ฉีดวัคซีนคุณแม่+คุณพี่... ดีกับคุณน้อง


.
สำนักข่าว Reuters ตีพิมพ์เรื่อง 'Family whooping cough shots may protect babies'
= "ฉีดวัคซีนไอกรนทั้งบ้าน (ครอบครัว) ช่วยป้องกันเด็ก(ทารก)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
  • [ whoop ] > [ ฮูพ - p/ผึ(เสียงเบา-สั้น) ] หรือ [ วูพ - p/ผึ(เสียงพ่นลม-เบา-สั้น) ]http://www.merriam-webster.com/dictionary/whoop; หรือ http://www.thefreedictionary.com/Whoop > noun, verb = เสียงโห่ร้องด้วยความยินดี เสียงนกฮูก ไอกรน
  • [ cough ] > [ ค่อฟ - f/ฝึ(เสียงพ่นลม-เบา-สั้น) ] > http://www.thefreedictionary.com/Whoop > noun = (การ)ไอ
  • [ whooping cough ] = pertussis = ไอกรน
ทั้งเสียง 'whoop' & 'cough' น่าจะเป็นเสียงเลียนแบบเสียงจากธรรมชาติ คล้ายๆ กับสำนวนไทยที่ว่า "ไอคร่กๆ" คือ คนไทยสมัยก่อนได้ยินเสียงไอเป็น "คร่ก คร่ก", ชาวอังกฤษสมัยก่อนได้ยินเป็น "ค่อฟ ค่อฟ"
การศึกษา ใหม่พบว่า การฉีดวัคซีน (vaccine) ให้คุณแม่ (moms) และพี่ๆ (older siblings; sibling = sib = พี่น้อง พี่น้องพ่อเดียวกัน-แม่ต่างคน พี่น้องแม่เดียวกัน-พ่อต่างคน) หรือเด็กๆ รุ่นพี่ในบ้านช่วยป้องกันเด็กๆ รุ่นน้องจากไอกรนได้
.
ไอกรนทำให้ผู้ใหญ่ไอนาน เช่น ไอเป็นสัปดาห์ ไอเป็นเดือน ฯลฯ ได้ ทว่า... ส่วนใหญ่จะไม่ร้ายแรงถึงตาย
.
ทว่า... โรคนี้ทำให้ทารกต่ำกว่า 1 ปี (newborns/babies) ป่วยหนักได้
.
ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านแนะนำให้ฉีดวัคซีนทั้งบ้านไปเลย เพื่อป้องกันการติดโรคจาก "ผู้ใหญ่-เด็กโต" ไปสู่ "เด็กเล็ก" 
.
วิธีการนี้คล้ายกับการห่อดักแด้ ด้วยใยไหม (cocooning) ที่ช่วยป้องกันตัวอ่อนจากความร้อนหนาว มด แมลง และแมงหลายชนิดที่จะไปกิน หรือทำร้ายทารกไหม (ตัวอ่อน)
.
ทางเลือกอื่นๆ คือ ต่อไปอาจพัฒนาวัคซีนสำหรับว่าที่คุณแม่ (pregnant women) เพื่อป้องกันโรคให้คุณลูก
.
อ.ดร.เจเนท อิงลันท์ (Janet Englund) อาจารย์หมอเด็ก ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อ จากโรงพยาบาลเด็กซีแอทเทิว กล่าวว่า ความร้ายของไอกรน คือ ทำให้เด็กต่ำกว่า 1 ปีเสียชีวิตได้
.
.
อ.มิเกว วาน โบเวน จากศูนย์โรคติดเชื้อ บิวโตเฟน เนเธอร์แลนด์ ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างครอบครัว 140 แห่ง ติดตามไป 3 ปี
.
ผลการศึกษาพบว่า เด็กทารก (infants = ไม่เกิน 1 ปี) มีโอกาสติดเชื้อไอกรนดังนี้
  • 40% ถ้าคุณแม่มีเชื้อนี้
  • 15-20% ถ้าคุณพ่อ หรือคุณพี่ๆ มีเชื้อนี้
สรุป คือ การฉีดวัคซีนให้คุณแม่ หรือคุณพี่ๆ ดูจะมีผลในการป้องกันโรคมให้คุึณน้องมากกว่าการฉีดวัคซีนให้คุณพ่อ
.
CDC (ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค สหรัฐฯ) รายงานว่า ปี 2554 มีรายงานโรคไอกรนในสหรัฐฯ เกือบ 19,000 ราย ตายไป 13 ราย
.
โอกาสตาย 13/19,000 = 0.07% = 7/10,000 = ถ้าป่วย 10,000 คน จะพบตาย 7 ราย
.
และคนที่ตายเป็นเด็กอายุไม่เกิน 1 ปีหรือทารก 11 ราย ใน 13 ราย = 84.62% เป็นทารก
.
.
จำนวนคนไข้จริงน่าจะมากกว่านี้ เนื่องจากอาการไอพบในโรคอื่นอีกหลายโรค ทำให้หมออาจวินิจฉัยเป็นโรคอื่น เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดบวม ฯลฯ
.
CDC แนะนำให้ฉีดวัคซีนรวมที่มีไอกรนผสมอยู่ด้วย (DTaP) ตอนอายุ 2, 4, 6 เดือน และอีก 2 ครั้งในวัยเด็ก
.
ถ้าอยู่เมืองไทย... สบายมาก เพราะตอนฝากท้องคลอดจะมีสมุดประจำตัวคุณแม่-คุณลูก เปิดดูตามนั้น และไปฉีดวัคซีนตามนัด
.
ช่วงก่อนวัยรุ่น (preteens; pre- = ก่อน; -teen/teenage = วัยรุ่น 13-19 ปี; รวม = ก่อนอายุ 13 ปี)  หรือช่วง "ทีน (teens)" อาจฉีดวัคซีนผสมที่มีไอกรนเพิ่มเข้าไปได้ (ห้ามเรียกว่า พวก "ตีน" เพราะอาจโดนพวกตีนตึ้บ หรือทำร้ายได้)
.
อ.ดร.อิง ลันด์ แนะนำให้ท่านที่ตั้งใจจะเป็น "ว่าที่คุณแม่-คุณพ่อ" หรือคิดจะมีลูก ปรึกษาหมอที่ดูแล เพื่อพิจารณาฉีดวัคซีนกระตุ้น (booster shot)
.
ประเทศที่มีเพื่อนบ้านติดกันหลาย ประเทศ เช่น ไทย ฯลฯ น่าจะปรึกษาหารือกับเพื่อนบ้าน เพื่อพิจารณาทำโปรแกรมฉีดวัคซีนป้องกันโรคร่วมกัน เพราะจะได้ผลในการป้องกันโรคดีขึ้น
.
.
และเรื่องที่ ลืมไม่ได้ คือ การล้างมือด้วยสบู่ หรือถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ก่อนกินอาหาร-ดื่มน้ำ, ก่อนเข้าบ้าน, หลังเข้าห้องน้ำ-ใช้ของร่วมกับคนอื่น ลดเสี่ยงโรคติดเชื้อได้มาก
.
การลงทุนทำซิ้งค์น้ำ (อ่างล้างมือ), เตรียมสบู่ไว้ล้างมือก่อนเข้าบ้านทุกครั้งทุึกคน เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับบ้าน สำนักงาน โรงงาน
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • Thank Reuters > SOURCE: bit.ly/RfKKJp Epidemiology, online September 26, 2012.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 19 ตุลาคม 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

 

หมายเลขบันทึก: 506253เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2012 08:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2012 08:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท