รูปแบบการสอน


มอนเตสเซอรี่

รูปแบบการเรียนการสอนแบบมอนเตสเซอรี

(Montessori  Method)

ในปัจจุบันเด็กปฐมวัยนั้นได้ถูกอบรมเลี้ยงดูมาในรูปแบบที่แตกต่างกันไปและรูปแบบการเรียนการสอนของมอนเตสเซอรีก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน

โรงเรียนที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบมอนเตสเซอรีนั้นจะเน้นให้ “เด็กเรียนรู้ได้จากการคิดและซึมซับความรู้สึกสัมผัสด้วยการลงมือกระทำกิจกรรมอย่างเป็นระบบ” จากการสังเกตการสาธิตของครู และอุปกรณ์เป็นสื่อการสอนที่สำคัญที่ทำให้เด็กพัฒนาความรู้และความคิดอย่างมีระบบ มีเหตุผล

รูปแบบการเรียนการสอนของมอนเตสเซอรีนั้นต้องให้เด็กๆได้ หยิบ  จับ  คลำ  ดม  ลงมือปฏิบัติการเล่นกับอุปกรณ์และแก้ไขด้วยตนเอง  โดยสังเกตการสาธิตจากครู เด็กสามารถที่จะเรียนรู้ได้โดยครูไม่จำเป็นต้องให้ข้อความรู้  ให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเองอย่างอิสระหากมีปัญหาครูจะให้คำแนะนำหรือสาธิตซ้ำ การเรียนรู้เช่นนี้จะทำให้เด็กเกิดการซึมซับ การคิดและการกระทำที่มีลำดับขั้น ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ และอุปกรณ์จึงเป็นสื่อการสอนที่สำคัญที่ทำให้เด็กพัฒนาความรู้และความคิดอย่างมีระบบ มีเหตุผล

อุปกรณ์การเรียนการสอนของมอนเตสซอรี่ ได้วางรูปแบบเอาไว้ให้เด็กได้ทำงานต่างๆ เป็นไปตามขั้นตอนจากง่ายไปหายาก   โดยเริ่มจากซ้ายไปขวา เพื่อให้เด็กได้ซึมซับกับการปฏิบัติกิจกรรมจากซ้ายไปขวา ซึ่งเป็นพื้นฐานของการอ่านและการเขียน สำหรับอุปกรณ์นั้นจะมีเพียงอย่างละหนึ่งชิ้น เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักการรอคอย  เด็กจะมีสมาธิในการเล่นกับอุปกรณ์และมุ่งมั่นที่จะทำจนสำเร็จ

                        การจัดชั้นเรียนของมอนเตสซอรี จะคละเด็กโดยให้เด็กต่างอายุอยู่ในห้องเดียวกัน  เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กที่โตกว่าช่วยเหลือเด็กที่เล็กกว่า และเด็กจะได้มีโอกาสเรียนรู้การอยู่ร่วมกันและมีความสุขในการทำกิจกรรม ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นทำให้เด็กทำงานต่อไป  

 

 

 

 วิธีการสอนของรูปแบบมอนเตสเซอรี

     การสอนสามขั้นตอน เป็นวิธีการที่ใช้สําหรับสอนความคิดรวบยอดใหม่ด้วยการทําซ้ำใช้กับการสาธิตขั้นต้น เมื่อเด็กไม่เข้าใจขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งจะต้องเริ่มสาธิตให้ดูใหม่ ครูต้องแน่ใจว่า เด็กเข้าใจในสิ่งที่ทําให้ดูแล้ว จึงจะดําเนินการขั้นต่อไป

วิธีการสอนสามขั้นตอน มีดังนี้

 ขั้นแรก สังเกตเห็นลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ทําให้เชื่อมโยงสิ่งที่ครูสาธิตให้ดูกับชื่อของสิ่งนั้นได้ “นีคือ....”

 ขั้นสอง สังเกตเห็นความแตกต่าง มั่นใจว่าเด็กเข้าใจ เมื่อบอกเด็กว่า “หยิบ....

 ขั้นสาม เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งของที่มีความคล้ายคลึงกัน  ขั้นตอนนี้เพื่อที่จะได้ทราบว่าเด็กจําชื่อสิ่งต่างๆ ที่ครูสาธิตให้ดูได้หรือเปล่า เช่น ชี้ที่ของหลายๆ สิ่ง แล้วถามว่า “อันไหนคือ....”

 

 

 

 

 

 

 

                                     

ครูสาธิตให้เด็กดู

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เด็กสามารถทำตามที่ครูสาธิตได้

                                                      

 

 

 

 

 

 

เด็กทำกิจกรรมด้วยตนเองเกิดการเรียนรู้จาดประสาทสัมผัสทั้ง 5

 และแก้ปัญหาด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ

 

ดังนั้นรูปแบบการเรียนการสอนแบบมอนเตสเซอรีจึงเน้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองแก้ไขปัญหาด้วยตนเองอย่างมีระบบ  มีเหตุผล

 

 

 

 

อ้างอิง

รศ.ดร.กุลยา  ตันติผลาชีวะ.  รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา.  กรุงเทพ:โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค

 

               

นางสาว  สมหญิง  มั่นพันธ์     

53531104031                                                                                                                                                         

หมายเลขบันทึก: 499191เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมศึกษาเรื่องนี้แล้ว พบว่า การสอนแบบนี้ สื่อต้องพร้อม ครูต้องพร้อม ทั้งกายและใจ สิ่งแวดล้อมต้องดี มีเหล่านี้บวกวิธีสอนนี้ สำเร็จแน่ และเกิดประโยชน์ที่ตัวเด็กปฐมวัยมาก สพฐ.จะนำมาใช้กับประถมฯ ผมมองว่าไปไม่รอด ยกเว้นโรงเรียนอนุบาล หรือเอกชน คุณว่าไหม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท