นศ.กบ.กับโครงการสุขภาพจิตชุมชน


ขอบคุณนศ.กบ. หรือนักศึกษากิจกรรมบำบัดมหิดล ที่นำเสนอโครงการสุขภาพจิตชุมชน (กลุ่มละ 4-5 คน) ที่มีการประเมินผลของกระบวนการจัดโครงการได้น่าสนใจ

โครงการที่ 1: สุขเสถียร เกษียณสุขใจ

กลุ่มเป้าหมาย: ผู้ชายอายุ 50-59 ปี ก่อนวัยเกษียณจากการทำงาน

การส่งเสริมสุขภาพจิต: การเพิ่มทักษะการใช้เวลาดูแลจนเอง การทำงาน และการทำกิจกรรมยามว่าง ที่สมดุลใน 24 ชม. โดยสื่อแผ่นพับและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การประเมินผลลัพธ์: กลุ่มตัวอย่าง 5 คน เป็นสมาชิกชมรมตะกร้อ มีร่างกายแข็งแรงจากการเล่นกีฬา ได้เรียนรู้ความสนใจและความสามารถในการแสดงบทบาทในชีวิตที่เหมาะสม แต่กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดใช้เวลาคาบเกี่ยวกันรวมมากกว่า 24 ชม.

การป้องกันทุกขภาวะ: การให้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาถึงเรื่อง การจัดการเวลาในกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่สมดุล การจัดการความล้าด้วยการสงวนพลังงาน และการจัดการใช้เวลาทำกิจกรรมยามว่างที่เหมาะสมและผ่อนคลายจากการทำงาน

โครงการที่ 2: สะดุดเรียน ไม่สะกิดใจ

กลุ่มเป้าหมาย: นักศึกษา ณ หอพักพยาบาลฯ ที่สนใจ

การประเมินผลลัพธ์: กลุ่มตัวอย่าง 20 คน เข้าร่วมประเมินระดับความเครียดก่อนและหลังการให้ความรู้เรื่อง "การจัดการความเครียด" ผ่านสื่อวิทยุ แผ่นพับ โปสเตอร์ เสวนา และการเข้าห้องที่ใช้อุปกรณ์การรับความรู้สึกที่หลากหลาย ซึ่งพบว่าความเครียดจากปานกลางเป็นเล็กน้อย มีการวัดชีพจรลดลง 14 คน และมีความมั่นใจจาก 2-3/10 เป็น 3-4/10

การป้องกันทุกขภาวะ: การให้โปรแกรมการจัดการความล้าจนถึงความเครียดในแต่ละรายบุคคล โดยเน้นการปรับรูปแบบกิจกรรมให้เพิ่มการควบคุมตนเอง-คุณค่าในตนเอง-ความมั่นใจในตนเอง-ความภาคภูมิใจในตนเอง-การจัดการตนเอง

โครงการที่ 3: น้ำใจไทย ต้านภัยน้ำท่วม

กลุ่มเป้าหมาย: อสม.และผู้สนใจในชุมชนแห่งหนึ่ง

การประเมินผลลัพธ์: กลุ่มตัวอย่าง 28 คน มีชีพจรเพิ่มขึ้น 65% ลดลง 21% หลังทำกิจกรรมกลุ่มระบายความรู้สึกหลังน้ำท่วม และมีชีพจรเพิ่มขึ้น 21% ลดลง 76% หลังทำกิจกรรมการผ่อนคลาย (หายใจ ทำสมาธิ เคลื่อนไหวผ่อนคลายกล้ามเนื้อตามลำดับ) เมื่อสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 5 คน มีความพึงพอใจเฉลี่ย 8.5/10

การป้องกันทุกขภาวะ: การให้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาโดยนักกิจกรรมบำบัดเน้นการให้คำปรึกษาเชิงการออกแบบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอสม.หรือผู้ที่ฝึกกับนักกิจกรรมบำบัดรอบแรกแล้ว มาถ่ายทอดแปลความรู้สู่ประชาคม

โครงการที่ 4: อยู่อย่างไร ให้มีสุข

กลุ่มเป้าหมาย: ผู้สูงอายุหญิงที่กำลังถือศีลในวัดแห่งหนึ่ง

การประเมินผลลัพธ์: กลุ่มตัวอย่าง 10 คน ประเมินความสุขก่อนและหลังกิจกรรม พบว่า มีความสุขอยู่แล้วด้วยการปฏิบัตธรรม และหัวข้อแบบสอบถามแปรผลว่า มีความสุขเพิ่มขึ้นหลังการทำกิจกรรมเล่าทุกข์บอกสุขและกิจกรรมชุมชนสวบด้วยวัยเก๋า ด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบกลุ่ม

การป้องกันทุกขภาวะ: การให้โปรแกรมการจัดการตนเองให้มีบทบาทเพื่อชุมชนหรือสังคมด้วยความสำเร็จแห่งการใช้ชีวิตสูงวัย

อย่างไรก็ตาม นักศึกษาต้องทำความเข้าใจว่า การป้องกันเหตุแห่งภาวะใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต ได้แก่ กิจกรรมบำบัดเพื่อพัฒนาความสามารถในองค์ประกอบของการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต เช่น ทักษะการรู้คิดปัญญา ทักษะการแสดงอารณ์ ทักษะการสื่อสาร เป็นต้น แต่การส่งเสริมสุขภาพจิต ได้แก่ กิจกรรมบำบัดเพื่อพัฒนาขอบเขตการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต เช่น การทำกิจกรรมยามว่าง การทำกิจกรรมการทำงาน การทำกิจกรรมการดูแลตนเอง การทำกิจกรรมการพักผ่อน และการทำกิจกรรมการเข้าสังคม ที่มีเป้าหมาย มีคุณค่า มีความหมาย และมีความสุข   

หมายเลขบันทึก: 497828เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2012 14:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2012 08:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณมากครับพี่เหมียว ณัฐพัชร์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท