การตีความหมายจากคำสมมติที่ควรระวัง


การใช้คำและตีความต่อจากคำที่สมมตินั้นจึงทำได้ในขอบเขตจำกัดของคำสมมติเท่านั้น ไม่สามารถขยายความในมิติอื่นๆได้

ในระบบการสื่อความหมายทางภาษาพูด เรามักจะพยายามทำให้เกิดการจินตนาการที่ง่ายต่อการเข้าใจในเรื่องหนึ่งๆ โดยการใช้คำสมมติเปรียบเทียบแบบอุปมา เช่น

เราจะเรียกนักกีฬาที่วิ่งเร็วมากๆ ว่า นักวิ่งลมกรด ทั้งๆที่เขาก็ไม่วิ่งเร็วขนาดนั้น และไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับลม หรือ กรด ที่เป็นคำเปรียบเทียบเฉยๆ

หรือ นักขี่จักรยานเก่งๆ เราอาจจะเรียกว่า นักปั่นน่องเหล็ก ทั้งๆที่น่องเขาก็ไม่ได้แข็งเท่ากับเหล็ก หรือถ้าเกิดเป็น “น่องเหล็ก” แบบขาเทียม ขึ้นมาจริงๆ ก็ไม่น่าจะแข็งแรงเท่ากับกล้ามเนื้อปกติของคน ทำให้คำว่า “น่องเหล็ก” ไม่ได้มีความหมายมากกว่าคำเปรียบเทียบ แม้จะเป็นไปได้ก็ไม่น่าจะมีพลังแข็งแรงเท่ากับ “น่องกล้ามเนื้อ”

ในวงการพระเครื่องนั้น ได้มีการใช้คำอุปมาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะลักษณะของสนิมที่เกิดขึ้นกับโลหะชนิดต่างๆ และการเกิดลักษณะที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น

คำเรียกว่า

ฟองเต้าหู้ อธิบายลักษณะของก้อนน้ำปูนผสมน้ำมันข้น

แป้งโรยพิมพ์ อธิบายลักษณะของ ผิวแป้งนวลๆบนผิวพระสมเด็จที่ทำจากปูนเผา

สนิมตีนกา อธิบายลักษณะของสนิมเงินเก่าๆ ที่มีสีดำแตกออกเป็นเม็ดเล็กๆ คล้ายผิวตีนกา

ผิวปรอท แทนลักษณะของ เม็ดเงินกลมๆ บนผิวเงิน

ไข่แมงดา แทนลักษณะของสนิมดำๆ ในโลหะที่ทำพระเนื้อชินเขียว

ไขวัว แทนลักษณะ สนิมขาวๆฉ่ำๆของเนื้อตะกั่ว

สนิมหยก แทนคำว่า สนิมทองแดง ของโลหะผสมในกลุ่มสำริด

สนิมน้ำหมาก แทนคำเรียกว่า สนิมทองคำ

ดังนั้น การใช้คำและตีความต่อจากคำที่สมมตินั้นจึงทำได้ในขอบเขตจำกัดของคำสมมติเท่านั้น ไม่สามารถขยายความในมิติอื่นๆได้

เช่น

บางท่านคิดต่อไปว่า ทองคำเก่าๆจะมีการชุบน้ำหมากไว้เสมอ จึงมีสีแดงๆแบบน้ำหมาก ที่ไม่เกี่ยวกันเลย

หรือ การนำโลหะปรอทมาทาผิวเงินเก่าๆ ให้เกิดผิวปรอท ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ว่าใครแอบเอาปรอทไปทาผิวพระเนื้อเงินที่อยู่ในกรุนานๆ

จึงเป็นอุทาหรณ์ว่า ไม่ควรตีความหมายเกินเลยจากคำสมมติเหล่านี้ เพราะนอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้ว ยังอาจก่อให้เกิดความสับสนได้โดยง่าย

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาแก้ไข และปรับปรุงครับ

คำสำคัญ (Tags): #อุปมา#การตึความ
หมายเลขบันทึก: 505089เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2012 04:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2012 09:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Yes I have seen ของขลัง in the mind of other people -- and I have stopped extending myself into their context.

I have become a silent critique -- to keep peace within myself and my neighbourhood.

But when Thailand is driven to destruction, will I stand by and just look on. Somehow, extending words to future context is warranted and silent majority must now act loudly!

เห็นด้วยครับ ผมก็ทำเต็มที่เท่าที่ทำได้นะครับ

ไม่คิดที่จะเป็นพลังเงียบเลยครับ แม้แต่วินาทีเดียวครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท