ใครมีลูกเลี้ยงยาก ขอเสียงหน่อย


ดังนั้นก่อนจะพูดอะไรออกมาคิดให้ดี ๆ ก่อน เพราะคำพูดของเรามันจะกลายเป็นพฤติกรรมของเขา ลูกของเราไงค่ะ

      ใครมีลูกเป็นเด็ก "เจ้าปัญหา" จัดในกลุ่มเด็ก "เลี้ยงยาก" ขอเสียงหน่อย

เย้........ 1 เสียงดัง ๆ จากแม่ดาว ที่ถามเนี้ย เพราะอยากจะบอกอะไรบางอย่างแหละ มีหลายครั้งที่ตัวเองก็เหมือนจะไม่ไหว ท้อแท้ มักจะมีประโยคนี้เกิดขึ้น

"ทำไมลูกเราถึงเป็นเด็กเลี้ยงยากแบบนี้"

"ทำไมเค้าเป็นเด็กแบบนี้"

"นี่เราเลี้ยงเค้าผิดวิธีหรือเปล่า"


       มันไม่ใช่ประโยคคำถามที่ถามตัวเองหรอก แต่มันเหมือนประโยคที่ ตำหนิตัวเอง ตำหนิลูก จุดดำในความคิดที่มักจะผุดให้เราเห็นบ่อย ๆ และอย่างที่ใคร ๆ มักบอก สีดำ กับสีขาว ส่วนใหญ่เราก็จะเห็นแต่สีดำ เพ่งแต่สีดำเห็นชัดเจน ยิ่งเพ่งคล้ายจุดดำนั้นจะใหญ่ขึ้น ๆ จนลืมบอกสีขาวที่เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ไป ยิ่งเพ่งก็ยิ่งชัด ยิ่งชัดก็ยิ่งจดจำ และลูกก็ยิ่งจะทำตามสีดำที่เรามองเห็น

       เริ่มต้นจากที่เราต้องยอมรับความเป็นตัวตนของลูกเราให้ได้ก่อน เคารพในตัวตนที่เขาเป็น แต่มองเห็นในมุมที่เปลี่ยนไป และพยายามชักจูงใจให้ลูกค่อย ๆ เปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมเขาใหม่ตามที่ใจเราต้องการให้เขาอยากเป็นอย่างที่ ไม่ทำร้ายหัวใจกัน เช่น

  • เด็กเจ้าอารมณ์ส่วนใหญ่ความจริงแล้วเขาเป็นเด็กที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากกว่าปกติ
  • เด็กที่ไม่เชื่อฟังหรือที่เรามักเรียกกันติดปากว่า เด็กดื้อ ความจริงแล้วเขาเป็นเด็กที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง
  • เด็กที่ซนและดื้อ ความจริงแล้วเขาเป็นเด็กที่มีความร่าเริง สดใสเป็นที่สุด
  • เด็กที่ทำอะไรเชื่องช้า ความจริงแล้วเขาเด็กที่จัดการกับสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรอบคอบ
  • เด็กเรียบร้อยว่าง่าย ความจริงแล้วเขาเป็นเด็กที่มีความละเอียดอ่อนและไวต่อความรู้สึกมาก ประมาณว่าเด็กคนอื่นเฉย ๆ แต่เด็กกลุ่มนี้จะรู้สึกได้ว่างั้น

 

(อ่านเจอมาจากหนังสือแนะนำวิธีเลี้ยงลูก แบบ Happy เล่มนี้ชอบมาก)


ให้เราเปลี่ยนมุมมองลูกเสียใหม่ จากเด็กที่เคยเป็นปัญหา ก็จะกลับกลายเป็นเด็กดีไม่มีปัญหาได้เช่นกัน อันนี้เจอกับตัวเองเต็ม ๆ

       มี ใครเคยตั้งฉายาให้ลูกบ้าง "เด็กดื้อ" "เด็กแสบ" "เด็กขี้เกียจ" "เด็กเอาแต่ใจตัวเอง" ฯลฯ คือไม่ว่าจะพูดบ่นกับลูกโดยตรง หรือนินทาระยะเผาขนให้บรรดาเพื่อนเราขาเม้าท์ทั้งหลายฟังแต่ลูกเราได้ยิน บางครั้งเขาทำเหมือนไม่ฟังเราพูดนะ แต่เชื่อไหมว่าเขาหูผึ่งเชียวแหละ "คำพูดพ่อแม่ศักดิ์สิทธิ์" เคยได้ยินไหมค่ะ ทั้ง ๆ ที่บางทีตัวเราเองก็เม้าท์สนุก ๆ แบบไม่ได้คิดอะไรมาก ไม่ได้มองเห็นว่าผลเสียคืออะไร หรือบางทีพูดไปก็เพราะมองเห็นว่าเด็กเป็นแบบนั้นจริง ๆ (พ่อแม่ตาถั่ว อิอิ)

       บางทีพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกไปอาจไม่ได้ตั้งใจจะเป็นแบบนั้นจริง เพียงแต่เขาเชื่อว่าเขาเป็นแบบนั้น ตามที่เราฉายา หรือคำพูดของเราที่ไปบอกว่าเขาเป็น บอกพูดบ่อย ๆ เข้า เขาก็จะเป็นอย่างที่เราพูดจริง ๆ แม่ดาวย้อนกลับมาดูตัวเอง เออ.....จริง เราก็มี ชอบพูดกับเขาว่า "เด็กแสบ" คือพูดเล่น ๆ แต่ไม่ได้คิดมาก ช่วงนั้นที่พูดแขาแสบได้ถึงไส้ติ่งเลย แสบสุด ๆ เฮี้ยวสาระพัด พออ่านเจอจากหนังสือเล่มนี้ เลยลองทำดู บอกลูกว่า แม่ขอโทษนะ ที่ชอบแซวลูกว่าเด็กแสบ ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ ลูกของแม่เป็นเด็กดี และน่ารักมาก ไม่ได้แสบเหมือนที่แม่แซวสักนิด จากนั้นก็ค่อย ๆ ดีขึ้น ชมเขาบ่อย ๆ ว่าเขาเป็นเด็กดียังไง (ชมออกมาจากใจและควรระวังคำชมของตัวเราด้วย) แล้วเขาก็จะยิ้มอย่างภูมิใจทุกครั้งที่เราชม และเขาก็จะพยายามทำดีเพื่อเป็นเด็กดีให้แม่ภูมิใจเช่นกัน

       ดังนั้นก่อนจะพูดอะไรออกมาคิดให้ดี ๆ ก่อน เพราะคำพูดของเรามันจะกลายเป็นพฤติกรรมของเขา ลูกของเราไงค่ะ

หมายเลขบันทึก: 498938เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2012 08:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2012 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เคยพูดกับอาจารย์ให้ลูกได้ยินเช่นกันว่าลูกสาวผมชอบเถียง แต่ลูกผมสวนทันทีเลยว่า ไม่ได้เถียงแต่เป็นการชี้แจงเหตุผล ผมก็ได้แต่อึ้งล่ะครับ...

เห็นด้วยกับคุณลูกค่า เด็กเขาก็มีความคิดเห็น มีเหตุผลเป็นของตัวเอง อาจจะเป็นสิ่งที่เราฟังได้บ้าง ไม่ได้บ้างสำหรับเรา คือบางเหตุผลของเขาฟังแล้วมันงี่เง่าในความคิดเรา แต่หากเราพร้อมที่จะยอมรับฟังแล้วทุกเสียงของเขาแล้ว เขาจะรู้สึกว่า พ่อแม่ยอมรับฟังความคิดของเขา เขาจะรู้สึกต่อต้านเราน้อยลงด้วยนะ อีกทั้งเป็นการเพิ่มการเห็นคุณค่าในตัวเองของลูกเรามากขึ้น ผู้ใหญ่โดยเฉพาะสังคมไทยเรา พอเด็กแสดงความคิดเห็นในแบบเขา ก็จะมองว่าชอบเถียง ไม่สมควร ปิดกั้นโอกาสการแสดงออกทางความคิดของเด็ก และยังเป็นการทำลายความสัมพันธ์ที่ดีของเราและลูกด้วนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท