(ปาก)คนกัดเจ็บกว่ายุงจริงไหม


 
.
บิซเนส อินไซเดอร์ (Business Insider) ตีพิมพ์เรื่อง 'Malaria has come to Greece.'
= "มาลาเรีย (ไข้ป่า ไข้จับสั่น) มาถึงกรีซแล้ว", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.

.
ภาพที่ 1: แสดงพื้นที่สีแดงที่พบมาลาเรีย ส่วนใหญ่อยู่ในเขตร้อน [ wikipedia ]
 
.
.
ภาพที่ 2: แสดงการกัดของยุง มีการใช้ท่อแข็งคล้ายเปลือกของแมลง, ท่อแข็ง (stylets) ที่เป็นเข็มกลวงพัฒนาจากขากรรไกรบน-ล่างพบเฉพาะยุงตัวเมีย (ขากรรไกรแข็งในยุงตัวผู้จะฝ่อไป หรือไม่พัฒนาต่อเป็นท่อแข็ง) [ uga.edu ]
.
ยุงจะจูบคนเบาๆ โดยใช้ริมฝีปาก (labium) ที่เป็นท่อด้านนอกนุ่มๆ แตะผิวหนัง ซึ่งคนทั่วไปจะไม่รู้สึกรู้สาอะไรเลย
.
จากนั้นจะใช้ท่อแข็งด้านใน แทงเข้าไปจนถึงหลอดเลือดฝอย จากนั้นจะใช้ระบบสูบเลือดที่อยู่ในหัว-ปาก สูบเลือด
.
ขนาดของท่อแข็งที่เล็ก มีปลายแหลม และการแทงท่อแข็งอย่างรวดเร็ว จะไม่ทำให้คนทั่วไปเจ็บ (เข็มฉีดยาที่มีขนาดเท่ากันจะทำให้เจ็บได้มากกว่า เนื่องจากโลหะกระตุ้นปลายประสาทได้มากกว่าสารไคตินคล้ายเปลือกกุ้งที่เป็น ท่อเข็มของยุง)
.
ทว่า... การฉีดน้ำลายที่มีสารกันเลือดแข็งตัว ทำให้คนเกือบทุกคนแพ้ เกิดการระคายเคืองรุนแรง กระตุ้นประสาทรับความรู้สึกอย่างแรง ทำให้เกิดความรู้สึกแบบ "เจ็บๆ คันๆ ปนกัน"
.
สรุป คือ ยุงกัด(แทงเข็ม)ไม่เจ็บ แต่จะ "เจ็บๆ คันๆ" จากการแพ้น้ำลาย
.
.
ภาพที่ 3: ปลายเข็มของยุงตัวเมียมีรูปคล้ายตัว "วี (V-shaped)" เป็นท่อ 2 ท่อที่ประกบกัน... เวลาแทงจะทำให้เจ็บน้อยลงมาก เปรียบคล้ายใช้เข็มขนาดเล็ก 2 เล่มวางไว้ใกล้กัน แทงพร้อมกัน จะเจ็บน้อยกว่าใช้เข็มขนาดใหญ่ 1 เล่มแทง [ dailymail.co.uk ]
.
.
ภาพที่ 4: นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคันไซ โอซากา ญี่ปุ่นกำลังพัฒนาเข็มขนาดจิ๋วคล้ายปากยุง โดยใช้มอเตอร์สอดเข็มชั้นนอก 2 ชิ้นเข้าไปทีละชิ้น (ใช้หลักการเข็มเล่มเล็กเจ็บน้อยกว่าเข็มเล่มใหญ่) อย่างรวดเร็ว [ mixthenews.wordpress ]
.
เข็มชั้นนอก 2 ชิ้นประกบกันเป็นท่อจิ๋ว, จากนั้นจะมีการสอดท่อกลวงชั้นในสำหรับฉีดยา หรือสูบเลือดมาตรวจ เช่น ตรวจระดับน้ำตาล ฯลฯ ซึ่งจะเจ็บน้อยกว่าการใช้เข็มกลวงเล่มใหญ่แทงครั้งเดียวมาก
.
มีคำกล่าวว่า ชะตากรรมของบางคนมาเป็นชุดๆ แบบ "เคราะห์ซ้ำ-กรรมซัด" หรือ "ความวัวยังไม่หาย ความควายก็เข้ามาแทรก"
.
ช่วงนี้กรีซก็เจออะไรร้ายๆ หลายอย่าง ตั้งแต่มีหนี้มากจนแทบล้มละลาย ต้องขอความช่วยเหลือ ตัดงบประมาณ เศรษฐกิจถดถอย คนตกงาน และมาเจอยุงอีก
.
กรีซเป็นประเทศในยุโรปใต้ที่พบคนติดมาลาเรียครั้งสุดท้ายในปี 1974/2517 หรือ 38 ปีก่อน
.
การพบโรคติดต่อจากยุงอาจเป็นผลจากภาวะโลกร้อน ระบบการระบายน้ำเสียไม่ดี มีแหล่งน้ำขัง หรือมีคนหลบหนีเข้าเมืองจากอาฟริกาจำนวนมาก
.
9 เดือนแรกของปีนี้ (2555) กลับพบโรคติดต่อผ่านยุงเพิ่มจาก 0 รายเป็น 70 ราย
.
กรีซเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยว 16 ล้านคน/ปี มากกว่าประชากร 10.77 ล้านคน... การมีข่าวไข้ป่านับเป็นภัยคุกคามใหม่ที่อาจทำให้นักท่องเที่ยวไปกรีซน้อยลง [ CIA ]
.
กรีซมีรายได้จากภาคบริการ (service sector) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการท่องเที่ยว-เดินเรือ 85%, อุตสาหกรรม 12%, เกษตร 3%
.
การเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มเงินยูโรทำ ให้เงินกรีซแข็งขึ้น ความสามารถในการแข่งขันกับนานาชาติลดลง เช่น มีการสำรวจพบว่า โรงแรมกรีซแพงเป็น 3 เท่าของโรงแรมในตุรกี ฯลฯ ทำให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากไปเที่ยวตุรกีแทน หรือไม่ก็เที่ยวกรีซ แล้วข้ามไปพักโรงแรมในตุรกี
.
ตอนนี้วัย รุ่น-คนหนุ่มสาวในยุโรปใต้ โดยเฉพาะกรีซ อิตาลี สเปน โปรตุเกส พากันเดินทางออกไปหางานนอกประเทศ โดยทำแบบ 'downgrade' หรือยอมทำงานต่ำกว่าวุฒิการศึกษา
.
คนบราซิลท่านหนึ่งให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อก่อนคนบราซิลบินไปขายตัวที่โปรตุเกส-สเปน (บราซิลในภาษาโปรตุเกส ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายสเปน ทำให้หัดภาษาได้ไม่ยากนัก)... เดี๋ยวนี้คนโปรตุเกส-สเปน "บินกลับมาแล้ว"
.
ถ้าจะไปยุโรป, เรียนเสนอให้เช็คดีๆ ว่า ประเทศนั้นมียุงหรือไม่... บางทีการพกมุ้งกับยากันยุงไปอาจจะเป็นเรื่องจำเป็น
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

 

หมายเลขบันทึก: 506602เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2012 00:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 ตุลาคม 2012 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณนะคะ ได้ความรู้ใหม่อีกแล้ว ได้คำตอบว่าทำไมยุงกัดจึงไม่เจ็บ ถ้าพัฒนาเข็มเจาะเลือดโดยใช้การดูดเลือดของยุงเป็นต้นแบบเสร็จเมื่อไร คนไข้คงยิ้มได้มากนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท