ชีวิตที่พอเพียง ๑๖๔๙. ชื่นชมต้นไม้ใหญ่ที่จุฬาฯ


 

 

          ผมเล่าเรื่องต้นกระทิงที่จุฬา ในบันทึกที่แล้ว    ขอเล่าต่อ ว่าพอใกล้ ๘ น. แดดก็ไล่ผม   จึงย้ายข้ามฝั่งสระน้ำ    ไปนั่งที่ม้านั่งหินขัดริมสระน้ำด้านทิศเหนือ  

 

          ทำให้ผมได้ชื่นชมต้นไม้สูงใหญ่ พูพอนสวยงาม ๒ ต้น   คือต้นเหรียง กับต้นปอพัดโบก

 

          ทรงของพูพอนของต้นไม้สองชนิดนี้แตกต่างกัน    คือของเหรียงขยายแนวราบมากกว่า    ส่วนของปอพัดโบกทรงสูงกว่า    แต่อาจมีผลจากพื้นที่จำกัดด้วยก็ได้ 

 

          ทั้งสองชนิดเป็นไม้ทรงพุ่มสูง    มีลำต้นยาวขี้นไปแตกกิ่งอยู่ข้างบน    โดยเฉพาะอย่างยิ่งปอพัดโบกต้นนี้สูงกว่า ๒๐ เมตร   ส่วนเหรียงต้นนี้มี ๒ ลำต้นแฝด    ไม่ทราบว่าจริงๆ แล้วเขาปลูก ๒ ต้นติดกันหรือไม่

 

          ทั้งสองชนิดผิวลำต้นค่อนข้างเกลี้ยง ไม่มีเปลือกหนาแตกลายอย่างต้นกระทิง    แต่ต้นเหรียงมีรอยขวางที่ลำต้นสลับที่เป็นระยะๆ คล้ายลำต้นของสุพรรณิกา    เดาว่าเป็นรอยที่ก้านใบเกาะ

 

          ผมเคยเขียนบันทึกไว้ ตอนไปชมมหาวิทยาลัยโตเกียว ว่าเขาให้คุณค่าต้นไม้ใหญ่ ดูแลทนุถนอมอย่างดีไว้ ที่นี่   วันนี้มาเห็นที่จุฬาฯ ก็คิดว่า เรื่องต้นไม้ใหญ่อายุมาก ใครอยากเห็นให้มาดูที่จุฬาฯ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๖ ส.ค. ๕๕

 

 

โคนต้นเหรียง


 

 

ลำต้นมีรอยแผลเป็นตามขวาง


 

ป้ายบอกชื่อ


 

พูพอนสวยงาม


 

รากชอนไชไกล


 

 

ใบคล้ายจามจุรีและสะตอ


 

 

โคนต้นปอพัดโบก


 

ป้ายบอกชื่อ


 

พูพอนทรงสูง


 

ปอพัดโบกกับจามจุรี


 

 

ลำต้นและใบปอพัดโบก


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 502874เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2012 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2012 13:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

รากไม้ ศิลปะอันงดงามค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท