จ๊าก! หกเดือนที่มุ่งมั่น กลายเป็นสไตล์ที่ต่อยอดได้


ผมมั่นใจแล้วว่า การรักษาที่ดีต้องเริ่มที่ตัวผู้ป่วยเอง

หกเดือนของการนำโมเดลระบบการดูแลผู้ป่วยมาใช้

และได้รับการพัฒนาขึ้นจากการทำงาน

จนสามารถนำไปทำงานต่อยอด และรุกแก้ปัญหาสุขภาพเดิมๆ

ที่ขาดกระบวนการทางด้านสังคม

ได้ผ่านไปอย่างสบายๆ แต่เมื่อย้อนมองอดีตที่ผ่านมาหยกๆ

กว่าจะถึงวันนี้วันที่อะไรๆก็ดูง่ายไปหมด

ก็ได้ผ่านแรงเสียดทาน เลือดที่หัวใจซิบๆเล็กน้อย

แล้วกลวิธีที่ได้เพียรพยายามปรับปรุงทุกครั้ง

เป็นการย้อนดูการกระทำเพื่อเข้าถึงจิตวิญญาณของผู้ป่วย

ทั้งสองกลุ่มคือกลุ่ม HM และ HT

เป้าหมายที่ได้วางไว้ในใจตรงส่วนนี้กำลังก้าวเดินอย่างช้าๆ

และเรียบง่าย

มีเพื่อนผู้ป่วยที่ผ่านกระบวนการตระหนักรู้

และเห็นคุณค่าในตนเอง

สักเปอร์เซ็นต์ และมีผู้ป่วยที่มีความสุขกับกลวิธีการดูแลสุขภาพ

ธรรมสักกี่เปอร์เซ็นต์ หรือมีผู้ป่วยมีสุขภาพดีขึ้น

กินยาน้อยลง ยืดเวลาหาหมอช้าออกไปด้วยสุขภาพที่ดีขึ้นนั้น

กี่เปอร์เซ็นต์

แม้แต่ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา

และหายไวกว่าปกติสักกี่เปอร์เซ็นต์

ไม่ใช่ประเด็นที่ต้องใส่ใจมากนัก

สำคัญเพียงว่าสุขภาพโดยรวมของแต่ละคนที่เข้าสู่กระบวนการ

ที่บูรณาการแบบองค์รวมนี้

ทำให้เพื่อนๆมีความสุขทั้งกายใจ ครอบครัว

และสังคม สามารถจัดการกับชีวิตของตนเองได้อย่างเข้าใจ

.จุดนี้ต่างหากที่เราสนใจ

“พวกเรามั่นใจแล้วว่า การรักษาที่ดีต้องเริ่มที่ตัวพวกเราเอง”

และ

"การได้ฟังเสียงกายจึงรู้ว่าเราจะนำพาตัวเองไปเริ่มตรงจุดไหน”

“กระบวนการทางจิตตปัญญาช่วยให้ผมสบายใจและรู้สึกโล่ง"

"ผมรู้สึกว่าชีวิตนี้ต้องให้ความสำคัญด้านจิตใจ”

”ฉันก็ทำสมาธิมานาน แต่ฉันไม่เคยเข้าถึงเลย”

“หนูเคยเรียน แต่หนูไม่รู้ว่าเราจะใช้สมาธิอย่างไร

ในชีวิตจริงนอกจากนั่งนิ่ง”

คำบอกเล่าอีกมากมายเมื่อทุกคนผ่านการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

อย่างเข้าใจและมีฉายแววแห่งความมุ่งมั่น

และร่วมมือเพื่อสุขภาพของตนเองออกมา

กลับทำให้ทีมงานมองเห็นแนวทางพัฒนางาน

เพื่อเพื่อนผู้ป่วยชัดเจนมากขึ้น และเราต้องเรียนรู้ต่อไป

เราจึงรู้ว่า เรามีเพื่อนทุกคนเป็นแบบฝึกหัดร่วมกัน

ลปรร.กันและกัน

และอาศัยบุคลากรตั้งแต่คนงานคนทำสวน ยาม

จนถึงระดับบริหารในโรงพยาบาล

เป็นครูในการก้าวเดินบนถนของการทำงานจิตอาสา

ในโรงพยาบาล

และยังโชคดีที่มีกัลยาณมิตรผู้รักการแบ่งปันทางออนไลน์

เวทีนี้จึงไร้ซึ่งพรมแดน และไร้กรอบ

หากผลการกระทำได้หลอมรวมจิตวิญญาณ

ของเหล่าสหวิชาชีพเป็นหนึ่ง

โดยมีเน้นผู้ป่วยเป็นสำคัญ

ส่งผลให้การทำงานเกิดและมีระบบการทำงาน

ที่มีความเป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับ

แต่มิได้หมายความว่าอิสระจะทำอะไรก็ได้ตามอำเภอใจ

แต่เป็นอิสระทางความคิดและเลือกที่จะนำวิธีการที่ดี

และได้ผลทางด้านจิตใจผู้ป่วยที่มีความเข้าใจในปัญหาสุขภาพ

และมีความตระหนักรู้ ยอมรับผลที่เกิดขึ้นในตัวเองแล้ว

จึงเดินเข้าสู่กระบวนการรักษาทางการแพทย์โดยไม่มีข้อแม้ใดๆ

การที่ผู้ป่วยเกิดการยอมรับในกระบวนการรักษา

จึงหมายรวมทั้งการได้ฟื้นฟูสภาพจิตใจของตนเองด้วยตนเอง

และมีความพร้อมรับสถานการณ์ที่วิ่งเข้ามา

มีอะไรอีกมากมายในรพ.ที่ผู้คนมองข้าม

เรื่องเล็กๆ ที่แม้แต่สีหน้าของผู้ทำหน้าที่

ก็มีผลต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วย

ยิ่งเป็นเรื่องกริยาอาการที่เก็บไม่อยู่ด้วยแล้ว

ถือว่าล้มเหลวต่อการเยียวยาทีเดียว

สิ่งเหล่านี้ได้ถูกหลายกลุ่มงานบอกลาแล้ว

และหันมาเอาใจเขาใส่ใจเรา

เอาใจเราไปใส่ใจเขาอย่างตรงไปตรงมา

ด้วยหัวใจที่เบิกบาน และความปรารถนาจะให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

ดังพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

จึงเป็นความจริงยิ่ง

เพราะความปรารถนาเป็นแรงขับเคลื่อน

และเป็นพลังบวกที่มีความทวีคูณในผลที่เกิด

ใครคนหนึ่งในg2k เคยกล่าวว่า 1+1 ไม่ใช่ 2

หากผู้ปฏิบัติได้ระลึกรู้บทบาทและหน้าที่ของตนอย่างถ่องแท้

ความยากลำบาก และปัญหาอุปสรรค์จึงถอยหนีไป

เว้นแต่ความพยายามนั้นถึงที่สุดแล้วหรือยัง

หมายเลขบันทึก: 499508เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2012 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2012 10:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท