นมแม่


การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว......สู่ชุมชนตำบลนมแม่

1.การดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้น จนปัจจุบัน เบื้อหลังความคิด โรงพยาบาลบ้านโป่งได้มีการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยเริ่มโครงการโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่-ลูก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 รับการประกาศให้เป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก ภายใต้แนวทางบันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตาม UNICEF และ WHO ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 และมีนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมทั้งปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติตลอดมา และจัดตั้งคลินิกส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พ.ศ.2544 มีเป้าหมายให้แม่ทุกคนสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองอย่างเดียวอย่างน้อย 4-6 เดือน และเลี้ยงควบคู่กับอาหารเหมาะสมตามวัยจนลูกอายุย่างเข้าขวบปีที่ 2 โดยกรมอนามัยกำหนดตัวชี้วัดเป้าหมาย คือ อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 4-6 เดือน ( Exclusive Breast Feeding rate ) ร้อยละ 30 เพื่อให้การดำเนินงานเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืน ได้มีการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่องได้ผ่านการประเมินซ้ำเป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่-ลูก ภายในปีพ.ศ. 2548
ปัจจุบันโรงพยาบาลได้ดำเนินโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว มีการปรับระบบบริการให้บูรณาการตั้งแต่ตั้งครรภ์ คลอด หลังคลอด และเชื่อมโยงสู่ชุมชน เกิดชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว และมุมให้นมแม่ในสถานประกอบการ ชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว

ในปี 2550 เริ่มมีชมรมสายใยรักแห่งครอบครัวโรงพยาบาลบ้านโป่ง โดมีผู้สนใจสมัครสมาชิกตั้งแต่ตั้งครรภ์ หลังคลอด และคลินิกสุขภาพเด็กดี และขยายไปเขตเทศบาลก่อนซึ่งมีอสม. เป็นแกนนำ โดยชุมชนมีส่วนร่วมการพัฒนาคุณภาพบริการงานอนามัยแม่และเด็ก มีการนัดพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และแม่ที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และสมาชิกเป็นประจำ พูดคุยอย่างเป็นกันเองเคารพนับถือกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้กันด้วยความตั้งใจ พอใจกับการแก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้กันและกัน และกับเครือข่ายชมรมอื่น เกิดมีชมรมสายใยรักแห่งครอบครัวบริษัทราชาเซรามิกขึ้นอีกแห่ง 

มุมให้นมแม่ในสถานประกอบการ การขยายให้เกิดมุมให้นมแม่ในสถานประกอบการ เนื่องจากอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นแหล่งชุมชนและมีโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นแหล่งที่มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก การช่วยเหลือและสนับสนุนแม่ที่ต้องทำงานนอกบ้านให้แม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานที่สุด พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดมุมให้นมแม่ เพื่อที่แม่จะได้เก็บน้ำนมให้ลูกและทำให้ลูกได้รับนมแม่อย่างต่อเนื่องอย่างน้อยก็ควรให้นมแม่นานถึง 6 เดือน ส่งเสริมแม่ที่ทำงานในโรงงานให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น ให้คำแนะนำและช่วยเหลือแม่ที่มีปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ ปัญหาเต้านมหรือหัวนม รวมถึงการบีบเก็บน้ำนมที่ถูกต้องไว้ให้ลูกขณะที่แม่มาทำงาน มีการประสานงานร่วมกับพยาบาล ในห้องพยาบาลของโรงงานในเรื่องการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาที่พบ โดยการสนับสนุนของผู้บริหารในโรงงาน เกิดชมรมสายใยรักแห่งครอบครัวบริษัทราชาเซรามิก อีกบริษัทเริ่มดำเนินการคือ บริษัทคราวน์ เชรามิกส์ดำเนินโครงการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการ ปี 2553 มีมุมให้นมแม่ในห้องพยาบาลและมีแผนการจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กในโรงงาน และจากการประสานงานกับพยาบาลห้องพยาบาลในห้างเทสโกโลตัสผู้บริหารห้างร่วมมือการจัดตั้งมุมให้นมแม่สำหรับพนักงานได้ดำเนินการสำเร็จแล้ว และมีการวางแผนดำเนินงานให้เกิดมุมให้นมแม่ในส่วนของลูกค้าต่อไป ตำบลนมแม่สายใยรักแห่งครอบครัว ปีงบประมาณ 2554 เริ่มการขยายเครือข่ายสู่ตำบลนอกเขตเทศบาลให้ครอบคลุม

อำเภอบ้านโป่งมีความพร้อมได้ถูกรับการคัดเลือกเป้นตัวแทนภาคกลางให้ดำเนินการตำบลนมแม่สายใยรักแห่งครอบครัวต้นแบบ โดยมีโรงพยาบาลบ้านโป่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวนกล้วยเป็นทีมประสานงาน การเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชน เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและภาวะสุขภาพของมารดาและทารก ให้ชุมชนมีส่วนร่วมระบุปัญหาของตนเอง วิเคราะห์สาเหตุ มองภาพตำบลนมแม่ที่ควรจะเป็น และเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชนและนำมาพัฒนาชุมชนในทุกๆด้าน พึงพาตนเองเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพของชุมชน 

แรงบันดาลใจที่ทำ

 หากไม่มีการดำเนินการสร้างเครือข่ายชมรม แม่ที่มีปัญหาในชุมชนจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทั่วถึง ไม่มีช่องทางการติดต่อสื่อสารในชุมชน และไม่มีการสร้างแรงจูงใจอย่างต่อเนื่อง การช่วยเหลือในโรงพยาบาลให้ความพยายามอย่างมาก เมื่อกลับบ้านก็จะพบปัญหาอุปสรรคมากมาย การช่วยเหลือแก้ไขปัญหาให้แม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เป็นความปิติ ภาคภูมิใจ และการเป็นวิทยากรสามารถถ่ายทอดความรู้ให้สมาชิกและครอบครัว และในชุมชน มีเวทีแสดงผลงานเพื่อให้เห็นคุณค่าผู้ปฏิบัติงาน จะเกิดความภาคภูมิใจและมีคุณค่าในเรื่องการดูแลบุตร เพื่อพัฒนาการสมวัย โดยชุมชนมีส่วนร่วมการพัฒนาคุณภาพบริการงานอนามัยแม่และเด็กได้เอง การทำงานกับชุมชนเป็นการเรียนรู้การทำงานกับประชาชน ร่วมพลังส่งเสริมให้เกิดความรัก ความอบอุ่นของครอบครัวซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของชีวิต 

2.เทคนิค วิธีการ กลเม็ดในการทำงาน

 1. การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นนโยบายระดับประเทศ ผู้บริหารให้การสนับสนุน มีนโยบายชัดเจนและแผนการดำเนินงานเป็นแนวทางการทำงาน สามารถบริหารเวลา บริหารงบประมาณ และทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เจ้าหน้าที่สามารถวางแผนการทำงานได้ และมีความคิดที่จะพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 2. ทำงานด้วยใจรัก มีความมุ่งมั่น สนุกกับงาน มีเป้าหมายการทำงาน และการประสานงานของทุกหน่วยงานในโรงพยาบาล สามารถถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำสิ่งที่ได้จาการศึกษาดูงานมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของโรงพยาบาล 3. ได้รับการประสานช่วยเหลือจากศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี และขอรับการสนับสนุนจากทั้งหน่วยงานราชการและเอกชนเป็นอย่างดีสม่ำเสมอ ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 

3.ผลที่เกิดขึ้นในเชิงสำเร็จ 1. โรงพยาบาลได้ผ่านเกณฑ์การประเมินให้เป็นโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว ระดับทอง ปี 2551 เกิดชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว 2 ชมรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว นำเสนอเครือข่ายชมรมระดับอำเภอ ( คปสอ.) ประกวดผลงานวิชาการด้านนวัตกรรม ด้านบริหารจัดการของเครือข่ายบริการสาธารณสุข และผลงานวิชาการของบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี และระดับเขต ได้รับการคัดเลือกนำเสนอบอร์ดนิทรรศการเรื่อง การพัฒนาการส่งเสริมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่.......โรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัวระดับทอง งานประชุม HA National Forum ครั้งที่ 10 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ อิมแพคเมืองทองธานี เกิดความภาคภูมิใจมีคุณค่าในตนเองและชื่อเสียงขององค์กร ผลลัพท์ ตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว

 ตัวชี้วัด เกณฑ์ ปี 2550 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2553 

1.ทารกแรกเกิดขาดออกซิเจน 30 ต่อ1,000 การเกิดมีชีพ17.02 16.04 13.59 13.85 2. ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500กรัม

  7 % หรือลดจากฐานเดิมปีละ 0.5% 7.98% 9.01% 7.13% 8.80% 
  1. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน
     25 %หรือเพิ่มจากฐานเดิมปีละ 2.5% 30.72% 42.43% 52.66% 44.63% 
    4.เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี มีพัฒนาการเด็กสมวัยร้อยละ 90 99.70% 99.83% 99.93% 99.62%
     2. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชมรมสายใยรัก มีเจ้าหน้าที่หน่วยงานสาธารณสุขประสานงาน คือ กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม กลุ่มงานเวชกรรมสังคม และเทศบาลเมืองบ้านโป่ง อบรมแกนนำชมรมสายใยรักในชุมชน ครู อสม.ในชุมชน ทำให้สามารถประสานการทำงานได้ง่ายขึ้น 3. กิจกรรมโครงการจิตอาสา เยี่ยมเพื่อนสมาชิก และมารดาที่มีปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหอผู้ป่วย ช่วยเหลือในคลินิกนมแม่ โทรศัพท์ติดตามเยี่ยมมารดาหลังคลอดทางโทรศัพท์ เยี่ยมเด็กป่วยในหอผู้ป่วยช่วยกิจกรรมโครงการ เช่นวันเด็กแห่งชาติ สัปดาห์ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การประกวดพัฒนาการเด็ก ออกหน่วยร่วมเทศบาลสัญจร ฯลฯ 

4.ปัญหาอุปสรรคที่พบและการแก้ไข
- การสร้างเครือข่ายชมรม แม่ที่มีปัญหาในชุมชนจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทั่วถึง ไม่มี ช่องทางการติดต่อสื่อสารในชุมชน และไม่มีการสร้างแรงจูงใจอย่างต่อเนื่อง แก้ไขโดยบูรณาการกับการออกหน่วยของผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมการเลี้ยงดูเด็ก และการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆโดยเข้าไปมีส่วนร่วมทุกครั้งที่มีโอกาส ช่วยให้สมาชิกเกิดความสัมพันธ์ภายในครอบครัวมากขึ้น
- บริษัทนมผสม เข้ามาทำการตลาดหลายรูปแบบ ได้มีการเฝ้าระวังการละเมิดหลักเกณฑ์ การตลาดฯอย่างเข้มงวด ทั้งในหอผู้ป่วยหลังคลอดและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดูแลทารก มีการแจ้งเตือนและติดตาม รายงานผลให้กรมอนามัยทราบทุกครั้ง

5.สรุป - สิ่งที่มีคุณค่าสำหรับตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคมโดยรวม งานนมแม่เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของแม่และลูก ต้องช่วยให้แม่อยู่ใน ภาวะที่แข็งแรง ไม่มีความวิตกกังวล มีกำลังใจ มีความเชื่อมั่นสูง ต้องมีการฝึกสอน เป็นงานรีบด่วนที่ต้องปฏิบัติเป็นอันดับแรก มิใช่เป็นงานอันดับสุดท้าย เพราะเด็กไม่สามารถรอช้าแม้แต่มื้อเดียว เป็นงานที่เพิ่มคุณค่าวิชาชีพพยาบาลสำหรับตนเอง มีน้ำใจช่วยเหลือแม้นอกเวลาราชการก็ตาม เมื่อใจคิดดีก็จะพบแต่สิ่งที่ดีๆ การทำสิ่งที่ดีๆเราจะรู้สึกดีนมแม่เริ่มสร้างจากตนเอง ครอบครัว ชุมน สังคม สร้างอนาคตที่ดีของประเทศชาติต่อไป
- คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่มีปฏิบัติงานนมแม่ต้องมีคุณลักษณะพร้อมและเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ในทางปฏิบัติการ

สอนแม่ ต้องมีเวลาอย่างเต็มที่ในคลินิกนมแม่ ส่วนเจ้าหน้าที่ทุกคนในโรงพยาบาลให้ปฏิบัติตามนโยบายโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว รวมทั้งเป็นแม่แบบที่ดีในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และเลี้ยงควบคู่กับอาหารตามวัยจนครบ 2 ปี

6.แหล่งข้อมูล นางกนกทอง จาตุรงคโชค หอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โทรศัพท์ 032-222841-46 ต่อ 273 และ80-514 ,081-3820363

คำสำคัญ (Tags): #นมแม่
หมายเลขบันทึก: 503515เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2012 23:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2012 00:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นมแ่ม่ในช่วง 6 เดือน  มีค่าทางโภชนการมากนะคะ  ต่อทารก มากที่สุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท