การเรียนการสอนแบบไฮสโคป


นวัตกรรมการสอนแบบไฮสโคป

นวัตกรรมการสอนแบบไฮสโคป

          โปรแกรมการสอนแบบไฮสโคป ริเริ่มและก่อตั้งโดย ดร. เดวิท ไวคาร์ท (Dr. Devid Weikart) ประธานมูลนิธิการวิจัยการศึกษาไฮสโคป ซึ่งได้ริเริ่มร่วมกับคณะนักวิจัยและนักวิชาการ อาทิ แมร์รี่ โฮแมน และดร. แลรี่ ชไวฮาร์ต โดยพัฒนาขึ้นมาจากโครงการเพอรี่ พรี สคูล เพื่อช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส ให้มีโอกาสได้รับการศึกษา และจะได้ประสบความสำเร็จในชีวิต นวัตกรรมการสอนแบบไฮสโคปเริ่มเผยแพร่ในสหรัฐอเมริกา รัฐมิชิแกน

        โปรแกรมไฮสโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ ผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น หลักการของไฮสโคปสามารถสรุปองค์ประกอบต่างๆ ได้ดังนี้ 1. การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ(Active Learning)หลักการที่สำคัญของไฮสโคปในระดับปฐมวัย คือ การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาเด็ก การเรียนรู้แบบลงมือกระทำจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ    

       การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ หมายถึง การเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัดกระทำกับวัตถุได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิดและเหตุการณ์ จนกระทั่งสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยองค์ประกอบของการเรียนรู่แบบลงมือกระทำได้แก่ 1. การเลือกและตัดสินใจ

2. สื่อ ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทำจะมีเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย

3. การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประสาท สัมผัสทั้ง 5

4. ภาษาจากเด็ก สิ่งที่เด็กพูดจะสะท้อนประสบการณ์และความเข้าใจของเด็ก 5. การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ในห้องเรียนการเรียนรู้แบบลงมือกระทำต้องสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก

2. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่และเด็ก(Adult-Child Interaction)การเรียนรู้แบบลงมือกระทำนั้นจะประสบความสำเร็จได้ เมื่อผู้ใหญ่และเด็กมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ไฮสโคปจึงเน้นให้ผู้ใหญ่สร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและปรอดภัยให้แก่เด็ก การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเด็กนั้น เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับเด็กเด็กจะกล้าพูด กล้าแสดงออก และกล้าปรึกษาปัญหา ผู้ใหญ่จะต้องใส่ใจแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ และไม่เบื่อหน่ายที่จะตอบคำถามของเด็ก หรือป้อนคำถามให้เด็กเกิดความคิด จินตนาการ การปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเด็กนั้นนับได้ว่ามีคุณค่ามากกว่าการยกย่อง ชมเชยการให้รางวัล ข้อดีของการเรียนไฮสโคป คือ เด็กมีความสุขในการเรียน กล้าคิด กล้าตัดสินใจ มีความรับผิดชอบ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเองได้

ที่มา: พัชรี ผลโยธิน และคณะ. การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามแนวคิดไฮสโคป. กรุงเทพฯ : สถาบันแหงชาติเพื่อการศึกษาสําหรับเด็กปฐมวัย สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ, 2543 อ.กัลยา เทพวง. โปรแกรมการเรียนรู้แบบไฮสโคป. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thaiteachers.tv. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 17 สิงหาคม 2555).
หมายเลขบันทึก: 503821เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2012 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กันยายน 2012 13:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 

นวัตกรรม...การสอน...เป็นประโยชน์...กับเด็ก และสังคมไทย นะคะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท