พ่อแม่รังแกฉัน....หรือเปล่า


พ่อแม่ทุกคนต้องการเลี้ยงลูกให้ดีที่สุด เคยคิดหรือไม่ว่าในความดีที่สุดที่เรามอบให้ลูกจะกลายเป็นว่า "พ่อแม่รังแกฉัน" หรือเปล่า?

เมื่อเช้าอ่านไทยรัฐครูลิลลี่ได้เขียนถึงอภิชาตบุตรไว้ บุตร หมายความว่า ผู้ทำให้สกุลบริสุทธิ์ / ผู้ยังหทัยของพ่อไม่ได้เต็มอิ่ม และกำหนดประเภทของบุตรไว้ 3 ระดับคือ

อภิชาตบุตร คือบุตรที่มีคุณธรรมสูงกว่าบิดามารดา (บุตรชั้นสูง)

อนุชาตบุตร คือบุตรที่มีคุณธรรมเสมอบิดามารดา (บุตรชั้นกลาง)

อวชาตบุตร คือบุตรที่มีคุณธรรมต่ำกว่าบิดามารดา (บุตรชั้นต่ำ)

นั่นเป็นหลักมงคลชีวิตในทางธรรม แต่สำหรับในทางโลกแล้วลูกจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับเบ้าหลอมซึ่งก็คือพ่อแม่ ผู้ให้การอบรมสั่งสอน เลี้ยงดู ขัดเกลา พ่อแม่ก็เปรียบเหมือนช่างปั้นที่บรรจงปั้นแต่ีงให้ออกมาสวยที่สุด บรรจงคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุด บางครั้งเลือกทางเดินที่ดีที่สุดที่พ่อไม่คิดว่าใช่ แต่พ่อแม่กลับลืมที่จะถามหรือสังเกตสิ่งที่ลูกต้องการ ว่าที่พ่อไม่เลือกให้นั้นตรงกับความต้องการของลูกหรือไม่ การให้ในสิ่งที่ไม่ต้องการแกมบังคับ ไม่ต่างอะไรกับการทารุณจิตใจ กักขังทางความคิดของลูก ด้วยความที่รักลูกมากอยากให้ลูกเป็น อยากให้ลูกได้ในสิ่งที่ดีที่สุด ให้ ให้ ให้ จนมากมาย น่าสงสารเด็ก ๆ ที่ถูกจำกัดอิสรภาพทางความคิด จำกัดการเรียนรู้ ถูกตีกรอบด้วยความคิดของพ่อแม่ 

เมื่อคืนได้คุยกับคุณแม่มือใหม่ เพิ่งกลับมาจากต่างแดน เพื่อมาเยี่ยมครอบครัวได้เห็นความคิดความอ่านที่ดูเป็นผู้ใหญ่เกินตัว คุณแม่คนนี้ได้บอกว่าคงไม่ให้ลูกอยู่เมืองไทยกับยายเป็นแน่ ด้วยเหตุผลเพียงเพราะยายดูจะรักหลานเอามาก ๆ มากเสียจนไม่อยากคิดว่าวันที่หลานต้องบินกลับไปกับพ่อแม่เค้า ยายจะเสียใจมากเพียงใด แต่ต้องทำไม่เช่นนั้นลูกคงต้องถูกทำร้ายด้วยความรักของยายเป็นแน่ ยายบอกจะต้องอย่างนั้น อย่างนี้ เพื่อให้หลานได้ดีแบบนี้ แบบนั้น ผู้เป็นแม่มองเห็นอนาคตว่าไม่ช้าอิสระภาพคงหายไปจากลูกน้อยอย่างแน่นอน เค้าบอกว่าอยากให้ลูกมีอิสระในความคิด อยากให้เค้าเป็นในสิ่งที่เค้าต้องการ โดยมีพ่อและแม่เป็นเพียงผู้เฝ้าดูและคอยให้กำลังใจ ชี้ทางที่ดีที่ถูกให้เท่านั้น ท้ายสุดก็เพื่อความสุขของลูกรัก ผู้เขียนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง "รักลูกต้องให้เค้ามีอิสระที่จะเป็น และคิดในแบบของเค้า" เราเป็นเพียงผู้สนับสนุนให้เค้าเดินไปในทางที่ถูกต้องและปลอดภัยเท่านั้น เพราะถึงวันที่ผู้กำกับชีวิตหมดบทบาทลง ลูกที่น่าสงสารอาจไม่สามารถดำรงชีวิตในแบบที่ตนเองอยากเป็นได้ การดำรงอยู่ในสังคมอาจเป็นสิ่งแปลกใหม่ที่ต้องเผชิญ ให้ลูกเป็นตัวตนของตัวเองดีที่สุด ลูกจะได้ไม่ต้องเสียใจว่า "พ่อแม่รังแกฉัน"

หมายเลขบันทึก: 505323เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2012 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2023 15:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คงเป็นความห่วงมากนะครับ ไม่ใช่ความรัก

คนมักแยกไม่ออกนะ

เช่นพ่อแม่ไม่ให้ลูกสิ่งต่าง ๆ อยู่กับท่านตลอด ส่ิงนี้คือความห่วง

แต่ถ้าปล่อยลูกไปทำตามสิ่งที่เข้าทำ และคอยแนะนำเมื่อทำผิด อาจเรียกได้ว่าความรัก (เป็นเพียงส่วนเดียวนะครับ..มีอีกเยอะ)

พ่อแม่รังแกฉันหรือ? ตอบยากนะ

แต่ถ้าถามกลับไปว่า ถ้าเราช้างที่เขาฝึกวาดภาพ ทำท่าต่าง ๆ เราคิดว่าคนรังแกช้างไหมอ่า.........น่าคิดนะครับ

ขอบคุณสำหรับข้อคิดดี ๆ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท