อาหารใต้


      อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้ เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีต ทำให้วัฒนธรรม ของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากอาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้าน มีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์  อาหารภาคใต้มีรสจัด อาหารหลาย ๆ อย่างจึงมีผักรับประทานควบคู่ไปด้วย เพื่อลดความเผ็ดร้อนลงซึ่งคนภาคใต้ เรียกว่า ผักเหนาะ หรือบางจังหวัดอาจเรียกว่า ผักเกร็ด   ผักเหนาะของภาคใต้มีหลายอย่างบางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับภาคกลาง เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพู ฯลฯ  แต่ก็มีผักอีกหลายอย่างที่รู้จักกันเฉพาะคนภาคใต้เท่านั้น การเสิร์ฟผักเหนาะกับอาหารปักษ์ใต้  ชนิดของผักจะคล้าย ๆ กันหรืออาจเป็นผักที่ผู้รับประทานชอบก็ได้   ผักเหนาะของภาคใต้มีหลายอย่าง   บางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับภาคกลาง  เช่น  มะเขือเปราะ  ถั่วฝักยาว  ถั่วพู   ฯลฯ  แต่ก็มีผักอีกหลายอย่างที่รู้จักกันเฉพาะคนภาคใต้เท่านั้น   การเสิร์ฟผักเหนาะกับอาหารปักษ์ใต้    ชนิดของผักจะคล้าย ๆ กันหรืออาจเป็นผักที่ผู้รับประทานชอบก็ได้  ผักเหนาะที่คนภาคใต้ใช้รับประทานควบคู่กับอาหารประเภทน้ำพริก   หรือแกงเป็นใช้ได้   อาหารส่วนใหญ่ของคนภาคใต้เกี่ยวข้องกับทะเล  เมื่อออกทะเลหาอาหารมาได้มากเกิดรับประทานให้หมดในหนึ่งมื้อได้   คนภาคใต้จึงนำอาหารที่ได้จากทะเลมาทำการถนอมอาหาร  เช่น กุ้งส้ม   ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กุ้งแตะ  ซึ่งจะมีสีเขียว   กุ้งชนิดนี้เมื่อนำมาทำเป็นกุ้งส้ม  สีจะออกแดง ๆ และมีรสเปรี้ยว   การทำกุ้งส้มนั้น  นำกุ้งมาหมักกับเกลือ  น้ำตาลทราย  หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วันจนมีรสเปรี้ยว   จึงนำมาทำอาหารรับประทานได้                                                                                  การทำกุ้งส้มหากใช้กุ้งขาว   เมื่อหมักแล้วสีจะไม่แดง  ต้องใช้ใส่สีช่วย   จึงจะน่ารับประทาน                                                  

ปลาขี้เสียดแห้ง   คือการนำปลาสีเสียดมาใส่เกลือจนทั่วตัวปลา  แล้วตากแดดให้แห้ง   เก็บไว้รับประทานได้นาน                       

ปลาแป้งแดง   คือการนำปลาโคบ  หมักกับข้าวสุก  เกลือ  ใส่สีแดง  หมักทิ้งไว้   3-4   วัน   จึงนำมาปรุงอาหารได้                         

ปลาเค็ม   คือ   การนำปลามาหมักกับเกลือ  เมื่อก่อนชาวประมงออกหาปลา   พอได้ปลามากก็หมักกับเกลือบนเรือ   ครั้นเรือเข้าฝั่งก็จะได้ปลาเค็มไว้รับประทาน                                                                                                                                             

กุ้งแห้ง คือ  การนำกุ้งที่ได้มาเคล้ากับเกลือ   แล้วตากแดดให้แห้ง  เก็บไว้รับประทานได้นาน                                                   

น้ำบูดู   ได้จากการหมักปลาตัวเล็ก ๆ กับเกลือเม็ด   โดยหมักไว้ในโอ่ง  ไห  หรือถังซีเมนต์  แล้วปิดฝาผนึกอย่างดี  ตากแดดทิ้งไว้ 2-3   เดือน  หรือเป็นปี  จึงนำมาใช้ได้  บูดูมีทั้งชนิดหวานและชนิดเค็ม  ชนิดหวาน   ใช้คลุกข้าวยำปักษ์ใต้  ชนิดเค็ม  ใช้ปรุงอาหารประเภทน้ำพริก   เครื่องจิ้ม                                                                                                             

พุงปลา   ได้จากการเอาพุงปลาทู  หรือปลารังมารีดเอาสิ่งสกปรกออก  แล้วใส่เกลือหมักไว้  1   เดือนขึ้นไป  จึงนำมาปรุงอาหารได้                                                                                                                                                                                      

เนื้อหนาง   คือ การนำเอาหัวของวัวไปย่างไฟอ่อน ๆ จนสุกทั่วกันดี  แล้วแช่น้ำทิ้งไว้  1   คืน  รุ่งขึ้นขูดเอาส่วนที่ไหม้ออกจนขาวสะอาดดี  เลาะเอาแต่เนื้อ   นำมาเคล้ากับเกลือ  น้ำตาลปีบ  หมักทิ้งไว้   2-3   คืน  จึงนำมาปรุงอาหารได้ 

 

คำสำคัญ (Tags): #อาหาร
หมายเลขบันทึก: 497582เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2012 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 สิงหาคม 2012 04:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หรือปลารัง=ปลาลัง

(เนื้อหนาง คือ การนำเอาหัวของวัวไปย่างไฟอ่อน ๆ จนสุกทั่วกันดี แล้วแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นขูดเอาส่วนที่ไหม้ออกจนขาวสะอาดดี เลาะเอาแต่เนื้อ นำมาเคล้ากับเกลือ น้ำตาลปีบ หมักทิ้งไว้ 2-3 คืน จึงนำมาปรุงอาหารได้ )

นำมาเคล้ากับเกลือ น้ำตาลปีบ = ถ้าให้ดีให้หรอย เติมหยวกกล้วยลงไปในหัววัวที่"หนาง"ก็จะอร่อยมากขึ้น

ลองสืบค้นคำว่า"หนาง" ทำไมจึงเรียกหนาง

เป็นบันทึกที่เป็นการถนอมอาหารของชาวปักษ์ใต้ แต่ละอย่างหากสืบค้นลงลึกจะเป็น KM แบบบ้านๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท