ไปน่าน


แต่แม่ต้อยคอแห้งผาก ปากขม และขาอ่อนไปหมดทั้งเนื้อทั้งตัว

วันหนึ่งแม่ต้อยเข้าไปคุยกับอาจารย์ อนุวัฒน์ที่ห้อง

“ หัวหน้า เราไปสัมภาษณ์ อาจารย์ บุญยงค์ กันสักวันไหม?

“ เอาสิ พี่ไปนัดเลย ไปไป “ อาจารย์ อนุวัฒน์ ตอบแบบไม่ต้องคิด เพราะคงตรงกับใจของอาจารย์ อยู่แล้ว

เมื่อกำหนดการไปสัมภาษณ์ ท่านอาจารย์ บุญยงค์ วงค์รักมิตร ที่จังหวัดน่านได้รับคำยืนยัน การเดินทางและประเด็นการสัมภาษณ์ พรักพร้อมแล้ว

แม่ต้อย อาจารย์ อนุวัฒน์ ชมพู่ และสงวน ก็มีกำหนดการไปจังหวัดน่านในวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๕  น้องพรรณ เอาใบจองตั๋วเครื่องบินมาให้ พร้อมกับบอกว่า

“ อันนี้เป็นใบจองเดิมนะคะ แต่ใช้หมายเลขยืนยันเลขเดิมคะ “

แม่ต้อยรับมา เหลือบมองแวบหนึ่ง เป็นใบจองเป็นชื่ออาจารย์ อนุวัฒน์ แต่มีชื่อแม่ต้อยพ่วงมาอีกคน กำหนด การเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิเวลา เจ็ดโมงสามสิบนาที

เย็นก่อนวันเดินทาง แม่ต้อยจึง เดินไปหาอาจารย์ อนุวัฒน์ ที่ห้องเพื่อทักทายและนัดการเดินทาง

ปรากฏว่าอาจารย์ อนุวัฒน์ กำลังใจจดใจจ่อกับการสนทนากลุ่มหรือ  Tele-confreence อะไรสักอย่าง บุ้ยใบ้ให้แม่ต้อยไปถามชมพู่

ตอนนั้นนึกในใจว่าพรุ่งนี้ก็เจอกันที่สนามบินละกลับบ้านไปนอนพักก่อนดีกว่า หมู่นี้ใช้ร่างกายมากเกินความจำเป็นเสียแล้ว

ตีห้าตรง แม่ต้อยลุกจากที่นอนด้วยเสียงนาฬิกาปลุก ที่ส่งเสียงร้องลั่นอย่างไม่เกรงอกเกรงใจ จนต้องรีบลุกมาปิดเสียงก่อน

สมหมายมารับตรงเวลา ตีห้าครึ่ง แม่ต้อยจิบกาแฟแบบลวกๆ แล้วนั่งรถออกจากบ้านตรงไปสนามบินสุวรรณภูมิ จากบ้านแม่ต้อย ไปสนามบินใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงหากรถไม่ติดในยามเช้าตรู่เช่นนี้

มาถึงสนามบินรู้สึกแปลกใจนิดๆที่ไม่ได้รับโทรศัพท์จากใครสักคน ปกติน้องๆจะคอยถามว่ามาแล้วหรือยัง ถึงไหน อะไรประมาณนี้ แต่วันนี้เงียบเชียบ แม่ต้อยนึกในใจว่าทุกคนกำลังเดินทาง เราคงมาถึงก่อนคนอื่นแน่ๆ

อย่ากระนั้นเลย ลงไปหาอะไรรองท้องก่อนดีกว่า เขาบอกว่าอาหารมื้อแรกนี่สำคัญ  นี่เราไปทำงานสำคัญนี่นา

แต่อีกใจหนึ่งก็บอกตนเองว่าเราไปเช็คอินก่อน ดีกว่า

ว่าดังนั้นแม่ต้อยก็ฝ่าฝูงชนที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวไปที่ช่อง D อันเป็นคาเตอร์สายการบินต้นทุนต่ำทั้งหลายแหล่

เดินไปเดินมาทั้งสองฝั่งมองไม่เห็นสายการบินนกแอร์ สีเหลือง เห็นแต่สายการบินสีแดง เต็มไปหมด แฮ่ๆ

จึงเดินออกมาที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีสาวๆนั่งอยู่สองคน ทันใดนั้นก็มีคนตัดหน้าเข้าไปสอบถามก่อน

“ มีร้านสระผมบ้างไหม? “

“ ราคาเท่าไหร่คะ  แพงไหม?”

แม่ต้อยนับในใจจนถึง ร้อยห้าสิบจึงถึงคิว ก็ได้รับคำตอบว่า เคาเตอร์ นกแอร์อยู่ฝั่งนี้คะ เธอผายมือไปอีกทาง

คราวนี้แม่ต้อยเริ่มใจชื้น เออ เราไม่ค่อยได้ขึ้นสายการบินต้นทุนต่ำ ก็แบบนี้แหละ  ทำไงได้  ฮ่าๆ

คราวนี้แม่ต้อยเดินทุกเคาเตอร์ ก็ยังไม่เห็น อยากจะถามพนักงานสักคนก็ไม่มีใคร เห็นแต่คนกวาดขยะที่กำลังเทขยะ แถวๆนั้น แต่เกรงว่าจะไม่ได้เรื่อง

จึงตัดสินใจเข้าไปถามพนักงานสายการบินสีแดง

“ เคาเตอร์ นกแอร์ อยู่ไหนคะ?”

เธอผู้นั้นมองแม่ต้อย ด้วยสายตาที่เห็นใจ แถมด้วยสงสาร อาจจะเพิ่มอีกนิดด้วยเวทนา แม่ต้อยสัมผัสได้อย่างนี้จริงๆ สายตาคนนี่ล้ำลึกมาก

“ เอ่อ.. นกแอร์ ย้ายไปดอนเมือง แล้วคะ”

ดังสายฟ้าฟาด แม่ต้อยใจหายวาบ เข่าอ่อน ใจเต้นระรัว ทำไงดี

ยกมือดูเวลา อีกห้านาทีเจ็ดโมง

“ สมหมาย นกแอร์ เขาย้ายไปดอนเมือง” แม่ต้อยยกโทรศัพท์ บอกสมหมาย เพราะไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร

“ เดี๋ยวผมจะกลับไปรับ “ สมหมายบอก แม่ต้อยมารู้ทีหลังว่าเขาไปถึงแถว ศรีนครินทร์ แล้ว

หลังจากโทรหาสมหมาย แม่ต้อยก็โทรบอกชมพู่ ว่าบัดเด๋ยวนี้ แม่ต้อยอยู่ที่สุวรรณภูมิ หาใช่ที่ดอนเมืองไม่

“ ชมจะ เช็คอินให้คะ “ ชมพู่พยายามเต็มที่เหมือนกัน

แม่ต้อยเดินลงจากขาเข้า มาที่ขาออกเพื่อรอสมหมาย ตอนนั้นคิดว่าคนจะออกจากสนามบินต้องมารอที่ขาออก เพราะอยากไม่ให้เสียเวลา

สมหมายใช้เวลาประมาณ เจ็ดแปดนาทีมาถึงสนามบิน แต่แม่ต้อยมองไม่เห็นสมหมายสักที

“ สมหมาย พี่รอที่ประตู สองนะ “

“ ตอนนี้ผมก็อยู่ที่ประตูสอง  ผมมองไม่เห็นครับ พี่อยู่ที่ไหน “

ปรากฏว่า สมหมายรอประตูสองที่ขาเข้า  แม่ต้อยรอที่ประตูสองขาออก โลกนี้ช่างโหดร้ายเกินไปไหม สำหรับคนที่ตั้งใจทำงานเยี่ยงนี้ อิอิ

แม่ต้อยถอดใจแล้วตอนนี้  ดูเวลา นี่มันเจ็ดโมงสิบสองนาที แม่ต้อยนับเวลานาทีต่อนาทีเลยทีเดียว

สมหมายขับรถพรวดมาจอดรับ พร้อมบอกสั้นๆได้ใจความว่า

“ ขับเร็วหน่อยนะพี่”

เอาเลย เจ้าประคุณ ตอนนี้ไม่ว่ากันละ

รถวิ่งปาดซ้ายขวา ไปเรื่อย สมหมายดูมีสติ และนิ่งเงียบ รถขับเร็วแต่ไม่น่าเกลียด

รถติดที่ทางด่วนเพชรบุรี เป้นแถวยาวเหยียด เพราะเริ่มสาย

“ พ้นทางด่วนนี้พอเข้าโทรเลย์จะโล่ง “ สมหมายบอก

เวลาเจ็ดโมงสิบห้านาที สมหมายสามารถฝ่าฟันรถที่ติดเข้าทางด่วนโทรเวย์ได้สำเร็จ

อาจารย์ อนุวัฒน์ โทรเข้ามา

“ อยู่ทางด่วนโทรเวย์หรือครับ  คงไม่ทันแล้วละพี่” เสียงอ่อยๆ อ่อนอกอ่อนใจ

แม่ต้อยนั่งหลับตา รถวิ่งด้วยความเร็วเท่าไหร่ไม่กล้ามอง..

“อีกสองนาที่ถึงครับ” สมหมายบอกเมื่อชมพู่โทรมาถามว่าถึงไหนแล้ว

รถวิ่งเข้าสนามดอนเมือง ในขณะที่เข้าในช่องแคบวงแหวน มีรถเก๋งข้างหน้าคันหนึ่งขับช้าๆ เนื่องจากทางโค้ง

แม่ต้อยพูดออกมาดังๆ “ เร็วๆหน่อยได้ไหม.. ๆๆๆๆ”

รถจอดกึกที่ประตูหมายเลขหก ชมพู่ยืนรอรับ แม่ต้อยสังเกตเห็นเหงื่อไคลไหลย้อย จนเปียกโชกแถวลำคอเห็นได้ชัด

และตั้งแต่วินาทีนั้นเป็นต้นไปแม่ต้อยแทบจะจำไม่ได้ว่าไรมันเกิดขึ้นทุกสิ่งทุกอย่างมันเหมือนกับวิ่งแข่งเวลา ชมพู่วิ่งนำหน้าแม่ต้อย ลากบ้างจูงบ้างไปที่ประตูออก

ที่รถ ผู้โดยสารทั้งหมดยืนรอแม่ต้อยกับชมพู่ ทุกคนมองมาเป็นจุดเดียว ( ไม่รู้ในใจเขาคิดอะไร)

แต่แม่ต้อยคอแห้งผาก ปากขม และขาอ่อนไปหมดทั้งเนื้อทั้งตัว

เมื่อขึ้นนั่งบนเครื่องบิน แม่ต้อยขอน้ำอาจารย์ อนุวัฒน์หนึ่งถ้วย ของตัวเองอีกหนึ่งถ้วย ดื่ม อย่างกระหายหิว

พนักงานต้อนรับมาแจกขนม พร้อมกับขอให้ผู้โดยสารประเมินความพึงพอใจด้วย ฮ่าๆๆ

มารู้ว่าแบบสอบถามนั้นเป็นของนักบินที่สอง เธอ ( ย้ำว่าเธอ) กำลังเรียนในระดับ มหาบัณทิต   นี่แม่ต้อย กำลังนั่งเครื่องบินที่ขับโดยผู้หญิงสาว ไปน่านนะคะ สมกับกำลังเข้าสู่วันสตรีสากลจริงๆ

 

ก่อนลงเครื่องบิน แม่ต้อยขอพนักงานต้อนรับว่าอยากเห็นหน้านักบินสักหน่อย                       

แม่ต้อยเลยได้พุดคุยและบอกเธอว่า” สุดยอดคะ เก่งมาก”

สวยคะ เธอสวยมาก แต่แม่ต้อยไม่ว่องไวพอที่จะกดภาพไว้ได้  และเสียดายแทนอาจารย์ อนุวัฒน์และสงวน ที่ลงไปเสียก่อน อิอิ

ที่น่าน ความร้อนรนเมื่อชั่วโมงก่อนถูกแทนที่ด้วยความสงบ ความไม่เร่งรีบ ราวกับอยู่คนละโลก

 

ที่บ้านสวน อันร่มรื่นด้วยต้นไม้ และบ้านไม้แบบล้านนา บรรยากาศนี้ทำให้จิตใจสงบเย็นอย่างประหลาด

อาจารย์บุญยงค์ เดินออกมารับ พวกเราด้วยตนเอง พร้อมไม้เท้าคู่ใจ ใบหน้าเบิกบานแจ่มใส มีเมตตา

“ อายุแปดสิบเท่าไหร่แล้ว?” อาจารย์ทักทายแม่ต้อยแบบเย้าแหย่

สำหรับอาจารย์บุญยงค์ แม่ต้อยรู้จักและทำงานกับท่านมานานมากกว่าสามสิบปี เลยทีเดียว ท่านจึงรู้จักแม่ต้อยไม่ลืม

 

ข้าวต้ม ร้อนๆ น้ำเต้าหู้ และปาท่องโก๋ ที่เตรียมไว้ทำให้อาการพลังหมดของแม่ต้อยฟื้นคืนชีพอย่างรวดเร็ว 

อาจารย์ บุญยงค์ อาจารย์ อนุวัฒน์ แม่ต้อย นั่งคุยกันถึงเรื่องราวต่างๆในหนหลังอย่างมีความสุข ระหว่างที่ชมพุ่ และสงวนไปหาโลเคชั่นในการถ่ายทำ

เราถ่ายทำการสนทนา กับท่านอาจารย์ ตั้งแต่สิบโมงจนถึงบ่ายสองโมงกว่าๆๆ มีเวลาพักเที่ยงเล็กน้อย

 

ท่านอาจารย์มีเรื่องราว มีแนวความคิดมากมาย แม่ต้อยไม่มีโอกาสได้จดบันทึกเพราะว่าอยู่ในการถ่ายทำด้วย แต่จำได้สักบางส่วนบางตอน ที่จะนำมาเล่า

สิ่งหนึ่งที่ประทับใจคือท่านอาจารย์ ไม่เคยอยากจะทำหน้าที่หากไม่มีเป้าหมายในชีวิต  เช่นท่านเคยถูกกระทรวงขอ ให้ย้ายไปดำรงในตำแหน่งที่ใหญ่โตขึ้น ไม่ว่าจะแห่งใด ตำแหน่งใดก็ตาม หากท่านยังยืนยัน จะเลือกทำงาน หรือขอทำงานที่เดิม

“ ที่อื่น บริบทไม่เหมาะกับผม  ผมอยากทำงานในที่ที่ได้ดูแลประชาชน”

ท่านเล่าว่า ในการทำงานนั้นคนส่วนใหญ่ เน้นที่” มูลค่า” แต่ไม่เน้นที่

” คุณค่า”

เพราะหากเน้นที่มูลค่า สิ่งที่ต้องการคือ เงิน ยศ และร่างกาย ความอยุ่ดี

แต่หากเน้นที่คุณค่าเราจะได้ความปิติเกิดขึ้น ความปิตินี้คือคุณค่าที่เกิดจากด้านใน และขยายไปถึงข้างนอก

เมื่อเราผ่าตัดไส้ติ่งสำเร็จ เราเกิดปิติในความสำเร็จของเราเป็นอันดับแรก

 

เราจะมีปิติที่สอง จากการที่คนไข้คนนั้นเขาหายจากการเจ็บป่วย  เขามีสุขภาพที่ดี

ปิติที่สาม เกิดจากการที่เรารับรู้ว่า คนไข้คนนั้นเขายังมีครอบครัว มีลุกมีเมีย เขาดีใจ เรามีปิติ

ปิติอีกขั้นคือ เราได้ทำให้ชุมชนแห่งนี้มีความสุขมีสุขภาวะ

นี่เป็นคุณค่า ที่มากกว่ามูลค่า  ว่ารักษาโรคอะไร จะได้เงินเท่าไหร่?

 

และการที่คนไข้ ” ไว้วางใจ”เรานั้นมีความหมายที่ลึกซึ้งว่า คนไข้เขาไว้ใจ ว่าเราเป็นผู้มีความรู้ที่จะดูแลเขา คนไข้ “ วางใจ” เพราะเขาศรัทธาในตัวเรา  คำว่าไว้วางใจจากคนไข้ นี้จึงเป็นคำที่งดงาม และมีความหมายมาก

 

การทำงานนั้นอาจารย์ บุญยงค์มีหลักปฎิบัติที่สอนลูกศิษย์ ลูกหาด้วยคำสอนที่เรียบง่าย แต่มีความยิ่งใหญ่ ดังเช่น กฎ เสนาบดี ๓ ข้อ

๑ ข้อที่หนึ่งขอให้ทำงานอย่างสุดความสามารถ หมายความถึง Quality care

๒. ข้อที่สอง ให้ทำงานด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้มีความเสี่ยง หมายความถึง risk management

๓. ข้อที่สาม ให้ทำงานด้วยใจกรุณา มีเมตตา หรือใช้หลัก เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หมายความถึง Humanized care

ในสมัยก่อนท่านเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่าน ยังไม่มีระบบประกันสุขภาพ คนไข้ที่ยากจนส่วนใหญ่ต้องมาขอรับการรักษาฟรี ที่เรียกว่าอนาถา หรืออน. โดยจะต้องมีใบรับรองจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้านมายืนยันด้วย ประชาชน ต้องมีระบบหลายขั้นตอน ต้องไปกราบกรานผู้ใหย่บ้าน กำนันเสียก่อนจึงจะได้มาที่รพ.

ท่านอาจารย์ ได้มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลทุกคนดูแลช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกให้กับคนไข้เหล่านี้ อย่าให้คนไข้ที่เข้ามาต้องลำบากจากระบบ

มีเจ้าหน้าที่บางคน “ไล่”คนไข้ให้กลับไปเอาใบรับรองเหล่านี้มาเพื่อประกอบตามระเบียบ

เมื่อท่านทราบ ท่านได้บอกว่า “ ฉันให้อำนาจพวกเธอในการ” ให้” ความสะดวกแก่คนไข้

ส่วนการ”ไล่ “ เป็นอำนาจของผู้อำนวยการเท่านั้น

อาจารย์ บุญยงค์ ได้รับการขนานนามว่า “ พ่อพระของคนจน “ และอยู่ในใจของคนน่านและคนทั้งประเทศมาจนทุกวันนี้

แม่ต้อยไม่สามารถบันทึกเรื่องราว หรือแนวคิดท่านได้ทั้งหมด แจ่อยากเชิญชวนให้ทุกคนได้มีโอกาสรับฟังจาก เทปรายการที่ไปถ่ายทอดมาในวันนั้น

 

ตอนเย็น อาจารย์บุญยงค์ อาจารย์ พนิดา หมอคณิตและภรรยา ได้มาร่วมรับประทานอาหารเย็น

ที่น่าประทับใจ และปลาบปลื้มใจคือท่านอาจารย์ บุญยงค์ ได้เดินมาส่งพวกเรากลับกทม. ถึงสนามบินที่ประตูทางออกเลยที่เดียว

 

ก่อนขึ้นเครื่องแม่ต้อยโทรศัพท์ อีกครั้ง

“ สมหมาย  มารับด้วยนะ  ที่ดอนเมือง “

เป็นการเดินทางที่มีความหมายมากมาย แม่ต้อยนึกถึงสมหมายครั้งใด ก็อดที่จะนึกถึงคำว่า “ ทำงานอย่างเต็มที่จนสุดความสามารถ” ไม่ได้

นึกถึงชมพู่คราใด ก็เห็นความพยายามในการแก้ปัญหาแม้ว่าจะมีโอกาสอันน้อยนิด ไม่ปล่อยให้โอกาสนั้นผ่านไป และเธอก็ได้จริงๆ

นึกถึงอาจารย์ อนุวัฒน์ ก็สัมผัสความรู้สึกของความเอื้อเฟื้อ ความกรุณา และความเข้าใจ และการให้อภัย และการเป็นผู้ให้อย่างแท่จริง

นึกถึงสงวนที่ได้ขึ้นเครื่องบินเป็นครั้งแรก ( เขาว่างั้น) ก็นึกถึงความมุ่งมั่นและตั้งใจทำงาน ความมีน้ำใจ

นึกถึง บ้านสวน  นึกถึงอาจารย์ บุญยงค์ ทำให้นึกถึงคำว่า” บูรณาการงานกับชีวิต ”

นึกถึง อาจารย์พญ.  พนิดา ภรรยาท่านอาจารย์ บุญยงค์ ผู้ให้กำลังใจอาจารย์และคนรอบข้างด้วยไมตรีติต ด้วยน้ำใจ ด้วยว วิถี ชีวิตที่งดงาม เรียบง่าย และเป็นสุข ทำให้นึกถึง คู่แท้ เพื่อนแท้ อย่างไม่มีถ้อยคำใดที่จะอธิบายได้

 

อาจารย์ทำให้เราสัมผัสได้อย่างเรียบง่ายเป็นธรรมชาติ อย่างที่สุด

เรื่องเล่าไปจังหวัดน่านก็จบลงเพียงเท่านี้คะ

สวัสดีคะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #น่าน
หมายเลขบันทึก: 501891เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2012 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กันยายน 2012 09:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน แม่ต้อย ที่รัก...ของลูกๆ...น้องๆๆค่ะ 

ขอบคุณค่ะ...กฏ 3 ข้อ ที่...ผู้เขียนไม่เคยลืม นะคะ

1. Quality  Care

2. Risk Management

3. Humanized  Health Care

 

และหลัก พรหม วิหาร 4 ข้อนะคะ... Ple หวังว่า สุขภาพของแม่ต้อย สบายดี นะคะ

 

 

Blank

สวัสดีคะ

แม่ต้อยดีใจคะ ที่เลือกจำส่วนที่สำคัญที่สุดได้ดีมากคะ

ขอบคุณมากนะคะ

รักคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท