กรรมฐานที่ Fresno - หลักการและเทคนิค


จาก ธรรมจักร หลักการและเทคนิค การทำจังหวะของหลวงพ่อเทียน
ความคิดเป็นธรรมชาติทางนามธรรมชนิดหนึ่ง 
ซึ่งมีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อวิถีชีวิตและจิตวิญญาณของเรา 
เราคุ้นเคยและอยู่กับความคิดเกือบตลอดเวลา 
แต่เราแทบจะไม่รู้จักความคิดและกลไกการทำงานของมันในตัวเราเลย 
ทั้งนี้เนื่องจากความคิดนั้นมีความเร็วกว่าแสงฟ้าแลบ
และไหลต่อเนื่องเหมือนสายน้ำ 

ความคิดมีสองประเภท 

ความคิดชนิดหนึ่ง มันเกิดขึ้นมาแวบเดียวมันไปเลย 
ความคิดชนิดนี้มันนำโทสะ โมหะ โลภะเข้ามา 

ความคิดอีกอย่างหนึ่ง เป็นความคิดที่เราตั้งใจคิดขึ้นมา 
ความคิดชนิดนี้ไม่นำโทสะ โมหะ โลภะเข้ามา 
เพราะความคิดชนิดนี้เราตั้งใจคิดขึ้นมาด้วยสติปัญญา 

ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะเราไม่เห็นความคิด 
แต่ตัวความคิดจริงๆนั้นมันไม่ได้มีความทุกข์ 
สาเหตุที่มันมีความทุกข์เกิดขึ้นคือ 
เมื่อเราคิดขึ้นมา เราไม่ทันรู้ ไม่ทันเห็น ไม่ทันเข้าใจความคิดอันนั้น 
มันก็เลยเข้าไปในความคิด เป็นโลภ เป็นโกรธ เป็นหลงไป 
แล้วมันก็นำทุกข์มาให้เรา 

เมื่อเราไม่รู้วิธีแก้ไข มันก็คิด คิดอันนั้น คิดอันนี้ 
คนเราจึงอยู่ด้วยทุกข์ กินด้วยทุกข์ นั่งด้วยทุกข์ นอนด้วยทุกข์ 
ไปไหนมาไหนด้วยทุกข์ทั้งนั้น 
เอาทุกข์นั่นแหละเป็นอารมณ์ไป 

แต่ถ้ามาเจริญสติให้รู้เท่าทันความคิด 
พอดีมันคิดปุ้ป..ทันปั๊ป คิดปุ้ป..ทันปั๊ป มันไปไม่ได้ 
มันจะทำให้จิตใจของเราเปลี่ยนแปลงที่ตรงนี้ 
ความเป็นพระอริยบุคคลจะเกิดขึ้นที่ตรงนี้ 
หรือเราจะได้ต้นทางหรือกระแสพระนิพพานที่ตรงนี้ 

วิธีการเจริญสติ หรือการทำความรู้สึกตัว 
สติ หมายถึง ความระลึกได้ 
หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ "ให้รู้สึกตัว" 
ให้รู้สึกตัวในการเคลื่อนการไหว 
กะพริบตาก็รู้ หายใจก็รู้ จิตใจมันนึกมันคิดก็รู้ 

การเคลื่อนไหวเป็นสาระสำคัญของการเจริญสติ 
ถ้าหากเรานั่งนิ่งๆ ไม่มีการเคลื่อนไหว 
พอดีมันคิดขึ้นมา เราก็เลยไปรู้กับความคิด 
มันเป็นการเข้าไปอยู่ในความคิดเพราะไม่มีอะไรดึงไว้ 
ดังนั้นจึงมีการฝึกหัดการเคลื่อนไหวของรูปกาย 
ให้รูปกายเคลื่อนไหวอยู่เสมอ 
ถ้าเรามีสติรู้อยู่กับการเคลื่อนไหวของรูปกาย 
เมื่อใจคิดขึ้นมา เราจะเห็น เราจะรู้ 

เพื่อให้เกิดญาณปัญญารู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง 
หลวงพ่อเทียน จิตตฺสุโภ ได้แนะนำให้เราเคลื่อนไหวตลอดเวลา 
และ "รู้" การเคลื่อนไหวนั้น 
โดยมีกลอุบายหรือเทคนิดในการเจริญสติอย่างต่อเนื่อง 
ด้วยการสร้างจังหวะ ซึ่งประกอบด้วยการเดินจงกรม 
และการเคลื่อนไหวมือเป็นจังหวะ

ดังภาพ




 

ภาพการสร้างจังหวะ

การฝึกสติแบบนี้ ทีแรกต้องนั่งอย่างนี้, นั่งพับเพียบก็ได้, 
นั่งเหยียดขาก็ได้, นั่งขัดสมาธิก็ได้ นั่งเก้าอี้ห้อยขาก็ได้

ในขณะปฏิบัติไม่ต้องหลับตา







๑. เอามือวางไว้ที่ขาทั้งสองข้าง... คว่ำไว้




 

๒. พลิกมือขวาตะแคงขึ้น.. ทำช้าๆ ให้รู้สึก






๓. ยกมือขวาขึ้นครึ่งตัว... ให้รู้สึก... มันหยุดก็ให้รู้สึก






๔. เอามือขวามาที่สะดือ... ให้รู้สึก






๕. พลิกมือซ้ายตะแคงขึ้น.. ทำช้าๆ ให้รู้สึก






๖. ยกมือซ้ายขึ้นครึ่งตัว... ให้มีความรู้สึก






๗. เอามือซ้ายมาที่สะดือ... ให้รู้สึก






๘. เลื่อนมือขวาขึ้นหน้าอก... ให้รู้สึก






๙. เอามือขวาออกตรงข้าง... ให้รู้สึก






๑๐. ลดมือขวาลงที่ขาขวา ตะแคงไว้... ให้รู้สึก






๑๑. คว่ำมือขวาลงที่ขาขวา... ให้รู้สึก






๑๒. เลื่อนมือซ้ายขึ้นที่หน้าอก... ให้มีความรู้สึก






๑๓. เอามือซ้ายออกมาตรงข้าง... ให้มีความรู้สึก






๑๔. ลดมือซ้ายออกที่ขาซ้าย ตะแคงไว้... ให้มีความรู้สึก






๑๕. คว่ำมือซ้ายลงที่ขาซ้าย... ให้รู้สึก
ทำต่อไปเรื่อยๆ... ให้รู้สึก


คำสำคัญ (Tags): #กรรมฐาน
หมายเลขบันทึก: 497213เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2012 04:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 สิงหาคม 2012 18:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะคนบ้านไกล วิธีนี้ชลัญไม่เคยรู้ ได้แต่กำหนดจิต แล้วจิตก็เตลิดเปิดโปงทุกที

ที่วัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ ฝึกด้วยวิธีนี้ค่ะ kunrapee เคยไปปฏิบัติธรรม ๕ วันเต็มๆ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท