spiritual in Health care.


Spiritual in Healthcare

นับตั้งแต่สรพ. ได้นำแนวคิดมิติจิตใจมาบูรณาการในงานด้านสุขภาพมาตั้งแต่ปีพศ ๒๕๔๘ ซึ่งในตอนนั้นมีชื่อเรียกโดยทั่วๆไปว่า” Humanized Health care เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพของบ้านเรามากมาย

ในปัจจุบันมีโรงพยาบาลที่สนใจเข้าร่วมเรียนรู้แนวคิดนี้มากกว่า๒๐๐ แห่ง และมีเรื่องราวหลากหลาย มาแลกเปลี่ยนกันเป็นประจำในทุกๆปี

จาก Humanized health care ได้ปรับมาเป็น SHA หรือ   Spiritual in Health care& Appreciate.

ทั้งสองคำนี้ให้ความหมายใกล้เคียงกันคือการให้บริการที่มีระบบงานที่เอื้อเฟื้อและคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

แปลอย่างตรงตัวคือการให้บริการด้วยหัวใจของผู้ให้  หัวใจของผู้ที่มีความเป็นมนุษย์  นัยยะที่แท้จริงก็คือมนุษย์ นั้นความหมายคือผุ้ที่มีจิตใจสูง หรือผู้ที่มีความกรุณา เมตตา และพร้อมที่จะเป็นผู้ให้

เมื่อเริ่มงานนี้ใหม่ๆ  ก็มีบ้าง ที่มีคำพูดที่ท้าทายออกมาอีกว่า อ้าว  แล้วตอนนี้ พวกเราไม่ใช่มนุษย์ หรอกหรือ? ทำงานหามรุ่งหามค่ำจนไม่มีเวลากินเวลานอน หรือให้กับครอบครัวแล้ว

อันนี้ที่จริงแล้ว ความมีเมตตา นั้นเองต้องมีกับตัวเองด้วย และทำงานด้วยใจที่มีปัญญา รู้จักการทำงานด้วยกันเป็นทีม รุ้จักการนำสิ่งที่เป็นต้นทุนมาร่วมใช้ในระบบบริการให้มากขึ้น เช่น ชุมชน ญาติ และทางเลือกอื่นๆ  เช่นการมีระบบการเยียวยาผสมผสานกับระบบงานที่เคร่งเครียด และรายล้อมด้วยเป้าหมาย ตัวชี้วัดที่ต้องการ

ทั้งผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ หรือผู้ป่วย ควรจะต้องเป็นผู้ที่ทีความสุข และมีสุขภาวะที่ดี ด้วยกันทั้งสองฝ่าย จึงจะเป็น Humanized Health care ที่สมบูรณ์

การทำให้ระบบสมดุล ทั้งเป้าหมายของงาน ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และทำให้เกิดความสุข ความปิติในงาน ในโรงพยาบาล ที่มีภาระหน้าที่อันมากมาย มีความสูญเสีย มีความเจ็บปวด  จึงเป็นความท้าทายในศวรรษนี้อย่างยิ่ง

แต่จะว่าไปแล้ว ในโรงพยาบาล นั่นเอง ที่จำเป็นต้องมีมิติจิตใจเข้าไปบูรณาการในเนื้องานอย่างยิ่งยวด เพราะความสูญเสีย ความทุกข์ การเจ็บป่วย เป็นสภาวะที่ต้องการ การเยียวยาด้านจิตใจเป็นอย่างมาก

ผู้ให้บริการเองก็จำเป็นต้องมีทั้งศาสตร์ และศิลปะในการช่วยเหลือผู้ป่วยให้ครบทั้งด้านร่างกาย และด้านจิตใจ  ทั้งการรักษา และ การเยียวยา

หากจะเปรียบเทียบ คงจะคล้ายกับระบบงานที่เป็นเลิศในทางวิชาการ เทคโนโลยีในการช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ แต่อีกด้านหนึ่งของระบบ คือ ความอ่อนโยน ความประณีต  ความรัก และศิลปะความงาม

หรือ คงจะเป็นแพทย์สักคนหนึ่งที่ด้านหนึ่ง มีความชำนาญ มีความแม่นยำถูกต้องในการวินิจฉัย สามารถช่วยเหลือคนไข้ให้รอดพ้นจากช่วงวิกฤติได้  แต่อีกด้านหนึ่งคือผู้ที่ละเอียดอ่อน เข้าใจความรู้สึก และให้ความหมายของทุกชีวิตที่อยุ่ตรงหน้าได้ งดงามราวกับจิตรกร

เรื่องราวของ spiritual ที่เข้ามามีบทบาทในกระบวนการดูแลผู้ป่วยนั้น เพราะว่าการที่เรา หรือผู้ให้บริการจะให้การบริการที่ดีที่สุดแก่คนไข้สักคนหนึ่งนั้น มีความสำคัญมากที่จะต้องสามารถประเมินหรือรับรู้มิติด้านจิตใจ ของคนไข้ควบคู่ไปด้วย เพราะมิติด้านจิตใจนับว่าเป็น” แก่น” ของความเป็นมนุษย์

        หากเราสามารถเข้าถึงมิติด้าน spiritual  ได้ เท่ากับเรารับรู้ บริบทเฉพาะของตัวคนไข้นั้นๆ ว่าอะไรคือ เป้าหมายชีวิตของเขา คุณค่า และความหมายในชีวิตของเขาคืออะไร  ในส่วนนี้ เราจะสามารถเพิ่มเติมกระบวนการ” เยียวยา “ ซึ่งอาจจะสามารถทำได้ ดดยตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัว ญาติ หรือระบบในโรงพยาบาล

 คุณค่าด้านมิติจิตใจ จะสามารถทำให้คนไข้รับมือกับความเจ็บป่วยได้อย่างมั่นคง มีความเข้าใจ มีความหวัง และรับรู้ ตระหนักถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

ในต่างประเทศ องค์กรหรือสถาบัน เช่น JCAHO BMJ ต่างให้ความสำคัญในมิตินี้มากขึ้นเป็นลำดับ Joint Commission ระบุว่าแพทย์ พยาบาล ต้องมีการประเมินด้าน spiritual ในคนไข้ทุกรายและเชื่อมดยงในระบบงาน ( JCAHO 2004)

          สำหรับประเทศไทย นิยามคำว่า spiritual อาจจะมีหลากหลาย  แต่รวมความแล้วคือ “ การสร้างขุมพลัง” ให้กับชีวิต การมีความรัก ความหวัง มีคุณค่า มีความหมาย  หรือศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประเวศ วะสี ให้คำจำกัดความว่า “ การทำสิ่งที่ดีดี”

ดังนั้นในการทำงาน เราจะต้องสร้างพลังด้านบวก หรือขุมพลังให้กับตนเองเสียก่อน ให้คุณค่าตนเอง ให้ความหมายของงาน ที่เราทำ มีเมตตาต่อเพื่อนร่วมงาน แล้วค่อยแผ่ขยาย ความเข้าใจนี้ไปอยุ่ที่ใครสักคนที่อยู่ตรงหน้าเรา รวมทั้งคนไข้ทุกคนที่ผ่านหน้าเราไป

มองให้เห็นในระบบงาน ในcare process หรือในทุกๆ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล

เมื่อผสมผสานเรื่อง spiritual เข้าในงานคุณภาพแล้ว เท่ากับเราได้ให้เกียรติสำหรับผู้ป่วย และได้คืนศักดิ์ศรีความเป็นคนให้กับคนไข้เหล่านั้นด้วย เป็นหนทางสำคัญที่จะทำให้คนไข้ ผู้ป่วย รวมทั้งตัวผุ้ให้บริการมีคุณภาพชีวิตที่ดี  หรือที่เรียกว่ามี Quality of life

การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับร่างกาย แต่นั่นคือการเผชิญหน้ากับspiritual หรือเผชิญหน้ากับความรู้สึก ที่มีผลต่อ พลังชีวิต ความหวัง ความสุขทุกอย่าง โดยแท้

และนั่นคือเหตุผลที่ บัดนี้ professional guideline ขององค์กรต่างๆทั่วโลกได้เห็นความสำคัญของspiritual care และเป็นภาระหน้าที่หนึ่งที่ผู้ให้บริการต้องปกิบัติ เช่น The joint Commission on Health care Accreditation.  กำหนดให้ spiritual care อยู่ในระบบงานของโรงพยาบาล

สรพ. ได้ค่อยๆนำแนวคิดนี้เข้ามาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในสิ่งแรกคือต้องการให้คนทำงานมีแนวคิดในเชิงบวก เห็นคุณค่า และมีความสุขในการทำงานด้วยใจอันเมตตา สิ่งเหล่านี้จะขยายไปในระบบงานจากเนื้อแท้ของคนที่มีเมล้ดพันธ์ แห่งความดีงามเป็นฐานที่สำคัญ

SHA  หรือ spiritual in Health care & appreciative ของบ้านเราจึงค่อยๆหล่อหลอมจากใจคนทำงาน เข้าสู่เนื้องานที่อยุ่ตรงหน้าอย่างประณีต

มีคุณภาพ  มีคุณค่า  และมีคุณธรรม

สวัสดีคะ

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #sha
หมายเลขบันทึก: 503185เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2012 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2012 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • มาชื่นชมการทำงาน SHA ของทีมงานแม่ต้อย
  • สบายดีนะครับ

ศุกร์ที่ผ่านมารพ.สูงเนิน ได้นำ Appreciation มาใช้ค่ะแม่ต้อย การชื่นชมผ่านเรื่องเล่า http://www.gotoknow.org/blogs/posts/503098

 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/503123

Blank  สวัสดีคะ  อาจารย์ขจิต  เราไม่ได้เจอกันนานมากแล้วนะคะ  คิดถึงเสมอคะ  แม่ต้อยเพิ่งไปเมริกามาคะ

kunrapee(ความเคลื่อนไหวล่าสุด)
23 กันยายน

สวัสดีคะ

ขอชื่นชมมากคะ  ขยายวงไปเรื่อยๆนะคะ

แม่ต้อยคะ

ขอบคุณบทความดีๆและสร้างความรู้ครับแม่ต้อย..

สวัสดีค่ะ แม่ต้อย

คิดถึงนะคะ หายไปตั้งนานค่ะ

อยากฟังเรื่องราวสนุกๆ ของแม้ต้อยเสมอค่ะ

ฝันดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท