มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับการเป็น Education Hub ของอาเซียน


สวัสดีลูกศิษย์และชาว Blog ทุกท่าน
            วันที่ 12 กันยายน 2555 ผมได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บรรยายหัวข้อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับการเป็น Education Hub ของอาเซียน และมีการจัดทำ Road Map การเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและ กำหนดกรอบการดำเนินงานเกี่ยวกับ ASEAN ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวนกว่า 300 คน ณ ห้องประชุม BSC 3 อาคารคณะวิทยาศาสตร์

 

หมายเลขบันทึก: 502102เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2012 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2012 12:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • วันนี้จะพูดเป็น Step เล็ก ๆ ให้ มอ. เสนอความคิดใหม่ๆให้เสมอ และได้มาพูดเรื่องอาเซียน แต่ไม่ควรเห่อการสัมมนา
  • อยากจะพูดเสร็จ แล้วเกิดการจุดประกายร่วมกัน ลองพยายามทำ มีตัวอย่างที่ชัดและปฏิบัติได้ในหลายหน่วยงาน
  • อย่าเห่อ คำว่า อาเซียนเสรี แต่สิ่งที่ควรจะเห่อ คือ จะไปทำอะไรกับอาเซียน เราควรตระหนักเรื่องอาเซียน
  • เมื่อเรารู้แล้วว่าอาเซียนเสรีคืออะไร? ควรจะกระตุ้นให้เราคิดร่วมกัน
  • สิ่งที่เราพูดในวันนี้หลังจากที่พูดแล้วเราจะทำอะไรต่อ
  • เราจะต้องศึกษาความลึกซึ้งของประเทศต่างๆ ซึ่งเราสามารถทำได้
  • ข้อสรุปที่น่าสนใจจากการวิจัยฯ นี้ อาทิ
  • การวิจัยต่อเนื่องเกี่ยวกับการมองภาพอนาคต ปี 2020 ด้านการท่องเที่ยวและการกีฬาของประเทศไทย
  • การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบของ Learning / Training และ Coaching สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่มที่สำคัญ คือ กลุ่มผู้นำท้องถิ่น นักธุรกิจ SMEs และข้าราชการ โดยจัดเป็นรูปแบบ Cluster กลุ่มจังหวัด
  • กิจกรรม / โครงการต่าง ๆ โดยมุ่งไปสู่การสร้างให้เกิด 3 V (Value added, Value Creation & Value Diversity)
  • นอกจากนั้น.. ยังเปิดเสรีเรื่องการลงทุน  เช่น ประเทศใดมีความสามารถในการระดมทุนการเงินมากกว่าประเทศอื่น ก็เข้าไปลงทุนในประเทศเหล่านั้นได้ เช่น ถ้าสิงคโปร์มีทุนมากกว่าก็สามารถนำเงินมาลงทุนในประเทศไทยได้กว่า 60% ซึ่งอาจจะหมายถึงการลงทุนในด้านการศึกษาด้วย
  • ยิ่งไปกว่านั้นยังเปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามประเทศอาเซียนด้วย เช่น ถ้าคนไทยเก่งก็สามารถไปทำงานในอาเซียนได้ และคนมาเลเซียก็อาจจะมาทำงานแข่งกับคนไทยได้ คนไทยก็อาจจะตกงานได้ หากไม่พัฒนาทุนมนุษย์
  • เราต้องเร่งเรื่อง คุณภาพและภาษาให้กับนักศึกษาของเรามากขึ้นด้วย
  • อยากให้มหาวิทยาลัยคิดให้รอบคอบว่าต่อไปเราจะทำอะไร
  • คิดถึงโอกาส จุดแข็ง จุดอ่อน ของเราว่าอยู่ตรงไหน? ในอนาคตก็ต้องมีการทำงานร่วมกันในระหว่างมหาวิทยาลัย
  • เราต้องเปลี่ยนวิกฤตมาเป็นโอกาส
  • เมื่อเห็นภาพดังกล่าวแล้ว.. สิ่งที่สำคัญที่สุดในวันนี้ ก็คือ ค้นหาตัวท่าน ต้องคิด วิเคราะห์ว่าอะไรเกิดขึ้น เตรียมพร้อม และสำคัญที่สุดจะฉกฉวยโอกาส และหลีกเลี่ยงการคุกคามอย่างไร?
  •  มีความมั่นใจว่าเราปรับตัวอยู่ในประชาคมอาเซียนได้อย่างดี
  • เราต้องรับฟังความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อจะได้เป็นประโยชน์
  • สิ่งแรกก็คือ เข้าใจ ศึกษาให้ถ่องแท้
  •  โอกาสที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง อยู่ที่ว่าเราจะฉกฉวยอย่างไร?
  • โอกาสแรก คือ เรื่องการขยายของตลาด เฉพาะอาเซียน อย่างเดียวก็เพิ่มประชากร/ผู้บริโภคเพิ่มจาก 64 ล้านคน เป็น 500 ล้านคน.. ถ้านับอาเซียน+6 ก็มีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นหลายพันล้านคน
  • จะทำอะไร 4 เรื่อง เพื่อจะปรับเข้าสู่อาเซียนเสรี จากงานวิจัยขอมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.. ผมวิเคราะห์ว่า..การปรับตัวที่สำคัญที่สุดของทุนมนุษย์ “คนไทย” คือ
  • เรื่องทัศนคติ (Mindset) ขอให้ระมัดระวังในเรื่องนี้ เราต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้ไปด้วย
  • เรื่องความเป็นมืออาชีพ (Professionalism) ในฐานะวิชาการ และต้องมีเป็นผู้นำและบริหารจัดการ ที่สำคัญคือ การบริหารทุนมนุษย์
  • เรื่องความเป็นสากล (Internationalism) เราต้องมีความเข้าใจว่าเราอยู่ในโลกสากล เราต้องรู้จักประเทศหลายๆประเทศ มองทุกๆประเทศ ต้องศึกษาประเทศเหล่านี้ ไม่ใช่มองเพียงแต่อเมริกา
  • และที่สำคัญที่สุดต้อง Back to basic คือ เรื่องคุณธรรมจริยธรรม  อย่าโกง อย่าโลภ ผมคิดว่าในห้องนี้มีข้อ 4 มาก
  • แต่ที่สำคัญที่สุด ถึงเราจะเป็นชุมชนอาเซียน แต่เราก็ต้องคงไว้ที่ภูมิปัญญาและรากเหง้าความเป็นตัวตนของคนไทย ส่วนความดีงามของสังคมไทย น่าจะเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับอาเซียน
  • ข้อดีที่สุด คือ ทุนทางวัฒนธรรม
  • ถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะต้องมีความพร้อมมากขึ้นในเรื่องภาษา ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน และยิ่งไปกว่านั้นภาษาคอมพิวเตอร์ ที่จะคุยแลกเปลี่ยนกับชาวอาเซียนด้วยกัน  เพื่อสร้างทุนมนุษย์ของประเทศไทยให้มีความสามารถเรื่องภาษาให้ได้โดยเร็วที่สุด
  • และขอเน้นไปที่ ภาษามาลายู ในเขตภาคใต้ และภาษาอาเซียนให้มาก
  • ไม่ควรเรียนหนังสือแบบ copy ต้องมีการเรียนรู้แบบ Learning System
  • การปรับตัวที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ ความใฝ่รู้ คือ สร้างให้คนไทย ข้าราชการนักการเมือง นักธุรกิจ เด็กและเยาวชนไทย ฯลฯ รวมทั้งตัวเราเอง และวัฒนธรรมองค์กรของเราให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีวัฒนธรรมในการเรียนรู้ โดยเฉพาะผู้บริหาร อาจารย์ ข้าราชการ และบุคลากรของ ม.อ.
  • กระตุ้นให้เด็นค้นหาตัวเอง เราต้องเก่งกว่าเด็ก เรียนเพื่อเอาชนะอุปสรรค ไม่ใช่การเรียนเพื่อเอาปริญญาอย่างเดียว
  • ต้องมีความรู้เพิ่มขึ้นตลอดเวลา อย่าใช้ความรู้แบบโบราณ
  • ผมอยากให้ get thing done ถ้าหากเสนออะไรมาผมจะนำไปปรึกษากันและทำต่อ เราต้องทำงานร่วมกัน
  • การพัฒนาและบริหารคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ ในการอยู่รอดและแข่งขันได้ในวันนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การพัฒนาและบริหารคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของข้าราชการ SMEs และผู้นำชุมชน
  • ผมขอเสนอแนวคิดการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ 8K’s และ 5 K’s ของผม ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ช่วยให้คนไทยอยู่รอดและก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน
  • ทุนที่สำคัญที่สุด คือ ทุนแห่งความสุขในการทำงาน  ความเป็นเลิศของคนอยู่ข้างใน ไม่ใช่อยู่ข้างนอก ไม่ใช่จากการใช้  KPI ในการวัด
  • ถ้าเราจะต่อยอด เราต้องมี Human Capital ทุนมนุษย์, Intellectual Capital ทุนทางปัญญา , Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม
  • และสิ่งที่สำคัญเราต้องมีการควบคุมอารมณ์าด้วย เหมือนในทฤษฎี 5K’s ของผม
  • อยากให้ทราบว่า เรื่องท่องเที่ยว ต้องเอาทุนทางวัฒนธรรมมาใช้ และซึ่งสิ่งนี้เป็นจุดแข็งของภาคใต้และเป็นจุดแข็งของมหาวิทยาลัยของเราด้วย
  • สรุป.. เรื่องม.อ. กับ ASEAN และ Education Hub
  • ม.อ. มีหน้าที่ผลิตทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ และหากมีความสามารถทางด้านภาษาต่างประเทศด้วยก็จะทำให้เข้มแข็งมากขึ้น.. ทำต่อไปให้ดีที่สุด
  • ทำดีอยู่แล้ว แต่ขอให้ทำให้มากขึ้น ผลที่เราได้รับ เช่น แก้ปัญหาความยากจน สิ่งแวดล้อม ลดปัญหาคอรัปชั่น เป็นต้น
  • ภาพใหญ่ของ Education Hub คงไม่สำคัญเท่ากับจุดแข็งและความสามารถเฉพาะทางของ ม.อ.
  • มองจุดแข็งของเรา และให้มีความรู้มากขึ้น อย่าทำทุกอย่าง แต่ให้ใช้จุดแข็งของเราในการทำ
  • ดังนั้น น่าจะเริ่มจาก  
  • (1) สำรวจ Where are we? มี link กับ ASEAN ในระดับมหาวิทยาลัยในอาเซียนอย่างไร? 
  • (2) Where do we want to go? กำหนด Vision ที่เน้นจุดแข็งของเรา เช่น การแพทย์ วิศวะฯ วิทยาศาสตร์ และอื่น ๆ มีเป้าหมายชัดเจนว่าจะทำอะไร? เช่น
  • แลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา
  • วิจัยร่วมกัน
  • ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและกำหนดพื้นที่ (ประเทศ) ให้ดีว่าจะเน้นประเทศไหน? และเน้นภาคไหนของประเทศ เช่น พม่า: ควรจะเน้นส่วนที่ใกล้ที่สุด กับ ม.อ.
  • กำหนดประเทศให้ชัดเจน
  • (3) How to get there? กำหนดยุทธศาสตร์ใหญ่ระดับมหาวิทยาลัย ทั้งกิจกรรมและภูมิศาสตร์และมีระดับคณะช่วยกันสร้างเป็นแผน ASEAN ของ ม.อ.ขึ้นมา
  • ยกตัวอย่างที่ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี แบ่งประเทศและกลุ่มกัน ว่าคณะไหนดูแลประเทศไหน? ต้องมีการเชื่อมโยงระหว่างกันครับ
  • (4) How to get there successfully? -ทำอย่างไรจึงจะสำเร็จ
  • Plan – Do – Check – Act 
  • Follow up
  • มี Budget และการประสานงานที่ดี  อย่าพึ่งงบประมาณตัวเองเท่านั้น ให้ไปพึ่งงบจากที่อื่น ด้วย เช่น ก.พาณิชย์ ก.ท่องเที่ยวและกีฬา และมีคนติดตามอย่างใกล้ชิด ขึ้นอยู่ที่วัฒนธรรมองค์กรของเรา
  • อยากให้มีการเร่งรัดให้มาก และมีการประเมินผลด้วย มีคนไปปิดจุดบอดของเราให้ได้ 
  • มี Network ที่ดี เช่น งบประมาณจำนวนหนึ่งอยู่ที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
  • หรือจะเน้นไปที่งบประมาณแผ่นดิน การทำงานข้าม Silo อื่น ๆ มีมากมาย
  • ที่สำคัญที่สุด คือ ต้องพัฒนาทุนมนุษย์ของผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
  • ต้องมีความต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง ขอให้เสนอโครงการใหม่ๆ อยู่เสมอและทำให้สำเร็จ
  • อาจเลือกประเทศที่มีประโยชน์ของเรา เสนอแผนงานเป็นคณะ
  • บริหารความจริง ไม่ต้องไปเน้น KPI
  • ต้องมีการทำ Network และการพึ่งตัวเอง
  • ต้องสำรวจตัวเองว่าต้องการอะไร?
  •  เอาชนะอุปสรรคให้ได้
  • ต้องมี Networking ต้องมีเพื่อนนอกมหาวิทยาลัย ต้องมี Value ในสังคม หน้าที่เราไม่ได้มีแค่ผลิตบัณฑิตอย่างเดียว แต่ต้องช่วยสังคมด้วย

ถาม – ตอบ

เป็นโอกาสดีมากๆ ในวันนี้ ไม่ค่อยสบายใจ ในเรื่องที่ต้องทำ เรื่อง AEC ด้วย และ ACC และ APCC รวมๆแล้วจะมีการทำกิจกรรมประมาณ 600 กว่ากิจกรรม มองว่าแนวทฤษฎีของ Idea list มากกว่า Realist  เราในฐานะสถาบันการศึกษา เรามีบทบาททั้ง 3 เสา แต่คนพูดแค่ AEC  ต้องมีการศึกษาเรื่องนี้อย่างไร?

  • เราจะทำทุกเรื่องคงไม่ได้ ใน 3 เสาหลัก สิ่งสำคัญคือ ศักยภาพของคนและ SME’s ที่เราจะแข่งขันกับเขาได้ ต้องมีคุณบัติแบบ 8K’s , 5K’s
  • ต้องเลือกดูว่าเราจะเลือกทำอะไร? ทำในสิ่งที่เหมาะกับเรา  อย่าทำทุกอย่างเพราะจะไม่สำเร็จสักอย่าง
  • ถามตัวเองว่าเก่งอะไรบ้าง และให้ทำในสิ่งนั้นๆ

 

สร้างการศึกษาเน้นความคิดและคิดนอกกรอบด้วย มีการเรียนผ่านระบบและมีการเรียนพิเศษกันมากมาย เพื่อให้สอบผ่านเข้าไปเรียนต่อได้ จนทำให้ไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์ จะทำอย่างไรกับปัญหาตรงนี้

  • การออกข้อสอบต้องให้คิดเยอะ อย่าพยายามให้ลอก อาจารย์ที่สอนที่ ม.อ.ต้องให้เด็กคิดเยอะ การออกข้อสอบต้องทำเป็นคำถามเปิด และไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง เพื่อให้ตอบคำถามได้หลากหลาย ทำให้เกิดความคิดที่หลากหลายด้วย นั่นแหละเป็นคำถามที่ควรใช้ในการสอบ
  • ต้องพบกันครึ่งทาง ส่วนหนึ่งเรียนจากตำรา และอีกส่วนหนึ่งจากกรณีศึกษาในยุคปัจจุบันด้วย
  • อย่าติวข้อสอบ ต้องทำข้อสอบแบบให้คิดนอกกรอบ ต้องให้คิดและวิเคราะห์ให้เป็น
  • ต้องมีการเรียนแบบ  Learning how to lean
  • ต้องมีการวัดผลที่ความคิด สอนให้ตกปลา ไม่ใช่การกินปลา

 

ในเรื่องการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดเสี่ยง เราจะเตรียมความพร้อมไว้อย่างไร และได้วิเคราะห์ความเป็นมาไว้อย่างไร  ในประเทศได้มองเรื่องนี้และเตรียมการหรือไม่?

  • ที่ลาว ถ้าไม่เข้าใจประเทศลาว สิ่งหนึ่งที่มอง เราต้องมองถึงความยั่งยืน
  • คนที่จัดการเรื่องอาเซียนอยู่ที่ ก.พาณิชย์ ซึ่งมีการเจรจา และเคยผิดพลาดมาแล้ว 1 ครั้ง เรื่อง โชห่วย การเปิดการค้าเสรี มีทั้งโอกาสและความเสี่ยง ด้วย เราต้องใช้ให้เป็น
  • ก่อนที่เราจะมี Master Plan  เราต้องทำก่อน ว่าเหมาะสมหรือไม่? 
  • นักศึกษาที่จะทำวิทยานิพนธ์ ต้องถามตัวเองด้วยว่า ทำแล้ว มีประโยชน์ต่อประเทศไทยหรือไม่? ไม่ใช่ทำแล้วนำไปขึ้นหิ้ง ซึ่งไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย?
  • ต้องช่วยกันทำ แต่ไม่ควรทำทุกเรื่อง ทำเพื่อให้ลดจุดอ่อนลง
  • เป็นการศึกษาที่สำคัญที่สุดในภาคใต้ แต่ปัญหาตอนนี้ในภาคใต้คือเรื่องมีปัญหาความไม่สงบ ทำให้นักศึกษาหันไปเรียนที่อื่นมากขึ้นด้วย
  • ต้องใช้ Network ให้เป็น ดึงคนข้างนอกมาร่วมมือกัน ต้องมีการทำงานร่วมกัน ในหลายๆฝ่าย
  • ผมจะขอช่วยมหาวิทยาลัยต่อไป  ขอบคุณครับ

 

 

 

 

 

อนุโมทนาขอบคุณอาจารย์ที่กรุึณานำเรื่องราวดีๆ มีสาระมีเล่าให้พวกเราได้เรียนรู้ เข้าใจ และนำไปวางเป็นแนวทางในการปฏิบัติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท