lhin
ณัชชารีย์ ไกรวัฒนภิรมย์

เด็กน้อยออทิสติก


ออทิสติก

เด็กน้อยออทิสติก

ภาวะออทิสติก (Autistic Disorder) หรือ กลุ่มอาการออทิซึม (Autism) จัดเป็นหนึ่งในความผิดปกติทางพัฒนาการล่าช้าที่เรียกว่า พีดีดี (Pervasive Developmental Disorder: PDD) พบในช่วงต้นของชีวิตอายุระหว่าง 0-3 ปี เป็นภาวะที่พบได้แพร่หลายในประเทศไทย โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งจะพบความผิดปกติ 3 ด้านหลักดังต่อไปนี้

1.ความผิดปกติทางด้านสังคมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

2. ความผิดปกติทางด้านภาษาและการสื่อความหมาย

3. ความผิดปกติทางด้านพฤติกรรมและความสนใจ (3)

และในกลุ่มออทิสติกมักมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (Maladaptive behaviors) และกระทบต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งความบกพร่องในพฤติกรรมต่างๆของเด็กออทิสติกมาจากความสามารถในการรับความรู้สึก และการประมวลผลความรู้สึกนั้น โดยสมองจะทำหน้าที่ด้วยตัวของมันเอง การบูรณาการความรู้สึกที่รับจากอวัยวะรับสัมผัสและสร้างทักษะพื้นฐานต่างๆ เพื่อให้บุคคลนำไปใช้พัฒนาทักษะที่ซับซ้อนในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากกระบวนการประสาทความรู้สึกมีความบกพร่องจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐาน รวมทั้งมีการตอบสนองเพื่อการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม

จากการฝึกงานที่โรงพยาบาลศรีธัญญา ข้าพเจ้าพบกับเด็กที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติกจำนวนมาก จะว่าไปก็เกิน 80% ด้วยซ้ำ ซึ่งโรคนี้ก็ยังไม่สามารถหาสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างแน่ชัด เพราะฉะนั้นมันยากนักที่จะทำการป้องกัน ตอนนี้ที่จะทำได้คือ จะทำอย่างไรให้บุคคลเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถอยู่ได้โดยพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด

การฝึกฝนตั้งแต่ในวัยเด็กเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและผู้ดูแลเห็นความสำคัญมากขึ้น แต่ด้วยสถานการณ์ในตอนนี้วิชาชีพที่มีบทบาทมีจำนวนน้อย ประกอบกับการรักษาที่มีระยะเวลาเพียงแค่ 50 นาที และได้ฝึกเพียงเดือนละประมาณ 2-3 ครั้ง ซึ่งคาดเดาได้ว่าไม่เพียงพอต่อความต้องการยิ่งนัก ดังนั้นมีความจำเป็นมากที่จะเผยแพร่ความรู้ในการดูแลเด็กออทิสติกให้กับผู้ดูแลเอง เพราะผู้ดูแลอยู่กับเด็กออทิสติกมากกว่าผู้บำบัดเสียอีก อีกทั้งยังเห็นทั้งความสามารถและความบกพร่องที่ครอบคลุมมากกว่า

 หากเด็กเหล่านี้เติบโตขึ้นไปเป็นพลเมืองดีของสังคมก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลคนพิการของประเทศไทย อีกทั้งลดภาระหน้าที่รับผิดชอบของผู้ดูแลอีกด้วย ตรงนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของผู้ดูแลที่จะมีส่วนช่วยเหลือให้บุคคลเหล่านี้เติบใหญ่ต่อไปในอนาคต โดยผู้บำบัดก็เป็นเพียงแค่ผู้ชี้นำหนทาง และปูพื้นฐานความสามารถให้เท่านั้น หากแต่จะอยู่ร่วมเดินทางตลอดไปนั้นคงไม่มี.......

หมายเลขบันทึก: 501072เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2012 19:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2012 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าสงสารนะคะ ทั้ง พ่อ แม่ เครือญาติ

  • มีปัญหาทางสังคว การปฏิสัมพันธ์

  • ภาษา + การสื่อสาร

  • พฤติกรรม + ความสนใจ

ขอบคุณบทความดีดี มีคุณภาพนี้ค่ะ

ขอบคุณคร่า คุณ Dr.Ple ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท