อบรมการถ่ายภาพดาวเคราะห์


ความสนใจทำให้เรากล้าลงทุน ผลลัพท์ที่ได้ขึ้นกับผู้เห็นคุณค่า ไม่ใช่มูลค่าการตลาด

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติจัดการอบรมเรื่อง "การถ่ายภาพดาวเคราะห์สำหรับนักดาราศาสตร์สมัครเล่น" เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2555 ผมเองก็ไม่ใช่ทั้งนักดาราศาสตร์ และก็ไม่ใช่นักดาราศาสตร์สมัครเล่น วางตัวเองเป็นคนสนใจดาราศาสตร์เท่านั้น แต่เมื่อเห็นว่ามีรายการนี้ ก็เลยชัดชวนสมาชิก รวมกันได้ 4 คน ออกเดินทางจากขอนแก่นวันที่ 27 ก.ค. เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมนี้

เมื่อเดินทางถึงก็แวะย่ำพระนครสักเล็กน้อยก่อนพักผ่อนเพื่อพร้อมเข้ารับการอบรม

บรรยากาศการอบรมค่อนข้างเป็นกันเอง ดร.ศรันย์ โปษยะจิณดา ท่านเป็นตัวแทนจากสดร. แนะนำวิทยากร คือคุณ Christopher Go จากฟิลิปปินส์ ซึ่งแหม ดูจากสภาพอากาศที่ฟิลิปปินส์แล้ว โอกาสจะถ่ายภาพดาวนั้นทำได้ยากเหลือเกิน แต่ด้วยความรักท้องฟ้าทำให้คุณ Go พยายามหาเทคนิควิธีการบันทึกภาพวัตถุฟ้าจนกลายเป็นช่างภาพดาราศาสตร์ มืออันดับต้นๆ ของโลก รวมไปถึงผลงานการพบพายุบนดาวพฤหัสบดี ทำให้เค้าสามารถลงตีพิมพ์ผลงานในวารสาร Nature ได้ถึงสามครั้ง

ข้อดีของการอบรมครั้งนี้ประการแรกก็คือได้พบกับนักถ่ายรูปดาราศาสตร์และนักดาราศาสตร์สมัครเล่นจากทั่วเมืองไทย และการใช้โปรแกรม opensource ในการประมวลผลภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ทำให้อุปสรรคที่คาดว่าจะมาจากค่าใช้จ่ายทางด้านซอฟท์แวร์นั้นลดลงเหลือแค่เพียงความมุ่งมั่นของเราเท่านั้นที่จะเป็นทุนในการพัฒนาการถ่ายภาพดาวเคราะห์

หลังจากพักผ่อนที่ กทม. อีกหนึ่งคืน จึงได้เดินทางกลับขอนแก่นพร้อมแรงบันดาลใจที่จะจัดกิจกรรมทำนองนี้เพื่อให้คุณครูหรือนักศึกษาที่สนใจการถ่ายภาพดาวเคราะห์สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วที่โรงเรียนสรรค์สร้างกิจกรรมขึ้นเพื่อสนับสนุนให้นักเรียนได้มีโอกาสฉายแสงที่ซ่อนในเงามืดในตัวเค้าออกมา...

คำสำคัญ (Tags): #astrophotography
หมายเลขบันทึก: 497842เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2012 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 สิงหาคม 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท