๑๔ ตุลา ประชาธิปไตยกับการปกป้องทรัพยากรชุมชน


ความยุติธรรมเป็นอุดมคติที่ไม่ควรมองในมุมตามที่กฎหมายบางตัวบัญญัติ เนื่องจากกฎหมายมีหลายตัว ผู้บังคับใช้กฎหมายเลือกที่จะไม่นำสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนุญ ซึ่งเป็นสิทธิตามธรรมชาติของชุมชนมาปรับใช้...นี่คือคำถามที่ถูกตั้งกลับไปว่าความยุติธรรมในสิทธิชุมชน...ผู้ทรงสิทธิชุมชนคือผู้กำหนดชะตากรรมในวิถีชุมชนของตนเอง (self-determination) ใช่หรือไม่

๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ ข้าพเจ้าได้มีโอกาสมาร่วมไว้อาลัยกับญาติวีรชนผู้กล้าหาญ เราอาจไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ แต่เสียงเล่าขานและเสียงร่ำไห้ต่อความสูญเสียของพลังบริสุทธิ์ที่เสียสละเพื่อประชาธิปไตยในวันนี้ ทำให้เราไม่ควรปล่อยให้เป็นแค่วันธรรมดาวันหนึ่งในปีปฏิทิน

 

       พลังนิสิต นักศึกษา ปัญญาชน ประชาชนที่บริสุทธิ์ โดยเรามองไม่

          เห็นว่ามีผลประโยชน์ส่วนตัวทางการเมืองใด ๆ แอบแฝงเลย

      

                                            พิธีสงฆ์

 

         

              ตัวแทนนักศึกษาแสดงความคารวะดวงวิญญาณผู้เสียสละ

 

สาเหตุอีกประการหนึ่ง ข้าพเจ้าประสงค์ที่จะมาว่าฟังปาฐกถาเรื่องประชาธิปไตยกับการปกป้องทรัพยากรชุมชน ณ อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา ๑๖ (สี่แยกคอกวัว)

 

        

            องค์ปาฐกคือคุณจินตนา แก้วขาว  ประธานกลุ่มอนุรักษ์ 

      ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด จ. ประจวบคึรีขันธ์ 

 

ต่อไปนี้เป็นคำกล่าวของคุณสุนี ไชยรส ที่ให้ภาพเจตนารมณ์ ๑๔ ตุลา ประชาธิปไตยเต็มใบ

 

 

                   "เจตนารมณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖ คืออะไร?  แม้เหตุการณ์จะเริ่มต้นจากการต่อสู้ของนักเรียนนักศึกษาเพื่อคัดค้านอำนาจเผด็จการต่อ “๑๓ กบฏรัฐธรรมนูญ”แต่ขบวนต่อสู้สามารถพัฒนากว้างใหญ่ และมีประชาชนเข้าร่วมอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ  แม้ถูกปราบปรามอย่างหนัก แต่การต่อสู้ก็มิได้จบสิ้นลง จึงเป็นชัยชนะที่เป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์ทางการเมืองครั้งสำคัญ

                   นั่นคือ นักศึกษาประชาชนได้สะสมความไม่พอใจต่อระบอบเผด็จการที่ยาวนาน  ใช้อำนาจลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างรุนแรง กลุ่มทหาร ตำรวจ ข้าราชการที่ครองอำนาจ กอบโกยโกงกิน ร่วมกับกลุ่มทุน เจ้าที่ดิน และกดขี่เอาเปรียบต่อกรรมกร ชาวนา รวมทั้งผู้ยากไร้ อย่างแสนสาหัส  ซึ่งขบวนนักเรียนนักศึกษาก่อน ๑๔ ตุลา ๑๖ก็ได้เริ่มตระหนักถึงอุดมการณ์ที่จะต้อง “รับใช้ประชาชน”

 

                  หลัง ๑๔ ตุลา ยิ่งสะท้อนภาพชัดเจนว่า  การมีรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งยังไม่สามารถแก้ปัญหาโครงสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม  และการกดขี่ ที่หนักหน่วง จึงเกิดการรวมตัวต่อสู้ของกรรมกร ชาวนา ผู้ยากไร้ ทั่วประเทศ  ทั้งเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปที่ดิน ค่าแรง จนถึงการคัดค้านเขื่อน การทำเหมืองแร่ ฯลฯ  ประสานกับนักเรียนนักศึกษาปัญญาชนเกิด“สามประสาน”อย่างกว้างขวาง และมีพลัง จนกลุ่มสูญเสียประโยชน์ร่วมกันปลุกกระแสขวาพิฆาตซ้าย และการปราบปรามที่โหดร้าย ในกรณี ๖ ตุลา ๑๙  …

 

                   เจตนารมณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖ จึงเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่มิใช่เพียงเพื่อประชาธิปไตยทางการเมือง เพื่อรัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้งเท่านั้น แต่เพื่อการแก้ไขปัญหาของประชาชนผู้ถูกกดขี่ ที่ต้องการประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ และสังคม ต้องการความเป็นธรรม  และประชาธิปไตยทางการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง นั่นคือ การมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ และเป็นเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่นด้วยจิตใจกล้าต่อสู้ กล้าเสียสละ  มิใช่การร้องขอ….

                  เจตนารมณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖  คืออะไร?  แม้เหตุการณ์จะเริ่มต้นจากการต่อสู้ของนักเรียนนักศึกษาเพื่อคัดค้านอำนาจเผด็จการต่อ “๑๓ กบฏรัฐธรรมนูญ”แต่ขบวนต่อสู้สามารถพัฒนากว้างใหญ่ และมีประชาชนเข้าร่วมอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ  แม้ถูกปราบปรามอย่างหนัก แต่การต่อสู้ก็มิได้จบสิ้นลง จึงเป็นชัยชนะที่เป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์ทางการเมืองครั้งสำคัญ

                   นั่นคือ นักศึกษาประชาชนได้สะสมความไม่พอใจต่อระบอบเผด็จการที่ยาวนาน  ใช้อำนาจลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างรุนแรง กลุ่มทหาร ตำรวจ ข้าราชการที่ครองอำนาจ กอบโกยโกงกิน ร่วมกับกลุ่มทุน เจ้าที่ดิน และกดขี่เอาเปรียบต่อกรรมกร ชาวนา รวมทั้งผู้ยากไร้ อย่างแสนสาหัส  ซึ่งขบวนนักเรียนนักศึกษาก่อน ๑๔ ตุลา ๑๖ก็ได้เริ่มตระหนักถึงอุดมการณ์ที่จะต้อง “รับใช้ประชาชน”

                   หลัง ๑๔ ตุลา ยิ่งสะท้อนภาพชัดเจนว่า  การมีรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งยังไม่สามารถแก้ปัญหาโครงสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม  และการกดขี่ ที่หนักหน่วง จึงเกิดการรวมตัวต่อสู้ของกรรมกร ชาวนา ผู้ยากไร้ ทั่วประเทศ  ทั้งเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปที่ดิน ค่าแรง จนถึงการคัดค้านเขื่อน การทำเหมืองแร่ ฯลฯ  ประสานกับนักเรียนนักศึกษาปัญญาชนเกิด“สามประสาน”อย่างกว้างขวาง และมีพลัง จนกลุ่มสูญเสียประโยชน์ร่วมกันปลุกกระแสขวาพิฆาตซ้าย และการปราบปรามที่โหดร้าย ในกรณี ๖ ตุลา ๑๙  …

                   เจตนารมณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖ จึงเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่มิใช่เพียงเพื่อประชาธิปไตยทางการเมือง เพื่อรัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้งเท่านั้น แต่เพื่อการแก้ไขปัญหาของประชาชนผู้ถูกกดขี่ ที่ต้องการประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ และสังคม ต้องการความเป็นธรรม  และประชาธิปไตยทางการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง นั่นคือ การมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ และเป็นเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่นด้วยจิตใจกล้าต่อสู้ กล้าเสียสละ  มิใช่การร้องขอ…."

 

การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ตราบใดที่ความยุติธรรมในกฎหมายยังถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับความชอบธรรมและการบังคับใช้อย่างไม่เท่าเทียมกันระหว่างกลุ่มทุนและกลุ่มประชาชนชาวบ้านธรรมดาสามัญ  คุณจินตนา แก้วขาว คือตัวแทนภาคประชาชนที่แสดงให้เห็นถึงการต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากรชุมชน แม้ว่าสิ่งที่ทำจะนำไปสู่คุกที่กักขังตัว แต่หาได้กักขังวิญญาณไม่

 

         

                        "หนูยอมรับโทษ แต่ไม่ยอมรับผิด"

                      ประโยคทองของคุณจินตนา แก้วขาว

 

 

ศาลฎีกาพิพากษาตัดสินลงโทษจำคุกเธอข้อหาบุกรุกในบริเวณที่ดินจัดงานเลี้ยงของบริษัทกลุ่มทุน เป็นเวลา ๔ เดือน ทั้งที่ พื้นที่บริเวณเดียวกันนี้ ในเวลาต่อมามีหมายศาลเรียกเจ้าหน้าที่ที่ดินในข้อหาออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินสาธารณะให้แก่บริษัทกลุ่มทุน ... หมายความว่าที่ดินที่พิพาทนี้ เธอได้บุกรุกจริงหรือไม่? ในเมื่อความเป็นเจ้าของที่ดินยังเป็นที่กังขา ในอีกแง่มุมหนึ่ง ไม่ว่าจะบุกรุกหรือไม่ สิ่งที่เธอทำไม่ใช่เพื่อส่วนตัว ไม่ได้มีเจตนาร้ายเข้าไปรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข   เธอทำเพื่อส่วนรวม...ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน

 

หากเข้าไปสัมผัสชีวิตการต่อสู้ของชาวบ้านอย่างแท้จริง จะเห็นว่าพวกเขาได้พยายามอย่างถึงที่สุดโดยปราศจากอำนาจใด ๆ ที่จะยื่นมือมาช่วยเหลือในการเข้าไปต่อรองกับอำนาจที่เหนือกว่า แม้ว่าจะผ่านสนามต่อสู้จนเข้าไปอยู่ในคุกและพ้นโทษออกมาแล้ว เธอก็บอกว่าไม่เข็ด ไม่ท้อ และเธอก็รู้สึกว่าเธอชนะ...เสียงปรบมือดังกึกก้อง...ความยุติธรรมเป็นอุดมคติที่ไม่ควรมองในมุมตามที่กฎหมายบางตัวบัญญัติ เนื่องจากกฎหมายมีหลายตัว ผู้บังคับใช้กฎหมายเลือกที่จะไม่นำสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนุญ ซึ่งเป็นสิทธิตามธรรมชาติของชุมชนมาปรับใช้...นี่คือคำถามที่ถูกตั้งกลับไปว่าความยุติธรรมในสิทธิชุมชน...ผู้ทรงสิทธิชุมชนคือผู้กำหนดชะตากรรมในวิถีชุมชนของตนเอง (self-determination) ใช่หรือไม่

 

          

               

                   คำกล่าวปาฐกถาของเธอในวันนี้มีพลังอย่างมาก 

      โดยจะได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศเพื่อเผยแพร่ไปทั่วโลก

    ตัวอย่างของนักต่อสู้เพื่อพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

     

                คุณจินตนา แก้วขาว รับรางวัลจากมูลนิธิ ๑๔ ตุลา

 

      

 

            

 

          

         

 

                  

                                

           รางวัลแด่สตรีตัวอย่าง นักต่อสู้ประชาธิปไตยเพื่อสิทธิชุมชน

 

                               -------------------------------------   

 

หมายเลขบันทึก: 505645เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2012 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2012 08:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอมอบเพลงนี้ แด่ นักต่อสู้ประชาธิปไตยเพื่อสิทธิชุมชน ทุกท่านครับ

เคยพบตัวจริงของคุณจินตนาที่บ้านกรูดเมื่อหลายปีก่อน

ชื่นชมในหัวใจของเธอมากจริงๆ เลยครับ

พี่ชาย...เป็นคนเดือนตุลาฯครับ...คือในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 19 น่ะครับ

ตอนนั้นเป็นนักกิจกรรม ฯ รองนายก 18 สถาบัน ฯ , ประธาน นส. ภาคอีสาน ฯ

จึงเข้าใจบทความนี้ได้ค่อนข้างมาก ๆ ครับ

ขอชมว่า...บันทึกได้ สมเจตนารมณ์ .. " แด่เธอ ผู้เสียสละ " ครับ

ศรัทธา นะครับ

พี่ชาย ชยพร   แอคะรัจน์

กักขังฉันเถิดกักขังไป ขังตัวอย่าขังหัวใจดีกว่า........

บทบาทของสตรีมีมากขึ้นทุกวัน  เราต้องยอมรับความเท่าเทียมกัน

ขอชื่นชมด้วยคนนะคะ....

พูดเรื่องกฎหมายนึกขึ้นได้ ขออนุญาตเรียนถาม อ.ค่ะ มีเพื่อนคนหนึ่งเขาขายแผ่นรองเม้าส์ การ์ตูน โดเรมอน มีกลุ่มชายหลายคนมาพร้อมตำรวจแจ้งจับว่า ละเมิดลิขสิทธิ์ พอเขาถามขอดูบัตรผู้แทนลิขสิทธิ์ชายกลุ่มนั้นก็ไม่ให้ดู ทั้งขู่ว่าให้ไปพบร้อยเวรคนนี้เท่านั้น พวกนั้นก็ถ่ายรูปบัตรประชาชนของเขาไปด้วย เขาร้อนใจมาก ทั้งๆ ที่แผ่นรองเม้าส์แค่ 3 แผ่น ขออนุญาตเรียนถามเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวค่ะท่านว่า หากมีการเอาโทษ จะปรับมากน้อยเพียงใดคะ ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท