การจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาด้วยวิธีการเชิงระบบ (System Approach)


ระบบ (System) หมายถึง ชุดหรือการรวมตัวของส่วนย่อยหรือองค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน ทำให้เกิดสิ่งรวมหรือเป็นสิ่งหนึ่งเฉพาะ หรือเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง

              กองวิจัยทางการศึกษา  (2542, หน้า 25  อ้างอิงใน กรมวิชาการ, 2543ข, หน้า 73)  กล่าวว่า  การศึกษาแนวความคิดการจัดการเชิงระบบ   มีลักษณะที่ควรทำความเข้าใจดังนี้

              1.  ลักษณะโดยทั่วไปของระบบ

                     ระบบ  (System)  หมายถึง  ชุดหรือการรวมตัวของส่วนย่อยหรือองค์ประกอบต่างๆ ที่มี              ความสัมพันธ์กัน  ทำให้เกิดสิ่งรวมหรือเป็นสิ่งหนึ่งเฉพาะ  หรือเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง

              2.  วิธีการเชิงระบบ  (System Approach) 

                     ทัน  บุน  ที  (Tan boon Tee  อ้างอิงใน  อ้างอิงใน กรมวิชาการ, 2543ข, หน้า 73) กล่าวว่า วิธีการเชิงระบบเป็น  วิธีการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของระบบในเรื่องการค้นหาปัญหา การแก้ปัญหาและใช้ความคิดเชิงระบบในการตัดสินใจแก้ปัญหา

                    ในการประชุมปฏิบัติการของ UBESCO ที่กรุงเทพฯ เรื่อง System approach to Education – Teacher In Service Program  เมื่อปี  1979  กล่าวว่า  “System Approach  เป็นกระบวนการสำหรับใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลในการแก้ปัญหาอย่างหนึ่งโดยเป็นเทคนิคในการที่จะเข้าใจ  ทำนายและควบคุมในเชิงปฏิสัมพันธ์  และเกี่ยวข้อสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของส่วนย่อย  หรือองค์ประกอบของระบบในสถานการณ์หนึ่งๆ  เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์  ที่ตั้งไว้โดยเฉพาะ”

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้

                การสอนด้วยวิธีการเชิงระบบ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

                1.  ปัญหา  เป็นขั้นที่ครูเสนอปัญหาที่เตรียมไว้ในรูปของการนำเสนอภาพข่าว การเล่านิทาน   บทบาทสมมติ  จากนั้นดึงค่อยดึงปัญหาเข้ามาสู่ตัวผู้เรียน

                2.  ทำนายผลหรือบอกผลที่เกิดขึ้น  เป็นขั้นของการให้นักเรียนคิดถึงผลเสียที่เกิดขึ้นจากปัญหา

                3.  วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา  เป็นการคิดหาสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาในขั้นที่ 1

                4.  กำหนดเป้าหมายหรือความต้องการ  เป็นการกำหนดเป้าหมายหรือความต้องการ

                5.  การหาทางเลือก  เป็นขั้นของการให้นักเรียนร่วมกันระดมความคิดเพื่อหาวิธีการต่างๆ   ที่จะทำให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการ  ในขั้นนี้ถ้าครูเห็นว่าทางเลือกที่นักเรียนร่วมกันเสนอ          ยังไม่กว้างพอ  ครูอาจเสนอทางเลือกเพิ่มเติมให้กับนักเรียน  ซึ่งในการเสนอทางเลือกเพื่อแก้ปัญหานั้นควรคำนึกถึงสาเหตุของการแก้ปัญหาด้วย

                6.  ประเมินทางเลือก  เป็นขั้นที่สำคัญมากในกระบวนการแก้ปัญหา  เพราะต้องใช้ข้อมูลและเหตุผลที่ดีมาประกอบการพิจารณา  เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของทางเลือกแต่ละวิธีและควรเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ในการปฏิบัติ

                7.  การตัดสินใจ  เป็นการตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

                8.  การวางแผน  เป็นการเตรียมตัวหรือกำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติตามสิ่งที่ตัดสินใจ

ไว้แล้วในขั้นตอนที่  7

                9.  ทดลอง  เป็นการนำสิ่งที่ตัดสินใจไว้แล้วในขั้นตอนที่ 7  มาศึกษาแนวทางการปฏิบัติแล้วลองปฏิบัติดูถ้าปฏิบัติแล้วไม่ได้ผล  ให้ลองพิจารณาดูว่ายังบกพร่องหรือผิดพลาดในเรื่องใด

                10.  ปรับปรุง  เป็นการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ  ในข้อ 9 ให้ดีขึ้น  แล้วจึงนำไปปฏิบัติใน  ขั้นที่  11

                11.  ปฏิบัติจริง ในขั้นนี้เป็นขั้นปฏิบัติในสถานการณ์จริงหรือในขอบเขตที่กล้าวกว่าใน    ขั้นการทดลอง

                12.  ประเมินผล  เป็นการติดตามเฝ้าดูการปฏิบัตินั้นว่าเป็นอย่างไร  แล้วสรุปว่าได้ผลหรือไม่ได้ผลอย่างไร  ซึ่งอาจมีเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน  เชื่อถือได้  และตรงประเด็นกับสิ่งที่ต้องการจะวัด  เพื่อป้องกันการลำเอียงต่างๆ

 

หมายเลขบันทึก: 506006เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2012 00:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ตุลาคม 2012 00:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท