อารมณ์พระโสดาบัน (ที่ผิดเพี้ยน?)


ถ้าท่าน”ข้าพเจ้า”กลิ้งดูคำว่า “อารมณ์พระโสดาบัน”  จะพบคำอธิบายว่า พระโสดา (ซึ่งเป็นอริยบุคคลขั้นแรกจากสี่ขั้นของชาวพุทธเถรวาท) นั้นมีสมบัติสามประการคือ ฝ่าด่านอรหันต์ได้สามด่านแรกแล้วคือ ละสามดังนี้

1)      สักกายทิฐิ  (ความคิดเรื่องการมีตัวตน)

2)      วิจิกิจฉา  (ความลังเลสงสัยในพระธรรม)

3)      สีลพตปรามาส (การยึดติดในศีลพรต) 

 

สองข้อแรกไม่ค่อยมีปัญหา  แต่ข้อหลังนี้ผมว่ามีการอธิบายที่ผิดเพี้ยนไปแบบหน้ามือหลังมือ  กล่าวคือ บางท่านไปอธิบายว่า คือ  การยึดมั่นในศีลธรรม ไปเลย   (เช่น ศีลห้า)

 

คำว่า สีลพตปรามาส นี้ประดาผู้รู้ เช่น พระไตรปิฎกฉบับประชาชน (นายสุชีพ)  พจนานุกรมพุทธศาสน์ (ป.อ. ปยุตโต)   คู่มือมนุษย์ (พุทธทาสภิกขุ)  ต่างอธิบายตรงกันว่า หมายถึง การละการยึดติดในรูปแบบของศีลพรต ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ    เช่น เชื่อว่าการกินเจเท่านั้นจะทำให้บรรลุธรรม  การสวดวิงวอน  การไว้หนวดเคราอยู่ป่าแบบฤาษีจึงจะขลัง  การปิดทองพระพุทธรูป  รวมไปถึงการกราบไหว้พระพุทธรูปก็ยังได้ (ถ้ากราบด้วยเจตนาแห่งสีลพตปรามาส แต่ถ้ากราบด้วยปัญญาก็โออยู่)

 

 

 

 

พระโสดาบันในคห.ผม ไม่ได้วิเศษวิโสอะไรมากนักหรอก  เพียงละ “ความคิด” ด้านตัวตนได้อย่างถึงระดับที่ไม่ง่อนแง่นแล้ว  (แต่ละในทางปฏิบัติยังไม่ได้นะครับ ถ้าละได้ก็อรหันต์แล้ว)   และไม่ลังเลสงสัยในคำสอน (ซึ่งต้องไม่ลังเลด้วยปัญญานะ ไม่ใช่ไม่ลังเลแบบเชื่อตามคนอื่นเขาไปงั้นๆ)   สุดท้ายก็สีลพตปรามาส 

 

 

ผมได้เคยเขียนไว้แล้วว่า ผมเชื่อว่า ในเมืองไทยเรานี้มีพระโสดาบันอยู่มาก ไม่น่าต่ำกว่า 1 หมื่นคน  ส่วนใหญ่ไม่ได้บวชเป็นพระ และยังครองเรือนอยู่ด้วย   บางคนกินเหล้าทุกวันด้วยซ้ำ (ประมาณว่าแก้วหนึ่งนงนุช แก้วสองพุทธวาจา นั่นแล) 

 

พระโสดาบันนั้นถือกันว่าเป็นผู้เข้ากระแสแห่งนิพพานแล้ว จะไหลไปสู่ทะเลนิพพานได้ในที่สุดแน่นอนไม่เร็วก็ช้า ท่านเอาสักกายทิฐิไว้เป็นด่านอรหันต์ด่านแรกเลย   เพราะเรื่อง อัตตา ตัวตน นี้เป็นหัวใจพุทธศาสน์ ดังที่ผมได้เขียนเรื่อง “อนัตตา ทางสายกลาง” ไว้แล้ว 

 

 

อีกทั้งท่านใช้คำว่า ทิฐิ  นั่นหมายความว่าท่านเน้นไปที่ ปัญญาความคิด มากกว่าการปฏิบัติเสียอีก   น่าสังเกตว่ามรรค ๘ ก็เริ่มที่ สัมมาทิฐิ  เน้นแรกสุดไปที่ทิฐิ  สัมมาทิฐิ กับการละสักกายทิฐิ ก็เป็นเรื่องเดียวกันนั่นแหละ   เพียงแต่สัมมาทิฐิคลุมกว้างกว่า

 

...คนถางทาง (๒๐ กันยายน ๒๕๕๕)

 

หมายเลขบันทึก: 502858เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2012 07:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2012 01:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

บางคนยึดติดในอาจารย์ เช่น อาจารย์ของฉันเท่านั้นเก่ง ต้องพระป่าเท่านั้นเก่ง ต้องวิธีนี้สิดีที่สุด พวกนี้สีลพตปรามาสทั้งน้าน...หนักเบาต่างกัน

มิใช่ผู้รอบรู้มาจากไหนนะคะ แต่ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นเล็กน้อยดังแสงของหิ่งห้อย ในประเด็น การละวาง และการเข้าถึงสัจจะธรรมหรือความจริงแท้สูงสุดว่า เมื่อเราประสบความสำเร็จในการเข้าถึงความจริงแท้ เราก็จะพบกับข้อยุติต่าง ๆ กระทั่งข้อยุติทางภาษา เพราะภาษาก็คือส่วนหนึ่งของความคิดหรือจิต ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า ผู้ที่สอนเรื่องความจริงแท้และวิธีเข้าถึงนั้น อาทิ พระพุทธเจ้า จึงไม่สามารถถ่ายทอดสิ่งที่ค้นพบนั้นออกมาได้ เนื่องจากมนุษย์ยังต้องใช้ภาษาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด สิ่งที่พระพุทธองค์ทำได้ คือ เปรียบเทียบ เรียบ ๆ เคียง ๆ ภาษาให้ใกล้เคียงกับสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ประจักษ์มากที่สุด (วรวรรณ ศรีตะลานุกค์. ๒๕๕๕. วิธีขจัดความไม่รู้)

ท่านวรวรรณ ถ้า พพจ. ทรงเป็นใบ้ จะืสื่อสารนิพพานมาถึงเราได้ไหม ? ผมว่าได้นะ ดังเช่น เ่ว่ยหล่าง ศิษย์คนที่ห้า ของท่านโพธิธรรม ก็ทำมาแล้ว

ขออนุญาตบันทึกพาดพิงค่ะอาจารย์ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/502965

"ประมาณว่าแก้วหนึ่งนงนุช แก้วสองพุทธวาจา" ก็ไม่มีใครว่าหรอก เพียงแต่เกรงว่าจะ...ตห..หรือไม่ก็น่าจะตับแข็งตาย ไม่ถึง 120 ปีน่ะสิ

มองทุกอย่างให้เป็นธรรมเคารพครูอาจารย์จะเป็นโสดาบันหรืออะไรก็เเล้วเเต่ศัทธาเท่านั้นไม่เชื่อทำตามพุทธเจ้าสอนเเล้วก็ไม่น่าจะเสียหายนะ  ทุกอย่างอยู่ที่ใจจะสำนักไหนก็กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เหมือนกัน

ปักเจกชนคนรักอิสละ

ด้วยความเคารพครับ อารมณ์ของพระโสดาบันเปงสิ่งที่ระเอียดอ่อนมากผู้เข้าถึงจะเข้าจัยด้วยตนเอง บันทัดฐานทางโลกอาจพอสื่อความหมายได้เปงบางส่วนทีพอจะทำไหผู้อื่นพอเข้าจัยได้ แต่บางอย่างก้อไม่ควรเปิดเผยเพราะสำหรับผู้ไม่เข้าถึงอาจเข้าจัยผิดไปจากความจิง อย่างลืมว่าก่อนมาถึงจุดนี้ได้นันก้อต้องผ่าน ศิล สมาธิ ปัญญา โดยมีกฎไตรลักษณ์เปงบาทฐานด้วยกันทั้งสิ้น จิตจัยคนมักไหลลงสู่ที่ตำ่ตลอดหากไม่มีกฎเกณ์ค่อยบังคับสังคมคงวุ่นวายดังนันเรื่องบางเรื่องที่ไม่มีประโยคต่อการปฎิบัติธรรมก้อไม่ควรมาเปิดเภย สิ่งที่อาจาร์กล่าวผู้เข้าถึงดื่มเหล้าศิลไม่บริสุทธิมันเปงสิ่งที่มีผลกระทบต่อวงกว้างมาก สังคมหากไร้ซึ่งกฎระเบียบก้อมีแต่ความวุ่นวาย ศาสนาพุทธสอนหั้ยคนมีแต่ความสมัคคีกัน


นุ๋ พึงปฏิบัติค่ะ สัญญาว่าท่าไม่ถึงโสดาบัน ชาตินี้จะไม่ตาย

นุ๋ฟังคำตถาคตว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดหมั่น เมื่อสะดับแล้วย่อมทราบชัดด้วยปัญญา

ทุกวันนี้ ศิลที่นุ๋รักษาได้แล้ว3ข้อ เหลืออีก2 ุนุ๋จะทำให้ได้ต่อให้นานเท่าไหร่

แต่นุ๋ก้ ทำบุญใส่บาดทุกวัน สวดมน นั่งสมาธิ แผ่เมตตาทุกวัน

ทำทานเพื่อลดความตระหนี่ พยายามทำใจตัวเองให้พ่องใสทุกๆขณะจิต เวลาจะโมโห รึอะไรก้พยายามนึกถึงบุญที่เราทำ ศิลที่เรารักษา เทวดาในแต่ระชั้นที่แตกต่าง แล้วนุ๋จะไม่โมโห

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท