การเรียนรู้ยุคใหม่ เปลี่ยนครูจากผู้ให้ เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้


ครูไม่ใช่ผู้มีองค์ความรู้มากที่สุด แต่เป็นผู้แนะนำการเรียนรู้ได้ดีที่สุด


การเรียนการสอนและการถ่ายทอดความรู้ในอนาคตอันใกล้นี้คงเปลี่ยนแปลงไปมาก คำว่าถ่ายทอดความรู้จากครูอาจจะหมดไปในไม่ช้าก็ได้ เนื่องจากแนวคิดให้ครูเป็นผู้อำนวยการทางการเรียนรู้ (Falicitater) แทนที่จะเป็นผู้สอน (Teacher) เพราะครูไม่สามารถเป็นผู้รวบรวมองค์ความรู้มาใส่ในตัวเองและถ่ายทอดลงไปสู่ผู้เรียนได้ สิ่งที่ครูทำได้ดีที่สุดก็คือการแนะนำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ และให้เทคนิคในการแสวงหาความรู้ตามที่ตนเองถนัด 

จากการที่ผมได้เข้าร่วมงาน Conferrence ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน สื่อ และเทคโนโลยีทางการศึกษาในระดับ Asean และระดับนานาชาติที่ผ่านมา สังเกตเห็นได้ว่ามีงานวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้ระบบเครือข่ายในการเป็นแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งทรัพยากร แนวโน้มการเรียนรู้จะเป็นการสนับสนุนให้เกิดแหล่งเรียนรู้เหล่านี้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ครูจะมีส่วนกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้ และแนะนำวิธีการแสวงหาความรู้ดังได้กล่ามาข้างต้น

พูดถึงประเทศในกลุ่ม ASEAN แล้วประเทศที่มีการพัฒนาด้านการศึกษาดีที่สุดคงจะหนีไม่พ้นสิงคโปร์ จากเข้าร่วมสัมมนา the8th International Conference on eLearning for Knowledge-Based Society  เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เห็นได้ว่าสิงโปร์ก้าวสู่ยุคของ Ubiquitus Learning ไปเรียนร้อยแล้ว ซึ่งกว่าที่จะเดินทางมาถึงจุดนี้รัฐบาลได้วางโครงข่ายการสื่อสารให้ทั่วถึง พัฒนาและสนับสนุนการผลิตสื่อการสอนที่จะรองรับกับเทคโนโลยีต่างๆ เมื่อโครงข่ายพร้อม เนื้อหา (software) พร้อม และอุปกรณ์ (Mobile Device) พร้อม ก็เริ่มดำเนินการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีไร้สายได้เลย โดยมีการพัฒนาครูอย่างเข้มข้นตามไปด้วย

ดังตัวอย่างการวิจัยของนักวิจัยท่านหนึ่งครับ

Jean Lee, Shawnz Neo, and Jun Magata (Singapore)
"Location Based mLearning in Singapore"

อันนี้ทำเอาช็อคตาตั้งครับ ผู้วิจัยจากสิงคโปร์นำตัวอย่าง application มานำเสนอ เป็น apps บน iPhone iPad ที่ให้นักเรียนเรียนแบบ m-learning เดินไปปฏิบัติภารกิจในสถานที่จริง โดยครูควบคุมและคอยฟังผล คอมเม้นต์และให้คะแนน ที่ว่าช็อคเพราะมีฝรั่งคนนึงถามว่า ทำไมถึงใช้ iPhone iPad มันราคาสูง เด็กๆ จะมีใช้ได้จริงหรือ ผู้วิจัยตอบว่าเด็กๆ ที่สิงคโปร์มีใช้ทุกคน รัฐบาลสนับสนุนให้ใช้เป็นเครื่องมือในการเรียน แล้วก็มีคนถามว่าแล้วใช้ iPod touch ได้ไหมถูกกว่า ผู้วิจัยตอบว่าใช้ได้แต่กล้องจะไม่มีคุณภาพเท่า iPhone ใช้ได้เพราะมี free WIFI เกือบทุกที่อยู่แล้ว ไม่ต้องใช้ 3G ซึ่งนักเรียนไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการใช้งาน

เห็นได้ชัดว่า infrastructer ต่างกับไทยมาก เรื่องการเข้าถึง internet ไร้สายสำคัญมากต่อการพัฒนาการเรียนรู้และทักษะในการสื่อสาร
 
การที่ไทยเราจะเข้าสู่ ASEAN และต้องการปรับปรุงแหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีการศึกษานั้น คงจะต้องคิดถึงองค์ประกอบหลายอย่างไปพร้อมๆ กัน ทั้งโครงข่ายการสื่อสาร อุปกรณ์ การอบรมครูผู้ใช้เทคโนโลยี เนื้อหาและรูปแบบที่จะเข้าไปอยู่อุปกรณ์เหล่านั้น รวมทั้งพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ให้มีคุณภาพและเข้าถึงได้ง่ายด้วย
 
ขออนุญาตแลกเปลี่ยนในประเด็นนี้เพียงเท่านี้ครับ
 
-ไต้ฝุ่น-

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
หมายเลขบันทึก: 502382เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2012 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2012 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท