บทบาทสตรีไทยกับการศึกษาที่ล้มเหลว


สิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นที่มาของการศึกษาไทยที่ล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะผู้นำครั้งอดีต จำต้องกดขี่ชนชั้นที่ด้อยกว่าเอาไว้ด้วย “การศึกษาแบบไก่ไข่ หาใช่ไก่ป่า”

ทุกท่านเคยสังเกตหรือไม่ว่าทำไมพระราชาในอดีตที่ทรงเก่งกาจในการสู้รบจึงต้องมีพระสนมไว้คอยสนองงานส่วนพระองค์หลายนาง
จากพงศาวดารของชนชาติจีนก็สนับสนุนให้พระราชาว่า
กามกิจเป็นเรื่องที่พึงกระทำ ในเวลาชีวิต 1 ใน 3 ของการเป็นพระราชา

จากที่ข้าพเจ้าสังเกตก็คือ
เมื่อคนเราต้องคร่ำเคร่งอยู่กับงานมากเข้า
ร่างกายจะหลั่งสารบางชนิดที่ทำให้ร่างกายเกิดอาการเครียด
ดังนั้น แพทย์หลวงจึงทรงถวายคำแนะนำให้พระราชาต้องทรงกามกิจเพื่อเป็นการผ่อนคลายพระวรกาย และเหตุผลในการสืบสันตติวงศ์อีกประการ

วันนี้ข้าพเจ้าได้ดูเรื่อง สามเรา เป็นหนังเพศที่สาม
แต่ไม่ได้ส่อไปในเชิงกามารมณ์แม้แต่น้อย หากแต่ว่าฉากเริ่มต้นของหนังได้บอกเหตุผลของการเบี่ยงเบนทางเพศในตัวเอกของเรื่องว่า มาจากการที่มารดามักมากในกามคุณ จึงทำให้ต้องแยกทางกับบิดาของตัวเอกนั่นเอง

แต่ตามความเห็นของข้าพเจ้ากลับมองว่า
ทำไมหรือที่ผู้หญิงที่ต้องดูแลกิจการงานสำคัญ ๆ
จึงไม่สามารถปฏิบัติตนได้เช่นเดียวกับพระราชาของจีนบ้าง
มันช่างไม่ยุติธรรมในสิทธิทางเพศเลยเสียจริง
ผู้หญิงมิใช่คนหรอกหรือ
เมื่อคนเรามีความเครียดแล้วการใช้กามกิจมาผ่อนคลายบ้าง
สังคมไทยจึงมองว่าเป็นสิ่งผิดหรือเลวร้าย
ข้าพเจ้าทราบว่าสังคมเราเชิดชูสตรีที่ประพฤติตามจารีตที่ผู้ชายเป็นฝ่ายกำหนดขึ้นมา และผู้หญิงในอดีตก็จำยอมจนแม้ปัจจุบันก็ตามที
แล้วจะให้โลกของเรามันเท่าเทียมกันได้อย่างไร

เร็ว ๆ นี้ทางช่องทีวีไทย กำลังจะถ่ายทอดเรื่องอำแดงเหมือนกับนายริด
ที่สะท้อนค่านิยมของสังคมไทยในอดีตที่ว่า “ผู้หญิงเป็นควาย ผู้ชายเป็นคน”

ข้าพเจ้าอยากให้สังคมของเราเปิดโอกาสให้เรื่องราวที่ผู้ชายทำได้
ให้กับผู้หญิงก็สามารถจะทำได้เฉกเช่นเดียวกัน
สังคมเราก็คงจะน่าอยู่มากกว่านี้
แต่ก็ยอมรับว่าบทบาทของสตรีไทยเริ่มสามารถจะก้าวไปถึงระดับผู้นำประเทศได้ ก็แสดงว่าสังคมของเราหาใช่กดขี่ทางเพศอย่างที่เป็นมา

บทบาทของสตรีไทยในครอบครัวไทยก็แตกต่างกันไปตามบริบทแต่ละสังคม ความเป็นจริงแล้วมีหลายครอบครัวที่ยกย่องและให้เกียรติสตรีเพศให้สามารถจะตัดสินใจเรื่องราว ๆ สำคัญ ๆ สำหรับครอบครัวได้
ก็คงจะมีส่วนน้อยหรือมากก็ไม่อาจจะรู้ได้ เพราะเรื่องครอบครัวไทยเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและไม่ค่อยจะได้รับการตีแผ่ตามความเป็นจริงเท่าใดนักจึงทำให้ข้าพเจ้ายังคงสับสนว่าจริง ๆ แล้วสตรีไทยมีบทบาทมากหรือน้อยตามความเป็นจริง อีกทั้งเพราะสังคมไทยมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์เป็นสำคัญ
แต่อย่างน้อย ๆ ข้าพเจ้าก็รู้สึกว่าบุรุษไทยให้เกียรติสตรีมากกว่าอดีต
เหมือนที่ละครน้ำเน่าชอบนำมาหยอกล้อกันว่า “ต่างคนก็ต่างกลัวเมีย”
จึงสรุปได้ยากว่า แท้จริงแล้วสตรีไทยถูกกดขี่จากบุรุษเพศจริงนะหรือ

ตามความรู้สึกของข้าพเจ้าแล้ว
เรื่องราวของการกดขี่ทางเพศน่าจะเป็นเรื่องของชนชั้นสูงในอดีต มากกว่า
ต้องขอเรียนตามตรงว่า อดีตนั้น ผู้นำมักจะต้องเด็ดขาดจึงทำให้การตีความเรื่องการกดขี่ทางเพศในสังคมระดับรากหญ้าเป็นคนละเรื่องกัน
ผู้ชายไทยระดับหัวกะทิจำต้องกดเพศแม่เอาไว้
เพราะตามความเป็นจริงแล้วผู้หญิงมักจะมีสติปัญญาที่เฉียบคมกว่าเพศชาย แต่เพศชายมีความเด็ดขาดและพละกำลังมากกว่า

แต่ในสังคมระดับล่างผู้หญิงก็ยังนำหน้าชายในเรื่องของความคิดความอ่านอยู่ดี ดังนั้นการที่ชนชั้นนำจะสามารถควบคุมคนของตนเอาไว้ได้จึงทำให้ต้องยิ่งกดขี่เพศหญิงมากขึ้นเป็น 2-3 เท่าตัว เพราะกันว่าคนเหล่านั้นจะกระด้างกระเดื่องแก่ตน

สิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นที่มาของการศึกษาไทยที่ล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะผู้นำครั้งอดีต จำต้องกดขี่ชนชั้นที่ด้อยกว่าเอาไว้ด้วย
“การศึกษาแบบไก่ไข่ หาใช่ไก่ป่า”

หลักการทางการศึกษาที่ให้มานั้น ถูกควบคุมคนให้อยู่เช่นนั้นตลอดไป
ไม่ใช่การศึกษาอย่างแท้จริงที่ต้องการให้คนกลายเป็นมนุษย์

สิ่งเหล่านี้หาใช่ความผิดของชนชั้นนำหรือผู้ถ่ายทอดข้อความหรือคนใต้อาณัติแม้แต่น้อย แต่หากเพราะประเทศของเรามีวิบากกรรมอันใหญ่หลวงเกินกว่าจะเยียวยาได้

หมายเลขบันทึก: 504089เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2012 19:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2012 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท