“ YOU(th) contribute(s) to Building Civil Society to face Global Challenges” ตอนที่ 3 : สาระการสัมมนา ณ The University on Youth and Development and the CEULAJ


ประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้ประโยชน์ครอบคลุมหลายประเด็น นอกเหนือจากการเรียนรู้และฝึกทักษะด้านเทคนิคการบริหารจัดการโครงการฯ แล้ว ยังได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการทำงานและการส่งเสริม-สนับสนุนบทบาทตามสิทธิของเยาวชนจากองค์กรต่างๆ

ผู้เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการประมาณ  200 คน จากองค์กรต่างๆ ซึ่งล้วนทำงานเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเยาวชนในรูปแบบต่างกันไป   ส่วนใหญ่เป็นเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยในทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาใต้  และสองประเทศจากทวีปเอเซียคือประเทศศรีลังกาและประเทศไทย โดยเน้นเรื่องการพัฒนาสิทธิของเยาวชน (Youth Rights)  ที่จะสร้างสรรค์สังคมโลกต่อไป

ศึกษา The University on Youth  and Development and the CEULAJ  เพิ่มเติมได้ที่นี่  

สำหรับอาสาสมัครจากเอเอฟเอสประเทศไทยทั้ง 4 คนอยู่ในส่วนของการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “ Task Force based Volunteering : Increasing impact of intercultural projects”  โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนางานอาสาสมัคร  ด้วยการฝึกปฏิบัติกระบวนการทำโครงการฯ  เป็นการเพิ่มพูนทักษะการบริหารจัดการและส่งเสริมให้อาสาสมัครจัดทำโครงการ ฯ

 พิธีเปิด-ปิด  เรียบง่าย

    

                               การเสวนาในพิธีเปิดเรียบง่าย - แต่งกายสบาย / ฉลองวันเกิดครบรอบ  

 
  

แต่ละองค์กรแยกกลุ่มในการสัมนา ฯ แต่จะมีบางช่วงของบางวันที่ร่วมกิจกรรมด้วยกัน   อย่างเช่นกิจกรรมในพิธีเปิด –ปิด    กิจกรรมเสวนาเกี่ยวกับสิทธิเยาวชน  การจัดแสดงนิทรรศการประชาสัมพันธ์-เผยแพร่ผลงานขององค์กร กิจกรรมศึกษาดูงานโรงงานผลิตไวน์-น้ำมันมะกอก   และกิจกรรมสันทนาการส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดี  ฯลฯ 
                                    

กิจกรรมสันทนาการ ระหว่างพักทานอาหารว่างเช้า-บ่าย /  อาหารกลางวัน / อาหารค่ำ


 
           
                                กิจกรรมละลายพฤติกรรมที่สนุกสนาน  หลากหลายรูปแบบ

 
                               กิจกรรมส่งเสริมความบันเทิง / ดนตรีกระหึ่มนำให้สัญญาณการเริ่มต้นกิจกรรม



                                 หนึ่งในกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกเกี่ยวกับสิทธิของเยาวชน

 

                       ผลิตสื่อ-วัสดุประกอบกิจกรรมบันเทิง / มังกรประยุกต์สีสันของกิจกรรมบันเทิง

 

                                                          ดนตรี-เพลง -เต้นรำ

 
      
                                                         คอนเสริ์ตยามค่ำคืน 

การจัดแสดงนิทรรศการประชาสัมพันธ์-เผยแพร่ผลงานขององค์กร

 
                
                                                               เตรียมการจัดนิทรรศการฯ

 

                                                    บางคนสนใจแวะเวียนมาเยี่ยมชมบ่อยครั้ง

กิจกรรมศึกษาดูงานโรงงานผลิตไวน์-น้ำมันมะกอก รายใหญ่ของยุโรป  

 

  

 ถังสแตนเลสหมักไวน์ขนาดใหญ่ควบคุมอุณหภูมิได้ /ถังไม้โอ๊กหมักไวน์ตั้งเรียงเต็มห้อง / เนื้อสะโพกชิ้นใหญ่ 
 
 

                   เพลิดเพลินกับการชิมไวน์รสชาตินุ่ม / โอ่งหมักไวน์ขนาดมหึมา



                            ต้นมะกอก...พืชเศรษฐกิจของที่นี่  ปลูกเรียงไว้เป็นแนวยาวครอบคลุมพื้นที่ 

กลุ่มขององค์กรเอเอฟเอส มีผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน10 คน  ประกอบด้วย

อาสาสมัครวัยเยาว์จากประเทศ  อียิปต์  2 คน

อาสาสมัครวัยทำงานจากประเทศ  ฮังการี 1 คน

อาสาสมัครต่างวัยจากประเทศลัตเวีย      2 คน

อาสาสมัครวัยใสจากประเทศโปแลนด์  1 คน

และอาสาสมัครทีมวิทยากรฝ่ายอุปถัมภ์บุคคลากรของเอเอฟเอสประเทศไทย  4 คน

       

 

                                               เรียนรู้กระบวนการ - ระดมความคิด -ฝึกปฏิบัติ 

 
                           
                                                     กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

                                  กระบวนการฝึกปฏิบัติเป็นแบบผสมผสานก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่คงทน

 

                                               นำเสนอ - แสดงความคิดเห็น - แนะนำ 
                       

 

ทีมวิทยากรผู้มีความรู้-ความชำนาญด้านการบริหารจัดการโครงการอย่างดีเยี่ยม  จำนวน 4 คน  มาจาก 4 ประเทศ  คือ

ประเทศเยอรมนี

ประเทศฟินแลนด์

ประเทศโปแลนด์

ประเทศ เดนมาร์ก

  

วิทยากรแต่ละท่าน ใช้เทคนิคการถ่ายทอดความรู้และดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ ได้คิดวิเคราะห์และฝึกทักษะตามลำดับขั้นตอนของพื้นฐานที่อิงทฤษฎีหลายรูปแบบ  ส่งผลให้เกิดเสถียรภาพทั้งด้านความรู้และประสบการณ์  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติจริงได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

 

                                                 ปรับกิจกรรมใส่ตารางเวลาจนครบถ้วน

ตารางเวลาในการสัมมนาจัดขึ้นตามประเพณีปฏิบัติของชาว Spain โดยเฉพาะ แม้แต่ประเทศในยุโรปด้วยกันก็ยังแตกต่าง  

 

 
 
          ย่านใจกลางชุมชน Mollina ของเมือง Malaga ประเทศ Spain  เงียบสงบราวกับไม่มีผู้พักอาศัย

 

อากาศในช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วง ในเขตภาตใต้ของประเทศแห่งนี้  ช่วงเช้าและเย็นค่อนข้างสบายอุณหภูมิประมาณ 16-24 อาศา  แต่ช่วงกลางวันค่อนข้างอบอ้าว วัดได้สูงถึง 32 องศาเซลเซียส  แต่ลักษณะการออกแบบของอาคารที่ใช้วัสดุคุณภาพ  ดี  แม้ไม่เปิดเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมช่วย  เพียงแค่เปิดประตู-หน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกก็สามารถอยู่ได้แบบไม่อึดอัด




                                 อาคารทุกหลังสร้างแบบชั้นเดียวตกแต่งด้วยสไตล์เรียบเก๋

 

                                       อาหารอร่อย-รสชาติถูกใจ จากทีมแม่ครัวผู้ใจดี

ประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้  ได้ประโยชน์ครอบคลุมหลายประเด็น   นอกเหนือจากการเรียนรู้และฝึกทักษะด้านเทคนิคการบริหารจัดการโครงการฯ แล้ว  ยังได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการทำงานและการส่งเสริม-สนับสนุนบทบาทตามสิทธิของเยาวชนจากองค์กรต่างๆ  เพื่อปลูกจิตสำนึกของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมโลกให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

   *** ... ขอขอบคุณเอเอฟเอสประเทศไทย ฝ่ายอุปถัมภ์บุคลากร   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 กำแพงเพชร  และโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม ...***  

ชมภาพกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่นี่   

                                         *** ...ขอขอบคุณผู้เข้ามาเยี่ยมชมทุกท่านนะคะ ... ***    

 

หมายเลขบันทึก: 504250เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2012 01:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กันยายน 2015 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

                    ***...ขอขอบคุณ " พี่ครูอ้อย " Blank  มากนะคะ  ...***

 

                             FlowersHeartRosesBlueSparkle            

                   

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท