สุขภาพต้องมาก่อน


เว็บเพื่อสังคม

สุขภาพมาก่อน

          ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก ประกาศเป็นจุดยืนว่า "เรื่องสุขภาพของประชาชนต้องมาก่อน" จากจุดยืนตรงนี้จึงใคร่นำเสนอแนวคิด เรื่องปัญหาสุขภาพของประชาชนต่อผู้บริการในรัฐบาล หรือผู้เกี่ยวข้อง ผู้มีความรู้ความสามารถทุกระดับในเรื่องนี้ เพื่อให้เห็นความสำคัญ และช่วยกันหาแนวทางปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนาต่อไป

         ความเป็นจริงที่ประจักษ์ขณะนี้คือ  โรงพยาบาลของรัฐขาดบุคลากร ขาดเครื่องมีออุปกรณ์ด้านการแพทย์   ทำให้การบริการล่าช้า ไม่ทั่วถึง ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร สรุปว่าการดูแลสุขภาพของประชาชนยังด้อยคุณภาพ รัฐบาลต้องรับผิดชอบดูแลเรื่องนี้ให้มากขึ้น

         เหตุที่รัฐบาลแต่ละสมัยยังแก้ไข ปรับปรุง หรือถึงขั้นพัฒนาในเรื่องนี้ไม่ได้ตามที่น่าควรจะเป็น นั้นน่าจะสืบเนื่องจากสาเหตุใหญ่คือ เรื่องการจัดงบประมาณด้านนี้ไม่เพียงพอ ด้วยเหตุงบประมาณถูกผลักดันไปเรื่องอื่น ๆ จะสาเหตุใดไม่ขอกล่าวถึง  แต่ขอทวงติงว่า บรรดา ผู้แทนของประชาชนควรมีวิสัยทัศน์  ประกอบกับความความสุจริตใจ แล้วจะมองภาพรวมออกว่า งบประมาณเรื่องใดควรตัด ควรเพิ่ม ควร ให้ความสำคัญมากน้อย อะไรต้องทำก่อนหลัง  ทั้งนี้ต้องมีจิตวิญญาณที่จะตัดสินใจอย่างถูกต้องโปร่งใส นี่คือผู้แทนของประชนที่แท้จริง และหากพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบด้วยเหตุผลอื่น ๆ ประกอบคิดว่าความจำเป็นเรื่องสุขภาพของประชาชนควรมาก่อน

          โรงพยาบาลขาดบุคลากร ขาดอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์เป็นเรื่องสร้างความเสียหายอย่างมาก ปัญหาที่เกิดคือการรักษา หรือการ วินิจฉัยโรคของแพทย์เป็นไปอย่างฉาบฉวย ขาดอุปกรณ์การดูแลรักษาก็ขาดประสิทธิภาพ ขาดแพทย์เฉพาะทางทำใหผู้ป่วยเสียโอกาส ซึ่งถือว่าผิดพลาดอย่างยิ่ง   คล้ายเป็นการปล่อยปละละเลย ไร้ซึ่งคุณธรรมด้วยซ้ำ

          หากจำนวนผู้ป่วยมาก แต่มีแพทย์น้อยการวินิจฉัยโรคให้ผู้ป่วยก็จะเป็นไปอย่างฉาบฉวย เนื่องจากรีบร้อนเพื่อตรวจให้หมด ให้ทัน เวลา ดังนั้นผลที่ออกมาอาจมีโอกาสที่จะคลาดเคลื่อนได้มาก เมื่อจ่ายยาไม่ตรงกับโรค   ผู้ป่วยก็ไม่หาย  เปลืองเปล่าทั้งการใช้ยา และ เปลืองเปล่าต่อสุขภาพของประชาชน

         หันมาเรื่องการขาดแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก โรงพยาบาลประจำอำเภอมีแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง น้อยมาก การรักษาเฉพาะทางถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลจังหวัด อันที่จริงโรงพยาบาลประจำอำเภอควรมีศักยภาพการบริการที่เท่าเทียม กับโรงพยาบาลจังหวัด
          บุคลากรที่ควรกล่าวถึงเช่นกันคือ พยาบาล บุคลากรด้านนี้ยังไม่เพียงพอเช่นกัน มีประเด็นหนึ่งที่น่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับขวัญ และ กำลังใจของผู้ปฏิบัติงานคือเรื่องลูกจ้าง    เดี๋ยวนี้พยาบาลที่เป็นลูกจ้างมีจำนวนมาก หากค่าตอบแทน สวัสดิการไม่เท่าเทียมกับข้าราชการ ประจำ ทำให้ขวัญ และกำลังใจในการทำงานขาดหายไป   ปัญหาคือคุณภาพของงานตามมาอย่างแน่นอน    รัฐจึงจึงต้องเห็นความสำคัญ เรื่องนี้ให้มากเช่นกัน ไม่ใช่คิดแต่เพียงลดรายจ่าย ต้องคำนึงถึงคุณภาพงานเป็นสำคัญด้วย

         เรื่องใหญ่อีกเรื่องคือเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องมือทางการแพทย์บางอย่างมีราคาแพงเนื่องจากต้องสั่งซื้อต่าง ประเทศ   แม้จะแพงเท่าไรหากผันงบประมาณได้ก็สามารถที่จะจัดการให้เสร็จสมบูรณ์ได้ตามต้องการ ทั้งนี้ต้องฝากไว้กับผู้แทนของ ปวงชน  และนโยบายของรัฐบาลเป็นสำคัญ
         เรื่องราว และปัญหาสาเหตุต่าง ๆที่กล่าวมา พอจะเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องนำมาวิเคราะห์เจาะลึก เพื่อหาข้อแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาให้ถูกจุดต่อไป อย่างไรก็ดีใคร่ขอเสนอความคิดไว้บ้างตามสมควร
          ประเด็นแรกคือการบริหารจัดการอย่างไร ต่อสถานีอนามัย   ซึ่งเดี๋ยวนี้เปลี่ยนเป็น    "โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ.... "    โรง พยาบาลอำเภอ  และรวมทั้งโรงพยาบาลประจำจังหวัด ถึงให้เกิดศักยภาพในการให้บริการดี   และระบบงานที่ประสานเกี่ยวข้องครบ วงจร เพื่อการขับเคลื่อนงานให้เกิดคุณภาพ และประหยัด   ด้านความพร้อมของอาคารสถานที่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี    จะเห็นว่ามี สถานีอนามัยทุกตำบล  มีโรงพยาบาลอำเภอทุกแห่ง โรงพยาบาลประจำจังหวัดก็มีครบถ้วน   เพียงแต่ให้มีการบริหารจัดการที่ดี ที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น

          ขอนำเสนอให้โรงพยาบาลจังหวัดเป็นโรงพยาบาลศูนย์   โรงพยาบาลศูนย์เป็นสถานผลิตแพทย์ใหม่  ส่งเสริมสนับสนุนแพทย์
หรือผลิตแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง   ศุนย์ข้อมูลด้านสาธารณสุข ศูนย์วิจัยเกี่ยวกับยาและการรักษา เกี่ยวกับโรคภัย  เครื่องมือแพทย์ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และประการสุดท้ายคือใหเป็น้ศุูนย์รักษาผู้ป่วยเฉพาะทาง ที่ต้องรักษาบำบัดเป็นพิเศษกว่าโรงพยาบาลอำเภอ

          การผลิตนักศึกษาแพทย์ใหม่ที่โรงพยาบาลศุนย์เป็นเรื่องง่าย และทำสะดวก เพราะส่วนสำคัญที่ส่งเสริมสนับสนุนมีพร้อม การสอน นักศึกษาแพทย์ไม่จำเป็นที่จะต้องจัดในระบบมหาวิทยาลัยตามที่ทำกันก็ได้   หากคิดให้ดีให้รอบคอบการจัดการเรียนการสอนนักศึกษา แพทย์ที่โรงพยาบาลเป็นเรื่องเหมะสมที่สุด   สามารถเรียนทฤษฎีควบคู่ไปกับการปฏิบัติปฏิบัติ  เคสคนไข้เฉพาะทางก็มีให้ศึกษา
ศูุนย์การวิจัยเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็อยู่ที่นี่ อาจารย์ที่สอนก็เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่อยู่ใกล้ชิด ห้องเรียนคือโรงพยาบาล เหมาะที่สุดสำหรับนักศึกษาแพทย์ การได้รับสัมผัสประสบการณ์ตรง  มีผู้ให้คำแนะนำใกล้ชิดตลอดเวลา เมื่อเรียนจบหลักสูตรน่าจะมี ประสิทธิภาพ มีคุณภาพมากกว่าเรียนในห้องเรียนของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีเวลาฝึกงานในโรงพยาบาลเพียงจำกัด

           ที่กล่าวมาเป็นข้อดี  ข้อได้เปรียบ และด้านความพร้อม  ความคล่องตัวในการที่อำนวยความสะะดวกผลิตนักศึกษาแพทย์ ที่โรงพยาบาลศูนย์  การใช้วิทยากรภายนอก หรืออาจารย์พิเศษนั่นขึ้นอยู่กับความต้องการ ซึ่งเรื่องนี้อยู่ที่ฝ่ายบริหารการจัดการ
          ด้วยโรงพยาบาลศุนย์มีทั่วทุกจังหวัด ฉะนั้นการผลิตนักศึกษาแพทย์ใหม่ จึงเป็นเรื่องง่าย สะดวก สามารถผลิตแพทย์ได้รวดเร็ว ต่อเนื่องและตรงตามความต้องการ   สามารถผลิตแพทยป้อนให้โรงพยาบาลอำเภอได้ และหากเป็นไปได้โรงพยาบาลอำเภอก็อาจ เป็นเครื่อข่ายการผลิตแพทย์อีกทอดหนึ่ง   ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละโรงพยาบาล
          การผลิตนักศึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลศูนย์เป็นการลดค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาล งบประมาณที่ไปทุ่มเทให้กับการขยายการผลิต นักศึกษาแพทย์ตามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต้องใช้งบประมาณมาก  เป็นงบสถานที่  งบเครื่องมือเครื่องใช้   งบค่าตอบแทนผู้สอน หรือด้าน อื่น ๆที่เกี่ยวข้อง  การสอนนักศึกษาแพทย์ที่มหาวิทยาลัย ดูแล้วเป็นเรื่องที่ไกลตัว เป็นเรื่องที่ไม่สอดคล้องสัมพันธ์   ยกตัวอย่างเช่น อาจารย์ที่สอนนักศึกษาแพทย์ส่วนใหญ่ก็ดึงมาจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ตามความต้องการ  ยกตัวอย่างให้เห็นเรื่องนี้เรื่องเดียวก็คงเห็น ชัดเจน ว่าเป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องขาดสัมพันธภาพ ขาดความสะดวกคล่องตัว ดังนั้นประสิทธิภาพในการจัดการย่อมส่งผลสืบเนื่อง ตามมา    ฉะนั้นหากงบประมาณทุ่มเทมาที่โรงพยาบาลศูนย์ และยึดเป็นสถานผลิตนักศึกษาแพทย์ได้อย่างเต็มรูปแบบ  จะเป็นเรื่อง ดียิ่ง และที่สำคัญรัฐบาลลดการใช้จ่ายได้อย่างมหาศาล

          โครงการส่งเสริมสนับสนุนความรู้ให้แพทย์เฉพาะทางสามารถทำได้ง่ายที่โรงพยาบาลศูนย์ ก็เช่นเดียว และแนวเดียวกับ การ ผลิตนักศึกษาแพทย์    ด้วยศักยภาพด้านต่าง ๆ  ของโรงพยาบาลศูนย์มีความพร้อมที่สุด  ดังนั้นการสนับสนุน การเสริมศักยภาพด้าน วิชาการ   ด้า้นทักษะเฉพาะทางจึงเป็นเรื่องที่ง่าย และสะดวกเช่นกัน เพียงแต่ใช้หลักการบริหารการจัดการที่ดีเท่านั้นเอง
           ส่วนเรื่องการจัดตั้งศูนย์วิจัยในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านสาธารณสุขก็ทำได้ง่าย และสะดวกเช่นกัน เมื่อความพร้อมของ เครื่องมืออุปกรณ์ ความพร้อมของบุคลากรมีครบควบคู่กันไป จึงขึ้นอยู่กับงบประมาณ และการบริการจัดการเป็นสำคัญ
          สำหรับการจัดเป็นศูนย์รับผู้ป่วยเฉพาะทาง รวมทั้งเน้นคนไข้ในรายที่มีปัญหามาก ๆ เพื่อแบ่งเบาโรงพยาบาลประจำอำเภอ และที่สำคัญจะได้ผู้ป่วยที่ต้องการศึกษา และวิจัย  การจัดเป็นศุนย์รักษาโรคเฉพาะทางยังมีประโยชน์ครอบคลุมไปทุกด้านที่จัดให้ มีในโรงพยาบาลศูนย์ เช่น นักศึกษาแพทย์  การฝึกแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง   และ ศูนย์วิจัยเกี่ยวกับด้านสาธารณสุข เป็นต้น

          โรงพยาบาลประจำอำเภอยังขาดแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และสิ่งที่ตามมาคือเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ รัฐบาลต้อง รีบยกฐานะโรงพยาบาลอำเภอให้มีศักยภาพทัดเทียมกับโรงพยาบาลศูนย์   ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านแพย์ ด้านพยาบาล น่าจะไม่เป็นปัญหา   หากทุกจังหวัดยกฐานะโรงพยาบาลจังหวัดเป็นโรงพยาบาลศูนย์ คงมีศักยภาพพอที่จะผลิตบุคลากรอย่างมี คุณภาพ และพอเพียง โรงพยาบาลศูนย์ทั่วประเทศควรตั้งเครื่อข่ายเพื่อสะดวกในการติดต่อ แลกเปลี่ยน รู้ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ เป็นการเสริมศักยภาพด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  สำหรับเรื่องอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือรวมทั้งอาคารสถานที่เหล่านี้ เป็นเรื่องของรัฐบาลที่ต้องเห็นความสำคัญดั่งที่ว่า "สุขภาพมาก่อน"

          สถานีอนามัยน่าจะคงไว้ในรูปแบบเดิม  คือเก็บข้อมูลขั้นพื้นฐาน การดูแลเฝ้าระวังป้องกันด้านสาธารณสุขในเชิงรุก  การส่งเสริมด้านสุขภาพ การติดตามดูแลผู้ป่วย  หรือ อื่น ๆ ที่จำเป็นเกี่ยวข้อง ซึ่งในรูปกรอบตามแผนที่ปฏิบัติเดิมมีความพร้อม สมบูรณ์อยู่แล้ว การมาเปลี่ยนชื่อเป็น " โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ..." เหมือนกับย้ำเน้นว่าให้การรักษาด้วยเป็นสำคัญ การขยาย งานในลักษณะอย่างนี้เป็นเรื่องที่ผิดพลาดพอสมควร  ผิดพลาดอย่างไร ? ในเมื่อโรงพยาบาลอำเภอยังไม่พร้อมด้านบุคลากร ด้าน อุปกรณ์ทางการแพทย์ แพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ทำไมถึงขยายงานให้กว้างออกไป ยากแก่การควบคุมบริหาร และไร้ซึ่งคุณภาพ

          ที่พูดได้เต็มปากเช่นนี้เพราะข้อมูลที่เชิงประจักษ์ทุกคนเห็นกันชัดเจน และหากเจาะลงไปลึก ๆ ก็จะพบรายละเอียดลงไป อีก เช่นตอนนี้มีมโยบายให้แพทย์โรงพยาบาลประจำอำเภอไปปฏิบัติหน้าที่ ที่ " โรงพยบาลส่งเสริมสุขภาพ...." อาทิตย์ละครั้ง หรือ 2 ครั้ง ตามแผน   แผนวางไว้ มีไว้ แต่พอปฏิบัติจริงทำไม่ได้เต็มที่เพราะโรงพยาบาลขาดบุคลากร ฉะนั้นแผนงานตรงนี้ควรจะให้ โรงพยาบาลอำเภอมีความพร้อม มีศักยภาพก็สามารถที่จะบริหารจัดการได้  ฉะนั้นสถานีอนามัยน่าจะคงชื่อเดิม หรือ ชื่อใหม่ที่พอ จะเป็นชื่อที่สอดคล้องกับงานว่า "ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ"

         สิ่งที่สมควรจะปรับปรุงส่งเสริมในสถานีอนามัยคือ เรื่องของการบริหารจัดการเกี่ยวกับอุบัติเหตุ สถานีอนามัยควรมีรถพยาบาล เพื่อดูแลผู้ป่วยจากอุบัติเหตุ  การอำนวยความสะดวก และดูแลในเรื่องนี้สำคัญมาก เพราะโดยเฉพาะปัจจุบันอุบัติเหตุบนท้องถนน มีจำนวนมาก

          เรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดเพี่ยงข้อเสนอในประเด็นแรก   สำหรับประเด็นที่สองคือเรื่องงบประมาณ   ได้กล่าวมาตั้งแต่ต้นว่า
"สุขภาพมาก่อน" ฉะนัันงบประมาณต้องติดตามมาด้วย เรื่องนี้ผู้แทนของเราเป็นผู้ดูแล หากผู้แทนของเราไม่ทำหน้าที่ที่เหมาะสม หรือประชาชนนำเสนอผ่านผู้แทนแล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการ ประชาชนอาจใช้สิทธิ์ลงชื่อเรียกร้องได้ตามสิทธิตามรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ดีหากท่านที่เกี่ยวข้องได้อ่านบทความนี้ หากมีข้อคิดในส่วนที่เห็นว่าน่าจะนำปฏิบัติได้ ก็ควรให้การสนับสนุน และขับ เคลื่อนไปตามกระบวนการ “ เพื่อได้พัฒนาเรื่องนี้ต่อไป
          อย่างไรก็ดีหากดำเนินชิวิตตามแนว ตามหลักการของ "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก" เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องจัดทำ
จัดดำเนินการอย่างที่ว่า  "มาก่อน"  การระดมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อการพัฒนาความเป็นอยู่อย่างมีสุข ทั้งสุขภาพจิต และสุขภาพกาย คงทำกันอย่างเชิงรุก และต่อเนื่อง   ส่วนการบริหารจัดการน่าคงอยู่ในรูปแบบนี้ เพียงแต่สังคมแบบ "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก" ช่วยเหลือกันเกื้อกูลกัน  คงไม่เกี่ยวข้องเรื่องงบประมาณซึ่งรูปแบบแนวคิดนี้น่าศึกษาติดตาม
          

คำสำคัญ (Tags): #เว็บเพื่อสังคม
หมายเลขบันทึก: 502552เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2012 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2012 13:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยค่ะท่าน สุขภาพที่ดีเป็นลาภอันประเสริฐ

สวัสดีค่ะท่านBlank ประทีป  วัฒนสิทธิ์  หวังว่าท่านคงจะสบายดีนะคะ

อ่านแล้วค่ะ  สุขภาพต้องมาก่อนค่ะ  เมื่อสุขภาพดีคนเราก็จะมีกำลัง

พัฒนาสิ่งต่างๆ ให้มีคุณภาพได้

         ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก ประกาศเป็นจุดยืนว่า "เรื่องสุขภาพของประชาชนต้องมาก่อน" จากจุดยืนตรงนี้จึงใคร่นำเสนอแนวคิด เรื่องปัญหาสุขภาพของประชาชนต่อผู้บริการในรัฐบาล หรือผู้เกี่ยวข้อง ผู้มีความรู้ความสามารถทุกระดับในเรื่องนี้ เพื่อให้เห็นความสำคัญ และช่วยกันหาแนวทางปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนาต่อไป

         ความเป็นจริงที่ประจักษ์ขณะนี้คือ  โรงพยาบาลของรัฐขาดบุคลากร ขาดเครื่องมีออุปกรณ์ด้านการแพทย์   ทำให้การบริการล่าช้า ไม่ทั่วถึง ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร สรุปว่าการดูแลสุขภาพของประชาชนยังด้อยคุณภาพ รัฐบาลต้องรับผิดชอบดูแลเรื่องนี้ให้มากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท