วิธีเปิดประตูใจ ?


           วันนี้เป็นทำงานอีกวันที่ชลัญได้นอนอยู่บ้านสบายๆ  เพราะไม่สบาย  ก็ดีเหมือนกันได้พักผ่อน  เพราะพรุ่งนี้มีโปรแกรมนิเทศงานสถานีอนามัย ยังไงก็ต้องไปเพราะไม่มีคนแทน เป็นหน้าที่ตรงๆ  แต่ไม่เป็นไรเหลืออีกตั้ง 1 คืนไหว แน่ๆ 

         เมื่อตอนกลางวันนอนๆอยู่ มีคนข้างบ้านวิ่งมาตาม “หมอๆ มาดูแม่ให้หน่อย แกใจสั่น” 

              คุณป้าข้างบ้านนั้นเป็นโรคหัวใจอยู่ ( Supra ventricular  tachycardia ) วันร้ายคืนร้าย แกก็จะใจสั่น หัวใจเต้นเร็วมาก  ชนิด ประมาณ  เกือบ 200 ครั้งต่อนาที 

              คนที่มาตามนี่เป็นลูกสาวแก  วิ่งมาอย่างตกใจ พยายามผลักประตูบ้านของชลัญ  ให้เปิดออก  ผลักอย่างไรมันก็ไม่เปิด  ก็จะเปิดได้อย่างไรเล่า  มันใช้วิธีเลื่อนเอา  ชลัญต้องรีบไปเปิดให้  ไปดูป้า  แล้วโทรตามรถ EMS ให้เรียบร้อย  กลับมาบ้าน ให้นึกถึงเรื่องของประตู นี่น่าคิดนะ

           ประตูนั้นประโยชน์มีไว้ให้ เข้า- ออก   เปิด – ปิด ได้  มีหลายแบบ ทั้งใช้ผลัก  ดึง  เลื่อน    

            หลายคน ประตูที่เขาเขียนไว้ ให้ผลัก หลายคนดึง   เขาเขียนให้ดึง แต่ก็ผลัก  เขาให้เลื่อนก็ดึง ดัน อยู่นั่นแหล่ะ 

           เหตุที่ใช้ประตูไม่ถูกเพราะเราไม่มีสมาธิ  ไม่มีสติตรองดูก่อนว่า ทำอย่างไรถึงจะเปิดประตูนี้ได้  ใช้เพียงความรู้สึกว่าอยากเข้าไป  หรืออยากออกมา  โดยไม่คิดจะดูหรือตรวจตราว่าทำอย่างไรจะเข้าไป หรือ ออกมาได้ 

           ให้แปลกใจชะมัด  เหมือนใจเรากระมัง  เวลามีความทุกข์นั้น เราก็เปิดประตูใจรับความทุกข์เอามาขังตัวเองไว้  แถมปิดตาย ไม่ยอมเปิดรับความสุขจากสิ่งอื่นๆ ที่พยายามเข้ามา  เวลาจะออก ก็ลืมไปเลยว่า ประตูนี้ใช้อย่างไร เพราะขังประตูใจเอาไว้นาน  เขาให้ดึงก็ผลัก  เขาให้ผลักก็ดึง  เขาให้เลื่อนก็ทั้งผลัก ทั้งดึง  จนประตูจะพัง  เพราะไม่ยอมตรองก่อนว่า ทำอย่างไรจะเปิดประตูใจได้  เมื่อเปิดไม่ได้ก็พาล ไปโทษคนโน้นคนนี้ว่า  ทำประตูผิด  ไม่เคยโทษตัวเองว่า ตัวเองเปิดผิดสักที 

           ลองตรองดูซิว่าตอนนี้เราเปิดปิดประตูใจของเราได้ถูกหรือยัง  สิ่งไหนควรเปิดรับ  สิ่งไหน ควรปิดหนี  หากเราเปิดประตูไม่ได้  ให้พิจารณาก่อนว่า ประตูนั้นให้ ดึง ผลักหรือ เลื่อน  ไม่มีประตูไหนที่ปิดตาย  มีแต่ใจเราเท่านั้นที่ปิดตาย ไม่คิดให้อภัยแม้ใจเราเอง  เราก็คงไม่พบอิสรภาพจากบานประตูใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความสุขที่แท้จริง  คงได้พบแค่ความสนุกบางคราวเท่านั้นเอง

 

           สำหรับชลัญ กำลัง ตรองอยู่ว่า ประตูใจเปิดปิดอย่างไร  คงต้องใช้ ทั้ง ปัญญา สติและสมาธิ  เพราะ มักเปิด ประตูผิดเสมอๆ 

 

ภาพจากhttp://okitakung.blogspot.com/2011/01/advance-illustration-sketch-1.html

มาฝึกเปิดประตูใจกับชลัญนะค่ะ

 

ชลัญธร   ตรียมณีรัตน์ 

หมายเลขบันทึก: 500461เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2012 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2012 02:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ประตูไม่ผิด เพราะมันมีวิธีเปิด แต่เราเองที่เปิดผิด...ขอบคุณสำหรับข้อคิดจากการพิจารณาในคืนนี้คะ

ล็อคกุญแจชะขนาดนั้นใครจะไปเปิดได้ครับ คุณชลัญฯ 555

oops!!!! ขออภัยครับ เรากำลังอยู่ mode ธรรมะ shhhhh!

คุณชลัญฯ กำลังป่วย เราไม่เล่นแรงครับ.......

...." มาฝึกเปิดประตูใจกับชลัญนะค่ะ " ........... เปิดใจตัวเอง ผมว่าจะง่ายกว่า เปิดใจใครๆ....

Someone says "Doors are the reason to have keys". [ I think it means "No doors then no need to carry keys" or no need to worry about opening and closing doors ;-) ]

ผิดมั้งถูกมั้ง...ดีกว่าไม่ยอมทดลองเปิดให้ชีวิตได้มองเห็นท้องฟ้าที่งดงาม...และทดลองปิดให้ชีวิตไม่ถูกฝนที่กระหน่ำจนเปียกปอน...คิดถึงมากครับ...ส่งกำลังใจให้หายเร็วๆ ....อนามัยรอรับนิิเทศอยู่....สำหรับผมชอบคนนิเทศที่เคยอยู่อนามัยมาก่อน...เพราะบางสิ่งบางอย่างถ้าไม่ใช่คนที่ผ่านงานอนามัยมา...คงไม่เข้าใจได้ลึกซึ้งครับ....บ่นมานานครับ...ขอให้หายเร็วๆ...นอนซมซาน เหมือนไม่ใช่คุณชลัญนะครับ...คริ...คริ....

หายแล้วยังคะ หายเร็ว ๆ เน้อ

ดื่มน้ำมาก ๆ นอนพักเยอะๆ อ้าว ลืมไป...

รักษาสุขภาพนะจ๊ะน้องชลัญเดี๋ยวประตูใจจะฝืดเอา ฮิฮิ


 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท