ไวในการฟัง ช้าในการพูด และฟังเสียงของตัวเองด้วย


ป๊าดีใจที่ป๊าได้ยินเสียงของตัวเองแล้ว มีอยู่ช่วงหนึ่ง ป๊า วางแผนจะเปิดคลินิก แล้วเมื่อใคร่ครวญกับตัวเองว่า ชีวิตของป๊า ต้องการอะไร ต้องการแบบไหน เมื่อค้นพบแล้ว ว่าอยากอยู่แบบสงบ ๆ กับครอบครัว ไม่ต้องรวยมากก็ได้ ก็ตัดสินใจไม่ทำคลินิก

คืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เป็นคิวของเราในการนำนมัสการที่บ้าน หลังจากอธิษฐานเปิดแล้ว เราบอกว่า วันนี้เราจะพูดหัวข้อ “สำแดงความรัก ด้วยการฟัง ” แล้วก็อ่านพระคัมภีร์ ยอห์น บทที่ 5 ข้อ 17 – 30 ให้สมาชิก ซึ่งก็มีแค่ 2 ชีวิตเท่านั้นคือ หนุ่มกับอิม ฟัง โดยเนื้อหา สามารถ สรุป ได้ว่า

-          ให้เราไวในการฟัง และช้าในการพูด

-          ไม่ใช่รับรู้สิ่งที่สอน แต่ต้องปฏิบัติด้วย

หลังจากนั้นก็เป็นการพูดคุยแสดงความคิดเห็นกัน เราเพิ่มเติมให้ว่า เรื่องนี้ก็คือ ให้เราทุกคน ฟังกันและกัน ป๊าม๊า ฟังอิม อิมฟังป๊า ม๊า  ฟังหัวหน้า ฟังลูกน้อง ฟังเพื่อน ฟังคนอื่นก่อน อย่าไวในการพูด แล้วจะทำให้เราได้พบกับความหมายของสิ่งที่อีกฝ่ายต้องการสื่อได้อย่างชัดเจน ปัญหาบางอย่างก็ไม่เกิดขึ้น

 

                เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ ของคนในสังคมเรานะ ไม่ว่าจะเป็นสังคมขนาดเล็ก ในครอบครัว ในที่ทำงาน หรือสังคมขนาดใหญ่ เช่นในองค์กร ชุมชน หรือประเทศชาติ ที่ตอนนี้ มีแต่คนไวในการพูด ไม่ค่อยฟังกัน ทำอะไรกันรวดเร็ว พลอยทำให้คนเราปากไวกันไปด้วย

 

                หนุ่มก็พูดเสริมขึ้นมาว่า เมื่อเราฟังคนอื่นแล้ว อย่าลืมฟังเสียงตัวเอง ด้วยเพราะหนุ่มเพิ่งอ่านหนังสือเรื่อง เสียงเพรียกแห่งชีวิต : Let Your Life Speak ของ ปาร์คเกอร์ เจ. พลามเมอร์ จบ ( เรากำลังอ่านอยู่ )

หนุ่มบอกกับลูกว่า ป๊าดีใจที่ป๊าได้ยินเสียงของตัวเองแล้ว มีอยู่ช่วงหนึ่ง ป๊า วางแผนจะเปิดคลินิก แล้วเมื่อใคร่ครวญกับตัวเองว่า ชีวิตของป๊า ต้องการอะไร ต้องการแบบไหน เมื่อค้นพบแล้ว ว่าอยากอยู่แบบสงบ ๆ กับครอบครัว ไม่ต้องรวยมากก็ได้ ก็ตัดสินใจไม่ทำคลินิก ป๊าดีใจ ที่ป๊า ได้ฟังเสียงตัวเอง อิมก็เหมือนกัน อิมต้องหา เสียงที่อยู่ภายในตัวเองให้เจอ ว่า เราเป็นคนแบบไหน เราชอบอะไร มีความสุขกับอะไร มีความทุกข์กับอะไร พอถามอิม เขาก็ตอบว่า เขาชอบฟังเพลง ร้องเพลง อ่านการ์ตูน เล่นคอม เนี่ยะนะ เด็กหนอเด็ก เราก็บอกว่าไม่ใช่แบบนี้ นี่มันเป็นความสุขชั่วคราว หนุ่มก็ช่วยเสริมว่า ไม่เป็นไร เรายังเด็ก แล้วป๊ากับม๊า จะช่วยหนูค้นหา เสียงภายในตัวเองให้

                เราก็บอกเพิ่มว่า เรื่องนี้ มันไปตรงกับเรื่องที่เราเคยพูดก่อนหน้านี้เน๊อะ  ว่าเราทิ้งไพ่อะไรของลูกไปบ้าง เพราะในหนังสือเล่มนี้เขาเขียนไว้น่าสนใจมากว่า

เราเชื่อมั้ยว่า เราทุกคนได้รับของขวัญแห่งการเป็นตัวเองมาตั้งแต่เกิด และตัวเรามีฐานะเป็นของขวัญอันมีค่า

เขาเชิญชวนให้เราสังเกตเด็กทารก ( ลูก หลานของเราก็ได้นะ ) การเฝ้าดูเขาตั้งแต่วันแรกที่เกิด ถ้าเรามองอย่างจริง ๆ ลูกหรือหลานของเรา เขาเกิดมาบนโลกนี้ เพื่อเป็นบุคคลอย่างที่เขาเป็น ไม่ใช่เป็นแบบที่คนนั้น คนนี้ หรือเราที่อยากให้เขาเป็น ทุกคนเกิดมาพร้อมกับของขวัญที่ได้รับมาตั้งแต่แรกเกิด

 

                ลูกของเรา หรือตัวเรา หรือคนทุกคนในโลกนี้ มีอัตลักษณ์ของตัวเอง มาอยู่แล้ว เราต้องหาให้เจอ ถ้าเป็นพ่อแม่ ก็ต้องช่วยลูกเราค้นหาให้เจอ

 

                เราก็แสดงความคิดเห็นว่า บางคนน่าสงสารนะ ตายไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้หาตัวเองเจอ ไม่ได้ฟังเสียงตัวเอง ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นใคร อะไรคือสุข ทุกข์ของเรา และมันก็ก่อให้เกิดความวุ่นวายทั้งต่อตัวเอง และต่อคนรอบข้าง อีกทั้งสังคมวงกว้าง ( เอาไว้จะเล่าให้ฟังเกี่ยวกับเนื้อหา หรือสิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้ ) กลับมาที่บรรยากาศของการนมัสการต่อ

                การทิ้งไพ่ของลูก ก็เหมือนกับการกำลังบิดเบือน สิ่งที่เป็นตัวลูกออกไป สุดท้าย อาจทำให้ลูกเราหลงทาง เพราะเมื่อเขาเป็นผู้ใหญ่ เขาก็จะสับสนในชีวิต เหมือนไล่ตาม ไขว่ขว้าอะไรก็ไปไม่ถึงสักที

                ดังนั้นก่อนจบการนมัสการในคืนนั้น เราก็สรุปตรงกันว่า ให้ไวในการฟัง และช้าในการพูด และสุดท้ายก็คือ ฟังเสียงของตัวเองไปด้วย

                หลังจากนั้นก็อธิษฐานเผื่อซึ่งกันและกัน

                และปิดท้ายด้วยการติดตามประเมินผล กิจกรรมที่อิมทำในระหว่างปิดเทอม ( ที่คุยกันเมืออาทิตย์ก่อน ) ว่าได้ตามเป้าที่กำหนดไว้หรือไม่ แล้วมีเรื่องอะไรที่ต้องปรับปรุง น้องอิมก็ยอมว่า ยังทำได้ไม่ดีนัก ต้องมีการปรับปรุงอะไรบางอย่าง เช่น ยังไม่ได้อ่านหนังสือเรียนเท่าไหร่ กินอาหารที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ และก็ออกกำลังกายน้อยไปนิด แต่เมื่อถามว่า ต้องให้ป๊าม๊า ช่วยอะไรหรือเปล่า เขาก็บอกว่าไม่ต้อง จัดการเองได้ เราก็ OK

                สุดท้ายก็จบลงด้วยดี เช่นเดิม

 

หมายเลขบันทึก: 504225เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2012 20:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2012 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ไวในการฟัง ช้าในการพูด และฟังเสียงของตัวเองด้วย.... ดีจริงๆๆ ค่ะ

ขอบคุณค่ะคุณหมอ หนูว่า คุณหมอมีหมดแล้วแหละค่ะ ถึงได้สร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม แล้วก็มีความสุขกับมัน

ชอบอ่านข้อคิดจาก ท่านักบุญยากอบเหมือนกันค่ะ เพราะท่านสอนแบบตรงไปตรงมาดี

ขอบคุณนะคะสำหรับการแบ่งปันเรื่องราวดี ๆ ขออนุญาติแบ่งปันกระจายความคิดนะคะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท