การขับเคลื่อน ปศพพ. สู่สถานศึกษา: อีสานตอนบน_22_เยี่ยมโรงเรียนบ้านไร่พวย มิตรภาพที่ 18


วันที่ 27 กันยายน  2555 ทีมขับเคลื่อนหลักพอเพียงสู่สถานการศึกษา เขตอีสานตอนบน เดินทางไปเยี่ยมการเตรียมความพร้อมสู่โรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ฯ ของโรงเรียนบ้านไร่พวยมิตรที่ 18 ณ หมู่ที่  4 บ้านไร่พวย ต.ตาดข่า อ.หนองหิน จ.เลย ผมสืบค้นหาเว็บไซต์ของโรงเรียน พบว่ายังคงเหมือนโรงเรียนขยายโอกาสอื่นๆ ที่ทาง สพฐ. ใช้ระบบเว็บเดียวกัน ที่นี่ แต่ยังไม่ได้ข้อมูลมากนัก

โรงเรียนตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม หลังโรงเรียนเป็นภูเขาที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ปุยเมฆขาวฤดูนี้ลอยต่ำ ทำให้ยอดภูเขาเด่นเห็นเป็นทะแลหมอก ทันทีที่ลงจากรถผมก็ได้สูดลมยาวฟอกปอดเต็มที่ทำให้สดชื่น.... ในใจมีคำถามว่า นักเรียนที่นี่จะมีความภาคภูมิใจในสิ่งที่ชีวิตประจำวันจริงในเมืองไม่มีโอกาสเช่นนี้หรือไม่

ท่าน ผอ.ทรงยศ อาจารย์กิตติศักดิ์ ครูแกนนำ ครูทั้งโรงเรียน และนักเรียนนแกนนำให้การต้อนรับเราเป็นอย่างดียิ่ง ขอบคุณมากๆ อีกที่ครับ 

ผอ.ทรงยศ แนะนำว่า โรงเรียนมีเนื้อที่ 25 ไร่ มีนักเรียน 144 คน มีครู 16 คน สอนตั้งแต่ระดับ อนุบาล 1 - ม.3 จุดเด่นของโรงเรียนคือ เกษตรพอเพียง ตามแนวทางเกตรทฤษฎีใหม่ และสิงประดิษฐ์ต่างๆ จากวัสดุในท้องถิ่น ปัญหาสำคัญคือ ผู้ปกครองไม่ค่อยได้ดูแลเอาใจใส่ลูกมากนัก เนื่องจากความจำเป็นในการทำมาหากิน เช่น หลายคนไปขายลอตเตอรี่ ฯลฯ ท่านบอกว่า ในการเตรียมความพร้อมบางอย่างอาจจะยังไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อดูตามเกณฑ์ประเมินแบบก้าวหน้า รู้สึกว่าไม่ยาก วันนี้จึงอยากได้คำแนะนำจากคณะที่ไปเยี่ยมชม

หลังจากครูจินตนาแนะนำกันพอเป็นพิธีตามสมควร ได้มอบประธานนักเรียนคือ น้องคลีม และน้องเบส เป็นตัวแทนนักเรียนกล่าวต้อนรับอีกที...ภายหลังผมบอกคลีมและเบสตรงๆ ว่า สิ่งที่พวกเขาพูดนั้นไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ มีการออกเสียง รอ..เรือ... ชัดเกินจริง ไม่เหมือนกับที่เราคุยกันปกติ...

ผมวางแผนกับทุกท่านว่า จะขอดำเนินการดังนี้ครับ

  1. คุยกับนักเรียนแกนนำ เพื่อร่วมกันถอดบทเรียนเรื่องหลักพอเพียง ตอนเช้า
  2. เยี่ยมชมฐานการเรียนรู้ต่างๆ โดยให้นักเรียนแกนนำเป็นไกด์นำ
  3. ประชุมกับผู้บริหารและครูในตอนบ่าย

และกำหนดแนวทางการสังเกตของผมคือ 5 ประเด็น  4 มุมมอง กล่าวคือ

5 ประเด็นได้แก่

  • ผู้อำนวยการ  ท่านมีวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ อย่างไร
  • ครูแกนนำขับเคลื่อน ดูแนวทางขับเคลื่อนสู่เพื่อนครูและนักเรียนแกนนำ
  • ครู ดูการนำลงสู่นักเรียน
  • นักเรียนแกนนำ
  • สิ่งแวดล้อม ฐานการเรียนรู้

แต่ละประเด็นที่กล่าวมาจะพิจารณาใน  4 มุมมอง คือ

  • รู้จัก หลักพอเพียง หรือไม่ อย่างไร
  • เข้าใจ สามารถตีความ หลักปรัชญาหลักพอเพียงได้หรือไม่
  • นำไปปฏิบัติและเชื่อมโยงกับหน้าที่ ชีวิตประจำวัน และการดำเนินชีวิต ชุมชน สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม หรือไม่อย่างไร
  • สามารถถ่ายทอดสู่ผู้อื่นๆ ได้หรือไม่อย่างไร

 หลังจากขึ้นรถเดินทางระหว่างการกลับมา ผมกับท่านอาจารย์ไพรัตน์ไม่ได้คุย AAR กันมากนัก เพราะรถตู้เสียงดังมาก ทำให้ต้องตะเบ่งเสียง แต่มองอีกมุมหนึ่ง คือยิ่งมาด้วยกันบ่อย การโต้แลกเปลี่ยนที่จำเป็นก็น้อยลง หรืออาจเป็นเพราะเรา ปลงใจตรงกันได้ไม่ยากจากความพร้อมของไร่พวยฯ ในคราวนี้.. ต่อไปนี้คือ สิ่งที่ผมเห็นครับ

  • เป็นอย่างที่ท่าน ผอ. นำเสนอครับ ที่นี่เด่นเรื่องฐานการเรียนรู้จริงๆ ครับ แต่ละฐานกาเรียนรู้ทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งครูวิไลรัตน์ ผู้รับผิดชอบบอกว่า เริ่มทำมากว่าสิบปีแล้ว ก่อนที่จะสมัครเข้าร่วมโครงการฯ จากที่เข้าใจว่า หลักพอเพียงคือทำการเกษตร จนมาเข้าใจว่าเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่ตัวอย่างของการนำหลักพอเพียงมาใช้ดำเนินชีวิต

ฐานการเลี้ยงจิ๊งหรีด ที่บ้านน้องนุ๊ก (คนกลางภาพ) ทำอาชีพเสริมเลี้ยงจิ๊งหรีด ครูวิไลรัตน์ไปเรียนรู้จากชุมชน แล้วนำมาจัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน น้องนุ๊กตอบคำถามว่า "ทำอย่างไร" ได้หมดครับ แต่คำถามว่า "ทำไม" ต้องเรียนรู้ฝึกฝนเพิ่มอีกหน่อย แต่อย่างน้อยตอนนี้ หลายคนได้เรียนรู้จากนุ๊กไม่น้อย เช่นน้องครีมเป็นต้น

ฐานเลี้ยงปลาดุกอุย เด็กชายเติ้ลเก่งเรื่องนี้ครับ ตอบคำถาม "อย่างไร" ได้หมอเช่นกัน

ฐานปลูกถั่วงอกโลโรฟิล์ว และ น้ำหมักจากเศษอาหาร

ฐานบ่อเลี้ยงปลา

ฐานปลูกพืชสวนครัว

วิธีรดน้ำต้นไม้

ปลูกเห็ดนางฟ้าประกอบอาหารกลางวัน

ฐานทำนา เด็กชายนนท์ บอกว่าที่งามขนาดนี้เป็นเพราะน้ำหมักจากเศษอาหารเป็นหลัก

สวนแก้วมังกร

ฐานไร่ยางพารา ที่ปลูกกล้วยน้ำหว้าแซม

ฐานการเรียนรู้สมุนไพร

บางมุมไม่เหมือนโรงเรียนครับ เหมือนไร่มะขามหวาน

บางมุมเหมือนรีสอร์ท

 

  • นักเรียนแกนนำรู้จักหลักพอเพียง และได้ฝึกปฏิบัติจากฐานการเรียนรู้ด้านการเกษตรที่เชื่อมโยงสู่วิถีทั้งในโรงเรียนเช่น อาหารกลางวัน และสู่ชุมชนแล้วเช่น กรณีที่มีชาวบ้านนำน้ำหมักไปทดลองใช้และนำไปทำเอง  ส่วนเรื่องการตีความถอดบทเรียน สิ่งที่ได้เรียนรู้จากฐานสู่ตนเองก็ทำได้ดี มีเพียงแต่การเชื่อมโยงแผนการเรียนสู่ฐานการเรียน และกระบวนการที่จำทำให้นักเรียน "สงสัย" และหาคำตอบของคำถามว่า "ทำไม" ในแต่ละขั้นตอนของการปฏิบัตินั้น และให้นักเรียนได้ถอดบทเรียนออกมาเอง เท่านั้นครับ..... อย่าเพิ่งเชื่อนะครับ เป็นเพียงความเห็นให้เป็นข้อพิจารณาของท่านครับ
  • ผู้บริหาร ครูแกนนำขับเคลื่อน และครูไม่มีปัญหา ท่านได้ปฏิบัติกับตนเองจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรแล้ว อย่างไรก็ตาม ควรมีการถอดบทเรียนเพื่อประเมินตนเองในการขับเคลื่อน เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ชัดเจนๆ
  • อีกประเด็นคือ ความเชื่อมโยงของ การออกแบบการเรียนการสอน ฐานการเรียนรู้ และการดำเนินชีวิต โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นสิ่งที่ควรพัฒนาให้เห็นชัดเจนมากขึ้นครับ.... ผมเข้าไปถามนักเรียนหลายห้อง นักเรียนยังไม่เห็นความเชื่อมโยงและความจำเป็น พูดง่ายๆ คือ ผมว่าเขายังไม่เห็นผลมากนัก ..... ถ้าหากว่าเป็นเพราะไม่ใช่เด็กแกนนำ .... นั่นหละครับคือสิ่งที่ควรเร่งรีบทำพัฒนาสู่นักเรียนทุกคน

หมายเลขบันทึก: 503963เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2012 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2012 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สุดยอดค่ะ
  • เหมือนโรงเรียนในฝันเลยค่ะ
ดีครับ เป็นโรงเรียนที่น่าอยู่มาก ๆ

 test

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท