้อนหลังได้ที่ลิงก์ข้างนี้ครับ

http://www.naewna.com/columnist/1104

คาราวะด้วยความจริงใจ ดร.วีรพงษ์ , ดร.อัมมาร์ , ดร.อดิศร์

ผมไปพม่าหลายวัน กลับมาได้ข่าวว่า ดร. วีรพงษ์ รามางกูร ให้สัมภาษณ์ไม่เห็นด้วย  เรื่องนโยบายจำนำข้าว ทั้งที่ตัวเองเป็นบุคคลที่รัฐบาลชุดนี้ยกย่องและนับถือ ว่าเป็นพวกเดียวกัน

            จึงขอคารวะความเป็นนักวิชาการของ ดร.วีรพงษ์ เรื่องข้าว

            ดร.วีรพงษ์เน้น ปัญหาจำนำข้าวคือ

§  ควบคุมการคอร์รัปชั่นไม่ได้

§  พ่อค้ากับเจ้าของโรงสีรวย ไม่ใช่ชาวนา

§  จำนำทำไมให้แพงกว่าราคาจริง มีแต่จำนำให้ถูกกว่าราคาจริง

§  กลไกตลาดถูกทำลาย ในตลาดขายข้าว

             ดร.อัมมาร สยามวาลา เป็นคนระมัดระวังเรื่องวิจารณ์นโยบายรัฐบาลแต่สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์พูดชัดเจนว่า รัฐบาลชุดนี้ดีแต่โม้ ท่านย้ำว่าโม้จริงๆ

§  โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ชื่อ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ บอกว่าขายข้าว G to G ได้ 7 ล้านตัน เป็นราคาโม้ เพราะถ้าขายได้จริงๆ ต้องมีการเคลื่อนไหวหลายด้าน เช่น ความต้องการของกระสอบข้าวหรือเรือที่มารับไปส่ง

§  ท่านเน้นว่า นโยบายเลิกก็พัง ไม่เลิกก็พัง เลยไม่รู้อันไหนดีกว่ากัน พังตอนนี้หรือพังช่วงหน้า

§  ที่รู้ๆกัน คือ ข้าวที่ส่งออกไปเป็นของเอกชนทั้งนั้น ของรัฐยังส่งออกไม่ได้เลยสักตัน

            ส่วน ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา จากนิด้าคงพูดไปแล้ว เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญ ขอชมเชยและรับแรงกดดันจาก เสื้อแดง (ปลอม) ที่ประท้วงหน้านิด้าได้อย่างมีศักดิ์ศรีขอให้กำลังใจ

            ผมพูดแล้วว่า ระบอบทักษิณทำทุกอย่างที่ใช้ พลัง ไม่ใช้คุณธรรมและปัญญา ต้องดูกันต่อไปว่า ประเทศไทยจะอยู่ได้ด้วยความถูกต้อง มีหลักเกณฑ์ เพื่อประเทศจะไปในทิศทางไหน? ในการใช้นโยบายอำนาจผิดๆ อาจทำให้ชาติล่มจมจนกระทั้งความเสียหายมากเกินกว่าที่จะแก้ไข

            งานของผมที่ไปประเทศพม่ามีหลายเรื่องที่จะแบ่งปันให้คนไทยทราบ

§   ข้อแรกก็คือ ขอขอบคุณ EGATi โดยเฉพาะ คุณสมบูรณ์ อารยสกุล รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และคุณวัชรา เหมรัชตานันต์ ที่กรุณาสนับสนุนงบการเงินส่วนหนึ่ง ทำให้ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศทำงานที่พม่าสำเร็จ

§   ขอขอบคุณ เอกอัครราชทูตไทย ณ.เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า ท่านพิษณุ สุวรรณะชฎ (H.E. Mr. Pisanu Suvanajata) มาเป็นเกียรติกล่าวในพิธีเปิด

§   ขอบคุณวิทยากรผู้มีเกียรติหลายท่าน เช่น ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ , ดร.ละเอียด ศิลาน้อย, ม.ร.ว.รุจยา อาภากร ทุกท่านมีธุระมาก แต่มีสปิริตสูงที่ไปร่วมงาน ทำให้งานระหว่างประเทศประสบความสำเร็จอย่างน่าภาคภูมิใจในสายตาชาวพม่า

§   สำคัญที่สุดคือ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าที่เน้น

§   Trust                           ความไว้เนื้อเชื่อใจ

§   Equality                      ความเสมอภาค

§   Mutual  Respect       การนับถือซึ่งกันและกัน

            รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมของพม่า H.E. Minister U Aye Myint Kyu ซึ่งผมรู้จักมานานกว่า 10 ปี แล้ว ได้ต้อนรับคณะเราอย่างสมเกียรติ

            การสัมมนาเรื่อง Cultural Conservation in Myanmar Cultural Heritage Sites and Culture as the Tourism Related” (1st – 3rd October 2012)  เน้น ทุนทางวัฒนธรรมที่จะเพิ่มมูลค่าทางการท่องเที่ยวของ 2 ประเทศ โดยแลกเปลี่ยนบทเรียนที่ดีและไม่ดี ซึ่งกันและกัน

            ผู้เข้ารับฟังของพม่าผ่านการคัดเลือกมาแค่ 50 – 60 คน เป็นข้าราชการของพม่าและนักวิชาการ ของมหาวิทยาลัยชั้นนำ กว่า 20 คน

            ผู้เข้าร่วมจากพม่ามีความตั้งใจสูงมาก ภาษาอังกฤษก็มีคุณภาพสูงดี ผิดกับคนไทยที่มองการสัมมนาไม่สำคัญ ไม่ได้นำไปต่อยอด

            พม่าเป็นประเทศที่เหมือนผู้หญิงสวยและรวย มีชายหนุ่มติดพันมากมาย

            แต่คนไทยที่จะเข้าไปมีความสัมพันธ์กับพม่าต้องศึกษาให้รอบคอบ เรื่อง

§   ประวัติศาสตร์

§   วัฒนธรรม

§   ประเพณี

§   ระบบการเมืองและเศรษฐกิจ

§   และเน้นการแบ่งปันอย่างเท่าเทียมกัน  อย่ามองพม่าเป็นขนมหวาน ให้นักธุรกิจไทยตักตวงผลประโยชน์ฝ่ายเดียว

            ท่านทูตบอกว่า นักธุรกิจไทยถามอยู่เรื่องเดียวคือ ค่าจ้างขั้นต่ำพม่าเท่าไหร่? ถูกจริงหรือ? ท่านทูตบอกว่า ควรจะมองว่าถ้าจ่ายค่าจ้างที่เหมาะสมให้คนงานพม่าอยู่ได้ ควรจะจ่ายเท่าไหร่? มากกว่าที่ใช้ค่าแรงถูกเป็นหลัก

            รัฐมนตรีของเขาต้อนรับเป็นอย่างดี และอยู่รับฟังตลอดเวลา หากไม่อยู่ก็ส่งรัฐมนตรีช่วยมาเป็นตัวแทน นำความประทับใจให้แก่คณะผู้แทนไทยอย่างมาก

 

            เรื่องอื่นๆ คือก่อนไปพม่า ผมมีโอกาสจัดสัมมนาให้สโมสรไลออนส์กรุงเทพรัตนชาติร่วมกับมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ เรื่องการอ่านกับการเตรียมตัวเข้าอาเซียน

            มีวิทยากรที่มีชื่อเสียงร่วมด้วยหลายท่าน  เช่น ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ , อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์ เป็นต้น

            เรื่องการอ่านเพื่อรองรับอาเซียนสอดคล้องกับปีหน้ากรุงเทพฯได้รับเลือกเป็นเมืองน่าอ่านของโลกจากยูเนสโกเหมาะกับสถานการณ์ คงไม่ใช่อ่านแค่ภาษาไทย แต่ต้องสนใจภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษและภาษอาเซียนด้วย

            อาจารย์ไกรฤทธิ์เสนอวิธีการอ่านไว้ 3 เรื่องถ้าไม่เคยอ่านหรือไม่ชอบอ่านจะเริ่มอย่างไร?

§  น่าจะเริ่มจากครอบครัว โดย พ่อ แม่ กระตุ้นให้ลูกอ่านร่วมกัน มีหนังสือดีๆให้ลูกได้อ่านในบ้าน และหลังจากนั้นก็ต้องเป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่กระตุ้นให้นักเรียนสนใจการอ่าน

หลังจากนั้น ประสิทธิภาพการอ่านคืออะไร?

§  อ่านสิ่งที่ตัวเองชอบและมีคุณค่าต่อตัวเราก่อนและจับประเด็นให้ได้

            เรื่องการอ่านเพื่อรองรับอาเซียน อาจารย์ไกรฤทธิ์บอกว่า ต้องยกระดับการอ่านให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียนเพื่อรองรับอาเซียน

            สำหรับผม

§  ผมอ่านเพราะผมมีความสุขและทำให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตกลายเป็นอุปนิสัยที่ฝังในตัวเรา

§  คุณพ่อเป็นผู้มีอิทธิพลต่อผมมาก

§  การไปเรียนต่างประเทศ โดยเฉพาะระดับปริญญาตรีที่นิวซีแลนด์ ทำให้ผมต้องฝึกการอ่าน เพื่อสรุปให้เป็น จับประเด็นเพื่อสอบให้ผ่าน

§  และสุดท้าย ผมแนะนำว่า ถ้าจะอ่านภาษาอังกฤษให้ดีและสนุกไม่ควรเรียนเฉพาะไวยากรณ์ ควรจะเรียนวรรณกรรมอังกฤษ โดยเฉพาะเรื่องศึกษาตัวละครเชคสเปียร์ประกอบไปด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศร่วมกับ บริษัท กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จัดสัมมนาเรื่อง Cultural Conservation in Myanmar Cultural Heritage Sites and Culture as the Tourism Related” โดยมี ท่านพิษณุ สุวรรณะชฎ เอกอัครราชทูตไทย ณ.เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมของพม่า H.E. Minister U Aye Myint Kyu ให้เกียรติมากล่าวและร่วมในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 1 – 3 ตุลาคม 2555 ณ เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

[email protected]

www.gotoknow.org/blog/chiraacademy

แฟกซ์0-2273-0181

 

หมายเลขบันทึก: 506840เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2012 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท