ใช้วิทยาศาสตร์ผิดวิปริตรทั้งโลก


เว็บไซต์เพื่อสังคม "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก"

 

 

ฅนที่หลงใหลในวิทยาศาสตร

101
เมื่อเราเห็นว่า รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส คือปัจจัยสำคัญหลักที่ทำให้มนุษย์มีความทุกข์
นั่นเป็นก้าวแรกที่เข้าใจ "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก"

102
คนที่หลงใหลในวิทยาศาสตร์ ต่างเห็นว่า การตอบสนองแห่งกิเลส ตัญหา คือความสุข
ในขณะที่หลักศาสนาพุทธ มองเห็นตรงข้าม
ท่านจะเลือกฝ่ายไหน ขอใช้ปัญญาสรุปที่ผลกรรมเป็นที่ตั้ง

103
โลกเรานับว่าโชคดีมหาศาลที่สวรรค์ประทานพระพุทธเจ้า และไอน์สไตน์มาให้
แต่ก็ถือว่ายังโชคร้าย
ที่ไม่ได้ประทานอภิมหาอัจฉริยะอีกท่าน
เพื่อมาหลอมรวมศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของอัจฉริยะอย่างพระพุทธเจ้า และไอสไตน์ไว้เป็นหนึ่งเดียว

104
ถึงเวลานั้นหากมนุษย์รุ่นปัจจุบัน (รุ่นที่ 200)
ร่วมระดมความเฉลียวฉลาดเป็นหนึ่งเดียว เพื่อเชื้อเชิญ พระพุทธเจ้า และไอน์สไตน์
มาร่วมเสวนาด้วยกัน
คนรุ่นใหม่ รุ่นที่ 201 จะได้พบสันติสุขเสียที

105
เป็นที่น่าเศร้าใจหากรูปลักษณ์ภายนอกของพืชผักดูดี
แต่เนื้อในซุกซ่อนด้วยพิษร้ายอันน่าสะพึงกลัว
อย่างนี้จะไม่นึกถึง "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก" กันบ้างหรือ

106
อัตราการเกิดโรคจิต โรคประสาทพุ่งรวดเร็วอย่างน่าวิตก
นี่เป็นผลพวงจากวิทยาศาสตร์
แล้วทำไมมนุษย์ยังยอมเป็นทาสวิทยาศาสตร์
หากทุกคนแค่คิดเปลี่ยนมาเป็นทาส "หลักของพระพุทธศาสนา"
โลกนี้ไม่จำเป็นต้องมีจิตแพทย์เลย

107
ผู้คนยุคปัจจุบัน มีราคะ โลภะ โทสะ และโมหะ มากกว่าในยุคโบราณ
นั่นเพราะหลงเร่งพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์
ขณะเดียวกันต่างก็ลืม "ศาสตร์สากล" อย่างพระพุทธศาสนา
แล้วจะไปโทษใครเล่า  เมื่อความสันติสุขลาลับไกลเรา

108
ออกซิเจนช่วยให้ไฟติด ไฮโดรเจนเป็นตัวติดไฟ
แต่เมื่อทั้งสองรวมกันเป็นโมเลกุลน้ำ กลับกลายเป็นตัวดับไฟ
นี่น่าจะเป็นอุทาหรณ์
เพื่อชี้แนะชี้นำให้เราได้ศึกษาแก่นแท้ของธรรมชาติ
อันจะนำไปดับไฟแห่งจิตได้เช่นกัน

109
เราต่างเป็นตัวละครที่หลงว่า ชื่อเสียง เงินทอง ยศถาบรรดาศักดิ์เป็นของจริง พึงนิยม
จึงทุ่มเทการแสดงอย่างเหน็ดเหนื่อยตลอดช่วงชีวิต เพื่อให้สมบทบาท
หากได้ศึกษาสัจธรรมจาก "ธรรมชาติ" แล้ว เราจะพบว่าสิ่งเหล่านั้นล้วนเป็นมายา
ดังนั้นเกมกรรมดังกล่าวจักไม่ติดบ่วงเราเลย เราไม่หลงเหน็ดเหน็ดเหนื่อยกับมันเลย
แล้วเราก็พบแก่ความสันติสุขที่แท้จริง

110
ถ้าเราปล่อยตัวปล่อยใจตามความรู้สึกก็ตกไปตามเกมกรรม
การฝึกกำลังสติให้กล้าแข็ง จะช่วยเปลี่ยนวิถีชีวิตได้
การยึดหลักดำเนินชีวิต อย่างธรรมดา อย่างธรรมชาติ ซึ่งเป็นหลักปรัชญาของพระพุทธศาสนา นี่คือการฝึกกำลังสติให้กล้าแข็ง


 

 

คำสำคัญ (Tags): #เว็บเพื่อสังคม
หมายเลขบันทึก: 497789เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2012 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 สิงหาคม 2012 09:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท