ภาวะ"อ้วนลงพุง" เพิ่มความเสี่ยงอะไรได้บ้าง?


"วันหนึงผมกินไม่ถึง 2000 kcal หรอก ผมเคยพบนักโภชนาการมาแนะนำหลายคนแล้ว และพอจะทราบว่าควรทำอย่างไร แต่ผมไม่มีเวลาไปสรรหาอาหารได้อย่างที่คุณบอก งานผมเยอะ ทางที่ทำงานจัดอาหารให้ไม่สามารถเลือกได้ ถ้าผมอยากลดน้ำหนักจริงๆ ก็จะไม่ทานมื้อเย็นแล้วไปออกกำลังกายเอา "

     “มี consoult ห้อง714 เรื่อง Metabolic Syndrome ค่ะ”   ดิฉันจึงเดินทางไปพบผู้ป่วยเป็นวิศวกรอายุ 54 ปี   อยู่คนเดียว ภรรยาทำงานต่างจังหวัดจะกลับมาเฉพาะเสาร์-อาทิตย์   พบว่า  BMI=28.73    มี HT    BP=144/84  mmHg   มีประวัติเบาหวานในครอบครัว   ผล LAB ในครั้งนี้ HbA1c=5.4 %   FBS=113  mg ไขมันปกติ   ดิฉันได้รับข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้น

หลังจากเราได้พูดคุยกัน จึงรู้ว่า....

        ส่วนใหญ่จะรับประทานอาหารที่ทำงาน เป็นบุฟเฟ่ย์

มื้อเช้า        กาแฟ+ขนมปังไส้ต่างๆ หรือพายผลไม้ 1 ชิ้น

มื้อเที่ยง    ข้าวราดแกง ข้าว 5-6 ส่วน กับข้าว 2-3 อย่าง ชอบทานเนื้อติดมัน   ส่วนใหญ่จะเป็นผัดต่างๆ/แกงกะทิ  

มื้อเย็น      จะซื้อข้าวกล่องสำเร็จรูปที่ขายตามร้าน seven-eleven  1 กล่อง 

มื้อเย็นนอกบ้านที่รับประทานกับภรรยา  จะมีปริมาณมากกว่าปกติ  

           ปกติเขาจะวิ่งออกกำลังกาย 10 กิโลเมตรเกือบทุกวัน  แต่ช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมาไม่ได้ไปเพราะปวดหลัง ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ปัญหาที่พบสำหรับผู้ป่วยรายนี้ คือ ผู้ป่วยมีค่าดัชนีมวลกายเพิ่ม  หมายถึงมีภาวะอ้วนขึ้น  เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน   น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะทำให้อาการปวดหลังจากหมอนรองกระดูกกดทับมีมากขึ้น   อีกทั้งการรับประทานกลุ่มข้าวแป้งและไขมันยังมีสัดส่วนไม่เหมาะสมในบางมื้อ     ร่วมกับช่วงนี้ยังไม่ได้ออกกำลังด้วย ทำให้ได้รับพลังงานมากเกินความต้องการของร่างกาย จึงเกิดการสะสมลงพุงที่หน้าท้องร่วมด้วย  

          "วันหนึงผมกินไม่ถึง 2000 kcal หรอก ผมเคยพบนักโภชนาการมาแนะนำหลายคนแล้ว  และพอจะทราบว่าควรทำอย่างไร  แต่ผมไม่มีเวลาไปสรรหาอาหารได้อย่างที่คุณบอก   งานผมเยอะ    ทางที่ทำงานจัดอาหารให้ไม่สามารถเลือกได้   ถ้าผมอยากลดน้ำหนักจริงๆ ก็จะไม่ทานมื้อเย็นแล้วไปออกกำลังกายเอา "    จะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยอยู่ในภาวะปฏิเสธและยังไม่พร้อมในการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากยังไม่เห็นประโยชน์ของการดูแลสุขภาพตนเอง

         ความรู้สึกของดิฉันตอนนี้  เขามองดิฉันว่าเป็นเด็กเกินกว่าที่จะให้คำแนะนำเขา  อยากให้พี่ที่มีประสบการณ์อยู่ด้วยในขณะนั้น  แต่ด้วยความตั้งใจที่ดีอยากให้เขาเห็นความสำคัญของอาหาร  จะได้ลดภาวะทรุดโทรมของสุขภาพ  โดยเฉพาะครั้งนี้แพทย์นัดเขามาผ่าตัด Laminectomy L2-5   ดิฉันจึงพยายามที่จะให้เขาเข้าใจวัตถุประสงค์ที่แพทย์ต้องการให้พบกับนักโภชนาการเพื่อควบคุมน้ำหนักและแนะนำกลุ่มอาการเมตะบอลิก ที่จะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น  ซึ่งเป็นกลุ่มที่แสดงความผิดปกติของหลายๆ ระบบร่วมกันในคนๆ เดียว อันจะนำมาซึ่งภาวะอ้วนลงพุง  ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ  โรคหัวใจและหลอดเลือด  ความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากที่สุด  ร่วมกับมีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น นิสัยการบริโภค การออกกำลังกาย หรือการมีอายุมากขึ้น

         ดิฉันแอบสอดแทรกความรู้เกี่ยวการเลือกรับประทานในแต่ละมื้อให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของผู้ป่วยแบบง่ายๆที่เขาสามารถทำได้ เช่น ต้องตักอาหารแต่พออิ่ม โดยค่อยๆ  ลดข้าวลง   เลือกกับข้าวที่ใส่ผงชูรสให้น้อยที่สุด ไม่ใส่เลยก็จะดี   เน้นผัก หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมันและอาหารที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบสูง  แนะนำแนวทางในการเลือกหรือเลี่ยงอาหารแต่ละอย่าง ไม่จำเป็นต้องไปสรรหา ใหม่  แต่ให้รู้จักเลือกส่วนที่ดีในจานอาหารตรงหน้า

         ถึงตอนนี้ดิฉันอยากจะขอบคุณเขาที่เปิดให้โอกาสดิฉันได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวเองในการเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส  ยังไงก็ต้องทำให้ได้  สู้ตายค่ะ...

หมายเลขบันทึก: 49940เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2006 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 12:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ดีใจจังที่มาเจอบทความนักโภชนาการ  สนใจติดตามอ่านนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท