กิจกรรมการฝึกคิดแบบ lateral thinking กับชมรมคณิตศาสตร์


กิจกรรมการฝึกคิดแบบแนวข้าง

ได้มีโอกาสนำเอากิจกรรมการคิดแบบ Lateral Thinking ที่ท่านอ.ธงชัย โรจน์กังสดาล เจ้าพ่อแห่งการสอนการคิดสร้างสรรค์ของไทย ซึ่งท่านให้ความอนุเคราะห์มาอบรมให้กับคณาจารย์ที่กองวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนเตรียมทหาร มาใช้กับนักเรียนชมรมคณิตศาสตร์ โดยปรับประยุกต์เสริมบางส่วนเข้าไปบ้าง โดยมีหัวข้อพูดคุยกับนักเรียนดังนี้

1.การคิดเชิงตรรกะ ในชั้นเรียนเราเคยศึกษาหาความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่องหนึ่งคือ วิชาตรรกศาสตร์ ที่เน้นการคิดอย่างเป็นระบบ ยกตัวอย่าง เช่น การคิดแบบอุปนัย การคิดแบบนิรนัย การเปรียบเทียบ การพิสูจน์หักล้าง

                   เช่น  สุนัขเป็นสัตว์

                           สัตว์ทุกตัวมีขา

                ดังนั้น    สุนัขย่อมมีขาด้วย           เป็นต้น

แต่บางทีเราก็อาจติดกับดักการคิดเชิงตรรกะเช่นเดียวกัน

                    เช่น   แสงโสม +โซดา+น้ำแข็ง ดื่มแล้วเมา

                             แม่โขง  + น้ำ    +น้ำแข็ง ดื่มแล้วเมา

                             หงษ์ทอง+ โค้ก +น้ำแข็ง ดื่มแล้วเมา

                     ดังนั้น น้ำแข็งทำให้เมา

        ตัวอย่างดังกล่าวคงไม่ถูกต้อง

2.การคิดแบบ lateral thinking การคิดแบบแนวข้าง หรือการคิดนอกกรอบ ผู้คิดค้นคำนี้ขึ้นใช้ คือ edward de bono เป็นการมองหรือการคิดที่เลี่ยงการคิดหรือมีมุมองแบบเดิมๆออกไปมองในมุมอื่นหรือมุมใหม่ ตรงนี้แหละเป็นส่วนหนึ่งของการคิดสร้างสรรค์

สิ่งที่เห็นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เราเห็นหรือเราคิดก็ได้ ผมเลยยกตัวอย่างภาพยนตร์โฆษณาชิ้นหนึ่งให้นักเรียนดู เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนขับรถบรรทุกปูนซีเมนต์ มองรูปภรรยาที่ติดไว้ในรถรู้สึกคิดถึงเลยขับรถนั้นกลับมาที่บ้าน แต่ปรากฏว่า พบรถเก๋งคันหนึ่งจอดอยู่หน้าบ้านเลยมองจากกระจกหน้าต่างเข้าไปในบ้าน พบผู้ชายหนุ่มคนหนึ่งยื่นช่อดอกไม้ให้กับภรรยาตนแถมยังหอมแก้มเธออีก พ่อหนุ่มรถบรรทุกโกรธจัดเลยเอาปูนซีเมนต์ในรถของตนเองเทใส่เข้าไปในรถคันที่จอดหน้าบ้านแล้วแอบมองจากกระจกหน้าต่างบ้านเข้าไปในบ้านอีกครั้งพบว่า  แล้วผมก็ยุดภาพไว้แค่นี้ แล้วให้นักเรียนลองตั้งคำถามว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนั้น ผู้ชายที่อยู่ในบ้านใช่กิ๊กของภรรยาเธอหรือไม่ถ้าไม่ใช่คิดว่าผู้ชายคนนั้นเป็นใคร โดยจะต้องใช้คำถามที่ครูสามารถตอบได้แค่เพียงใช่ หรือ ไม่ใช่แค่นั้น จนนักเรียนตอบได้ถูกต้องหรือใกล้เคียง ผมจึงเปิดภาพยนตร์โฆษณาให้เห็นถึงตอนจบ ผมสรุปอีกครั้งว่าสิ่งที่เห็นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เห็นก็ได้

(สามารถเข้าไปชมภาพยนตร์โฆษณานี้ได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=wpn7HUroqe8)

จากนั้นจึงนำเอาแนวคำถามแจกให้นักเรียนโดยให้คนหนึ่งในกลุ่มทำหน้าที่คล้ายกับครูคืออ่านคำถามแล้วคอยตอบว่าใช่หรือไม่ใช่ ถ้าเพื่อนๆตอบไม่ได้หรือคำตอบจะออกไปทางอื่นให้ลองใบ้แนวคำตอบแล้วให้เพื่อนตั้งคำถามต่อไปจนกว่าจะตอบถูก แล้วให้ตัวแทนกลุ่มมารับคำถามอื่นๆต่อเนื่องกันไปและให้เปลี่ยนคนใบ้ในกลุ่มไปด้วย

ตัวอย่างแนวคำถามของท่านอาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาลที่ได้มอบไว้ให้กับที่กองวิชาคณิตศาสตร์

เด็กๆกำลังสนใจทำกิจกรรมพร้อมอนุญาตให้รับประทานขนมไปด้วยได้

ผลจากการจัดกิจกรรม นักเรียนชอบกิจกรรมนี้มากขนาดเวลาหมดแล้วยังจะขอทำข้อต่อไปอีก กราบขอบคุณท่านอาจารย์ธงชัยกับกิจกรรมดีๆเช่นนี้ที่มอบให้กับข้าราชการกองคณิตศาสตร์ไว้จัดกิจกรรมกับนักเรียน

 

หมายเลขบันทึก: 501321เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2012 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กันยายน 2012 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผลจากการจัดกิจกรรม... นักเรียนชอบกิจกรรมนี้มาก....ขนาดเวลาหมดแล้ว.....ยังจะขอทำข้อต่อไปอีก===> แสดงว่า เข้าถึงแก่นกิจกรรมนะคะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท