บทลงโทษ เมื่อลูกกระทำผิด


        อ่านหัวข้อแล้ว คิดว่าหลายท่านต้องรีบคลิกเข้ามาอ่านแน่ ๆ ฮ่าๆๆ  เพราะ หากจั่วหัวว่าปรับพฤติกรรมเนี้ยอาจจะธรรมดา ไม่เร้าใจพอ ปกติของพ่อแม่ส่วนใหญ่เนอะ ต้องจัดการขั้นเด็ดขาด จะได้หลาบจำ คิดกันประมาณนี้หรือเปล่าค่ะ อิอิ หลงกลเราซะแล้ว ตั้งใจพาดหัวข้อให้เร้าใจไปอย่างงั้นแหละ จะได้เข้ามาอ่านกัน หุหุ อันที่จริงคำว่า “ลงโทษ” เนี้ยในการสร้างวินัยเชิงบวกคงไม่มีเนอะ เอ....หรือมี ใครรู้ช่วยบอกหน่อยนะคะ ไม่รุ้จะใช้คำว่าอะไรถึงจะเหมาะสมกับการสร้างวินัยเชิงบวกเนอะ 
        เอาเป็นว่าเมื่อลูกทำผิดข้อตกลงที่คุยกันไว้ หรือทำพฤติกรรมอะไรที่ไม่เหมาะสมเกินขอบเขตที่ควรจะเป็น แม่ดาวจะทำดังนี้
 
        1.  ให้ลูกเลือกว่าจะเลือกอะไร ระหว่าง....วิธีการทำโทษ.ก.....กับ. วิธีการทำโทษ .ข.......... ให้ทางเลือกเชิงบวก ไงค่ะ ทำผิดก็ยังเลือกได้อีก เช่น ตกลงกันว่าตอนเช้า หากพี่นาฬิกาปลุกแล้ว ลูกไม่ตื่น กดปิดเสียงแล้วนอนต่อ ลูกจะให้แม่ทำยังไงดีค่ะ ระหว่าง ลดนิทานก่อนนอนลง 1 เรื่อง หรือ งดดูการ์ตูนย์ตอนเช้า ใจดีเนอะ มีให้ดูการ์ตูนย์นิดหน่อยก่อนไปด้วยหากเขาตื่นเช้า แต่เป็นภาษาอังกฤษนะคะ เสริมสร้างภาษาที่แม่ดาวไม่ถนัดเอาซะเลย ไม่แนะนำให้ทำตามนะคะ อันที่จริงก็ไม่สนับสนุนเรื่องนี้เท่าไหร่  อัน นี้สำหรับดีโด้จะคิดหนัก นิ่งไปสักพัก ก็ตอบว่า “ลดนิทาน 1 เรื่องก็ได้” แต่แม่........................บ่นไป ตัดบทไปว่า “ยังไงซะหากลูกตื่นตามเวลาที่พี่นาฬิกาบอก นิทานของหนูก็อยู่ครบทุกเรื่อง แต่ก็ต้องอยู่บนบรรทัดฐานกติกาเดิมที่เราคุยกันไว้ล่าสุด ที่ปรับปรุงใหม่ไม่นาน โดยให้สิทธิน้องดีโด้เป็นคนคิด คือ หากเข้านอน  1 ทุ่ม (19.00น.) ได้ฟัง 6 เรื่อง, 2 ทุ่ม ได้ฟัง 5 เรื่อง และสุดท้าย 3 ทุ่มได้ฟัง 1 เรื่อง  หากเข้านอนดึกกว่านี้อดฟังทุกเรื่องฮ่าๆๆ 
        ส่วน เรื่องการปลุก แม่ดาวก็ให้เขาเลือกนะคะ ว่าจะให้แม่ปลุก หรือจะให้พี่นาฬิกาปลุก น้องดีโด้เป็นเด็กประเภทต้องเร้าใจกันตลอด ต้องปรับเปลี่ยนกันไปเรื่อย ๆ  แต่ก็มีหลายครั้งที่ไม่มีใครปลุก เขาก็ตื่นมาเอง ตื่นเช้าด้วยนะ  ก็คละ ๆ กันไปแหละ
        สรุป วิธีนี้คือให้ลูกเป็นคนตัดสินใจเลือกเองว่าจะโดนทำโทษโดยวิธีไหน แต่เราเป็นผู้เสนอทางเลือกเชิงบวกที่เรารับได้และคิดว่าลูกก็น่าจะรับได้ เช่นกัน ทำไม่ยากนะคะข้อนี้ แล้วหากเขาทำผิดข้อตกลง เราก็เอามาอ้างได้อีกว่า แม่ไม่ได้เป็นคนเลือกจะทำแบบนี้กับลูกนะ  นี่เป็นทางที่ลูกเลือกเอง ฮ่าๆๆ
       
        2. ริบของ และเสนอทางเลือกเชิงบวก  เช่น ตกลงกันเรื่องการเล่นของเล่นแล้วว่า หากเล่นแล้วต้องเก็บด้วยตัวเอง หากไม่ทำตามข้อตกลง แม่ต้องเก็บของเล่นเหล่านั้น งดเล่นเป็นระยะเวลา  3 หรือ 7 วันครับ  ให้ลูกเลือกอีก ใจดีอีกแล้วเนอะ  แน่นอนหากลูกไม่เลือกก็ทำแบบเดิมค่ะ  “ลูกจะเลือกเอง หรือให้แม่เลือกคะ”   ทันทีค่ะดีโด้เลือก 3 วันแน่ ๆ เลือกแล้วก็มีบ่นแหละ  เราก็ฟังเฉย ๆ ไม่โต้ตอบอะไร เก็บจริง งดจริง ไม่มีใจอ่อน  และ ไม่อ่อนใจกับพฤติกรรมเขาด้วย ระยะหลัง ๆ มาเนี้ยโดนไม่ค่อยบ่อยแล้ว เข็ด แม่ดาวไม่ดุนะ ทำแบบประมาณว่าเข้าใจนะลูก แต่มันผิดข้อตกลง แม่จำเป็นต้องทำฮ่าๆๆ
 
        3.   ทำตัวเป็นหุ่นยนต์ระบบเสียงเสีย   บาง ทีแม่ดาวก็เหนื่อย ๆ คิดอะไรไม่ออก ก็ทำนิ่งซะ หน้านิ่ง ไม่พูด ไม่สนใจ แต่เชื่อไหม วิธีนี้ได้ผลมากกับดีโด้ เขาจะร้อนร้อนมาก ที่แม่ไม่สนใจ เพราะทุกทีแม่ดาวจะสนใจมากไง  แต่ก่อนจะเงียบไป จะบอกลูกประมาณว่า “ตอนนี้แม่ไม่พร้อมจะฟังอะไร หรือทำอะไร แม่เหนื่อย” จบ  เข้าสู่โหมดหุ่นยนต์ไร้อารมณ์  อันนี้คืออารมณ์แบบว่า ที่สุดของแม่ดาวแหละฮ่าๆๆ  ก็มีบ้างนะแต่ไม่บ่อยมาก
        หากเจอโหมดนี้ของแม่ดาว  เจ้าดีโด้จะหยุดตัวเอง และหันมาสนใจแม่ดาวแทน กลายเป็นแม่มีปัญหาแทน จะเข้ามาช่วยปรับอารมณ์และพฤติกรรมของแม่ให้เข้าสู่โหมดปกติ  พอเรา 2 คนอารมณ์พร้อมทั้งคู่แล้ว ค่อยบอกค่อยสอนกันอีกทีว่าอะไร ยังไง แต่เขาให้แน่ใจนะคะ ว่าทั้งเราและลูกพร้อมที่จะคุยกัน
 
        4. take a break  งงกันล่ะซิค่ะ  เอ....แม่ดาวภาษาอังกฤษบกพร่องจนจำผิดเปล่า จริง ๆ เขาต้องเรียกว่า  time out ไม่ใช่เหรอ     แม่ดาวเรียกถูกจริง  ๆ นะ อันนี้ตามที่ครูใหม่ครูหม่อมสอนแม่ดาวมาเลย เมื่อก่อนที่เป็นคุณแม่แบบบ้าอำนาจนิด ๆ ก็จะมีการจับลูกทำ time out อยู่บ้าง  พอได้รู้สึกกับ 101 สร้างวินัยเชิงบวกแล้วก็รู้สึกผิด รู้สึกว่ามันโหดไปไหม เลยส่งคำถามไปถามครู  ท่านมีเมตตากับแม่ดาวมากอธิบายว่า
        Time out  คือ เราแยกลูกไป ณ สถานที่ ๆ เราเตรียมกันไว้  และได้ซ้อมกันไว้แล้วด้วยนะคะตอนอารมณ์ลูกพร้อมว่า หากเกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ลูกจะต้องไปอยุ่ตรงไหน  ยังไง เป็นการแยกให้ขาออกไปสงบสติอารมณ์  และเราเป็นคนกำหนดเวลาให้ว่าลูกจะต้องอยู่อย่างนั้นนานแค่ไหน  (อยากให้กลับไปอ่านในเรื่องเก็บตกจากกิจกรรม “รับมือลูกวัย 0-6 ปี” วันที่ 7 สิงหาคม 55)
        Take a break ที่แม่ดาวเคยใช้และชอบใช้มากกว่า ด้วยวิธีการคล้ายกันค่ะ ต่างกันตรงที่เด็กเขาจะเป็นผู้กำหนดเวลาของเขาเอง คือ เมื่อไหร่ที่เขาพร้อม กลับมาได้เลย เรารออยุ่ ไม่ใช่เพราะเราสั่งเขาว่าต้องนั่งนานกี่นาที 
        แม่ดาวเคยใช้ time out กับลูกก่อนหน้าที่จะเรียนรู้เรื่อง take a break  มันรู้สึกผิดมาก ทำไปก็สงสารลูกไป แต่ก็ใจแข็งทำ  เห็นหน้าของลูกแล้วก็สงสารมาก คำพูดที่เขาสื่อสารออกมาอีก เล่าให้ครูฟัง ครูเลยบอกว่าไม่แนะนำให้ทำแบบนี้ ให้เปลี่ยนมาเป็น take a break
      ยกตัวอย่างนะคะ  สมมติ  น้องดีโด้เล่นกับพี่บีบี (นามสมมุติ) เล่นกันสักพัก ก็เกิดอาการหมั่นเขี้ยว ตีหัวพี่บีบี จนร้องไห้  ตีแรงและพี่เจ็บมาก  ทำผิดแล้วไม่รับผิด ไม่ขอโทษ อันที่จริงต้องพิจาณากันอย่างละเอียดนะคะ ว่าเขาตั้งใจจะตี หรือว่าเล่นแรงจนผิดพลาดทางเทคนิค  สมมุติเหตุการณ์นี้เป็นแบบตั้งใจจะตีให้พี่เจ็บ
        หากเป็น  time out  น้องดีโด้จะโดนนั่งเก้าอี้ ซึ่งที่เคยใช้ น้องดีโด้จะรู้จักในนาม “เก้าอี้สำนึกผิด”  ให้นั่งตามอายุ 1 ขวบ/ 1 นาที  จัดไป 5 นาที ตามอายุ เศษเดือนปัดทิ้งลดให้ใจดี ระหว่างนี้น้องดีโด้จะต้องแยกตัวไปนั่งคนเดียว นานถึง 5 นาที  ถึงจะกลับเข้ามาร่วมวงกับเราได้
        แต่ที่แม่ดาวแนะนำ เพราะครูแนะนำมา แล้วใช้แล้ว รู้สึกเองว่ามันดีกว่า คือ take a break  แม่ดาวจะบอกลูกว่า  “น้องดีโด้ควรนั่งสงบสติอารมณ์สักพักนะครับ ลูกกำลังโกรธมาก  นั่งพักตรงนี้ก่อน เมื่อไหร่ที่พร้อมจะคุยกับแบบไม่โกรธแล้ว แม่จะรออยุ่ตรงนี้” ก็บอกเขาไป  หากเขารุ้สึกสงบแล้ว เขาสามารถกลับเข้ามาหาเราได้ทันที ไม่ต้องรอเวลาว่าจะกี่นาที 
        ข้อความเตือนสติที่ดีมาก ๆ ที่ครูใหม่ครูหม่อมให้ไว้คือ การสำนึกผิดใครกำหนด  เด็กหรือเรากำหนด  ตัวเด็กต่างหากที่เป็นคนกำหนด  หาก เด็กพร้อมที่จะสำนึกผิดเร็ว แล้วมีเหตุผลอะไรที่เขาจะต้องมานั่งรอเวลา แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่า 5 นาที เขาสำนึกผิดแล้ว อย่าลืมนะคะไม่ใช่เรากำหนด ตัวเด็กรู้ดีที่สุดให้เขากำหนดชีวิตเขาเองเนอะ
        เอาเป็นว่าแม่ดาวไม่ใช้ time out อีกเลย เมื่อรู้จัก take a break
        เอามา 4 ข้อ พอเป็นวิทยาทานเนอะ  หากท่านใดมีอะไรจะเสนอแนะเพิ่มเติม จัดมาเลยนะคะ แบ่งปันความรู้กัน เยอะ ๆ ยิ่งดี แม่ดาวจะได้จำไปใช้บ้าง
หมายเลขบันทึก: 499655เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2012 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 สิงหาคม 2012 03:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

         ตามความคิดส่วนตัวของผมนะครับ (อาจจะผิดก็ได้)  เด็กที่ทำผิด  เพราะจิตใจอ่อนแอครับ  ที่จิตใจอ่อนแอเพราะขาดคุณธรรม  วิธีแก้ปัญหา  จึงแก้ด้วยการใส่คุณธรรมที่ขาดลงไปในตัวเด็ก  ให้เข้ามาแทนที่  ความอ่อนแอในจิตใจ  ประมาณว่าใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย   เพราะหากแก้ด้วยวิธีไปย้ำซ้พเติมความผิดของเด็ก  จะยิ่งไปย้ำความอ่อนแอในใจให้เพิ่มขึ้นไปอีก

       พ่อแม่ไม่ควรเว้นวรรคความรักที่มีให้ลูกครับ  ประมาณว่าลูกทำอย่างนี้แล้ว  แม่จึงจะรัก   ลูกทำอย่างนี้  แม่ไม่รัก  บางที  ลูกทำผิด  ลูกจะไม่กล้าเข้าใกล้แม่ หรือเรียนรู้ที่จะเอาตัวรอดเพื่อให้แม่รัก

       วิธีการตามหลักคิดดังกล่าว ก็คือ  ถ้าใช้กฏเกณฑ์มากไป  ลูกจะเสียใจ   ถ้าใช้ความรักมากไป   ลูกจะเสียนิสัย  ดังนั้น  วิธีการที่เหมาะสม คือ ใช้ความรักเป็นกฏเฏณฑ์

        นั่นคือ  พูดคุยกฏเกณฑ์กับลูกด้วยความรัก  สร้างข้อตกลงร่วมกัน  ในกรณีที่ลูกไม่ทำตามกฏเกณฑ์   ไม่ต้องไปลงโทษเขา   แต่ให้เขาทำพฤติกรรมที่ถูกต้องเสียใหม่   โดยชี้ให้เขาเห็นถึง "คุณค่าที่เป็นแก่น" ของการกระทำดังกล่าว 

       และก็อีกอย่างครับ  การทำงานของจิตใจ  หรือ จิตใต้สำนึก   หรือการทำงานของสมอง   ใช้คำว่า   อย่านอนตื่นสาย     สมอง หรือ จิตใจ จะไม่จำคำว่าไม่   แต่จะจำคำว่า  นอนตื่นสาย   ดังนั้นควรบอกเขาไปว่า   ให้ตื่นหกโมงเช้า   เป็นต้น

       ครับ ก็เสนออีกมุมมองหนึ่ง  อาจจะผิดก็ได้ครับ

                                       ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท