การก่อสร้างบ้านในอนาคต


เทคโนโลยีการก่อสร้าง

 

“ เทคโนโลยีการก่อสร้างบ้านในอนาคต ”

บทความโดย นายภูไท  ช่อเหมือน

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในทุกด้านทั้งยังช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันทำให้การติดต่อสื่อสารคล่องตัวมากขึ้น  การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันสะดวกขึ้น  การรับรู้ข้อมูลข่าวสารง่ายขึ้นและยังสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารได้ตลอดเวลา

เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก  ในส่วนที่จะกล่าวถึงคือในด้านปัจจัยพื้นฐานในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยให้ได้มาตรฐาน สะดวก,รวดเร็ว,ประหยัดและคุ้มค่า   กล่าวคือในอดีตที่ผ่านมาการก่อสร้างอาคารหรือบ้านพักอาศัยต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย  4 เดือนขึ้นไป  ปัจจุบันการก่อสร้างได้พัฒนาไปอยู่ในรูปแบบการก่อสร้างบ้านสำเร็จรูปแทนในอนาคตอันใกล้นี้ได้มีการพัฒนารูปแบบการก่อสร้างไปในรูปแบบ      เทคโนโลยีการก่อสร้างในอนาคตด้วยเครื่องพิมพ์  3 มิติ

 

 

 

                    รูปแบบการก่อสร้างที่ผ่านมา   

 

รูปแบบการก่อสร้างในอนาคต

ในหลายประเทศเริ่มมีการวิจัยและทดลองเกี่ยวกับการก่อสร้างบ้านด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ  ตอนนี้หลายมหาวิทยาลัยทั้งที่ประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่างก็เริ่มทำการวิจัยอย่างจริงจัง โดยความคิดต้นแบบมาจาก เครื่องพิมพ์ 3 มิติ หรือ 3D Printing ซึ่งอาศัยการสร้างโมเดล 3 มิติ จากคอมพิวเตอร์ แล้วสั่งพิมพ์ไปยังเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เหมือนกับการสั่งพิมพ์ด้วยกระดาษ แต่พอพิมพ์เสร็จแล้วก็จะได้งานที่สั่งไปเป็นโมเดล หรือวัตถุ 3 มิติ ซึ่งเครื่องพิมพ์ 3 มิติ นั้นใช้วัสดุพิมพ์เป็นเรซิ่น ซึ่งจะมีความแข็งแรงทนทานความร้อนได้ดี ทำให้เกิดแนวความคิดในการพัฒนาเครื่องพิมพ์นี้ให้สร้างบ้านได้ด้วยการสั่งพิมพ์ได้ด้วย โดยมีการเปลี่ยนแปลงวัสดุจากเรซิ่นเป็นคอนกรีตไฟเบอร์หรือวัสดุอื่นๆ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง โดยไม่ต้องเสริมเหล็กก็น่าจะทำได้  โดยมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ   Loughborough University ได้ทำการพัฒนาระบบเครื่องพิมพ์ต้นแบบสำหรับการก่อสร้างอาคารแบบทรงอิสระ  (freeform) ได้แล้ว โดยการสร้างเครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่แบบเดียวกับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ โดยการสั่งเครื่องฉีดคอนกรีตเป็นชั้นๆ ลักษณะเดียวกับการพิมพ์ด้วยเรซิ่น โดยมีชื่อหน่วยงานวิจัยนี้ว่า  Freeform Construction  เพื่อสร้างอาคาร และสร้างส่วนประกอบอาคาร หรือ Component โดยการสั่งพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก เพื่อลดค่าไม้แบบ ค่าแรง ค่าขนส่ง และค่าวัสดุเสียเศษ ลงได้อย่างมหาศาล

 

              ส่วนอีกมหาวิทยาลัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้นก็คือ  USC-University of Southern California      ซึ่งมี   Dr. Behrokh Khoshnevis  เป็นหัวหน้าทีมในการทำวิจัยมีชื่อหน่วยงานนี้ว่า  Contour Crafting (CC) เรียกเทคโนโลยีแบบนี้ว่า  layered fabrication technology โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างอาคารทั้งหลังด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติยักษ์ ที่สามารถนำไปติดตั้งที่หน่วยงานก่อสร้างจริง แล้วสั่งพิมพ์อาคาร 2 ชั้นได้ทั้งหลังเลย

ซึ่งเทคโนโลยีนี้คาดว่าจะสามารถกลายเป็นความจริงได้ภายใน  5-10 ปีข้างหน้า ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลทั้งด้านบวกและด้านลบกับอุตสาหกรรมการก่อสร้าง   ด้านบวกนั้นก็คือ   ปริมาณการก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ระยะเวลาในการก่อสร้างเร็วขึ้นและมีราคาถูก ประหยัดทรัพยากรธรรมชาติได้มาก เพราะไม่ต้องมีวัสดุเสียกันมากขึ้นตามแบบเดิม ซึ่งกว่า 30 % ต้องสูญเสียประโยชน์จากส่วนที่เป็นเศษวัสดุ   แต่ด้านลบนั้นอาจจะเป็นแรงงานทั้งหมดทั้งปวงตั้งแต่  ช่างไม้ ช่างปูน ช่างเหล็ก วิศวกร โฟร์แมน ต่างก็ต้องปรับตัว  เพราะระบบนี้จะสามารถทดแทนแรงงานเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี    

 

 

 

 

บรรณานุกรม

โดย Prosperity Concrete

ที่มา: http://www.thaicontractors.com/content/cmenu/1/80/532.html 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 499943เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2012 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2012 05:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การก่อสร้างบ้านในอนาคต ==> ขอบคุณมากค่ะ ..... ทำให้มีความรู้อีก แขนงหนึ่งนะคะ ... เป็นความรู้ใหม่ค่ะ

Yes. A powerful imagination -- having a 3D printer that can print out a designer house for us.

I like it. I would even say it is the best idea I come across this month. Salue!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท