เสริมสร้างสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ แบบ ลำปาง (10) ถอดบทเรียน อำเภอเมือง


 

บทเรียน การทำกิจกรรมในโครงการฟันเทียมพระราชทาน และการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ของอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เริ่มต้นเมื่อปี 2551 เมื่อคุณวรรณา จาก ... ได้รับทราบนโยบายจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดให้จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ ที่ทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยมีเป้าหมาย 1 อำเภอ 1 ชมรมฯ

โดยลำปางมีเดิมที่ทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุมาแล้ว ตั้งแต่ปี 2549 โดยมี อำเภอแจ้ห่ม และอำเภอห้างฉัตรนำร่องการทำกิจกรรม ปี 2551 สสจ. มีการขยายเครือข่าย คุณวรรณาจึงเป็นหนึ่งในนั้น ที่เริ่มทำกิจกรรมนี้ด้วย

เมื่อได้รับนโยบายจาก สสจ. จึงได้มาปรึกษา คุณสุนทร ร่วมกับคัดเลือกชมรมผู้สูงอายุนำร่อง เพื่อทำกิจกรรม ได้ชุมชนสิงห์ชัย ซึ่งมีความเข้มแข็ง เพราะจัดตั้งชมรมฯ ขึ้นเอง โดยขณะนั้น เทศบาลยังไม่ได้รับรองการตั้งชมรมฯ

การทำกิจกรรมในปี 2551 เริ่มทำในเรื่อง 1) การให้ความรู้เรื่องฟัน 2) อบรมแกนนำผู้สูงอายุ และ อสม. 3) ติดตามการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูว่า การทำกิจกรรมจะยั่งยืนหรือไม่ และ 4) มีการส่งผู้สูงอายุที่ต้องการรับบริการทันตกรรมไปเพื่อรับการรักษาต่อ

การขยายกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุของอำเภอเมือง

  • จากเริ่มทำกิจกรรมเมื่อปี 2551 จำนวน 1 ชมรม
  • ปีที่สอง (2552) ทำการขยาย 7 ชมรม โดยคัดเลือกเพิ่ม 5 ชมรม แต่มีการทำกิจกรรมจริง 7 ชมรม
  • ปีที่สาม (2553) ขยายเพิ่ม เป็น 14 ชมรม
  • ปีที่สี่ (2554) มีการดำเนินการต่อเนื่อง และคัดเลือกผู้สูงอายุ 80 ปี สุขภาพช่องปากดี ไปประกวดผู้สูงอายุ 80 / 90 ปี ฟันดี ที่กรุงเทพมหานคร
  • ปีที่ห้า (2555) ขยายการทำกิจกรรมไปนอกเขตเทศบาล ที่ยังไม่มีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ มีอาจารย์ศรีรัตน์ ผู้สูงอายุท่านหนึ่งจากชมรมฯ ที่ยังไม่ได้ทำกิจกรรม เดินเข้ามาหา ขอทำกิจกรรมด้วย ขณะนี้ อำเภอเมืองมีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ ทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากแล้ว 16 ชมรม

คุณวรรณาได้ให้ความเห็นที่เป็นความสำเร็จของการทำกิจกรรมในครั้งนี้ ก็คือ เธอได้ใช้ P Model (Participation Model) ทำให้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้น ถือว่าเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน

ถ้าจะสรุป Model ของการจัดการความรู้ที่ได้ควบคู่กันไป ก็คือ

  1. สร้างคน ... ด้วยการจัดให้แกนนำได้รับความรู้ เรื่อง การส่งเสริมทันตสุขภาพ จากกลุ่มทันตกรรม และศึกษาความรู้จากหนังสือ โทรทัศน์ วิทยุ อินเตอร์เนต
  2. ใช้ศักยภาพแกนนำ ... โดยให้แกนนำถ่ายทอดความรู้ เรื่อง สุขภาพช่องปาก ให้กับผู้สูงอายุด้วยกัน
  3. การถ่ายทอดความรู้ ... ด้วยการนำเสนอผลงาน การจัดนิทรรศการ และถ่ายทอดผ่านสื่อต่างๆ ได้แก่ สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ แผ่นพับ และให้ผู้สูงอายุได้ใช้สมุนไพรเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
  4. การเก็บความรู้ที่เกิดขึ้น ... โดยมีบันทึกการประชุม การบันทึกกิจกรรม การจัดทำแฟ้มภาพ วิดีโอ การนำเสนอผลงานด้วย Powerpoint การทำเอกสารแผ่นพับ

 

หมายเลขบันทึก: 503334เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2012 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท