เสริมศักยภาพแกนนำเครือข่ายครูสอนดี


พลังการขับเคลื่อนครูสอนดี

ดร.ฤทธิไกร(อ.ต๋อย) ครูอัจราวรรณ(ครูอ๋อย) ครูเพ็ญศรี(ครูติ๋ม) ครูจิรนันท์(ครูเล) ครูสุกัญญา(ครูกุ้ง)

เป็นคำถามที่ถามกับตัวเองตลอดเวลาว่า การขับเคลื่อนทักษะที่21 จะไปทิศทางไหน แค่ไหน อย่างไร

เรามีสมาชิกใหม่เพิ่มอีกสองคนคือ ครูเลกับครูกุ้ง...แต่เหมือนกับว่าเราคุ้นเคยกันมานาน

เมื่อสมาชิกครบ รถเคลื่อนจากมหาสารคามสู่กรุงเทพฯ ข้าพเจ้าถาม อ.ต๋อย ว่า

"อ.ต่อย ทิศทางการขับเคลื่อนเราไปทางไหน แค่ไหนกันแน่ จะลงสู่การปฏิบัติอย่างไร เพราะเท่าที่เราขับเคลื่อนมา มีแต่ให้รู้ ให้เข้าใจ มันยังไม่ลงสู่การปฏิบัติเลย"

   กลายเป็นคำถามที่พวกสนทนากันบนรถ สลับกับการสนทนาเรื่องจิตตปัญญา กับการนำไปใช้ 

16 ตุลาคม ตื่นแต่เช้าด้วยความตื่นเต้น ว่าเราจะไปเจอสถาการณ์อะไรบ้างหนอ..วันนี้

       ทีมวิทยากร  นำกระบวนการจิตตปัญญามาใช้ ทั้งวัน ภายใต้กรอบคำถามตัวเองตลอดรายการว่า

ทำไมไม่มีการสรุปแต่ละกิจกรรมให้เราเข้าใจนะ 

มีคำถามทำไมๆๆๆๆ ตลอดทุกกิจกรรม

ท้ายสุดกิจกรรมบ้าน สร้างคำถามในใจว่าถ้าเป็นพื้นที่ปลอดภัยทำไมต้องเป็นบ้าน ที่อื่นได้ไหม?

ข้อแลกเปลี่ยนว่า

     1.อย่างตัวดิฉันซึ่งถือว่ากำลังสืบค้น เรียนรู้เรื่องนี้พอดีเลย จะรู้ได้อย่างว่ากิจกรรมที่ทำ ความคิดความเข้าใจไปถูกทิศทางไหม  ถ้านำไปถ่ายทอดผิดละ  เกิดความไม่มั่นใจ  อย่าตอบว่าทุกอย่างไม่มีผิดไม่มีถูก  อย่างน้อยเราต้องรู้บ้าง เวลาไปวางกิจกรรม

   ใช่...หรือว่าเป็นความละเอียดอ่อน ที่มียะลามาด้วย  แต่ครู  ก็คือ ครู ยอมรับ ใจกว้างกับการเปลี่ยนแปลงได้ เพียงชี้แจงให้เข้าใจ

   2.กิจกรรมเรื่องเล่า พบข้อสังเกตว่าทำไมผลออกมามีแต่เล่าเรื่องความทุกข์ยากในอดีต มันเศร้า..น่าจะให้เล่าเรื่องที่ภูมิใจ ที่สุดสักเรื่อง..อย่างนี้ เป็นต้น..

  3. กับประเด็น ทำไมเด็กต้องมาโรงเรียน  มันคลุมเครือมาก

   วันที่ สอง

         ดึงพลังในตัวครูออกมาสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนครูสู่ทักษะศตวรรษที่21

          อายุ......ปี ครูทำอะไรอยู่ เริ่มที่ 25 ปี...โห  พบว่ากลุ่มเรามีน้องที่อายุน้อย  ขู่เข็นบังคับให้น้องจินตนาการมากไปไหม?

         กับคำถาม ถ้าคิดถึงตัวเองใน5 ปีข้างหน้า  ฉันคิดว่า?.......

          ขอวิพากษ์ว่า กิจกรรมนี้พวกเรามาวิเคราะห์กันว่าวิทยากรแต่ละกลุ่มสื่อความหมายผิดไหม?  เพราะแต่ละกลุ่มให้ความคิดถ่ายทอดไม่เหมือนกัน  มันเหมือนกับบรรยากาศเสียงที่ได้ยิน แล้วผู้เล่าออกนอกประเด็นแต่วิทยากรไม่พยายามนำเข้า

        พบบางอ้อว่า..คำถามที่เราถามกันมาในรถอยู่ตรงนี้เอง

เรามากำหนดเป้าหมายทิศทางการทำทาง(อิอิ..แสดงว่าเรา วัยรุ่น)

ถามน้องว่า วันนี้เห็นกระบวนการ อะไรไหม?...น้องงง.

 

        ช่วงเล่าประสบการณ์จัดPBL น่าจะบอกกันล่วงหน้าสักนิด จะได้ลำดับกระบวนการให้ครุครูเห็นชัดเจน (เป็นผลให้อาหารว่างคือแคนตาลูป คุณครูไม่กินแคนตาลูปเลย..ฮา  เนื่องจากไม่ได้เล่ากระบวนการเรียนรู้ของเด็ก การจัดการของครู)

 

ช่วงเย็น ช่วงเปิดใจซักถาม  ขอติงนิดหนึ่งว่า ทำไมไม่ปล่อยให้อ.ต๋อยพูดให้จบ เพราะคุณครูที่ถาม ท่านยังไม่เคลีย.. คุณครุเปิดประเด็นแล้ว ทีมงานคงลืมว่าเรามีน้องใหม่เข้ามาสองทีม เขายังไม่เคลีย  สังเกตไหมว่า ยังมีคำถามว่าPBL ในหนึ่งชั่วโมงได้ไหม?

วันที่สาม.  ชอบบรรยกาศตลาดนัดมาก ครุครูได้ซักถาม ได้พูดคุย  ที่มหาสารคามได้เปรียบเพราะมีหนูจำไมมาด้วสองตัว  วิ่งซัก สังเกต ให้ว่อนเลย...ฮา

AAR ตลอดเส้นทางกรุงเทพฯ มหาสารคาม....เป้าหมายที่ไม่ท้าทาย 10 โรงเรียนเสร็จเราแน่นอน

 

หมายเลขบันทึก: 506269เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2012 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ยอดเยี่ยมครับ ชื่นชมที่ไม่ได้ทำให้ผู้เข้ารับการอบรม เสวนา เป็นแค่ object ชอบบรรยากาศที่เล่าครับ

ขอบคุณทุกท่านที่แวะเป็นกำลังใจ กำลังศึกษาจิตตปัญญากับการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ค่ะ อ.วัฒนา มันเกลานักเรียนได้ดีมาก ค่อยๆ เติมลงไป ทีละนิด ดีมากค่ะ ที่ให้แนวการทางส่องประกาย ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท