กลวิทย์


กว่าจะทำได้

จุดเริ่มต้นของการทำกิจกรรมการแสดงทางวิทยาศาสตร์ science Show (กลวิทยาศาสตร์)ผมได้ไปดูงานสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ปี 2549 ที่ อ.สีคิ้ว (ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครราชสีมา) ไปพบเห็นการแสดงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากมาย เช่น เดินบนเศษแก้ว ลูกปิงปองลอยในอากาศ และปี 2550 มีการแข่งขันการแสดงทางวิทยาศาสตร์ ผมได้ส่งการแสดงทางวิทยาศาสตร์เพื่อเข้าแข่งขัน  นักเรียนที่ผมฝึกได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1  (ระดับจังหวัด) ทำให้ผมดีใจมาก หลังจากนั้นปี 2551-ปี 2555 ผมส่งแข่งขันวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศทุกปี จนกระทั้งปัจจุบันและได้เป็นตัวแทนสำนักงานเขตพื้นที่ ฯ ไปแข่งขันระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือทุกปี และปี 2551 ได้รับรางวัลเหรียญทองชนะเลิศอันดับที่ 1 ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดนครราชสีมา ที่ผมประสบความสำเร็จนั้น มีแรงบัลดาลจากการดูงานวิทยาศาสตร์ที่ อ.สีคิ้ว และเป็นเรื่องที่สนใจ การคัดเลือกเด็กที่แสดงต้องเลือกตั้งแต่ ป.4 เพื่อฝึกซ้อมประจำ ต้องฝึกลีลาการแสดงของเด็กให้ตื่นเต้นเร้าใจเพื่อให้ผู้ชมสนใจ ชุดแต่งกายต้องไม่รุ่มร่ามเป็นอุปสรรคต่อการแสดง เสียงนักเรียนจะต้องมีน้ำเสียงมีหนัก มีดังและเบา ฝึกพูดให้เป็นธรรมชาติที่สุด (ไม่ท่องจำ) จะพูดให้ผู้ชมฟังรู้เรื่องต้องไม่พูดเร็วเกินไป การแสดงอย่างต่อเนื่องไม่สะดุด  คนอธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์ต้องอธิบายได้ชัดเจนมีภาพประกอบในขั้นการอธิบายหรือมีสิ่งจำลองเพื่อให้ให้ผู้ชมเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น คนที่ถือป้ายหรือภาพห้ามเต้นเพราะผู้ชมจะอ่านตัวหนังสือจากป้ายไม่ได้           ป้ายต้องมีที่เก็บเป็นระเบียบง่ายต่อการหยิบมาแสดง ควรมีฉากประกอบให้ดูสวยงามแต่ไม่ใหญ่จนเกินไป  อีกอย่างคือเครื่องเสียงต้องดีมีส่วนช่วยเสริมเสียงของนักเรียน ให้ใช้ไมล์ที่เหน็บที่ศีรษะเพราะเด็กนักเรียนต้องใช้มือประกอบในการแสดง เครื่องเสียงต้องไม่ใหญ่มากจนเป็นภาระในการขนย้าย ครูผู้ควบคุมและนักเรียนที่แสดงต้องเข้าใจหลักทางวิทยาศาสตร์ สามารถอธิบายทั้งประโยชน์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้ผู้ชมเข้าใจง่าย ๆ ปัญหาที่พบเด็กไม่ค่อยรับผิดชอบอุปกรณ์ครูต้องคอยควบคุม และกรรมการไม่เข้าใจการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (ระดับเขตพื้นที่บางคนไม่ตัดสินตามเกณฑ์ที่ให้มา) ตัดสินที่ฉากประกอบ  ครูเรามักเข้าใจผิดมักแต่งเป็นเรื่องราวแล้วผูกเรื่องการแสดงเป็นละครไม่ใช่การแสดงทางวิทยาศาสตร์ การแสดงทางวิทยาศาสตร์คือ การแสดงกลนั้นเองแต่ตอบหลักทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น สำหรับที่มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมาไม่มีปัญหากรรมการมีแต่มืออาชีพ  มีการวิพากษ์หลักการแสดงทำให้เรานำไปแก้ไขปรับปรุงสิ่งที่บกพร่อง   การตัดสินของคณะกรรมการผลออกมาอย่างไรเราต้องยอมรับการตัดสินถึงจะไม่ถูกใจเรา เราต้องมีน้ำใจเป็นนักกีฬาด้วย ต้องไม่มีการประท้วงผลการตัดสินของคณะกรรมการ เป็นการให้เกียรติกัน ฝึกไว้  ให้รู้จักสะกดคำว่าแพ้ให้ได้  ยินดีกับคนที่ชนะและรู้สึกถึงคำว่าชนะไม่เยาะเย้ยผู้แพ้ แล้วเราจะไม่มีคำว่าเสียใจ (เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ การแข่งขันทุกอย่างต้องมีผู้ชนะและผู้แพ้เสมอ)

นายยงยศ  ศิริหล่อ ครู  โรงเรียนชุมชนประทาย

หมายเลขบันทึก: 505503เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2012 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ตุลาคม 2012 11:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ได้รางวัลเหรียญทอง ชนะเลิศ ดีจังเลยนะคะ

อ่านเรื่องแล้วเยี่ยมมาก มากเลยค่ะ ครูพละสอนวิทย์เก่ง ส่วนครูวิทย์อย่างพี่ปูก็สอนพละได้เยี่ยม ความรู้ ความสามารถที่เรามีอยู่นี้เริ่มจาก ความสนใจ ใฝ่เรียนรู้ จริง จริงเลยนะคะ ^^

ขอขอขคุณที่ให้แง่คิดดีดีกับกลวิทยาศาสตร์ ดีใจกับเยาวชนด้วยนะครับที่มีครูเก่ง

ส่วนหนึ่งของความสำเร็จก็เกิดจากครูที่มีความวิริยะอุตสาหะสั่งสอนศิษย์...ขอเป็นกำลังใจให้กับคุณครูคนเก่งนะคะ

พี่ยศเก่งจังค่ะ ครูไทยไม่แพ้ครูชาติใดในโลก 55+ เพื่อลูกศิษย์เราสามารถทำได้ทุกอย่าง เป็นกำลังใจให้ค่ะ

อ.ยงยศ เก่งมากค่ะ หล่อด้วย ๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท