เรื่องเล่างานโรคไม่ติดต่อ


เรื่องเล่างานโรคไม่ติดต่อ

การบริหารจัดการกลุ่มเสี่ยงอย่างไรที่มีคุณภาพ

นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ

 

                                                               

เรื่องเล่าของข้าพเจ้า ชื่อ  การบริหารจัดการกลุ่มเสี่ยงอย่างไรที่มีคุณภาพ

1. สาเหตุหรือที่มาของเรื่องเล่า  คือ การจัดการความรู้ในการพัฒนาเครือข่าย  (พันธมิตรเครือข่าย     สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี นายอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น  รพสต. พัฒนาชุมชน เกษตรตำบล ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  ประชาชน)

2. กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร

ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป กลุ่มป่วยที่เป็นโรคเรื้องรัง กลุ่มประชาชนที่ยังไม่ป่วย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ 3 อ. 2 ส. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ สุรา สิ่งเสพติด) การบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกาย/เคลื่อนไหวน้อย อารมณ์/ความเครียด  การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ภาวะน้ำหนักเกิน/อ้วน ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง หลายๆปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว มีรากฐานมาจากวิถีชีวิตที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพหรืออยู่ในสภาวะแวดล้อมทางด้านสังคม เศรษฐกิจและกายภาพที่เกื้อหนุนให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค แนวโน้มของโลกเปลี่ยนแปลงไปในด้านค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี เศรษฐกิจ การเมือง และการสื่อสารมีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพที่ดี และการปฏิบัติตนไม่ให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคเรื้อรัง จึงไม่เพียงดำเนินงานมุ่งเน้นที่ตัวบุคคลเท่านั้น แต่ต้องดำเนินงานในชุมชนโดยชุมชน ตามบริบทของสังคม สิ่งแวดล้อม และปัจจัยกำหนดในสถานการณ์ชุมชนที่แตกต่างกัน ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีมีประสิทธิผล

 

3. มีกระบวนการหรือกลวิธีดำเนินการอย่างไร  ให้มีความสุข    ง่าย   และ ยั่งยืน /ผลลัพธ์ของของการจัดการกลุ่มเสี่ยง/ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ว่าดี อย่างไร

รพสต.ต้องมีการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (Strategic Route Map) SRM ก็จะต้องมีการสำรวจข้อมูลความรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของคนในชุมชน โดยแกนนำชุมชนช่วยคิดประเด็นที่อยากรู้ แล้วตั้งเป็นคำถามผนวกกับประเด็นที่เราอยากรู้ จากนั้นก็ทำเป็นแบบสำรวจให้แกนนำออกสำรวจตามครัวเรือน หลังจากนั้นก็รวบรวมข้อมูลให้ครบ ก็มาช่วยกันจัดการกับข้อมูล ช่วยกันแจงนับ แล้วสรุปเป็นภาพรวมของหมู่บ้าน เราใช้วิธีการที่ไม่ซับซ้อน เพื่อต้องการให้แกนนำชุมชนทำได้และมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน

ข้อมูลที่สรุปได้ ถูกนำมาสกัดอีกรอบหนึ่งเพื่อหาประเด็นที่จะนำมาใช้จุดประกายความคิด ความตระหนักในเวทีประชาคมคืนข้อมูลสู่ชุมชน ในเวทีนี้จะเชิญตัวแทนครัวเรือนเข้ามาร่วมรับฟังข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและร่วมแสดงความคิดเห็น และในขณะเดียวกันเราก็หาแนวร่วมที่อยากเข้ามาร่วมเป็นแกนนำเพิ่มเติม จากเดิมที่ส่วนใหญ่จะเป็นแกนนำ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ด้วยกัน ส่วนการเชื่อมถึงภาคที่สำคัญนั่นคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นั้นสามารถพัฒนาแกนนำชุมชนให้สามารถจัดทำแผน/โครงการ ด้วย SRM ได้แล้ว และขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น

ในขั้นตอนต่อไปคือ การจัดทำแผนของชุมชน โดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ซึ่งในกระบวนการจัดทำและใช้ทีมงานตกลงร่วมกันว่าเราจะทำทั้ง 7 ขั้นตอน เพื่อเป็นการเรียนรู้ นั่นคือ

ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์บริบทและวิเคราะห์สถานการณ์ (Situation Analysis) การวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ โดยใช้เครื่องมือในการจัดระบบความคิดที่มีประสิทธิภาพและเรียบง่าย คือแผนที่ความคิด ซึ่งจะช่วยให้เห็นความคิด ความสัมพันธ์ และความเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ที่ร่วมกันวิเคราะห์โดยไม่มีข้อจำกัด

ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดจุดหมายปลายทาง (Destination Statement) เป็นความคาดหวังที่ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในวิสัยที่จัดการได้ในระยะเวลาที่กำหนด จะระบุเวลาที่ชัดเจนว่า ภาพฝันหรือภาพอนาคตที่คาดหวังหรือสิ่งที่ต้องการเห็นหรือให้เกิดขึ้นของชุมชน ณ เวลานั้นเป็นอย่างไร

ขั้นตอนที่ 3 การสร้างแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์   และการตรวจสอบยุทธศาสตร์กับแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ เป็นภาพหรือแผนที่แสดงเส้นทางสู่จุดหมายปลายทาง

ขั้นตอนที่ 4 การสร้างแผนที่ยุทธศาสตร์ฉบับปฏิบัติการ การใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ให้เกิดการปฏิบัติ ให้เลือกสร้างแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ฉบับปฏิบัติการเฉพาะส่วนที่ทำจริง

ขั้นตอนที่ 5 การอธิบายการทำงานหรือนิยามเป้าประสงค์และตัวชี้วัด รวมถึงการสร้างนวัตกรรมและมาตรการทางสังคมเป็นการระบุกิจกรรมและการกระทำที่ชัดเจน โดยต้องกำหนดประเด็นหรือเรื่องที่จะดำเนินการ แล้วอธิบายว่าเป้าประสงค์และกลยุทธ์ต่างๆจะไปสู่การปฏิบัติอย่างไร

ขั้นตอนที่ 6 การสร้างแผนปฏิบัติการ (Action Plan/Mini-SLM) เป็นแผนกิจกรรมสำคัญหลักที่มีตัวชี้วัดผลสำเร็จในการปฏิบัติงานจริงและกิจกรรมเสริมแต่ละเป้าประสงค์ในแต่ละมุมมอง การสร้างแผนปฏิบัติการ

ขั้นตอนที่ 7 การเปิดงานและติดตามผล (Launching) เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆครบถ้วนแล้วต้องกำหนดระบบติดตามความก้าวหน้า ของการปฏิบัติงาน และการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นให้ชัดเจน

แนวทางการส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพเรื้อรัง

1. การสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพทั้งในระดับองค์กร ชุมชน ท้องถิ่น เช่นลดพุง ลดสุรา งดบุหรี่

2. การสร้างสิ่งแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างสุขภาพ ทั้งในบุคคล ครอบครัว ชุมชน โรงเรียน สถานที่ทำงาน ชมรมสร้างสุขภาพ ชมรมผู้สูงอายุ

3. การสร้างเสริมกิจกรรมชุมชน/องค์กรให้เข้มแข็งคือ

3.1 ชุมชนองค์กรมีขีดความสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชน/องค์กรให้บรรลุเป้าหมายไร้พุง/ปลอดเหล้า/ปลอดบุหรี่/ลดเสี่ยง/ลดโรค และสามารถเป็นต้นแบบและศูนย์เรียนรู้ให้แก่ภาคีเครือข่าย เพื่อดำเนินการต่อเนื่องอย่างเข้มแข็ง

3.2 ส่งเสริมสนับสนุนและเพิ่มศักยภาพให้ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐและองค์กรอื่นๆในทุกระดับ มีส่วนร่วมและมีส่วนรับผิดชอบในการส่งเสริมสุขภาพ

3.3 ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของประชาชนและของชุมชน เพื่อสร้างเสริมความรู้และทักษะของบุคคลและความเข้มแข็งของชุมชน สำหรับการดูแลตนเองด้านสุขภาพและการพึ่งตนเองของชุมชน

3.4 สร้างองค์ความรู้ตามหลักการ 3 อ. 2 ส. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ สุราและสิ่งเสพติด)

3.5 สร้างกระแสสังคม เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักการ 3 อ. 2 ส.(อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ สุราและสิ่งเสพติด)

3.6 สร้างคน/องค์กรต้นแบบไร้พุง/องค์กรสุขภาพดี และแหล่งเรียนรู้ทั้งระดับบุคคล ชุมชน และประเทศ

3.7 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่เน้นการมีสุขภาพแบบยั่งยืน

4. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลให้มีพฤติกรรมการบริโภคและการใช้แรงกายเหมาะสมจนสามารถควบคุมน้ำหนักตัวเอง มีทักษะการเลิกสูบบุหรี่และการดื่มสุรานำไปสู่การลดผู้มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง

5. การปรับเปลี่ยนบริการสาธารณสุข มีคลินิกไร้พุง คลินิกอดบุหรี่/สุรา โดยเน้นสร้างนำซ่อม

4. อะไรที่ท่านคิดว่าเป็นปัจจัยที่ทำสำเร็จ

การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพตรงกับความต้องการของชุมชน ผู้นำชุมชนเข้มแข็งและห่วงใยด้านสุขภาพ สร้างองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพให้กับชุมชน เครือข่ายในชุมชนมีกิจกรรมสม่ำเสมอ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหมู่บ้านอื่นในชุมชน การประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอในการดูแลสุขภาพตามหอกระจายข่าว สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านละ 1 คน การประชุมคณะกรรมหมู่บ้านเดือนละ 1 ครั้ง มีการรายงานความก้าวหน้าในชุมชน การนำทรัพยากรในพื้นที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ มีกระบวนการจัดการที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลเป็นรูปธรรม ในการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายและชุมชนนั้น ผู้นำชุมชนต้องให้ความสำคัญและร่วมกิจกรรม มีทีมงานสุขภาพที่เข้มแข็ง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพจะดำเนินการ เปลี่ยนแปลงเลยนั้นย่อมไม่เกิดผล ต้องยึดถือวิถีชีวิตในชุมชนเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยน

 

ปัญหาอุปสรรคที่พบในการดำเนินงาน

ในการสำรวจข้อมูลได้ไม่ครบถ้วนเพราะชาวบ้านไปทำงานต่างถิ่น การทำเวทีประชาคมผู้นำกลุ่มต้องใช้ทักษะมากๆในการฟังและจับประเด็น กระตุ้น ต่อรอง ประนีประนอม การทำเวทีประชาคมต้องวางแผนให้ดี ต้องไม่มีกลุ่มป่วย เพราะจะเกิดแรงกดดัน ยกเว้นสมัครใจ ผลการคัดกรองภาวะกลุ่มเสี่ยงอาจเป็นไปได้ทั้งแรงกระตุ้นและแรงกดดันต่อการดำเนินชีวิตของ กลุ่มเสี่ยงได้ การอบรมด้วยควรเป็นการสาธิตตามวิถีชีวิต เช่น จัดอาหารเพื่อสุขภาพ การพักผ่อน ฝึกการออกกำลัง

 

เป้าหมายการจัดบริการสำหรับผู้มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง คือ ช่วยให้ผู้มีปัญหาสุขภาพเรื้อรังสามารถปรับตัวได้ คงสภาพอยู่กับ สภาพปัญหาเรื้อรัง ได้ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน หากมีภาวะแทรกซ้อนก็ให้มีผลกระทบน้อย สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี คุณลักษณะบริการที่เหมาะสม ต้องประกอบด้วย

1. เน้นการดูแลที่ต่อเนื่องผสมผสาน

2. มีการประเมินรอบด้านเป็นระยะ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สภาพสังคม เศรษฐกิจ

3. มีเวลาสำหรับการดูแลเรื่องพฤติกรรม

หมายเลขบันทึก: 498418เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2012 20:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2013 01:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

"สวัสดีหลังเที่ยงคืนหมออนามัย...

.เอ๋ะนี้เราตื่นมาทำอะไรในตอนนี้

อ้อ...ตื่นมาเติมอาหารสมองให้พ่วงพี

เพื่อนำสิ่งดีดี ไปสร้างสุขสู่ชุมชน"

(ไปประชุมหลายวัน 20- 24 สค. นี้ทางป.กระทวง เชิญประชุมการปรับระดับชั้นเงิน ที่พัทยา จะรายงานความคืบหน้าให้ชาวสาสุขทราบ)

พักอยู่โรงแรมอะไร ใต้ เหนือ กลาง หากมีโอกาสจะได้แวะไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท